1 / 28

บทที่ 3

บทที่ 3. ทฤษฎีการเมืองตะวันตกที่สำคัญ. 3.5 สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ และลัทธิของเหมา เจ๋อ ตง. คำถามที่ท้าทายให้คุณตอบ. แนวคิดเรื่องสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์แตกต่างกันอย่างไร ? คาร์ล มาร์กซ์นำแนวคิดทางปรัชญาจากใครมาประยุกต์ใช้ในการสร้างแนวคิดทางการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ขึ้น ?

Ava
Télécharger la présentation

บทที่ 3

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 3 ทฤษฎีการเมืองตะวันตกที่สำคัญ 3.5 สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ และลัทธิของเหมา เจ๋อ ตง

  2. คำถามที่ท้าทายให้คุณตอบคำถามที่ท้าทายให้คุณตอบ • แนวคิดเรื่องสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์แตกต่างกันอย่างไร ? • คาร์ล มาร์กซ์นำแนวคิดทางปรัชญาจากใครมาประยุกต์ใช้ในการสร้างแนวคิดทางการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ขึ้น ? • จุดประสงค์สูงสุดของแนวคิดทางการเมืองแบบคอมมิวนิสต์คือ อะไร ? • แนวคิดทางการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างไร และมีผู้นำแนวคิดของมาร์กซ์ไปใช้ในทางปฏิบัติอย่างไรบ้าง ? • เลนินและเหมา เจ๋อ ตง ได้ประยุกต์แนวคิดทางการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ไปใช้ในโลกตะวันตกและโลกตะวันออกอย่างไรบ้าง ?

  3. วัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิต • ได้เรียนรู้ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างแนวคิดเรื่องสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ • ได้เข้าใจอุดมการณ์สูงสุดของปรัชญาการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ • ได้ตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของปรัชญาการเมืองที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของปัจเจกชน • ได้เข้าใจแนวทางในการแปรปรัชญาภาคบริสุทธิ์ไปสู่ภาคปฏิบัติทางการเมืองในโลกแห่งความเป็นจริง

  4. Karl Marx& Friedrich Engels Karl Marx: 1818 - 1883

  5. Karl Marx เขาถือลัทธิสสารนิยมแบบปฏิพัฒนา คิดว่าเรื่องเหนือธรรมชาติหรือศาสนาเป็นยาเสพย์ติดมอมเมาประชาชน (Religion is the opium of the people) กล่าวคือ เป็นเครื่องมือที่คนมีอำนาจใช้สำหรับแยกสามัญชนออกไว้ต่างหาก มอมเมาให้พอใจกับฐานะของตนโดยอาศัยศรัทธาต่อศาสนาเป็นเครื่องล่อใจ ซึ่งเป็นไปตามหลักปฏิพัฒนานั่นเอง คือ ศาสนาทำให้มีการแบ่งแยกในสังคมออกจากกัน ในที่สุดเมื่อประชาชนรู้เท่าทันจะเลิกนับถือศาสนาแล้วร่วมใจกันยืนหยัดต่อสู้ ลบล้างความเหลื่อมล้ำในสังคม

  6. ลัทธิสสารนิยมแบบปฏิพัฒนา (Dialectic Materialism) คือถือว่าในสสารมีพลังพัฒนาตัวเองตามกฎปฏิพัฒนาการของเฮเก็ล คือจะต้องวางตัวให้ขัดแย้งกัน เพื่อจะได้หาทางประนีประนอมกันแล้วส่วนรวมก็จะก้าวหน้าเมื่อประนีประนอมกันได้แล้ว จะต้องวางตัวให้ขัดแย้งกันต่อไปอีกเพื่อจะได้ก้าวหน้าต่อไปอีก Hegel : 1770 - 1840

  7. ลัทธิสสารนิยมแบบปฏิพัฒนา (ต่อ) (Dialectic Materialism) ปัจจุบันสสารก้าวหน้ามาถึงขั้นเป็นมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม แง่ที่กำลังขัดแย้งกันอยู่ในเวลาก็คือ แง่เศรษฐกิจระหว่างนายทุนกับลูกจ้าง ประนีประนอมกันได้เมือไหร่ก็จะมีความก้าวหน้าของโลกและจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นมาใหม่ การขัดแย้งทุกครั้งเป็นเครื่องหมายของความก้าวหน้าของสสารส่วนรวม

  8. แนวคิดในเรื่องสังคมนิยมเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยเพลโต้เขียนเรื่องอุตมรัฐ และ เซอร์ โธมัส มอร์ เขียนเรื่อง ยูโทเปีย สังคมนิยมมี 2 แบบ คือ 1. สังคมนิยมแบบอุดมคติ (Utopian Socailism) 2. สังคมนิยมแบบประชาธิไตย (Democratic Socialism) ส่วนแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์เป็นแนวคิดที่เกิดจากแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Mark, ค.ศ.1818-1883) จุดประสงค์ ต้องการทำลายแนวคิดแบบประชาธิปไตย ที่มีลักษณะเป็นเหมือนปลาใหญ่กินปลาเล็ก จึงต้องการสร้างสังคมที่ปราศจากชนชั้น

  9. คอมมิวนิสต์ (Communist) คำว่า'คอมมิวนิสต์' (Communist) เริ่มมีขึ้นราว ปี พ.ศ. 2377-2382 พวกสมาคมลับที่จะปฏิวัติฝรั่งเศสคิดขึ้น หมายถึง "การรวมกันของบรรดาทรัพย์สิน เป็นของกลางร่วมกันทั้งหมด" (Community of goods) โดยเห็นว่าความไม่เท่าเทียมกันของ ความสุขสมบูรณ์และความยากจนของมนุษย์ ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ต่างคนต่างเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน

  10. คอมมิวนิสต์ (ต่อ) คอมมิวนิสต์ เป็นลัทธิขบวนการปฏิวัติที่พยายามจะเลิกล้างลัทธิทุนนิยมและจัดตั้งสังคมใหม่ โดยให้ถือว่าทรัพย์สินทั้งหมด เป็นของส่วนรวม การดำเนินการเศรษฐกิจจะเป็นไปตามแผนการ และอยู่ในความควบคุมจัดการของส่วนรวม โดยแบ่งส่วนเฉลี่ยทรัพย์แก่ทุกคนตามหลักการที่ว่า "แต่ละคนทำงานตามความสามารถของตนแต่ละคนได้รับสิ่งที่ตนต้องการ"

  11. จุดประสงค์หลักของคอมมิวนิสต์จุดประสงค์หลักของคอมมิวนิสต์ 1. มุ่งก่อตั้งสังคมไร้ชนชั้น 2. เครื่องมือการผลิตต้องกระจายไป 3. การแลกเปลี่ยนทุกชนิดต้องเป็นของประชาคม 4. รัฐซึ่งเป็นเครื่องมือกดขี่ประชาชนจะต้องสลายไป 5. ถ้ายังไปไม่ถึงอุดมการณ์นั้น ให้เรียกว่า “สังคมนิยม” หรือ เผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ

  12. หลักคอมมิวนิสต์ ได้แก่ แต่ละคนทำงานตามความสามารถของเขา และรับปันผลผลิตจากสังคมนิยมตามความจำเป็นของเขา จุดแข็งของคอมมิวนิสต์ คือการดึงปัญญาชนเข้ามามีบทบาท แล้วถ่ายทอดสู่ชนชั้นแรงงานระดับล่าง ความจริงแล้วลัทธินี้ก็คือ กลุ่มแนวคิดที่เข้ามาแทนที่ช่องว่างอันเกิดมาจากการสลายตัวขององค์กรทางศาสนานั่นเอง

  13. ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ ความเหมือน คือ ประชาคมหรือรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต แต่ยังไม่มีผู้ใดค้นพบวิธีที่จะให้ประชาคมเข้าทำการควบคุม จึงต้องมี รัฐ ไว้เพื่อทำหน้าที่บริการแทนไปก่อน ความแตกต่าง สังคมนิยม ถือว่าพวกเขาสามารถก่อตั้งและดำรงระบบของพวกตนเอาไว้ด้วยวิถีประชาธิปไตย ซึ่งคอมมิวนิสต์ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้และกล่าวหาสังคมนิยมว่าเป็นพวกประนีประนอมกับนายทุน

  14. วิภาษวิธีของเฮเกล Spirit (Synthesis) ระบบคอมมิวนิสต์ (สังคมที่ไร้ชนชั้น) Nature (Anti Thesis) Idea (Thesis) ระบบประชาธิปไตย ความขัดแย้งระหว่างนายทุนกับกรรมกร

  15. สังคมคอมมิวนิสต์ ยุคนายทุน กรรมกร (ทาสชนะศักดินากลายมาเป็นนายทุน) (การต่อสู้ระหว่างนายทุนกับกรรมกร) ยุคศักดินา (การต่อสู้ระหว่างทาสกับศักดินา) ยุคทาส

  16. ความสัมพันธ์ทางการผลิตของสังคมในแต่ละยุคความสัมพันธ์ทางการผลิตของสังคมในแต่ละยุค

  17. พลังการผลิต ความสัมพันธ์ทางการผลิต ศาสนา กฎหมาย การเมือง ศิลปะ ปรัชญา ศีลธรรม โครงสร้างส่วนล่าง โครงสร้างส่วนบน

  18. Lenin, Vladimir Ilyich (1870-1924) Karl Marx (1818-1883) ตะวันตก ตะวันออก Mao Tse-tung (1893 - 1976)

  19. Puyi (1907 – 1994) The last Emperor of China Tsar Nicholas II (1868 – 1918) The last Emperor of Russia

  20. สังคมนิยม แนวความคิดของลัทธิสังคมนิยมได้เกิดขึ้นก่อน คริศตศักราช กล่าวคือ เพลโตได้วาดมโนภาพไว้ว่า สรรพสิ่ง ทั้งปวงเป็นของกลางเพื่อให้คนทุกชั้นได้บริโภค วิวัฒนาการของสังคมนิยมได้เริ่มตั้งแต่การขยายตัวของอุตสาหกรรมในระบบทุนนิยมในปลายคริสตศตวรรษที่ 18 และตอนต้นคริสตศตวรรษที่ 19

  21. สังคมนิยม (ต่อ) กล่าวคือผู้ใช้แรงงานหรือกรรมกรซึ่งไม่มีทั้งความรู้และทรัพย์สินได้รับความทุกข์ยากและมีความยากจนข้นแค้นเป็นอย่างมาก นักสังคมนิยมจึงได้แสวงหาวิธีการที่จะสร้างสังคมใหม่ที่ปราศจากความอยุติธรรมและความไม่เท่าเทียมกัน นักคิดเหล่านี้เสนอแนะให้มนุษย์ช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยให้พิจารณาถึง ผู้ยากจนเป็นกรณีพิเศษ

  22. ประเภทของสังคมนิยม 1. สังคมนิยมแบบอุดมคติ (Utopian Socialism) 2. สังคมนิยมแบบประชาธิปไตย (Democratic Socialism)

  23. เหมา เจ๋อ ตง (Mao Tse-tung) ผู้นำจีนลูกชาวนา เกิดเมื่อ วันที่ 26 ธันวาคม 1893 เขาได้ศึกษางานเขียนของคารล์ มาร์กซ์ ที่มหาวิทยาลัย ได้ช่วยก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์และต่อมาได้เป็นผู้นำพรรค เหมาได้รับการสนับสนุนจากคนยากจนและได้ก่อตั้งกองทัพขึ้นเพื่อปลดแอกประชาชนจากระบบการปกครองที่กดขี่ประชาชน เหมา เจ๋อ ตง Mao Tse-tung (1893 - 1976)

  24. เหมา เจ๋อ ตง (Mao Tse-tung) (ต่อ) หลังจากการปราชัยของญี่ปุ่นต่อสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพของเหมาได้ขับไล่นายพล เจียง ไคเช็คไปอยู่ไต้หวันแล้ว เขาได้ขึ้นปกครองจีน ในปี ค.ศ. 1946 เหมาได้รับเลือกเป็นประธานของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การนำของเขาวิถีชีวิตของชาวจีนได้เปลี่ยนไปและจีนก็ได้เป็นประเทศผู้นำในวงการเมืองระหว่างประเทศ เขาถึงแก่กรรม ในปี ค.ศ. 1976 วันที่ 9 กันยายน สิริรวมอายุได้ 83 ปี

  25. V.S. Kai-shek Chiang(1887-1975) Mao Tse-tung (1893 - 1976)

  26. ทฤษฎีการปฏิวัติของเหมาทฤษฎีการปฏิวัติของเหมา มีลักษณะเด่นอยู่ที่การกำหนดแนวทางและวิธีการให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในสังคมจีน ซึ่งเหมาเรียกว่าเป็นสังคม “กึ่งศักดินากึ่งอาณานิคม” การปฏิวัติให้ความสำคัญกับชาวนามากกว่ากรรมกร เพราะศูนย์อำนาจการปฏิวัติอยู่ในชนบท ซึ่งตรงกันข้ามกับทฤษฎีการปฏิวัติของเลนิน แต่อย่างไรก็ตามการปฏิวัติก็ยังต้องมีฝ่ายกรรมาชีพหรือพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้นำ

  27. สรุป • คาร์ล มาร์กซ์รับแนวความคิดจากเฮเก็ลในเรื่องจิตนิยมแบบปฏิพัฒนา โดยประยุกต์ให้เป็นสสารนิยมแบบปฏิพัฒนาโดยมีจุดประสงค์เพื่อทำให้กรรมกรได้ปลดแอกตัวเองจากลัทธิประชาธิปไตยแบบทุนนิยม • จุดประสงค์สูงสุดของคอมมิวนิสต์คือการที่รัฐซึ่งเป็นเครื่องมือแห่งการกดขี่ที่ทรงพลังที่สุดจะต้องสลายตัวไป • เลนินได้นำแนวคิดของมาร์กซ์ไปประยุกต์ใช้โดยการปรับเปลี่ยนให้กรรมกรในรัสเซียเป็นเครื่องมือในการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ • เหมา เจ๋อ ตง ได้นำแนวคิดของมาร์กซ์ไปประยุกต์ใช้โดยการปรับเปลี่ยนให้ชาวนาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบคอมมิวนิสต์ในจีน

More Related