1 / 32

การบริหารความเสี่ยง Risk Management

การบริหารความเสี่ยง Risk Management. งานนโยบายและแผน คณะสัตวแพทย์ 17 กันยายน 2553. ทำไมต้องทำแผนบริหารความเสี่ยง ?. คณะกรรมการตรวจสอบเงินแผ่นดิน กำหนดให้มหาวิทยาลัยจัดวางระบบควบคุมภายในให้เป็นมาตรฐาน ระบบการศึกษาสมัยใหม่มีการนำระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้ในการบริหารการศึกษา

Télécharger la présentation

การบริหารความเสี่ยง Risk Management

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบริหารความเสี่ยงRisk Management งานนโยบายและแผน คณะสัตวแพทย์ 17 กันยายน 2553

  2. ทำไมต้องทำแผนบริหารความเสี่ยง ? • คณะกรรมการตรวจสอบเงินแผ่นดิน กำหนดให้มหาวิทยาลัยจัดวางระบบควบคุมภายในให้เป็นมาตรฐาน • ระบบการศึกษาสมัยใหม่มีการนำระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้ในการบริหารการศึกษา • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นโยบายให้ทุกส่วนราชการของมหาวิทยาลัยต้องทำ • ทำอยู่แล้ว แต่เปลี่ยนชื่อ (การควบคุมภายใน-การบริหารความเสี่ยง)

  3. วัตถุประสงค์ในการบริหารความเสี่ยงวัตถุประสงค์ในการบริหารความเสี่ยง • เพื่อให้เกิดการรับรู้ ตระหนัก และเข้าใจถึงความเสี่ยงด้านต่างๆที่เกิดขึ้นกับคณะฯ และหาวิธีจัดการที่เหมาะสมในการลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ • สร้างกรอบและแนวทางในการดำเนินงานให้แก่บุคลากรในคณะฯเพื่อให้สามารถบริหารจัดการความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นกับคณะได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ • เพื่อให้มีระบบในการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินการบริหารความเสี่ยงและเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ๆที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

  4. นิยามความเสี่ยง (Risk) • ความเสี่ยง หมายถึง โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่าหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต และมีผลกระทบหรือทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ที่มา: คู่มือการบริหารความเสี่ยง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  5. นิยามความเสี่ยง ความเสี่ยงในการบริหารองค์กรหมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่มีความแน่นอนที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบในด้านลบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กร

  6. ประเภทของความเสี่ยง ความเสี่ยงด้าน ยุทธศาสตร์ (Strategic Risk) (กลยุทธ์+นโยบาย) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) (การปฏิบัติงาน) ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk) (การเงินและงบประมาณ) ความเสี่ยงด้านการ ปลอดภัยจากอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน (Hazard Risk) (เหตุการณ์ภายนอก)

  7. ปัจจัยเสี่ยง (Risk Factor) • หมายถึง ต้นเหตุหรือสาเหตุที่มาของความเสี่ยง ที่จะทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ทั้งนี้สาเหตุของความเสี่ยงที่ระบุควรเป็นสาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้วิเคราะห์และกำหนดมาตรการลดความเสี่ยงในภายหลังได้อย่างถูกต้อง

  8. โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงโครงสร้างการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการบริหารคณะ คณบดี คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ตัวแทนทุกระดับจากทุกหน่วยงาน งานนโยบายและแผน ทุกภาคส่วนของคณะสัตวแพทย์ ภาควิชาฯ, ศูนย์บริการสุขภาพ VPH CAP, หัวหน้างาน

  9. กระบวนการบริหารความเสี่ยงกระบวนการบริหารความเสี่ยง การสื่อสาร 7. การติดตาม ผลและทบทวน 6. การรายงาน 1. กำหนดวัตถุประสงค์ 2. การระบุความเสี่ยง 3. การประเมินความเสี่ยง 4. การประเมินมาตรการควบคุม 5. การบริหาร/จัดการความเสี่ยง ระบบสารสนเทศ

  10. การระบุความเสี่ยง • เป็นกระบวนการที่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ร่วมกับระบุความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง ที่เกี่ยวข้องโครงการ/กิจกรรม เพื่อให้ทราบถึงเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยง ที่อาจมีผลกระทบต่อการบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ • ต้องคำนึงถึง-สภาพแวดล้อมภายนอกและใน

  11. แนวทางในการระบุความเสี่ยงแนวทางในการระบุความเสี่ยง • แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบความเสี่ยง (Risk Review Team) คือการกำหนดตัวคณะทำงานไม่ว่าจะเป็นบุคลากรในองค์กรหรือจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญให้เข้ามาทำการศึกษาข้อมูลเอกสาร สัมภาษณ์และระดมสมองกับเจ้าหน้าที่ทุกระดับ เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่องค์กรเผชิญอยู่ให้ครอบคลุมทุกภารกิจขององค์กร

  12. แนวทางในการระบุความเสี่ยงแนวทางในการระบุความเสี่ยง • การประเมินด้วยตนเอง (RiskSelfAssessment) เป็นแนวทางจากด้านล่างสู่ด้านบน (Bottomupapproach) คือการให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับได้ทบทวนว่ากิจกรรมที่ตนเองทำอยู่ทุกวันมีความเสี่ยงอะไรบ้าง แล้วเสนอต่อผู้บังคับบัญชา ซึ่งแนวทางนี้อาจทำโดยใช้แบบสอบถาม หรือการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพิ่มระบุความเสี่ยงในแต่ละด้าน (What-if) • ระดมสมอง • Checklist

  13. ตัวอย่างการระบุความเสี่ยงตัวอย่างการระบุความเสี่ยง

  14. ตัวอย่างการระบุความเสี่ยงตัวอย่างการระบุความเสี่ยง

  15. ตัวอย่างการระบุความเสี่ยงตัวอย่างการระบุความเสี่ยง

  16. ตัวอย่างการระบุความเสี่ยงตัวอย่างการระบุความเสี่ยง

  17. ตัวอย่างการระบุความเสี่ยงตัวอย่างการระบุความเสี่ยง

  18. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) • ประเมินว่าแต่ละปัจจัยเสี่ยงนั้นมีโอกาสที่จะเกิดมากน้อยเพียงใด และหากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบต่อองค์กรรุนแรงเพียงใด และนำมาจัดลำดับว่าปัจจัยเสี่ยงใดมีความสำคัญมากน้อยกว่ากันเพื่อจะได้กำหนดมาตรการตอบโต้กับปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม • ประเมินโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) 5 ระดับ (มากที่สุด, มาก,ปานกลาง,น้อย,น้อยที่สุด) (เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ) • ประเมินผลกระทบ (Impact) 5 ระดับ (มากที่สุด, มาก,ปานกลาง,น้อย,น้อยที่สุด) (เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ) • คำนวณระดับความเสี่ยง (Risk Exposure) เพื่อจัดลำดับ

  19. ระดับโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยง (Likelihood) - เชิงปริมาณ

  20. ระดับโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยง (Likelihood) - เชิงคุณภาพ

  21. ระดับความรุนแรงของผลกระทบ(Impact)ระดับความรุนแรงของผลกระทบ(Impact) เชิงปริมาณ

  22. ระดับความรุนแรงของผลกระทบ (Impact)เชิงคุณภาพ

  23. การจัดลำดับความเสี่ยงการจัดลำดับความเสี่ยง • คำนวนระดับความเสี่ยง (Risk Exposure)เท่ากับผลคูณของคะแนนระหว่างโอกาสที่จะเกิดกับความเสียหายเพื่อจัดลำดับความสำคัญ และใช้ในการตัดสินใจว่าความเสี่ยงใดควรเร่งจัดการก่อน • จัดทำแผนภูมิความเสี่ยงเพื่อให้ผู้บริหารและคนในองค์กรได้เห็นภาพรวมว่าความเสี่ยงมีการกระจายตัวอย่างไร

  24. มาก ผลกระทบ น้อย น้อย มาก โอกาสที่จะเกิด แผนภูมิความเสี่ยง (Risk Profile)

  25. ระดับความเสี่ยง (Degree of Risk ) 5 5 10 15 20 25 4 4 8 12 สูง มาก ผล กระ ทบความเสี่ยง ต่ำ=1-2 ปานกลาง=3-6 สูง=8-12 สูงมาก=15-25 3 3 6 สูง 12 15 2 2 ปาน กลาง 8 10 1 ต่ำ 2 3 4 5 1 2 3 4 5 โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง

  26. การทำแผนบริหารความเสี่ยงการทำแผนบริหารความเสี่ยง • เลือกความเสี่ยงที่มีระดับสูงมาก และหรือสูง มาทำแผนบริหารความเสี่ยง • การเลือกแนวทางที่จะจัดการกับความเสี่ยงนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของการเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนที่จะเกิดขึ้นจากแนวทางนั้นๆกับผลประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับว่ามีความคุ้มค่าต่อองค์กรหรือไม่

  27. การพิจารณาเลือกแผนจัดการความเสี่ยงการพิจารณาเลือกแผนจัดการความเสี่ยง • ศึกษาความเป็นไปได้และค่าใช้จ่ายของแต่ละทางเลือก • วิเคราะห์ถึงผลได้ผลเสียของแต่ละทางเลือก - ผลได้ คือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อนำมาตรการนั้นมาใช้ลดความเสี่ยง อาจเกิดขึ้นในทันที หรือในระยะยาว - ผลเสีย ได้แก่ ต้นทุน เวลา หรือความสะดวกที่เสียไป รวมไปถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

  28. 4.การประเมินมาตรการควบคุม4.การประเมินมาตรการควบคุม • เป็นการประเมินกิจกรรมการควบคุมว่าควรจะมีหรือมีอยู่แล้วว่าสามารถควบคุมความเสี่ยงหรือปัจจัยเสี่ยงได้อย่างเพียงพอหรือเกิดประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ของการควบคุมเพียงใด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถควบคุมความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร • ประเภทการควบคุม มี 4 ประเภท • การควบคุมเพื่อป้องกัน (Preventive Control) • การควบคุมเพื่อให้ตรวจพบ(Detective Control) • การควบคุมโดยการชี้แนะ (Directive Control) • การควบคุมเพื่อการแก้ไข (Corrective Control)

  29. การควบคุมในที่นี้ (มช.กำหนด) • นำปัจจัยเสี่ยงสูงมาก และสูงมากำหนดวิธีการควบคุมเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น • พิจารณา หรือประเมินว่าในปัจจุบันความเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น มีการควบคุมอยู่แล้วหรือไม่ • ถ้ามีการควบคุมแล้ว ให้ประเมินต่อไปว่าการควบคุมนั้นได้ผลตามความต้องการอยู่หรือไม่

  30. 5. การบริหารและจัดการความเสี่ยง • การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance) • การลด/การควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction) • การกระจายความเสี่ยง (Risk Sharing) • การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance) • หลักการพิจารณา • ยอมรับความเสี่ยง หรือกำหนดกิจกรรม • เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายหรือต้นทุน • กำหนดวิธีควบคุมในแผนบริหารความเสี่ยง • นำมาทบทวนในปีถัดไป 6. รายงานผล

  31. 7. การติดตามผล (Monitoring) และทบทวน • แผนจัดการความเสี่ยงถูกนำไปใช้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ • ทราบถึงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นหลังจากใช้แผนจัดการความเสี่ยง • สามารถปรับปรุงแก้ไขแผนจัดการความเสี่ยงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หรือกรณีที่แผนเดิมไม่มีประสิทธิภาพ • มีการรายงานผลต่อผู้บริหารที่ได้รับมอบหมาย • (การติดตามผลรายครั้ง/การติดตามผลระหว่างปฏิบัติการ)

More Related