1 / 35

บทที่ 2 การเคลื่อนที่ (Motion)

บทที่ 2 การเคลื่อนที่ (Motion). ระยะทาง การกระจัด ทิศทางการเคลื่อนที่. อัตราเร็ว อัตราเร่ง ความเร็ว ความเร่ง. 1. ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่. ระยะทาง (distance) กับ การกระจัด (displacement). ระยะทาง คือ ความยาวที่วัดตามเส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ จัดเป็นปริมาณสเกลาร์

aaron
Télécharger la présentation

บทที่ 2 การเคลื่อนที่ (Motion)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 2 การเคลื่อนที่ (Motion)

  2. ระยะทาง การกระจัด ทิศทางการเคลื่อนที่ อัตราเร็ว อัตราเร่ง ความเร็ว ความเร่ง 1. ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่

  3. ระยะทาง (distance)กับ การกระจัด (displacement) • ระยะทางคือ ความยาวที่วัดตามเส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ จัดเป็นปริมาณสเกลาร์ • การกระจัด คือ ระยะที่วัดจากจุดตั้งต้นของการเคลื่อนที่  ตรงไปยังตำแหน่งที่วัตถุอยู่ในขณะนั้น โดยไม่สนใจว่าวัตถุจะมีเส้นทางการเคลื่อนที่เป็นอย่างไร  จัดเป็นปริมาณเวกเตอร์

  4. ระยะทางไม่เท่ากัน แต่การกระจัดเท่ากัน

  5. distance and displacement http://www.school.net.th/library/snet3/jee/distance/DISTANCE.HTM

  6. ตัวอย่างแบบฝึกหัด • 1) รถคันหนึ่งเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง 5 km จากนั้นเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทาง 2 km จงหาระยะทางและการกระจัดของรถคันนี้ • 2) นักเรียนขี่รถจักรยานไปโรงเรียนทางทิศตะวันออกเป็นระยะ 4 km จากนั้นเคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือเป็นระยะ 3 km จงหาระยะทางและการกระจัดของนักเรียนคนนี้

  7. 2. อัตราเร็ว (speed) • อัตราเร็ว (speed) คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา หรือ อัตราการเปลี่ยนระยะทาง มีหน่วยเป็น m/s เป็นปริมาณสเกลาร์ • ค่าเฉลี่ยของอัตราเร็วตลอดเส้นทาง เรียกว่า อัตราเร็วเฉลี่ย (averang speed: vav) เขียนได้ดังนี้ • เมื่อ vav คือ อัตราเร็วเฉลี่ย (m/s) • s คือ ระยะทาง (m) • t คือ เวลา (s) vav = s t อัตราเร็ว = ระยะทาง เวลา

  8. http://www.abdn.ac.uk/physics/ts1001/run1/sld010.htm

  9. ตัวอย่างแบบฝึกหัด • ผึ้งตัวหนึ่งบินไปเป็นระยะทาง 40 m ในเวลา 20 s จงหาอัตราเร็วเฉลี่ยของผึ้งตัวนี้

  10. 3. ความเร็ว (velocity) • ความเร็ว (velocity) คือ การกระจัดที่เปลี่ยนไปในหนึ่งหน่วยเวลา หรืออัตราการเปลี่ยนแปลงการกระจัด มีหน่วยเป็น m/s เป็นปริมาณเวกเตอร์ ค่าเฉลี่ยของอัตราเร็วขณะหนึ่งตลอดช่วงเวลาที่พิจารณา เรียกว่า ความเร็วเฉลี่ย (averang velocity: vav) เขียนได้ดังนี้ • เมื่อ vav คือ ความเร็วเฉลี่ย (m/s) • s คือ ระยะทาง (m) • t คือ เวลา (s) ความเร็ว = การกระจัด เวลา vav = Δs Δt

  11. http://www.abdn.ac.uk/physics/ts1001/run1/sld010.htm

  12. ตัวอย่างแบบฝึกหัด • ผึ้งตัวหนึ่งบินไปเป็นระยะทาง 20 m และการกระจัด 12 m ในเวลา 2 s จงหาความเร็วเฉลี่ยของผึ้งตัวนี้

  13. ความเร็วขณะใดขณะหนึ่ง (instantaneous velocity) ความเร็วขณะใด =อัตราการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเทียบกับเวลา = ลิมิตของความเร็วเฉลี่ยเมื่อช่วงเวลาเข้าใกล้ศูนย์

  14. ตัวอยางที่ สมมุติรถยนต A เคลื่อนที่ไดระยะทางสัมพันธกับเวลาดังตาราง จงหา ก. อัตราเร็วเฉลี่ยในชวงเวลา 0 วินาที – 8 วินาที ข. อัตราเร็วขณะหนึ่งที่เวลา 1 วินาที ค. อัตราเร็วขณะหนึ่งที่เวลา 3 วินาที

  15. 5. ความเร่ง (acceleration) • ความเร่ง (acceleration) คือ ความเร็วที่เปลี่ยนไปในหนึ่งหน่วยเวลา หรืออัตราการเปลี่ยนความเร็ว มีหน่วยเป็น m/s2 เป็นปริมาณเวกเตอร์ • เมื่อa คือ ความเร่ง (m/s2) • ∆v คือ ความเร็วที่เปลี่ยนไป (m/s) • ∆t คือ เวลาที่เปลี่ยนไป (s) • u คือ ความเร็วต้น (m/s) • v คือ ความเร็วปลาย (m/s) ความเร่ง = ความเร็วที่เปลี่ยนไป เวลา a = ∆v = v – u ∆t t

  16. ตัวอย่างแบบฝึกหัด • 5) รถคันหนึ่งเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงจากเดิมอยู่นิ่งและเร่งจนมีความเร็ว 30 m/s ในช่วงเวลา 10 s จงหาความเร่งของรถคันนี้ • 6) รถคันหนึ่งเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วต้น 30 m/s แล้วเบรกจนหยุดนิ่งในช่วงเวลา 5 s จงหาความเร่งของรถคันนี้

  17. 6. กราฟความเร็ว-เวลา • วัตถุอยู่นิ่งกับที่ และวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ มีความเร่งเป็น 0 • วัตถุต้องเปลี่ยนความเร็วเท่านั้นจึงจะมีความเร่ง • ความเร่งสามารถหาได้จากกราฟความเร็ว-เวลา

  18. จงหาความเร็วที่วินาทีที่ 0.5,1.2 , 2.4 และ 2.8

  19. - การเคลื่อนที่ในแนวราบ จากกราฟ ความสัมพันธ์ระหว่าง กับ t ความชันของกราฟ (m) คือ ความเร่ง (a) จาก พื้นที่ใต้กราฟ คือ ระยะขจัดของการเคลื่อนที่ พื้นที่ abcd = x สูง x ผลบวกด้านคู่ขนาน

  20. การเคลื่อนที่แบบเส้นตรงด้วยความเร่งคงที่ - การเคลื่อนที่ในแนวราบ จาก ได้

  21. นำคูณแบบสเกลาร์  สมการการเคลื่อนที่ในแนวราบด้วยความเร่งคงที่ 

  22. ขั้นตอนของการแก้ปัญหาโจทย์ เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ • ตรวจสอบว่าโจทย์ กำหนดอะไรมาบ้างเขียนเป็นตัวแปรให้ถูกต้อง • ว่าอะไรเป็น s,v,v0,t และ a (ความเร่ง +a , ความหน่วง –a) • การเขียนรูปภาพเหตุการณ์ที่โจทย์ให้มา จะทำให้เข้าใจโจทย์มากขึ้น • เลือกเครื่องหมายที่แสดงทิศทางของเวกเตอร์ให้ถูกต้อง เช่นไปทางขวาเป็นบวก เพราะฉะนั้น ระยะขจัด, ความเร็ว, และความเร่งเป็นบวกเมื่อมีทิศไปทางขวา • หาสิ่งที่โจทย์ต้องการโดยหาจากสมการการเคลื่อนที่

  23. Ex รถยนต์แล่นด้วยความเร่งคงที่จากหยุดนิ่งจนมีความเร็ว 30 m/s ในเวลา 10 วินาทีจากนั้นจึงเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่ จงหา ก) ความเร่งของรถคันนี้ ข) ระยะทางที่รถเดินทางจนมีความเร็ว 30 m/s ค) ระยะทางของรถขณะที่เปลี่ยนความเร็วจาก 10 m/s เป็น 20 m/s

  24. จากรูปเป็นกราฟแสดงการเคลื่อนที่ของวัตถุในรูปของความเร็วและเวลาจงหา จากรูปเป็นกราฟแสดงการเคลื่อนที่ของวัตถุในรูปของความเร็วและเวลาจงหา ก) ความเร่งในแต่ละช่วง ข) ระยะทางรวมทั้งหมด

  25. Ex .ตำรวจอยู่ในรถที่กำลังวิ่งด้วยความเร็ว 80 km/hr มองเห็นผู้ก่อการร้าย • ในรถคันหนึ่งความเร็วคงที่ 130 km/hr อยู่ห่างออกไป 60 m ตำรวจจึงเหยียบคันเร่ง • ทำให้รถมีความเร่ง 1.6 m/s2เพื่อที่จะไล่ตามรถคันดังกล่าวให้ทัน จงหา • นานเท่าไร รถตำรวจจึงจะไล่ทันรถผู้ก่อการร้าย • ขณะที่ทันรถผู้ก่อการร้าย รถตำรวจต้องวิ่งเป็นระยะทางเท่าไรนับจากเหยียบคันเร่ง

  26. การตกแบบอิสระ (Free falling) เป็นการเคลื่อนที่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก โดยมีทิศพุ่งลงสู่ศูนย์กลางโลกทำให้วัตถุเคลื่อนที่แบบเส้นตรงที่มีความเร่งคงที่ ทิศทางเข้าหาจุดศูนย์กลางของโลก เรียกว่า ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง

  27. อัตราเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงของโลกอัตราเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงของโลก ถ้าปล่อยหินกับขนนกให้ตกลงมาพร้อมกันอะไรจะตกถึงพื้นก่อนกัน ? อริสโตเติล ตอบว่า ก้อนหิน(แน่นอน) ทำการทดลองและบอกว่าถ้าไม่มีแรงต้านอากาศ ขนนกและก้อนหินจะตกลงมาพร้อมกัน กาลิเลโล พิสูจน์ทฤษฎีของกาลิเลโอโดยการสูบอากาศ ออกจากท่อให้(เกือบ)หมด แล้วปล่อยเหรียญ และขนนกลงมาพร้อมๆกันในท่อสุญญากาศอันนั้น ปรากฏว่าทั้งขนนกและเหรียญตกลงมาพร้อมกัน นิวตัน นิวตันค้นพบกฏของแรงโน้มถ่วงได้

  28. การคำนวณการตกแบบอิสระการคำนวณการตกแบบอิสระ ใช้สมการการเคลื่อนที่ในแนวราบได้โดย ให้ความเร็วที่มีทิศขึ้นเป็นเครื่องหมายบวกและตำแหน่งของวัตถุสูงกว่า จุดเริ่มต้น(จุดอ้างอิง)เป็นเครื่องหมายบวก ต่ำกว่าเป็น ลบ สมการการเคลื่อนที่ของการตกแบบอิสระ

  29. ข้อสังเกต  ณ ตำแหน่งเดียวกัน ขนาดความเร็วตอนขึ้น = ขนาดความเร็วตอนลง เวลาที่วัตถุใช้ตอนขาขึ้น = เวลาที่วัตถุใช้ตอนขาลง • ณ ตำแหน่งสูงสุด ความเร็วในแนวดิ่งเท่ากับศูนย์ • ความเร่งมีทิศลงเสมอ  เป็นเครื่องหมายลบ (-g)

  30. Exลูกบอลถูกโยนจากพื้นขึ้นไปได้สูงสุด 20 เมตร จงหา • ความเร็วเริ่มต้นของลูกบอล • ข) เวลาที่ลูกบอลขึ้นไปได้สูงที่สุด • ค) ความเร็ว ณ เวลาที่ลูกบอลตกถึงพื้น • ง) ระยะขจัดของลูกบอลในช่วงเวลา 0.5 s ถึง 2.5 s • จ) เวลาที่ลูกบอลอยู่สูงจากพื้น 15 m เหนือพื้นดิน

  31. ถ้าวัตถุวิ่งช้าลง หรือความเร็วลดลง ความเร่งจะมีทิศตรงข้ามกับความเร็ว และเรียกว่า ความหน่วง

  32. ภายใต้แรงดึงดูดของโลกภายใต้แรงดึงดูดของโลก วัตถุทุกชนิดจะตกลงมาด้วยอัตราเร่งที่เท่ากันซึ่งมีค่าเท่ากับ 9.8 เมตร/วินาที 2 โดยไม่ขึ้นกับขนาด รูปร่าง และมวล • แต่ในธรรมชาติ ผลของแรงต้านอากาศทำให้วัตถุตกลง • มาไม่พร้อมกัน

  33. ช้างกับขนนก • ตกอย่างอิสระ (ไม่มีแรงต้านอากาศ) มีแรงต้านอากาศ ความเร่งเท่ากัน ความเร่งไม่เท่ากัน

  34. ตัวอย่าง • โยนลูกบอลขึ้นไปในแนวดิ่งจากระดับดาดฟ้าตึกสูง ขณะลูกบอลหลุดจากมือมีความเร็ว 15 m/s หลังจากนั้นลูกบอลตกกลับลงมาอย่างอิสระและเฉียดขอบตึก ตกลงไปพื้นล่าง ถ้าที่ตำแหน่งของตึก g = 9.8 m/s2จงหา • ตำแหน่งและความเร็วที่เวลา t = 1.0 s และ t =4.0 s หลังจากออกจากมือ • ความเร็วของลูกบอลที่ตำแหน่ง 5 m จากระดับเพดานตึก • ตำแหน่งสูงสุดของลูกบอลและเวลาที่ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นจยถึงตำแหน่งสูงสุดนั้น

  35. ปัญหา 1. ถ้าเราจะอธิบายการเคลื่อนที่เราต้องบอกอะไรบ้าง 2. ก่อนที่จะอธิบายการเคลื่อนที่ จะต้องวัดปริมาณอะไรบ้าง 3. อัตราเร็วและอัตราเร่ง คือะไร ต่างกันอย่างไร 4. ถ้ารถไฟเดินทางจากสถานีที่1 - 10 สถานีซึ่งแต่ละสถานีห่างกัน 25 กิโลเมตร รถไฟจะจอรับผู้โดยสารสถานีละ 5 นาที ถามว่า 4.1 ถ้ารถไฟใช้เวลาเดินทางจากต้นสายจนสุดสายใช้เวลา 2 ชั่วโมง 15 นาที จะมีความเร็วเฉลี่ยเท่าใด 4.2 ถ้ารถไฟวิ่งด้วยอัตราเร็วเฉลี่ย 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ออกจากสถานี แรก 6:00 น.จะถึงสถานีสุดท้ายก่อนเวลา 8:45 น.หรือไม่ เพราะเหตุใด 5 .ถ้าปล่อยตุ้มเหล็กพร้อมกับขนนกในห้องที่สูบอากาศออกหมด อะไร จะตกมาถึงพื้นก่อนกัน จงให้เหตุผล

More Related