1 / 7

การจัดการความรู้ ( Knowledge Management )

การจัดการความรู้ ( Knowledge Management ).

alia
Télécharger la présentation

การจัดการความรู้ ( Knowledge Management )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคคลที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ (พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ.๒๕๔๖มาตรา 11)

  2. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ หมวด ๒ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของ ประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่า ประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการ ดังต่อไปนี้

  3. (๑) การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้อง เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๗ และสอดคล้อง กับแนวนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา (๒) การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดย ซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้ และมุ่งให้เกิด ประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและ ท้องถิ่น

  4. (๓) ก่อนเริ่มดำเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มี การศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน กำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่โปร่งใส มีกลไก ตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน ในกรณีที่ ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนราชการ ต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือ ชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึง ประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับจากภารกิจนั้น

  5. (๔) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องรับฟังความคิดเห็นและความ พึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุง หรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติ ราชการให้เหมาะสม (๕) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วน ราชการดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือระเบียบ ข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วน ราชการที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และแจ้งให้ ก.พ.ร. ทราบด้วย การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการกำหนดวิธีปฏิบัติให้ เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่อง ทั้งนี้ ก.พ.ร. จะกำหนดแนวทางการ ดำเนินการทั่วไปให้ส่วนราชการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรานี้ด้วยก็ได้

  6. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ หมวด 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มาตรา 9 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ก่อนจะดำเนินการภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำ แผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า (๒) การกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม (๑) ต้องมี รายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการ ดำเนินการของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของ ภารกิจ และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ

  7. (๓) ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติ ตามแผนปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการ กำหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร. กำหนด (๔) ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติ ราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่ จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือเปลี่ยน แผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม

More Related