1 / 95

ค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ

การเบิกจ่าย. ค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ. ขอบเขตเนื้อหา. ลักษณะของรายจ่ายที่เบิกเป็นค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ. รายจ่ายลักษณะค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ที่ได้กำหนด. หลักเกณฑ์ไว้ในกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีและ. หนังสือเวียนกระทรวงการคลัง. รายจ่ายลักษณะใดที่ต้องขอทำความตกลงกับกระทรวง.

Télécharger la présentation

ค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเบิกจ่าย ค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ

  2. ขอบเขตเนื้อหา • ลักษณะของรายจ่ายที่เบิกเป็นค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ • รายจ่ายลักษณะค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ที่ได้กำหนด หลักเกณฑ์ไว้ในกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีและ หนังสือเวียนกระทรวงการคลัง • รายจ่ายลักษณะใดที่ต้องขอทำความตกลงกับกระทรวง การคลัง และรายจ่ายใดที่ไม่ต้องขอทำความตกลงกับ กระทรวงการคลัง

  3. กฎหมายและระเบียบการคลังกฎหมายและระเบียบการคลัง 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2. กฎหมายเงินคงคลัง 3. กฎหมายวิธีการงบประมาณ 4. กฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 5. ระเบียบการบริหารงบประมาณ 6. ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำส่งคลัง 7. ระเบียบเงินทดรองราชการ

  4. การเบิกเงินงบประมาณ • ประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีแล้ว • ได้รับอนุมัติวงเงินประจำงวดแล้ว • มีข้อผูกพันหรือมีความจำเป็นต้องจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ หรือ ผู้มีสิทธิ • หนี้นั้นถึงกำหนดหรือใกล้ถึงกำหนดต้องจ่ายเงิน

  5. งบประมาณ หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณจำแนกรายจ่ายตามงบประมาณเป็น 2 ลักษณะ รายจ่ายงบกลาง รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

  6. รายจ่ายงบกลาง หมายถึง รายจ่ายที่ตั้งไว้เพื่อจัดสรรให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจโดยทั่วไปใช้จ่ายตามรายการที่กำหนดดังนี้ เงินเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการลูกจ้างและพนักงานของรัฐ เป็นต้น

  7. นอกจากรายการหลักดังกล่าวดังกล่าวแล้ว พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีอาจตั้งรายจ่าย รายการอื่น ๆ ไว้ในรายจ่ายงบกลาง ตามความเหมาะสมแต่ละปีได้ เช่น ค่าใช้จ่ายการปรับเงินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ ค่าใช้จ่ายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น

  8. รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจรายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ หมายถึง รายจ่ายซึ่งกำหนดไว้สำหรับแต่ละส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะได้แก่ งบบุคลากร งบดำเนินงาน งบลงทุน งบเงินอุดหนุน งบรายจ่ายอื่น

  9. งบดำเนินงาน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อบริหารงานประจำ ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะ ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าสาธารณูปโภค รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใดในลักษณะดังกล่าว

  10. ค่าตอบแทน หมายถึง เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติงานให้ทางราชการตามที่กระทรวงการคลังกำหนด เช่น เงินค่าเช่าบ้าน ข้าราชการ ค่าตอบแทนกรรมการตรวจการจ้างและ ผู้ควบคุมงาน เงินสมนาคุณกรรมการสอบสวนทางวินัย ข้าราชการ เงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหา รถประจำตำแหน่งเป็นต้น

  11. ค่าใช้สอย หมายถึง รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ (ยกเว้น บริการสาธารณูปโภค) รายจ่ายที่เกี่ยวกับการรับรองและ พิธีการและรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการ ที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าจ้างเหมาบริการ ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ในประเทศ) ค่าของขวัญ เป็นต้น

  12. ค่าวัสดุ หมายถึง รายจ่ายเพื่อจัดหาสิ่งของซึ่งโดยสภาพแล้ว ย่อมสิ้นเปลืองหมดไป แปรสภาพหรือไม่คงสภาพเดิม หรือสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรและมีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดไม่เกิน 5,000 บาท รายจ่ายเพื่อซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน เพื่อให้ใช้งานได้ตามปกติ เป็นต้น

  13. ค่าสาธารณูปโภค หมายถึง รายจ่ายค่าบริการสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการไปรษณีย์ เป็นต้น

  14. งบรายจ่ายอื่น หมายถึง รายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะประเภทงบรายจ่ายใดงบรายจ่ายหนึ่งหรือรายจ่ายที่สำนักงานประมาณกำหนดให้ ใช้จ่ายในงบรายจ่ายนี้ เช่น เงินราชการลับ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ค่าใช้จ่ายสำหรับกองทุนหรือเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น

  15. รายจ่ายที่เบิกจ่ายได้รายจ่ายที่เบิกจ่ายได้ กฎหมาย ระเบียบ กระทรวงการคลัง อนุมัติให้จ่ายได้ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง

  16. รายจ่ายประเภทค่าตอบแทนรายจ่ายประเภทค่าตอบแทน ความหมายของเงินค่าตอบแทน เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ปฎิบัติงานให้ทางราชการ

  17. รายจ่ายประเภทค่าตอบแทนรายจ่ายประเภทค่าตอบแทน ความหมาย : เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ปฏิบัติงานให้แก่ทางราชการ ลักษณะ • เงินเดือน • นอกเหนือเงินเดือน • นอกเวลาราชการปกติ • นอกเหนืองานในหน้าที่ • เงินเพิ่มรายเดือน

  18. ระเบียบ กค. ว่าด้วยค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน ของข้าราชการ และลูกจ้างประจำฯ 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หลักเกณฑ์ 1. ข้าราชการได้เงินเดือน + ตำแหน่ง ให้ได้ค่าตอบแทน เท่ากับเงินตำแหน่ง เว้น ระดับ 7 2. ข้าราชการที่ได้เงินเดือนระดับ 8 8ว หรือเทียบเท่า ให้ได้รับ 3,500 บาท 3. ข้าราชการ 1-7 - เงินเดือนยังไม่เต็มขั้น - เงินเดือนเต็มขั้น

  19. (1) มีขั้นเหลืออยู่ 1.5 ขั้น ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 2% ของอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ถึงขั้นสูง (2) มีขั้นเหลืออยู่ 1 ขั้น ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 4% ของอัตราเงินเดือนฯ (3) มีขั้นเหลืออยู่ 0.5 ขั้น ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 6% ของอัตราเงินเดือนฯ (4) ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่ง ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 8% ของอัตราเงินเดือนฯ 4. หากได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่งและได้รับเงินตอบแทนพิเศษตามระเบียบ พ.ศ. 2544 และได้ปรับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้ว ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 8% ของอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ถึงขั้นสูง 5. หากพ้นหรือเลื่อนอันดับหรือตำแหน่ง ให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทน

  20. แก้ไขข้อ 5 • ข้าราชการพลเรือนที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง • ให้ได้รับค่าตอบแทนรายเดือน = อัตราเงินประจำตำแหน่ง • ยกเว้น ผู้ที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ • ซึ่งเดิมเคยดำรงตำแหน่งระดับ 7 ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนรายเดือน ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ, ประเภททั่วไป ระดับอาวุโส (c7-8) เฉพาะผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งระดับ 8 หรือ 8 ว ซึ่งไม่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษรายเดือน 3,500 บาท แก้ไขข้อ 6 • ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน , ชำนาญงาน, อาวุโส • ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ, ชำนาญการ • ที่เคยมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทน (เงินดาว) ให้ได้รับในอัตราที่เคยได้รับต่อไป • กรณีพ้นจากประเภทตำแหน่งหรือระดับดังกล่าว ไม่ว่าเหตุใด ให้งดจ่าย • การจ่ายเงินค่าตอบแทน (เงินดาว) เป็นการจ่ายชั่วคราว หากมีการปรับโครงสร้างเงินเดือน กค. จะพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราการจ่าย เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการที่ปรับใหม่ต่อไป กำหนดเพิ่ม

  21. ระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของ ข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ผู้มีสิทธิ • ข้าราชการพลเรือน • ข้าราชการทหาร ไม่รวมถึงนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหมและทหารกองประจำการ • ข้าราชการตำรวจไม่รวม พลตำรวจสำรอง • ลูกจ้างประจำ

  22. เกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว 1. ผู้มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรืออัตราค่าจ้างไม่เกินเดือนละ 11,700 บาท ได้รับ เงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ 1,500 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนฯ แล้วต้องไม่เกินเดือนละ 11,700 บาท แต่ถ้าเงินเพิ่มฯ รวมกับเงินเดือนฯ แล้วไม่ถึง 8,200 บาท ให้ได้รับ เงินเพิ่มฯ เพิ่มขึ้น เมื่อรวมกับเงินเดือนฯ เป็น 8,200 บาท 2. การเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณงบใด รายการใด ให้เป็นไปตามที่สำนักงบประมาณกำหนด

  23. ไม่ใช้บังคับกับผู้มีสิทธิตามไม่ใช้บังคับกับผู้มีสิทธิตาม • ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ • ระเบียบคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกา

  24. ยกเลิกบัญชีเงินเพิ่มฯ และให้ส่วนราชการ คำนวณอัตราการจ่ายเงินเพิ่มฯ ตามหลักเกณฑ์ใหม่ • ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มฯ เต็ม ตามสิทธิที่คำนวณได้ เพื่อให้สอดคล้องกับการจ่ายเงินในระบบ GFMIS

  25. มีผลใช้บังคับกับ - อาสาสมัครทหารพราน - สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน - พนักงานราชการ - ลูกจ้างเงินนอกงบประมาณ

  26. เงินตอบแทน การปฏิบัติงานนอกเวลา

  27. “เงินตอบแทน”หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ปกติ โดยลักษณะงานส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานในที่ตั้งสำนักงานและ ได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการในที่ตั้งสำนักงานหรือโดยลักษณะงานส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานนอก ที่ตั้งสำนักงาน และได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการนอกที่ตั้งสำนักงาน และหรือโดยลักษณะงานปกติต้องปฏิบัติงานในลักษณะเป็นผลัดหรือกะและ ได้ปฏิบัติงานนั้นนอกผลัดหรือกะของตน”

  28. “การปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะ หมายความว่า การปฏิบัติงานประจำตามหน้าที่ปกติของ ข้าราชการในส่วนราชการนั้น ๆ ซึ่งจัดให้มีการปฏิบัติงานผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตลอด 24 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่ปฏิบัติงาน ดังกล่าวถือเป็นเวลาราชการปกติของ ข้าราชการผู้นั้น ทั้งนี้ การปฏิบัติงานในผลัดหรือกะหนึ่ง ๆ ต้องมีเวลาไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง (ไม่รวมเวลาหยุดพัก)”

  29. ต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ ให้ให้พิจารณาเฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็น เพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ ให้คำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับระบบและ วิธีการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน กรณีที่มีราชการจำเป็นเร่งด่วนต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ให้ดำเนินการขออนุมัติจากผู้มีอำนาจโดยไม่ชักช้า และให้แจ้งเหตุแห่ง ความจำเป็นที่ไม่อาจขออนุมัติก่อนได้

  30. ข้าราชการได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการไม่มีสิทธิได้รับเงินตอบแทนนอกเวลาราชการ เว้นแต่ได้รับอนุมัติให้ปฏิบัติงานนอกเวลา ราชการก่อนการเดินทาง เมื่อการเดินทาง ไปราชการนั้นเสร็จสิ้นหรือเสร็จสิ้น การฝึกอบรมในแต่ละวันและกลับถึงสำนักงานในวันเดียวกัน

  31. การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในวันทำการ ให้มีสิทธิเบิกได้ไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 50 บาท การปฏิบัติงานในวันหยุดราชการ ให้มีสิทธิเบิกค่าตอบแทนได้ไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 60 บาท

  32. กรณีมีความจำเป็นต้องปฏิบัติงานซึ่งเป็นภารกิจหลักของหน่วยงานเป็นครั้งคราวหรือเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่มอบหมายให้หน่วยงานปฏิบัติมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนและมีลักษณะเร่งด่วน เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ราชการหรือประโยชน์สาธารณะ หัวหน้าส่วนราชการอาจสั่งการให้ ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการติดต่อกัน โดยให้มีสิทธิเบิกเงินตอบแทนเป็นรายครั้งไม่เกินครั้งละ 7 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 60 บาท

  33. การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหลายช่วงเวลาภายในวันเดียวกันให้นับเวลาปฏิบัติงานนอกเวลาราชการทุกช่วงเวลารวมกัน เพื่อเบิกเงินตอบแทนสำหรับวันนั้น  การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนอื่นของทางราชการสำหรับการปฏิบัติงานนั้นแล้ว ให้เบิกได้ทางเดียว

  34. การปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ ไม่อาจเบิกเงินตอบแทน • การอยู่เวรรักษาการณ์ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติหรือตามระเบียบหรือคำสั่ง ที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ • การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการไม่เต็มจำนวนชั่วโมง

  35. ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณ มีสิทธิได้รับเงินตอบแทนฯ ตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยให้นำหลักเกณฑ์และอัตราเงินตอบแทนตามระเบียบนี้มาใช้ โดยอนุโลม

  36. พนักงานราชการมีสิทธิได้รับเงินตอบแทนฯ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 และประกาศ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 3)

  37. กระทรวงการคลังกำหนดแบบฟอร์มประกอบการเบิกจ่าย ซึ่งส่วนราชการอาจกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมจากแบบฟอร์มได้ตามความเหมาะสม

  38. เบี้ยประชุมกรรมการ

  39. เบี้ยประชุมกรรมการ ยกเลิก 1. พ.ร.ฎ. เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2523 2. พ.ร.ฎ. เบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษา ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. 2523 3. มติ ครม. กำหนดเงินสมนาคุณรายเดือน • พ.ร.ฎ. เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป) และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2550 เป็นต้นไป)

  40. คณะกรรมการคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมคณะกรรมการคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม แต่งตั้งโดย • (1) ก.ม. /ประกาศพระบรมราชโองการ • (2) ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนฯ ประธานวุฒิสภา • (3) คณะรัฐมนตรี/รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ซึ่งได้รับอนุมัติจาก ครม. • (4) นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล • (5) คณะกรรมการ • คณะกรรมการ (1) – (4) • คณะอนุกรรมการ (1) – (5)

  41. ลักษณะเบี้ยประชุม กรรมการ (1) รายเดือน: • แต่งตั้งโดย ก.ม. ประกาศพระบรมราชโองการ • มีหน้าที่ความรับผิดชอบสูง กำหนดนโยบายซึ่งมีผลกระทบ ต่อการบริหาร เศรษฐกิจ สังคม - รายชื่อและอัตราตามที่ ร.ม.ต. คลังกำหนด (2) รายครั้ง : - แต่งตั้งโดย กม. ประกาศพระบรมราชโองการ นอกจาก (1) - โดยประธานรัฐสภาประธานสภาผู้แทนราษฎรประธานวุฒิสภา • โดย ค.ร.ม. นายก หรือ ร.ม.ต. ซึ่งได้รับอนุมัติจาก ค.ร.ม.

  42. ลักษณะเบี้ยประชุม (ต่อ) อนุกรรมการ (1) รายเดือน: • คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการที่ได้รับรายเดือน • มีหน้าที่ความรับผิดชอบสำคัญพิเศษ • ตามรายชื่อและอัตราที่ ร.ม.ต. คลังกำหนด (2) รายครั้ง : - คณะอนุกรรมการนอกจาก (1) • อ.ก.พ. กระทรวง ทบวง กรม ให้ได้รับเฉพาะ บุคคลต่างส่วนราชการและบุคคลภายนอก

  43. อัตราเบี้ยประชุม • รายเดือน - ตามรายชื่อและอัตราที่ ร.ม.ต. คลังประกาศกำหนด - ได้รับเฉพาะเดือนที่เข้าร่วมประชุม • รายครั้ง - กรรมการ ครั้งละไม่เกิน 1,200 บาท - อนุกรรมการ ” 800 บาท - ประธานเพิ่ม 1 ใน 4 - รองประธานเพิ่ม 1 ใน 8 - เลขานุการไม่เกิน 1 คน ผู้ช่วยเลขานุการไม่เกิน 2 คน

  44. ที่ปรึกษาคณะกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการ และเฉพาะที่ปรึกษาซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยกฎหมาย/ประกาศพระบรมราชโองการ

  45. ต้องมีกรรมการ อนุกรรมการ มาประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง จึงจะเป็นองค์ประชุมและ มีสิทธิเบิกเบี้ยประชุม

  46. กรรมการหรืออนุกรรมการแต่งตั้งโดยตำแหน่ง ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ แต่มอบหมายให้ผู้อื่น เข้าร่วมประชุมแทน โดยทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานการมอบหมาย ถือเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการหรืออนุกรรมการ ให้นับเป็นองค์ประชุมและมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม

  47. ระเบียบกระทรวงการคลังระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2549

  48. เจตนารมณ์ของระเบียบ เพื่อให้ส่วนราชการสามารถเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ได้สะดวก คล่องตัว มีความยืดหยุ่น สามารถใช้บริหารจัดการ ได้อย่างเหมาะสม โดยไม่ต้องอ้างอิงหนังสือสั่งการหลายฉบับ

  49. ในระเบียบนี้ ส่วนราชการ หมายถึง สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นหรือเทียบเท่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีหัวหน้าส่วนราชการซึ่งมีฐานะเป็นอธิบดี และราชการบริหารส่วนภูมิภาค

  50. ค่าใช้จ่าย หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการที่เบิกจ่ายจาก งบดำเนินงานในลักษณะ ค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ค่าสาธารณูปโภค หรือ งบรายจ่ายใดที่เบิกจ่ายในลักษณะเดียวกัน

More Related