1 / 41

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. นโยบายรัฐบาล. 1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก 1.2 กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหา ยาเสพติด เป็น “วาระแห่งชาติ”

afi
Télécharger la présentation

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

  2. นโยบายรัฐบาล • 1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก 1.2 กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” 1.5 เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจน ยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด

  3. นโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ 4 ปีของรัฐบาล • 2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ 2.3 พัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ.....รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อระงับยับยั้งและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติและยาเสพติดให้หมดไป

  4. 2.5 เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดองค์กรอาชญากรรมการค้ามนุษย์ ผู้หลบหนีเข้าเมือง แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และบุคคลที่ไม่มีสถานะชัดเจน

  5. 4.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต4.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต 4.3 นโยบายการพัฒนาสุขภาพของประชาชน 4.3.6 “ส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสออกกำลังกายและเล่นกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและพลานามัยที่ดี สร้างนิสัยความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นมั่วสุมกับอบายมุขและยาเสพติด”

  6. “ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดิน เอาชนะยาเสพติด”

  7. วัตถุประสงค์ • วัตถุประสงค์หลักของยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด คือ ยุติสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด ที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงและความสงบสุขของประชาชนและสังคมให้ได้อย่างรวดเร็วต่อเนื่องและยั่งยืน โดยพลังแผ่นดินทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันลดความรุนแรงของปัญหายาเสพติดจนไม่ส่งผลกระทบต่อความเดือดร้อนของประชาชน ภายในระยะเวลา 1 ปี (ปี 2555)

  8. กลยุทธ์การดำเนินงานของรัฐบาลกลยุทธ์การดำเนินงานของรัฐบาล โดยใช้ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด เป็นยุทธศาสตร์หลัก กำหนดกลยุทธ์สำคัญที่จะดำเนินการ คือ 7 แผน 4 ปรับ 3 หลัก 6 เร่ง

  9. 7 แผน ประกอบด้วย • แผนที่ 1 การสร้างพลังสังคมและพลังชุมชนเอาชนะยาเสพติด • แผนที่ 2 การแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand) • แผนที่ 3 การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด (Potential Demand) • แผนที่ 4 การปราบปรามยาเสพติดและบังคับใช้กฎหมาย (Supply) • แผนที่ 5 ความร่วมมือระหว่างประเทศ • แผนที่ 6 การสกัดกั้นยาเสพติด • แผนที่ 7 การบริหารจัดการแบบบูรณาการ

  10. 4 ปรับ ประกอบด้วย • ปรับที่ 1 ปรับปรุงข้อมูล การข่าวให้ถูกต้อง ทันสมัย • ปรับที่ 2 ปรับบทบาท พฤติกรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ • ปรับที่ 3 ปรับกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ • ปรับที่ 4 ปรับทัศนคติของสังคมและชุมชนมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด

  11. 3 หลัก ประกอบด้วย • หลักที่ 1 หลักการแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักเมตตา ความรักในเพื่อนมนุษย์ อยากเห็นคนผิดกลับตัวเป็นคนดี คืนความรักให้ครอบครัว คืนสุขให้ชุมชน • หลักที่ 2 ยึดหลักนิติธรรม ใช้การบำบัด ป้องกัน ควบคู่ การปราบปราม • หลักที่ 3 หลักแก้ปัญหาโดยยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง หรือ Area Approach

  12. 6 เร่ง ประกอบด้วย • เร่งที่ 1 เร่งดำเนินการในด้านข้อมูล ปัญหา • เร่งที่ 2 เร่งลดจำนวนผู้เสพยาจากหมู่บ้าน/ชุมชน • เร่งที่ 3 เร่งแสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศและการสกัดกั้นยาเสพติด • เร่งที่ 4 เร่งปราบปรามผู้ค้า ลดความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหายาเสพติด • เร่งที่ 5 เร่งแก้ไขปัญหาเยาวชนกลุ่มเสี่ยงทั้งในและนอกสถานศึกษา • เร่งที่ 6 เร่งสร้างหมู่บ้าน/ชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

  13. แผนงานที่ 2 การแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด

  14. การบำบัดรักษาในระบบต้องโทษการบำบัดรักษาในระบบต้องโทษ 1.พัฒนากระบวนการบำบัดฟื้นฟูฯผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดให้ได้ตามมาตรฐานการฟื้นฟูฯผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข 2.กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการบำบัดฟื้นฟูฯในระบบต้องโทษเพื่อให้สามารถให้การดูแลผู้ต้องหาคดียาเสพติดได้อย่างเหมาะสม 3.มอบให้หน่วยงานที่ดำเนินงานบำบัดฟื้นฟูฯผู้ติดยาเสพติดในสังกัดกรมราชทัณฑ์ และกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน รายงานข้อมูล ผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูฯในระบบรายงาน บสต.ผ่านเครือข่าย Internet

  15. ภารกิจของกรมพินิจในการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด พ.ศ. 2555

  16. 1.พัฒนาประสิทธิภาพการรายงานข้อมูลผู้เข้าบำบัดฟื้นฟูฯ ผ่านระบบรายงาน บสต.

  17. 2.จัดทำข้อมูลเด็กและเยาวชนที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน2.จัดทำข้อมูลเด็กและเยาวชนที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

  18. 3. สนับสนุนสถานที่ในการควบคุมตัว เพื่อการตรวจพิสูจน์หาสารเสพติด แรกรับตัวเพื่อจำแนกผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด

  19. 4.บำบัดรักษา แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในระบบต้องโทษ

  20. การพัฒนาประสิทธิภาพการรายงานข้อมูล ผู้เข้าบำบัดฟื้นฟูฯ ผ่านระบบรายงาน บสต. กระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพฯ 1. การจำแนกปัญหาด้านยาเสพติด • กลุ่มเสี่ยง • กลุ่มเสพ • กลุ่มติด • กลุ่มติดรุนแรง

  21. 2. การบำบัดแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชน ผู้เสพ และผู้ติด ตามผลการจำแนก • เด็กและเยาวชนที่ถูกควบคุมตัวจะได้รับการบำบัด แก้ไขฟื้นฟูด้านยาเสพติดตามโปรแกรมบำบัดของกรมพินิจฯ • กรณีที่เด็กและเยาวชนที่ได้รับการประกันตัว/ปล่อยตัว สถานพินิจฯจะดำเนินการส่งต่อเด็กและเยาวชนเข้ารับการบำบัด ในระบบสมัครใจของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่

  22. 3. การรายงานข้อมูลผู้เข้าบำบัดฟื้นฟูฯ ผ่านระบบรายงาน บสต. เมื่อดำเนินการจำแนก/คัดกรองและบำบัดตลอดจนติดตามผลการบำบัดแล้วจะมีการนำเข้าข้อมูลในระบบ บสต.เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลด้านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพและผู้ติดยาเสพติดของประเทศในภาพรวม(บสต.2-5)

  23. การจัดทำข้อมูลเด็กและเยาวชนที่เข้ารับการบำบัดรักษา ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

  24. กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้ความร่วมมือและเข้าร่วมดำเนินการในภารกิจเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้ความร่วมมือและเข้าร่วมดำเนินการในภารกิจเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด • โดยทำหน้าที่จัดเก็บและรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดจากกลุ่มผู้ติด/ผู้ค้ายาเสพติดที่เข้าสู่สถานพินิจและศูนย์ฝึกฯในแต่ละเดือนอย่างต่อเนื่อง

  25. การสนับสนุนสถานที่ในการควบคุมตัว เพื่อการตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดแรกรับตัวเพื่อจำแนกผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด

  26. “มาตรา ๑๘ ในกรณีที่เห็นสมควร ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศใน ราชกิจจานุเบกษากำหนดให้สถานพยาบาล สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สถานที่ของราชการหรือสถานที่อื่นใดเป็นสถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด หรือการควบคุมตัว นอกเหนือจากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีอำนาจกำหนดให้ผู้ควบคุมสถานที่นั้นมีอำนาจหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด เช่นเดียวกับผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามมาตรา ๑๗ ได้ตามที่เห็นเหมาะสมกับสถานที่ดังกล่าว...”

  27. การบำบัดรักษา แก้ไข ฟื้นฟู เด็ก และเยาวชนผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ในระบบต้องโทษ

  28. เมื่อเด็กและเยาวชนได้รับการจำแนกตามปัญหาการใช้ยาหรือสารเสพติดแล้ว จะได้รับกิจกรรมการบำบัดตามโปรแกรมบำบัดกรมพินิจ ดังนี้

  29. 1.โปรแกรมสำหรับเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง ใช้ระยะเวลา 10 คาบ/ สัปดาห์ 2.โปรแกรมสำหรับเด็กและเยาวชนกลุ่มเสพ ใช้ระยะเวลา 10 คาบ/ สัปดาห์ 3. โปรแกรมสำหรับเด็กและเยาวชนกลุ่มติด ใช้ระยะเวลา 20 คาบ/สัปดาห์

  30. 4. โปรแกรมสำหรับเด็กและเยาวชนกลุ่มติดรุนแรง ดำเนินการโดยวิธีชุมชนบำบัด (Therapeutic Community)

  31. 5. โปรแกรมบำบัด ฟื้นฟู แบบไป-กลับ สำหรับกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ได้รับการประกันตัว และมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการกระทำผิดซ้ำ ,เด็กและเยาวชนที่ต้องรับการบำบัด ฟื้นฟู ตามเงื่อนไขของมาตรา 86 ,เด็กและเยาวชน ที่ศาลพิพากษาให้รับการบำบัด ฟื้นฟูแบบไป-กลับ

  32. การจัดกิจกรรมบำบัดตามโปรแกรมบำบัดกรมพินิจ ดำเนินการโดยใช้คู่มือ 5 เล่ม เป็นแนวปฏิบัติในการบำบัด ฟื้นฟู เด็กและเยาวชน ได้แก่ 1.คู่มือการส่งต่อเด็กและเยาวชน ผู้ติด/ผู้เสพ เพื่อเข้ารับการบำบัด ฟื้นฟูยาเสพติด/ ติดตามผลการบำบัดรักษา 2.คู่มือการจัดกิจกรรมบำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนแบบไป-กลับ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 3.คู่มือการจัดกิจกรรมบำบัด ฟื้นฟูด้านยาเสพติดในสถานแรกรับเด็กและเยาวชน 4.คู่มือการจัดกิจกรรมบำบัด ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน 5.คู่มือการปฏิบัติงานชุมชนบำบัด (Handbook for Therapeutic Community)

  33. นอกจากนี้ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนยังได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยกิจกรรมทางเลือกได้แก่

  34. 1.ค่ายเยาวชนห่างไกลยาเสพติด1.ค่ายเยาวชนห่างไกลยาเสพติด • เป็นการดำเนินโครงการเพื่อให้เด็กและเยาวชนที่อยู่ระหว่างการควบคุมดูแลของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติด ตลอดจนพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนในทางที่เสียหาย มีความคิดยึดในสิ่งที่ผิดให้กลับมายึดในสิ่งที่ถูกต้อง ดีงามและเกิดเจตคติที่ดีต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม รวมทั้งเสริมสร้างความภาคภูมิใจให้กับเด็กและเยาวชนและส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีทักษะการแก้ไขปัญหาโดยไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

  35. 2.กิจกรรม To be number one friend corner มีวัตถุประสงค์ในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การเฝ้าระวังป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชน และเพื่อให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยให้เด็กและเยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรมชมรมต่างๆ

  36. 3.กิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติด 26 มิถุนายน เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในวันต่อต้านยาเสพติด

  37. 4.โครงการเป็นหนึ่งด้วยกีฬาไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด4.โครงการเป็นหนึ่งด้วยกีฬาไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด • การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการบำบัด แก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้กิจกรรมกีฬาและนันทนาการเป็นสื่อ เป็นการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชน ได้แสดงออกในความสามารถในทางที่ถูกต้องเหมาะสม และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยไม่เกี่ยวข้องกับ ยาเสพติดและนอกจากนี้เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะทั้งเด็กและเยาวชน และเจ้าหน้าที่

  38. กิจกรรมอื่นๆ

  39. 1.การพัฒนาหน่วยบำบัดนำร่องเพื่อเข้าสู่การรับรองคุณภาพการบำบัดด้านยาเสพติดในระบบต้องโทษ (HA) • เพื่อให้หน่วยงานมีการประเมินและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและเป็นมาตรฐาน

  40. 2.การพัฒนาบุคลากรด้านยาเสพติด2.การพัฒนาบุคลากรด้านยาเสพติด • เพื่อให้บุคลากรได้รับการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาพยาบาลเด็กและเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับยาและสารเสพติดที่เกิดภาวะเจ็บป่วย รวมถึงการบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนขณะอยู่ในสถานควบคุม และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการดูแลเด็กและเยาวชน ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณแบบองค์รวม

  41. 3.การพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชนแบบองค์รวมโดยใช้เครือข่ายเป็นฐาน • เพื่อนำไปสู่การพัฒนานโยบาย มาตรการ ตลอดจนการปฏิบัติงานด้านยาเสพติดของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เช่น ชุมชน ภาคประชาสังคมรวมทั้งการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแก่เด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน

More Related