1 / 57

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ด้านการอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศขนาดใหญ่

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ด้านการอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศขนาดใหญ่. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. โดย. นายกฤษณะพันธุ์ พลายบัว แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิครราชบุรี. เครื่องส่งลมเย็นและระบบกระจายลมเย็น. บรรยายคาบที่ 1 1 เครื่อง ส่งลมเย็น

albert
Télécharger la présentation

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ด้านการอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศขนาดใหญ่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ด้านการอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน โดย นายกฤษณะพันธุ์ พลายบัว แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิครราชบุรี

  2. เครื่องส่งลมเย็นและระบบกระจายลมเย็นเครื่องส่งลมเย็นและระบบกระจายลมเย็น บรรยายคาบที่ 1 1 เครื่อง ส่งลมเย็น 2 อุปกรณ์และระบบที่เกี่ยวข้องกับเครื่องส่งลมเย็น 3 การควบคุมและการตรวจสอบการทำงานของเครื่องส่งลมเย็น

  3. อุปกรณ์พื้นฐานของเครื่องส่งลมเย็นขนาดใหญ่อุปกรณ์พื้นฐานของเครื่องส่งลมเย็นขนาดใหญ่ 1. พัดลม 2. คอยล์ทำความเย็น 3. แดมเปอร์ หรือใบปรับปริมาณอากาศ 4. แผงกรองอากาศ

  4. พัดลม ส่วนประกอบภายในพัดลม

  5. หลักการทำงานของพัดลม พัดลมสร้างความดันโดยการเปลี่ยนความเร็วของการไหล พัดลมแบบหอยโข่ง การเปลี่ยนค่าความเร็วจะเกิดขึ้นทั้งในแนวสัมผัสกับการ เคลื่อนที่ของปีกใบพัดและในแนวรัศมีของปีกใบพัด รูป Air Foil

  6. พัดลมแบบไหลตามแกน การเปลี่ยนค่าความเร็วจะเกิดในแนวแกนและในแนวสัมผัส พัดลมแบบไหลตามแกนจะแบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ แบบ Propeller แบบ Tube Axial แบบ Vane Axial

  7. การเลือกพัดลม • การเลือกพัดลมจะขึ้นอยู่กับค่าความดันรวมซึ่งรวมถึงความดันสูญเสีย และอัตราการไหลของอากาศที่ต้องการ • โดยทั่วไป เราสามารถเลือกพัดลมได้หลาย ๆ ขนาดสำหรับจุดทำงาน ของพัดลมที่ต้องการ ณ จุดเดียวกัน • ถ้าพัดลมที่เลือกมีขนาดเล็ก จุดทำงานจะอยู่เลยไปทางขวาของจุดทำงาน ที่เหมาะสม ส่งผลให้พัดลมนั้นทำงาน ณ จุดที่มีประสิทธิภาพต่ำ • ถ้าเราเลือกพัดลมที่มีขนาดใหญ่ จุดทำงานจะอยู่ไกลไปทางซ้ายของ แผนภูมิสมรรถนะ พัดลมจะทำงาน ณ จุดที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า • ถ้าเรามองที่จุดนี้ จะเห็นว่า ต้นทุนที่สูงกว่าของพัดลมที่มีขนาดใหญ่กว่า จะถูกหักลบโดยค่าดำเนินงานของพัดลมที่ต่ำกว่านั่นเอง

  8. เสียงและการป้องกันการสั่นสะเทือนของพัดลมเสียงและการป้องกันการสั่นสะเทือนของพัดลม • เสียงของพัดลมขึ้นอยู่กับการออกแบบพัดลม อัตราการไหลเชิงปริมาตร ความดันทั้งหมดและประสิทธิภาพ • ช่วงของการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับพัดลมแต่ละชนิดมักจะ เป็นช่วงการทำงานที่เงียบที่สุดของพัดลมด้วย ความเร็วต่ำบริเวณขาออก ไม่แน่เสมอไปที่จะให้การทำงานที่เงียบ • พื้นฐานที่ถูกต้องในการเปรียบเทียบก็คือ ระดับกำลังเสียงที่แท้จริง (Sound Power Levels) ที่เกิดขึ้นจากพัดลมหลาย ๆ ชนิด เมื่อพัดลม เหล่านั้นมีอัตราการไหลเชิงปริมาตรและความดันทั้งหมดที่เท่ากัน • การป้องกันการสั่นสะเทือนของพัดลมที่ต่อท่อลมในระบบปรับอากาศ จะ กระทำโดยการติดตั้งผ้าใบหรือวัสดุยืดหยุ่นอื่น ๆ ระหว่างพัดลมกับท่อลม • การติดตั้งพัดลมต้องมีแท่นเครื่องเพื่อป้องกันการส่งผ่านการสั่นสะเทือน จากพื้นไปยังโครงสร้างของอาคาร

  9. คอยล์ทำความเย็น • คอยล์ทำความเย็นในเครื่องเป่าลมเย็นส่วนมากจะทำด้วยท่อทองแดงชนิดไม่มี • ตะเข็บ มีครีบอลูมิเนียมอัดให้ติดเข้ากับท่อทองแดง มีทั้งแบบที่ใช้น้ำเย็นหรือ • ใช้สารทำความเย็น คอยล์ทำความเย็นแบบใช้น้ำและสารทำความเย็น

  10. การทำความเย็นที่เกิดขึ้นที่คอยล์ทำความเย็น จะมีทั้งความร้อนส่วนที่ดูดซับเพื่อแยกน้ำออกจากอากาศ (ความร้อนแฝง) และความร้อนส่วนที่ใช้ลดอุณหภูมิอากาศ (ความร้อนสัมผัส) Q = L *1.2 * h [kW] โดย : L = อัตราการไหลเชิงปริมาตรของอากาศ, [m3/s] h = ผลต่างของเอนทัลปีของอากาศผ่านคอยล์, [kJ/kg]

  11. แดมเปอร์ หรือใบปรับปริมาณอากาศ เพื่อควบคุมปริมาณลม ได้แก่ Volume Damper ทำหน้าที่ปรับปริมาณลม ติดตั้งในเครื่องเป่าลมเย็นขนาดใหญ่และอาจจะติดตั้งตรงบริเวณท่อทางแยกต่างๆ ในระบบท่อลม

  12. Motorized Damper ทำหน้าที่ปรับปริมาณลมโดยมีมอเตอร์ขับให้ตัวใบปรับลมเปิดมากหรือน้อยตามที่ต้องการ

  13. แดมเปอร์ที่มีคุณภาพจะต้องไม่ค้าง จะต้องสามารถปรับปริมาณลมได้ตามต้องการ และเมื่อปิดจะต้องปิดได้ค่อนข้าง สนิท มีการรั่วของลมต่ำ ลักษณะใบปรับปริมาณอากาศอาจจะเป็นแบบหลายใบปิดเข้าหากัน(Opposed Blade) และแบบ ปีกผีเสื้อ (Butterfly) ที่มักจะใช้กับท่อลมขนาดเล็ก หรือใช้ใน VAV Box เนื่องจากสร้างง่าย และควบคุม ปริมาณลมได้ดี โดยที่ปลายใบอาจจะมีแผ่นยางช่วยให้ปิดลมได้สนิทขึ้น พวกแดมเปอร์ต่างๆ ไม่นิยมใช้ในท่อที่มีอากาศสกปรก เช่น ท่อระบายอากาศจากครัว หรือห้องซักรีด เพราะ ไขมันหรือสิ่งสกปรกจะไปจับแกนใบปรับปริมาณอากาศทำให้ค้างได้ ถ้าจะได้ประโยชน์ก็เฉพาะช่วงปรับลมเมื่อตอนติดตั้งเสร็จใหม่ ๆ เท่านั้น

  14. แผงกรองอากาศ • แผงกรองอากาศในเครื่องเป่าลมเย็นมีหน้าที่กรองฝุ่นละอองในอากาศ เพื่อให้พัดลมและมอเตอร์ในตัวเครื่องสะอาดและเพื่อกันมิให้ฝุ่นและสิ่ง สกปรกเข้าไปอุดตันในคอยล์ทำความเย็น • ใช้แผ่นกรองอากาศที่มีมาตรฐานเทียบเท่าMERV 6 หรือ 30%ASHRAE ซึ่ง จะให้การกรองอากาศที่ดีสำหรับการป้องกันอุปกรณ์ในระบบทำความเย็นโดย ที่ไม่ไปเพิ่มความดันสถิตให้มากขึ้นหรือความดันตกคร่อมให้สูงขึ้น • มักจะทำจากใยสังเคราะห์เป็นแผ่นบางๆ นอกจากนี้ยังมีชนิดที่ถักจากเส้น อลูมิเนียม (Aluminium Filter) และมีกรอบทำเป็นแผ่นๆ • ความหนาอยู่ระหว่าง 1-2 นิ้ว ประสิทธิภาพของแผงกรองอากาศพวกนี้ • จะอยู่ที่ประมาณ 10-20%

  15. ถูกออกแบบมาเพื่อรักษาคอยล์ทำความเย็น พัดลม และมอเตอร์ให้สะอาดเท่านั้น

  16. การทำงานของเครื่องเป่าลมเย็นในระบบปรับอากาศการทำงานของเครื่องเป่าลมเย็นในระบบปรับอากาศ วัตถุประสงค์ในการทำงานของเครื่องเป่าลมเย็นก็เพื่อที่จะดึงลมบริสุทธิ์จากภายนอกและลมกลับจากภายในบริเวณปรับอากาศให้เข้าสู่ตัวเครื่องโดยอาศัยพัดลมส่งและพัดลมดูดเพื่อทำการผสมผสานลมเหล่านี้เข้าด้วยกัน จากนั้นลมที่ถูกผสมจะถูกทำให้เย็นลงโดยการแลกเปลี่ยนความร้อนกับคอยล์ทำความเย็น แล้วจะถูกหมุนเวียนกลับเข้าสู่บริเวณที่ต้องการการปรับอากาศ การเลือกเครื่องเป่าลมเย็นจะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบต่อไปนี้ • การเลือกพัดลมส่งลมเย็นที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ณ จุดที่ต้องการใช้งาน • (คือตรงกับปริมาณลมและความดันในระบบ) ซึ่งโดยปกติจะอยู่ในช่วงกลางๆ ของกราฟแสดงสมรรถนะการทำงานของพัดลม (Fan Performance Curve)

  17. การจะเลือกเครื่องเป่าลมเย็นที่จะช่วยการอนุรักษ์พลังงาน ควรจะเริ่มจากการออกแบบที่พิจารณาถึงองค์ประกอบเกี่ยวกับปริมาณลม และความดัน (แรงเสียดทาน) ซึ่งจะช่วยลดกำลังไฟฟ้าของมอเตอร์ที่จะเลือกใช้ให้น้อยลงด้วย ดังนี้ • ควรออกแบบให้ระบบปรับอากาศใช้ปริมาณลมที่ต้องส่งน้อยลง ด้วยการให้ผลต่างของอุณหภูมิของลมที่เข้าคอยล์ทำความเย็น และออกจากคอยล์ทำความเย็นต่างกันมากขึ้น ซึ่งถ้าปริมาณลมที่ต้องส่งน้อยลงได้ จะช่วยลดกำลังไฟฟ้าของมอเตอร์ให้น้อยลง • ควรออกแบบให้ระบบปรับอากาศ มีความเสียดทานในระบบให้น้อยลง ดังนี้ • ออกแบบให้ความยาวของท่อลมจากเครื่องปรับอากาศไปยังบริเวณพื้นที่ • ปรับอากาศสั้นที่สุด , ให้มีความยาวเท่าๆ กัน หรือมีท่อเลี้ยว ข้องอน้อย • ออกแบบให้ท่อลมมีมิติความกว้างและมิติความสูงใกล้เคียงกันเพื่อให้ • ความเร็วของลมในท่อต่ำ ทำให้ความเสียดทานการไหลของลมในท่อน้อยลง

  18. การเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยแปรเปลี่ยนปริมาณลมเพื่อปรับปริมาณลมให้การเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยแปรเปลี่ยนปริมาณลมเพื่อปรับปริมาณลมให้ • ตรงกับการเปลี่ยนแปลงของโหลดทำความเย็น วิธีการแปรเปลี่ยนปริมาณลมสามารถทำได้ดังนี้ • ใช้มอเตอร์ที่สามารถแปรเปลี่ยนความเร็วรอบได้(Variable Speed Motor) โดย ใช้อุปกรณ์ควบคุมเรียกว่า “inverter” ซึ่งเป็นวิธีการที่แน่นอนในการควบคุม ปริมาณลมและประหยัดพลังงานได้ดีที่สุด แต่ต้องมีการลงทุนสูง • ใช้อุปกรณ์ปรับช่องลมเข้าของพัดลม (Inlet Guide Vane) ซึ่งเป็นวิธีที่ประหยัด พลังงานได้ค่อนข้างดีอีกวิธีหนึ่งแต่การลงทุนยังค่อนข้างสูง • ใช้อุปกรณ์ปรับช่องลมออกของพัดลม (Discharge Damper) ซึ่งเป็นวิธี ประหยัดพลังงานได้ดีพอสมควร และราคาลงทุนจะถูกกว่ามาก • ใช้ใบปรับทิศทางลมและปริมาณทางด้านลมขาเข้าเพื่อให้เพื่อให้มีทิศทางการ ไหลที่สอดคล้องกับการหมุนของปีกใบพัด

  19. ระบบส่งลมเย็น ระบบท่อลม • การกระจายลมเย็นต้องอาศัยระบบท่อลมในการช่วยกระจายลมให้ทั่วถึง ทั้งนี้ เพื่อให้อุณหภูมิของอากาศภายในห้องนั้นมีความสม่ำเสมอ • โดยทั่วไปความเร็วลมที่ผ่านตัวคนที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ประมาณ 50 ฟุต/ นาที • อุปกรณ์หลักในการส่งลมเย็นประกอบด้วย • พัดลมหรือเครื่องเป่าลมเย็น (Fan or Air Handing Unit) • ท่อส่งลม (Duct work) รวมทั้งข้อต่อ (Fittings) • หัวจ่าย (Terminal distribution) • อุปกรณ์เสริม (Accessories) เช่น แดมเปอร์ (Damper) หรือ ใบปรับ • ปริมาณลม แผ่นปรับทิศทางลม (Guide Vane)

  20. ท่อลมส่ง เรียกว่า Supply Air ทำหน้าที่จ่ายลมเย็นที่ออกจากเครื่องปรับอากาศ, FCU หรือ AHU ไปยัง บริเวณปรับอากาศที่ต้องการ • ท่อลมกลับ เรียกว่า Return Air ทำหน้าที่นำลมจากภายในห้องปรับอากาศ กลับมาเข้ายังเครื่องปรับอากาศ, FCU หรือ AHU • ลักษณะวงจรการหมุนเวียนของลมจะเป็นแบบปิด (Recirculate) คือ ส่งลมเย็นไป แล้วก็ดึงลมที่ร้อนขึ้นหลังจากรับความร้อนภายในห้องกลับมาทำให้เย็นแล้วก็ ส่งกลับเข้าไปในห้องใหม่ • มีการนำอากาศบริสุทธิ์(Fresh Air) จากภายนอกห้องปรับอากาศเข้ามาผสม ปริมาณอากาศบริสุทธิ์อยู่ในช่วง 10-15% ของปริมาณลมหมุนเวียน • มีการระบายอากาศเสียทิ้ง (Exhaust Air) เพื่อป้องกันกลิ่นรบกวน โดยปริมาณ อากาศเสียจะน้อยกว่าปริมาณอากาศบริสุทธิ์ เนื่องจากห้องปรับอากาศจะ พยายามรักษาความดันให้ภายในห้องสูงกว่านอกห้อง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ ฝุ่นและความชื้นเข้าไป

  21. ระบบส่งลมเย็นแบบ VAV จะใช้อากาศเย็นเป็นตัวกลางในการดูดความร้อนที่ห้องหรือโซนต่างๆ แล้วนำความร้อนกลับไปทิ้งที่เครื่องเป่าลมเย็น โดยในการหมุนเวียนลมเย็นจะใช้พัดลมขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า เมื่อปริมาณลมที่ใช้ลดลงตามภาระทำความร้อนของห้องต่าง ๆ ก็จะมีระบบควบคุมให้พัดลมจ่ายลมได้น้อยลงตามภาระความร้อน ซึ่งจะช่วยในการประหยัดพลังงาน รวมทั้งจะไปปรับให้หัวจ่ายลม VAV ปรับลดปริมาณการจ่ายลมตามลงไปด้วย การควบคุมปริมาณลม ใช้กล่องควบคุมปริมาณลม (VAV Box) ซึ่งมีลิ้นควบคุมปริมาณลมตามเทอร์โมสตัทในบริเวณนั้น ทำให้ปริมาณการจ่ายลมมากน้อยตามสภาพการใช้งาน ลักษณะนี้จะทำให้สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดีขึ้น และในแต่ละชั้นอาจจะมีเทอร์โมสตัทถึง 10-30 ชุด ตาม ขนาดพื้นที่อาคารและการใช้งาน

  22. การทำงานของระบบปริมาณลมคงที่การทำงานของระบบปริมาณลมคงที่ การทำงานของระบบ VAV

  23. ข้อได้เปรียบของระบบ VAV • ประหยัดพลังงานเมื่อโหลดลดลง ปริมาณลมจ่ายก็จะลดลง พัดลมก็จะ ทำงานน้อยลง • ค่าลงทุนถูก ติดตั้งง่าย ระบบควบคุมก็ง่ายๆ ไม่มีการผสมลม ไม่มีการปรับ สมดุล สามารถลดขนาดเครื่องเป่าลมเย็น ท่อลม พัดลม และแผงกรอง อากาศสำหรับระบบ VAV ลงได้ ซึ่งทำให้ราคาถูกลงด้วย • ควบคุมอุณหภูมิได้หลายโซนโดยอิสระ สำหรับอาคารที่แต่ละโซนต้องการ ควบคุมอุณหภูมิที่แตกต่างกันไป • ปราศจากเสียงรบกวนได้ประโยชน์จากกล่องควบคุมปริมาณลม และท่อ ลมชนิดอ่อน ซึ่งช่วยเก็บเสียงไปได้มาก • โยกย้ายหัวจ่ายได้ง่าย สำหรับฝ้าแบบทีบาร์

  24. อุปกรณ์และระบบที่เกี่ยวข้องกับเครื่องส่งลมเย็นด้านน้ำเย็นอุปกรณ์และระบบที่เกี่ยวข้องกับเครื่องส่งลมเย็นด้านน้ำเย็น ในระบบปรับอากาศขนาดใหญ่มักจะนิยมใช้น้ำเป็นสื่อกลางในการถ่ายเทความร้อนใน คอนเดนเซอร์ และเป็นตัวส่งผ่านความเย็นจากเครื่องทำน้ำเย็นไปยังคอยล์ทำความเย็นในเครื่องส่งลมเย็น ดังนั้นระบบท่อน้ำเย็นจึงมีความสำคัญต่อการทำงานของเครื่องส่งลมเย็น ซึ่งระบบท่อน้ำเย็นที่ใช้มักจะเป็นระบบปิด การจัดวางท่อน้ำเย็นด้านส่งและด้านกลับในระบบปิดมีความสำคัญในแง่ของการสร้างสมดุลของความดันลดใน เครื่องส่งลมเย็นในแต่ละเครื่องให้ใกล้เคียงกัน เพื่อให้แต่ละเครื่องได้รับปริมาณน้ำเย็นตามที่ออกแบบเอาไว้

  25. การควบคุมอุณหภูมิในระบบปรับอากาศการควบคุมอุณหภูมิในระบบปรับอากาศ อาศัยเทอร์โมสตัท โดยเทอร์โมสตัทจะวัดอุณหภูมิภายในห้องปรับอากาศแล้วไปสั่งการทำงานของวาล์วควบคุมปริมาณน้ำเย็นอัตโนมัติ ซึ่งจะติดอยู่ที่ FCU และ AHU แต่ละตัว ถ้าห้องมีอุณหภูมิสูงขึ้น เทอร์โมสตัทก็จะสั่งให้วาล์วเปิดให้น้ำเย็นไหลเข้าคอยล์ทำความเย็นมากขึ้น และถ้าอุณหภูมิต่ำกว่าที่ตั้งไว้ วาล์วก็จะหรี่ให้น้ำเย็นไหลเข้าคอยล์ทำความเย็นน้อยลง คอยล์ทำความเย็นที่ทำงานปกติ จะต้องเย็นและมีน้ำเกาะและหยดไหลอยู่ตลอดเวลา หากคอยล์ทำความเย็นแห้งเย็นชืดๆ แสดงว่า ผิดปกติ จะต้องดูว่าน้ำเย็นไหลเข้าคอยล์ทำความเย็นได้สะดวกหรือไม่ และมีลมค้างอยู่ภายในท่อน้ำหรือคอยล์ทำความเย็นหรือไม่ เพราะลมที่ค้างอยู่จะขวางไม่ให้น้ำไหล (Air Block) ต้องไล่อากาศนี้ออกทาง Air Vent

  26. ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องส่งลมเย็นจากระบบน้ำเย็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องส่งลมเย็นจากระบบน้ำเย็น อัตราไหลของน้ำเย็นเข้าเครื่องเป่าลมเย็นมีปริมาณน้อยกว่าที่ออกแบบ ตรวจวัดอัตราไหลที่วาล์วปรับสมดุล (Balancing Valve) ซึ่งสามารถวัดได้ 2 วิธี คือ • วัดด้วยเครื่องวัดอัตราไหลของผู้ผลิตวาล์วปรับสมดุล ซึ่งสามารถแสดงอัตราการไหลเป็นตัวเลขได้ทันที • วัดความดันตกคร่อมวาล์วปรับสมดุลด้วยมาโนมิเตอร์ หรือเครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล แล้วนำค่าความดันที่วัดได้ไปเปิดหาอัตราไหลจากกราฟของวาล์วรุ่นนั้น ๆ ถ้าพบว่ามีอัตราไหลน้อยกว่าที่ควรจะเป็นขอให้เริ่มตรวจสอบ โดยกระทำดังนี้

  27. ตรวจสอบความดันตกคร่อมท่อน้ำส่งและท่อน้ำกลับตรวจสอบความดันตกคร่อมท่อน้ำส่งและท่อน้ำกลับ • ตรวจสอบความสกปรกของ Strainer • ตรวจสอบการทำงานของวาล์วควบคุม • ตรวจสอบความดันตกคร่อมคอยล์ทำความเย็น ตรวจสอบความดันตกคร่อมท่อน้ำส่ง และท่อน้ำกลับก่อนเข้าเครื่องส่งลมเย็น • ปิดวาล์วปรับสมดุลให้สุด (ก่อนปรับวาล์วให้จดจำนวนรอบเดิมไว้ก่อนเพื่อ ปรับคืนตำแหน่งเดิมได้) แล้ววัดความดันคร่อมวาล์วโดยใช้เครื่องวัดความดัน หรืออ่านความดันจากเครื่องวัดอัตราไหล • ความดันตกคร่อมท่อน้ำส่งและท่อน้ำกลับไม่น้อยกว่า 20 ฟุตน้ำ ถ้ามีความดัน ตกคร่อมท่อน้ำส่งและท่อน้ำกลับต่ำกว่า 20 ฟุตน้ำ แสดงว่าปัญหาน้ำเข้าเครื่อง เป่าลมเย็นน้อยเป็นปัญหาที่เกิดภายนอกเครื่องส่งลมเย็น ต้องไปตรวจสอบกัน ตั้งแต่ระบบเครื่องสูบน้ำเย็นและระบบท่อทั้งหมด

  28. ตรวจความสกปรกของ Strainer ถอดตะแกรงกรองความสกปรกภายใน Strainer ออกมาทำความสะอาด ตรวจการทำงานของวาล์วควบคุม (Control Valve) ตรวจสอบการค้างของวาล์วควบคุมโดยลองปรับเทอร์โมสตัทให้สูงขึ้นเพื่อดูว่าวาล์วปิดได้สุดหรือไม่ และลองปรับเทอร์โมสตัทให้ต่ำลงเพื่อดูว่าวาล์วเปิดลงได้สุดหรือไม่ ตรวจสอบความดันตกคร่อมคอยล์ทำความเย็น โดยทั่วไปความดันตกคร่อมคอยล์ไม่ควรเกิน 15 ฟุตน้ำ

  29. วาล์วปรับสมดุล (Balancing Valve) • วาล์วปรับสมดุลเป็นวาล์วที่ทำหน้าที่ปรับปริมาณน้ำให้ไหลเข้าเครื่องส่งลม เย็นให้ตรงตามสภาวะที่ออกแบบโดยเพิ่มความดันลดให้เครื่องส่งลมเย็นซึ่งมี อัตราไหลเกิน ทั้งนี้การเพิ่มความดันลดทำได้โดยการหรี่วาล์วลง • ถ้าเลือกขนาดวาล์วปรับสมดุลเท่ากับขนาดท่อ วาล์วที่ได้จะมีขนาดใหญ่ เกินไปทำให้ต้องหรี่วาล์วมากจนเกือบปิดเพื่อสร้างความดันลด และเมื่อเปิด ขึ้นมาเพียงเล็กน้อยอัตราไหลก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่เพิ่มขึ้นอีกแม้ว่า จะเปิดวาล์วเพิ่มขึ้น

  30. การเลือกขนาดวาล์วปรับสมดุลที่เหมาะสมคือ ต้องคำนวณว่าความดันลดที่ต้องการเป็นเท่าใดที่อัตราการไหลออกแบบ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่ากรณีใดๆ ความดันลดคร่อมวาล์วต้องไม่น้อยกว่า 3 kPa แล้วนำไปคำนวณหาค่า Cv แล้วเลือกขนาดวาล์วที่มีค่า Cv ของช่วงรอบกลางๆ เช่น 4 ถึง 6 รอบจากทั้งหมด 8 รอบ ตรงกับค่า Cv ที่คำนวณได้ โดยทั่ว ๆไปแล้ว วาล์วปรับสมดุลที่เลือกโดยวิธีนี้จะมีขนาดเล็กกว่าขนาดท่อประมาณ 1 ถึง 2 ขนาด การปรับตั้งวาล์วปรับสมดุลนั้นจะต้องแน่ใจก่อนว่าการทำงานของอุปกรณ์ในระบบทุกตัวต้องทำงานตามสภาวะที่ออกแบบ เปิดวาล์วควบคุมของอุปกรณ์ปลายทาง (เช่น เครื่องเป่าลมเย็น, หอระบายความร้อน เป็นต้น) ทุกเครื่องให้สุด เปิดวาล์วทุกตัวซึ่งปรกติต้องเปิด (Normally Open) และปิดวาล์วทุกตัวซึ่งปรกติต้องปิด (Normally Closed) มิฉะนั้นแล้ว การปรับสมดุลนั้นจะไม่เป็นผลดีต่อระบบ

  31. ระบบไฟฟ้าในส่วนของเครื่องส่งลมเย็นระบบไฟฟ้าในส่วนของเครื่องส่งลมเย็น • เครื่องส่งลมเย็นจะมีอุปกรณ์หลักที่ต้องใช้ไฟฟ้าคือมอเตอร์พัดลม • มอเตอร์พัดลมที่ดีควรจะใช้ขดลวดที่ทนความร้อนได้สูง ทำให้มอเตอร์ นั้นทำงานได้อย่างต่อเนื่องโดยรอบการหมุนของมอเตอร์ไม่ตก ซึ่งมีผล ต่อการระบายความร้อนและทำให้มอเตอร์ไม่เสียง่าย • มอเตอร์มีทั้งแบบ 1 เฟส และแบบ 3 เฟส ขึ้นอยู่กับขนาดของมอเตอร์ มอเตอร์ที่มีขนาดมากกว่า 7.5 kW(5 HP)ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นมอเตอร์ แบบ 3 เฟส การเลือกใช้มอเตอร์แบบ 3 เฟส (หากเป็นไปได้) จะมีข้อดีอย่างหนึ่งคือการใช้กำลังไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงโดยที่การกินกระแสจะน้อยกว่าแบบ 1 เฟส ทำให้เมื่อเทียบที่พิกัดที่ค่าเท่ากัน ขนาดของมอเตอร์ 3 เฟสจะเล็กกว่าแบบ 1 เฟส รวมทั้งทำให้การ balance phase ง่ายกว่า ไม่ทำให้เกิด harmonic ในสายไปรบกวนอุปกรณ์อื่น ๆ

  32. ระบบ BAS ในส่วนของเครื่องส่งลมเย็น • เพื่อให้การควบคุมมีความถูกต้องแม่นยำ และสามารถปรับแต่งค่าที่ ต้องการควบคุม (Control Variable) ได้ถูกต้องสะดวกรวดเร็ว เนื่องจาก โดยทั่วไปจะมีการใช้งานร่วมกับเครื่องควบคุมแบบ DDC (Direct Digital Control) ซึ่งเป็นเครื่องควบคุมที่ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ของระบบ คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลการทำงาน • เพื่อความสะดวกและลดโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดต่าง ๆ ในการ ควบคุมการใช้งานและการดูแลบำรุงรักษา เนื่องจากสามารถควบคุม, เก็บบันทึกข้อมูลและวิเคราะห์ผลการทำงานของอุปกรณ์ระบบปรับ อากาศทั้งหมดหรือบางส่วนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไปซึ่งสามารถ จัดตั้งไว้ที่ห้องควบคุมส่วนกลาง • เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ระบบปรับอากาศให้เกิดการอนุรักษ์ พลังงาน

  33. การทำงานของเครื่องเป่าลมเย็นจะถูกควบคุมโดยอุปกรณ์ตรวจจับ ซึ่งจะตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้นในบริเวณปรับอากาศและส่งสัญญาณไปยังตัวควบคุมเพื่อสั่งการไปยังเครื่องเป่าลมเย็นให้ทำการ • ปรับเพิ่มหรือลดปริมาณลมเย็นจะโดยวิธีการปรับเพิ่มหรือลดความเร็วรอบของ พัดลม หรือโดยปรับใบปรับตั้งทิศทางลม (Inlet Guide Vane) ที่เครื่องส่งลมเย็น หรือในกรณีที่ใช้ระบบท่อลมแบบ VAV ก็จะไปปรับลดปริมาณลมที่กล่องจ่าย ลมแบบ VAV • ปรับเพิ่มหรือลดปริมาณน้ำเย็นที่เข้าสู่ตัวเครื่องโดยไปทำการเปิดหรือหรี่วาล์ว ควบคุมที่ตัวเครื่องเป่าลมเย็น หรือโดยการเพิ่มหรือลดความเร็วรอบของเครื่อง สูบน้ำ • ปรับเพิ่มหรือลดความดันสถิตโดยวิธีปรับเพิ่มหรือลดความเร็วรอบของพัดลมใน เครื่องส่งลมเย็น • ปรับเพิ่มหรือลดความชื้นในกระแสลมเย็นโดยสั่งให้ตัวเพิ่มความชื้น (หากมี)ใน เครื่องเป่าลมเย็นทำงานหรือไม่ทำงาน

  34. แผนผังการใช้ระบบ BAS ในส่วนของ Hardware กับเครื่องส่งลมเย็น

  35. การตรวจวัดเครื่องส่งลมเย็นการตรวจวัดเครื่องส่งลมเย็น การตรวจวัดเพื่อดูขนาดความสามารถในการทำความเย็นของเครื่องส่งลมเย็น • รายการเครื่องมือวัดที่ต้องใช้ได้แก่ • Power Meter หรือ kW Meter • Thermometer (เครื่องมือวัดอุณหภูมิ) • Anemometer (เครื่องมือวัดความเร็วอากาศ) • Hygrometer (เครื่องมือวัดความชื้นสัมพัทธ์) • Psychometric Chart (แผนภูมิอากาศ)

  36. แนวทางการเก็บข้อมูล มีดังนี้ • บันทึกค่าความเร็วลมผ่านหน้าตัดของช่องลมกลับ ในหน่วย เมตร/นาที โดยควรวัดหลาย ๆ จุดให้ทั่วทั้งหน้าตัดแล้วหาเป็นค่าเฉลี่ย • วัดขนาดพื้นที่หน้าตัดของช่องลมกลับ แล้วนำไปคูณกับค่าความเร็วลม เฉลี่ยเพื่อหาปริมาณลมหมุนเวียนผ่านคอยล์เย็นได้ ในหน่วย ลบ.ม./นาที • บันทึกค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของลมจ่าย (Supply Air) เพื่อนำไป หาค่าเอนธาลปีของลมจ่าย (Hs) จากแผนภูมิ Psychometric • บันทึกค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของลมกลับ (Return Air) เพื่อ นำไปหาค่าเอนธาลปีของลมกลับ (Hr) จากแผนภูมิ Psychometric • บันทึกค่าการใช้กำลังไฟฟ้าของพัดลมเป็น kW ด้วย Power Meter

  37. การตรวจวัดเพื่อหาประสิทธิภาพของพัดลมการตรวจวัดเพื่อหาประสิทธิภาพของพัดลม • รายการเครื่องมือวัดที่ต้องใช้ได้แก่ • Power meter หรือ kW meter • Anemometer • Fan Performance Curve • แนวทางการเก็บข้อมูล มีดังนี้ • บันทึกค่าความเร็วลมที่ทางออกของพัดลม แล้วนำไปคูณกับ ขนาดพื้นที่หน้าตัดทางออกของพัดลมเพื่อจะได้อัตราการ ไหลหรือปริมาณลม • นำค่าปริมาณลมหรืออัตราการไหลไปพล็อต ลงใน Fan Performance Curve เพื่อจะได้ค่าความดันสถิตทั้งหมด (TSP) • บันทึกค่าการใช้กำลังไฟฟ้าเป็น kW

  38. การตรวจวัดเพื่อหาค่าความดันสถิตของลมจากพัดลมการตรวจวัดเพื่อหาค่าความดันสถิตของลมจากพัดลม • รายการเครื่องมือวัดที่ต้องใช้ได้แก่ • ท่อปิโต และมาโนมิเตอร์ • แนวทางการเก็บข้อมูล มีดังนี้ • วัดความดันแตกต่างของลมที่ออกจากพัดลมและลมที่ เข้าพัดลมผ่านทางท่อปิโตโดยให้ปลายท่อตั้งฉากกับ ทิศทางการไหลของลม ส่วนปลายท่ออีกข้างหนึ่งจะ ต่อเข้ากับมาโนมิเตอร์ • ค่าที่อ่านได้จากมาโนมิเตอร์จะเป็นค่าความดันสถิตของลม

  39. การตรวจวัดความเร็วรอบของพัดลมการตรวจวัดความเร็วรอบของพัดลม • รายการเครื่องมือวัดที่ต้องใช้ได้แก่ • เครื่องมือวัดความเร็วรอบแบบสัมผัส หรือแบบแสง • แนวทางการเก็บข้อมูล มีดังนี้ • บันทึกค่าความเร็วรอบจากเครื่องมือวัด การตรวจวัดกระแสไฟฟ้าและแรงดันฟ้าของมอเตอร์พัดลม • รายการเครื่องมือวัดที่ต้องใช้ได้แก่ • Volt meter • Amp meter • แนวทางการเก็บข้อมูล มีดังนี้ • บันทึกค่าแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่ใช้โดยมอเตอร์ทั้ง กรณีใช้ไฟ 1 เฟส และไฟ 3 เฟส

  40. การตรวจวัดอัตราการไหลของน้ำผ่านคอยล์ทำความเย็นการตรวจวัดอัตราการไหลของน้ำผ่านคอยล์ทำความเย็น • รายการเครื่องมือวัดที่ต้องใช้ได้แก่ • เครื่องมือวัดอัตราการไหล • แนวทางการเก็บข้อมูล มีดังนี้ • บันทึกค่าอัตราการไหลของน้ำเย็นที่ผ่านคอยล์ทำความเย็น การตรวจวัดความดันตกคร่อมของน้ำเย็นที่ไหลผ่านคอยล์ทำความเย็น • รายการเครื่องมือวัดที่ต้องใช้ได้แก่ • เครื่องมือวัดความดันหรือเกจวัดความดัน • แนวทางการเก็บข้อมูล มีดังนี้ • บันทึกค่าความดันของน้ำก่อนเข้าและหลังเข้าคอยล์ทำความเย็น • ค่าแตกต่างระหว่างความดันก่อนและหลังเข้าคอยล์ทำความเย็นจะเป็นค่าความดันตกคร่อมคอยล์ทำความเย็น

  41. การตรวจวัดความดันตกคร่อมแผงกรองอากาศการตรวจวัดความดันตกคร่อมแผงกรองอากาศ • รายการเครื่องมือวัดที่ต้องใช้ได้แก่ • ท่อปิโต และมาโนมิเตอร์ • แนวทางการเก็บข้อมูล มีดังนี้ • วัดความดันแตกต่างของลมก่อนเข้าและออกจากแผงกรองอากาศผ่าน ทางท่อปิโตโดยให้ปลายท่อตั้งฉากกับทิศทางการไหลของลมส่วน ปลายท่ออีกข้างหนึ่งจะต่อเข้ากับมาโนมิเตอร์ การตรวจวัดความดันตกคร่อมของอากาศที่ไหลผ่านคอยล์ทำความเย็น • รายการเครื่องมือวัดที่ต้องใช้ได้แก่ • ท่อปิโต และมาโนมิเตอร์ • แนวทางการเก็บข้อมูล มีดังนี้ • วัดความดันแตกต่างของลมก่อนเข้าและออกจากคอยล์ทำความเย็นผ่าน ทางท่อปิโตโดยให้ปลายท่อตั้งฉากกับทิศทางการไหลของลม ส่วนปลาย ท่ออีกข้างหนึ่งจะต่อเข้ากับมาโนมิเตอร์

  42. การตรวจวัดหาปริมาณลมกลับ, ลมบริสุทธิ์ และลมระบาย • รายการเครื่องมือวัดที่ต้องใช้ได้แก่ • Anemometer (เครื่องมือวัดความเร็วอากาศ) • แนวทางการเก็บข้อมูล มีดังนี้ • บันทึกค่าความเร็วลมผ่านหน้าตัดของช่องลมกลับ ช่องลมบริสุทธิ์ และช่องลมระบาย ในหน่วย เมตร/นาที โดยควรวัดหลาย ๆ จุดให้ ทั่วทั้งหน้าตัดแล้วหาเป็นค่าเฉลี่ย • วัดขนาดพื้นที่หน้าตัดของช่องลมกลับ ช่องลมบริสุทธิ์ และช่องลม ระบาย แล้วนำไปคูณกับค่าความเร็วลมเฉลี่ยเพื่อหาปริมาณลม ใน หน่วย ลบ.ม./นาที

  43. ตัวอย่างแบบบันทึกการตรวจวัดข้อมูลเครื่องส่งลมเย็นตัวอย่างแบบบันทึกการตรวจวัดข้อมูลเครื่องส่งลมเย็น

  44. ตัวอย่างแบบบันทึกข้อมูลการวัดการใช้พลังงานของเครื่องส่งลมเย็น (AHU/FCU)

  45. การควบคุมเครื่องส่งลมเย็นการควบคุมเครื่องส่งลมเย็น เป้าหมาย • สามารถควบคุมและปรับรักษาสภาวะอากาศ เช่น อุณหภูมิและ ความชื้นภายในห้องปรับอากาศตามที่ได้ออกแบบไว้ • สามารถควบคุมการเริ่มเดินเครื่องและหยุดเครื่องเป่าลมเย็นเมื่อทำงาน ในภาวะปกติทั่วไปหรือหยุดทำงานทันทีเมื่อเครื่องเกิดภาวะวิกฤติ ในขณะทำงาน เช่น เกิดเพลิงไหม้ • สามารถช่วยลดจำนวนแรงงานและโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดต่าง ๆ ให้น้อยลง สำหรับการเดินเครื่องและบำรุงรักษาเครื่องเป่าลมเย็นที่มี จำนวนมากหรือต้องการความแม่นยำในการควบคุมสูง • สามารถช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานให้มากที่สุด เช่น การ เดินเครื่องให้เหมาะกับภาระการทำความเย็นที่ต้องการ

  46. หลักคิดในการควบคุมปริมาณลม มีปริมาณลม2 ชนิด คือ 1. ปริมาณลมที่ใช้ปรับอากาศ H3 = ค่าความร้อนสัมผัสของห้อง, BTUH TD= ผลต่างของอุณหภูมิลมจ่ายกับอุณหภูมิปรับอากาศที่ต้องการในห้อง 2.ปริมาณลมระบายอากาศซึ่งมีค่าความร้อนที่นำเข้ามาดังนี้ Sensible Heat of Ventilating Air CFM x 1.09 x (to-tr) Latent Heat of Ventilating Air CFM x 0.68 x (Mo-Mr) โดย CFM = อัตราการระบายอากาศ, ลบ.ฟ/นาที t = อุณหภูมิข้างนอกและในห้อง, องศาฟาเรนไฮต์ M = อัตราส่วนความชื้นข้างนอกและข้างใน, เกรนไอน้ำ/ปอนด์ อากาศแห้ง

  47. เนื่องจากอัตราการระบายอากาศขึ้นอยู่กับจำนวนคน ซึ่งมีความไม่แน่นอน ดังนั้น การปรับลดปริมาณอัตราการระบายอากาศให้ตรงกับสภาพความต้องการที่แท้จริงจะช่วยในการลดปริมาณความร้อนที่ต้องขจัดทิ้ง --- ประหยัดพลังงาน การควบคุมปริมาณลมนำเข้าผ่านเครื่องส่งลมเย็นจะไม่ใช้มือปรับอุปกรณ์ทุกครั้งแต่จะต้องใช้วิธีการควบคุมที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเลคทรอนิกและกลไกปรับตำแหน่งแดมเปอร์ให้ได้ปริมาณลมที่ต้องการ อาจจะใช้แดมเปอร์ที่ปรับแผ่นเปิดปิด หรือใช้แดมเปอร์หลายชุด เลือกเปิด-ปิด แต่ละชุดซึ่งอาจจะใช้การควบคุมแบบ Proportional, Proportional Integral, Proportional Integral and Derivative ตามความเหมาะสม

More Related