1 / 24

รายวิชา 739344 เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

รายวิชา 739344 เทคโนโลยีมัลติมีเดีย. บทที่ 3 : เสียง (Sound). ผู้สอน : อ.ปัญญาพร ปรางจโรจน์. เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับเสียง. คลื่นเสียงจะเปลี่ยนไปความถี่ (Frequency) ของการสั่นสะเทือนตามระยะเวลา การวัดระดับของคลื่นเสียง เดซิเบล (Decibel) เป็นหน่วยวัดความดังของเสียง

Télécharger la présentation

รายวิชา 739344 เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายวิชา 739344 เทคโนโลยีมัลติมีเดีย บทที่ 3: เสียง(Sound) ผู้สอน : อ.ปัญญาพร ปรางจโรจน์

  2. เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับเสียงเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับเสียง • คลื่นเสียงจะเปลี่ยนไปความถี่ (Frequency) ของการสั่นสะเทือนตามระยะเวลา • การวัดระดับของคลื่นเสียง • เดซิเบล (Decibel) เป็นหน่วยวัดความดังของเสียง • เฮิรตซ์ (Hertz : Hz) เป็นหน่วยวัดความถี่ของเสียง • แบ่งออกเป็น 2 ชนิด • เสียงแบบ MIDI • เสียงแบบดิจิตอล

  3. MIDI : Musical Instrument Digital Interface • คือ ข้อมูลแสดงลักษณะเสียงแทนเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นมาตรฐานในการสื่อสารด้านเสียงที่ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 สำหรับใช้กับเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เช่น สร้างเสียงตามตัวโน้ต เสมือนการเล่นของเครื่องเล่นดนตรีนั้นๆ • ข้อดี ไฟล์ข้อมูลมีขนาดเล็ก การสร้างข้อมูล MIDI ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีจริงๆ ใช้หน่วยความจำน้อย ทำให้ประหยัดพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ เหมาะสำหรับใช้งานบนระบบเครือข่าย และง่ายต่อการแก้ไขและปรับปรุง • ข้อเสีย แสดงผลเฉพาะดนตรีบรรเลงและเสียงที่เกิดจากโน้ตดนตรีเท่านั้น และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เสียงมีราคาค่อนข้างสูง ** ยังเป็นนโยบายของไมโครซอฟต์ในการกำหนดรูปแบบของการสร้างข้อมูลเสียงแบบ MIDI เพื่อให้เป็นมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์เล่นเกม (Play Back)

  4. อุปกรณ์สร้างเสียง MIDI การปรับแต่งเสียงมิดิ ให้มีความไพเราะยิ่งขึ้น

  5. เสียงแบบดิจิตอล (Digital Audio) • คือ สัญญาณเสียงที่ส่งมาจากไมโครโฟน หรือจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ ทั้งจากธรรมชาติ และที่สร้างขึ้น แล้วนำข้อมูลที่ได้แปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล • ข้อมูลดิจิตอลจะถูกสุ่มให้อยู่ในรูปแบบของบิต และไบต์ โดยเรียกอัตราการสุ่มข้อมูลที่ได้มา เรียกว่า “Sampling Rate” และจำนวนของข้อมูลที่ได้เรียกว่า “Sampling Size” • เสียงแบบดิจิตอลจะมีขนาดของข้อมูลใหญ่ ทำให้ต้องใช้หน่วยความจำและทรัพยากรบนหน่วยประมวลผลกลางมากกว่า MIDI • ช่วงความถี่ 44.1 KHz, 22.05 KHz และ 11.025 KHz ซึ่งมี Sampling Size เป็น 8 บิต และ 16 บิต โดยที่ Sampling Rate และ Sampling Size ที่สูงกว่าจะให้คุณภาพของเสียงที่ดีกว่า และจะต้องมีเนื้อที่บนฮาร์ดดิสก์สำหรับรองรับอย่างเหมาะสม

  6. ตารางที่ 1 แสดงคุณสมบัติที่เหมาะสมของสัญญาณเสียงแบบดิจิตอลใน 1 วินาที

  7. การประมวลผลไฟล์เสียง การประมวลผลไฟล์เสียง 1. การบันทึกเสียง เป็นการนำเสียงมาจัดเก็บลงในหน่วยความจำเพื่อนำไปใช้งาน เสียงที่ทำงานผ่านคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณดิจิตอลมี 2 รูปแบบ คือ • Synthesize Sound เป็นเสียงที่เกิดจากตัววิเคราะห์เสียง ที่เรียกว่า MIDI โดยเมื่อตัวโน้ตทำงาน คำสั่ง MIDI จะถูกส่งไปยัง Synthesize Chip เพื่อทำการแยกเสียงว่าเป็นเสียงดนตรีชนิดใด • Sound Data เป็นเสียงที่ได้จากการแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอล โดยจะมีการบันทึกตัวอย่างคลื่น (Sample) ให้อยู่ที่ใดที่หนึ่งในช่วงของเสียงนั้นๆ *** สิ่งสำคัญก่อนบันทึกเสียงคือ จะต้องทำการเลือก Sampling Rate และ Sampling Size เพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการและใกล้เคียงกับเสียงจริง

  8. การประมวลผลไฟล์เสียง(ต่อ) การประมวลผลไฟล์เสียง(ต่อ) 2. การแก้ไขและการเพิ่มเทคนิคพิเศษ • การแก้ไขไฟล์เสียงคือ การตัดต่อ และการปรับแต่งเสียง โดยสิ่งที่สำคัญในการแก้ไขเสียงคือ การจัดสรรเวลาของการแสดงผลให้สัมพันธ์กับองค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้งานร่วมกับเสียง • ในปัจจุบันได้มีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับการแก้ไข ปรับแต่งหรือเพิ่มเทคนิคพิเศษให้กับมัลติมีเดียให้มีความสมบูรณ์ เช่น • โปรแกรม Audio Edit สำหรับใช้แก้ไขและการเพิ่มเทคนิคพิเศษให้กับเสียงที่ได้ทำการบันทึกเพื่อสร้างความต่อเนื่องของเสียง นอกจากนี้ยังสร้างความน่าสนใจให้กับเสียงที่ได้ทำการบันทึก เช่น เสียงสะท้อน (Reverb Effect) เสียงก้อง (Echo) และปรับระดับความดังเบาของเสียง (Fade In/Out) เป็นต้น

  9. การจัดเก็บแฟ้มข้อมูลเสียงแบบดิจิตอลการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลเสียงแบบดิจิตอล • หลักสำคัญในการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลเสียงแบบดิจิตอล คือ • จะต้องเตรียม RAM และทรัพยากรบนฮาร์ดดิสก์รองรับให้เหมาะสมกับคุณภาพของเสียงที่ต้องการ • ปรับระดับของการบันทึกเสียงให้ตรงกับคุณภาพที่ต้องการและมีมาตรฐานการป้องกันเสียงรบกวนที่ดี

  10. ขนาดของแฟ้มข้อมูลกับคุณภาพขนาดของแฟ้มข้อมูลกับคุณภาพ • การบันทึกเสียงแบบสเตริโอ (Stereo Recording) • การบันทึกเสียงแบบโมโน (Mono Recording)

  11. ขนาดของแฟ้มข้อมูลกับคุณภาพ(ต่อ)ขนาดของแฟ้มข้อมูลกับคุณภาพ(ต่อ) • เช่น ทำการบันทึกเสียงแบบโมโนนาน 10 วินาที ที่ Sampling Rate 22.05 KHz, Sampling Size 8 บิต จะคำนวณได้ดังนี้ • 22,050X10X8/8 X1=220,500 Byte • หรือทำการบันทึกเสียงแบบสเตริโอนาน 10 วินาที ที่ Sampling Rate 44.1 KHz, Sampling Size 16 บิต จะคำนวณได้ดังนี้ • …………………………………………….. • หรือทำการบันทึกเสียงแบบโมโนนาน 40 วินาที ที่ Sampling Rate 11 KHz, Sampling Size 8 บิต จะได้ขนาดของแฟ้มข้อมูล = ? • ……………………………………………..

  12. การปรับระดับในการบันทึกเสียง การปรับระดับในการบันทึกเสียง • ซอฟต์แวร์ที่เหมาะสำหรับการบันทึกและแก้ไขเสียงแบบดิจิตอล จะต้องมีมาตรวัดระดับเสียงสำหรับควบคุมความดังของเสียง เรียกว่า “ดิจิตอลมิเตอร์” (Digital Meter) • การบันทึกเสียงพร้อมกับควบคุมไม่ให้เกินระดับเสียงที่กำหนดด้วยดิจิตอลมิเตอร์จะเป็นวิธีการป้องกันความผิดพลาดวิธีหนึ่ง • ดิจิตอลมิเตอร์จะมีขีดกำหนดบอกความดังสูงสุดที่จะสามารถบันทึกได้ ในการบันทึกจึงไม่ควรให้ความดังของเสียงเกินขีดจำกัดที่กำหนดไว้บนดิจิตอลมิเตอร์ และจะต้องควบคุมความดังของเสียงให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าขีดจำกัดที่กำหนดเสมอ • ระดับความดังที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่างค่า -10 ถึง -3

  13. การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับการสร้างสัญญาณเสียงการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับการสร้างสัญญาณเสียง

  14. การบีบอัดไฟล์เสียง • MPEG-1 : เป็นเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลเสียง รูปแบบที่นิยมนำมาใช้คือ MP3, (MPEG 1 Audio Layer 3) • โดยจะมีอัตราในการบีบอัดข้อมูลประมาณ 10 : 1 • ข้อเสียตรงที่มีคุณภาพในการแสดงผลอาจไม่ดีมากนัก แต่สำหรับผู้ใช้ที่ไม่ต้องการฟังเพลงที่มีคุณภาพสูงมากนัก MP3 ก็คือ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สะดวกในการบีบอัดและจัดเก็บ • ปัจจุบันซอฟต์แวร์สำหรับใช้เล่นไฟล์ Mp3 มีมากมาย เช่นWinAmp, Windows Media Player, Music Match Jukebox และ Yamaha Softsynthesizer S-YXG70 เป็นต้น

  15. การบีบอัดไฟล์เสียง (ต่อ) • MACE : เป็นเทคโนโลยีที่มีจุดเด่นคือ สามารถบีบอัดและขยายข้อมูลให้มีขนาดเท่าเดิม • ใช้ได้เฉพาะข้อมูลเพียง 8 บิต • อัตราการบีบอัดประมาณ 3 : 1 และ 6 : 1 • ทำงานได้เฉพาะกับแมคอินทอชเท่านั้น • µ-Law, Α-Law : เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดย CCITT • สามารถบีบอัดข้อมูลเสียง 16 บิต ได้ในอัตราการบีบอัดประมาณ 2 : 1 เท่า • ADPCM-Adaptive Differential Pulse Code Modulation : • เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งสามารถบีบอัดข้อมูลที่มีการบันทึกแบบ 8 บิต หรือ 16 บิต โดยมีอัตราการบีบอัดประมาณ 4 : 1 หรือ 2: 1

  16. รูปแบบของแฟ้มข้อมูลเสียงรูปแบบของแฟ้มข้อมูลเสียง • ไฟล์เสียงประเภท .wav ถูกสร้างโดยบริษัท Microsoft และ IBM เป็นไฟล์ที่สนับสนุนการใช้งานบนเครื่องพีซีมากกว่าบนเครื่องแมคอินทอช และมีการใช้งานอยู่ค่อนข้างมากในระบบเครือข่าย • รูปแบบ CD-1 (Compact Disc-Interactive) ได้รับการพัฒนาตามมาตรฐาน Red Book โดยบริษัทฟิลิปส์ซึ่งใช้วิธีการแปลงสัญญาณ ADPCM ทำให้สามารถบันทึกเสียงแบบสเตริโอได้อย่างถูกต้อง นานถึงสองชั่วโมงหรือบันทึกเสียงแบบโมโนได้นานถึง 20 ชั่วโมงภายในแผ่น CD เพียงแผ่นเดียว • รูปแบบแฟ้มข้อมูล MIDI สามารถใช้ได้ทั้งสองระบบพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทุกชนิด โดยที่ระบบของแมคอินทอชจะต้องมีอุปกรณ์นำเข้าและแสดงผล Midi เพื่อช่วยในการทำงานด้วย

  17. รูปแบบของแฟ้มข้อมูลเสียง (ต่อ) • รูปแบบไฟล์ MPEG เป็นไฟล์เสียงที่พัฒนามาจากมาตรฐานภาพเคลื่อนไหว MPEG (Motion Picture Experts Group) ไฟล์ประเภทนี้ • มีการบีบอัดข้อมูลสามระดับ ซึ่งทำให้ไฟล์มีคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น เมื่อนำมาเล่นในขณะที่ยังรักษาขนาดไฟล์ให้เล็กลง • แฟ้มข้อมูลเสียง (.AU) เช่นกัน เป็นรูปแบบเสียงที่เลียนแบบโทรศัพท์ (International Telephone Format) • ใช้ในการส่งข้อความผ่านระบบเครือข่ายที่เรียกว่า “Talkradio” ซึ่ง • เป็นสัญญาณเสียงแบบโมโนที่มี Sampling Rate 8 KHz และ Sampling Size 8 บิตเท่านั้น

  18. ตาราง แสดงรูปแบบของแฟ้มข้อมูลเสียงดิจิตอลที่นิยม

  19. มาตรฐาน Red Book • การเข้ารหัสเสียงดิจิตอลแบบสเตริโอแล้วบันทึกลงบน CD เพลงทั่วไปให้มีคุณภาพสูงนั้นจะต้องได้มาตรฐาน ISO 10149 หรือที่เรียกว่ามาตรฐาน “Red Book” มาตรฐานนี้ได้กำหนด Sampling Rate ให้มีมาตรฐานที่ 44.1 KHz และ Sampling Size มีมาตรฐานที่ 16 บิต โดยใช้มาตรฐานเสียงแบบนี้มาจนถึงปัจจุบัน และได้มีการพัฒนาการ์ดเสียงร่วมกับซอฟต์แวร์ให้สามารถบันทึกและเล่นเสียงระดับนี้ได้ • การคำนวณหาขนาดของพื้นที่ที่ต้องใช้ในการบันทึกข้อมูลเสียงแบบสเตริโอ จะใช้วิธีการดังนี้ (Sampling Rate X Sampling Size)/8 = ขนาดพื้นที่เป็น Bps (Bytes Per Second)

  20. ซอฟต์แวร์สำหรับเทคโนโลยีเสียงซอฟต์แวร์สำหรับเทคโนโลยีเสียง

  21. ซอฟต์แวร์สำหรับเทคโนโลยีเสียง (ต่อ)

  22. การรวมเสียงเข้ากับงานด้านมัลติมีเดียการรวมเสียงเข้ากับงานด้านมัลติมีเดีย • การจะใช้มัลติมีเดีย ต้องมั่นใจว่าเมื่อใส่เสียงประกอบไปกับมัลติมีเดียจะทำให้มัลติมีเดียที่ออกแบบมีคุณภาพมากขึ้น การพิจารณาขนาดความเหมาะสมในการนำมาใช้งาน ทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ • ตัดสินใจว่าจะใช้เสียงชนิดใดกับมัลติมีเดียที่ออกแบบ เช่น เพลง เสียงพิเศษประกอบการนำเสนอและเสียงพูด เป็นต้น ซึ่งต้องกำหนดตำแหน่งหรือเวลาในการแสดงเสียงให้เหมาะสมด้วย • ตัดสินใจว่าจะใช้เสียงแบบ MIDI หรือใช้เสียงแบบดิจิตอลที่ไหนและเมื่อไหร่ • พิจารณาว่าจะสร้างข้อมูลเสียงขึ้นมาเองหรือซื้อสำเร็จรูปมาใช้งาน จึงจะเหมาะสม • นำข้อมูลเสียงมาทำการปรับแต่งให้เหมาะสมกับมัลติมีเดียที่ออกแบบ แล้วนำมารวมเข้ากับมัลติมีเดียที่ทำการผลิต • ทดสอบการทำงานของเสียงให้มั่นใจว่า เสียงที่นำเสนอออกไปมีความสัมพันธ์กับภาพในมัลติมีเดียที่ผลิตขึ้น

  23. เสียงบนระบบเครือข่าย • การแสดงผลเสียงบนระบบเครือข่ายสามารถทำได้ 2 วิธี คือ จัดเก็บข้อมูลเสียงจากระบบเครือข่าย (Download) ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ก่อนแล้วจึงแสดงผล (เช่น บริการ Download เพลง) อีกวิธีหนึ่งคือแสดงผลเสียงในขณะที่กำลังใช้งานบนระบบเครือข่าย (Streaming) • รูปแบบของไฟล์เสียงที่นิยมใช้กันบนระบบเครือข่าย ได้แก่ ไฟล์ AU, WAV, MIDI, MPEG และ MP3

  24. แบบฝึกหัดท้ายบท ให้ยกตัวอย่างโปรแกรมเกี่ยวกับเสียงที่ใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์มา 1 โปรแกรม พร้อมบอกความสามารถที่โปรแกรมทำได้ (ทำลง Word พร้อมมีภาพประกอบ) • ทำลงไมโครซอฟต์เวิร์ด พิมพ์เลขที่และชื่อตนเองไว้บรรทัดแรก ตั้งชื่อไฟล์ว่า (เลขท้ายรหัส นิสิต 4 ตัว)(ชื่อ) เช่น 1023สมชาย • ส่งอีเมล์แนบไฟล์เวิร์ดไปที่ faasppp@ku.ac.thในหัวเรื่อง “งาน6” • ผู้ใดไม่ทำตามนี้ จะไม่ตรวจให้

More Related