1 / 37

แม่บทการบัญชีประเทศไทย

แม่บทการบัญชีประเทศไทย. http://acct0310.wordpress.com. แม่บทการบัญชี. Framework เป็นเกณฑ์ในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน (Preparation and Presentation of Financial Statements) โดยหากมีมาตรฐานการบัญชีฉบับใดโดยเฉพาะที่กำหนดโดยมีความขัดแย้งกับแม่บทการบัญชี ให้ยึดมาตรฐานการบัญชีนั้น. วัตถุประสงค์.

arleen
Télécharger la présentation

แม่บทการบัญชีประเทศไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แม่บทการบัญชีประเทศไทยแม่บทการบัญชีประเทศไทย http://acct0310.wordpress.com

  2. แม่บทการบัญชี • Framework • เป็นเกณฑ์ในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน (Preparation and Presentation of Financial Statements) • โดยหากมีมาตรฐานการบัญชีฉบับใดโดยเฉพาะที่กำหนดโดยมีความขัดแย้งกับแม่บทการบัญชี ให้ยึดมาตรฐานการบัญชีนั้น

  3. วัตถุประสงค์ ข้อสมมติ ข้อจำกัด ลักษณะเชิงคุณภาพ ลักษณหลัก ข้อพิจารณา

  4. วัตถุประสงค์ของแม่บทการบัญชีวัตถุประสงค์ของแม่บทการบัญชี • เพื่อวางแนวคิดที่เป็นพื้นฐานในการจัดทำและนำเสนองบการเงินแก่ผู้ใช้งบการเงินที่เป็นบุคคลภายนอก • แม่บทการบัญชีนี้มิได้มีไว้เพื่อกำหนดมาตรฐานในการวัดมูลค่าหรือในการเปิดเผยข้อมูลสำหรับการบัญชีเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ แม่บทการบัญชีจึงไม่สามารถใช้หักล้างมาตรฐานการบัญชีที่ประกาศใช้เฉพาะเรื่องได้ มาตรฐาน แม่บท

  5. วัตถุประสงค์ของแม่บทการบัญชีวัตถุประสงค์ของแม่บทการบัญชี • คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีตระหนักว่า ในบางกรณี แม่บทการบัญชีอาจมีข้อขัดแย้งกับมาตรฐานการบัญชีที่มีอยู่ ในกรณีดังกล่าว ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่ประกาศใช้ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีกำลังพัฒนามาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่และปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีที่มีอยู่ในปัจจุบันตามกรอบของแม่บทการบัญชี เพื่อให้ข้อขัดแย้งดังกล่าวค่อย ๆ หมดไปในอนาคต • คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีจะทำการปรับปรุงแม่บทการบัญชีนี้เป็นระยะๆ ตามประสบการณ์ที่ได้รับจากการนำแม่บทการบัญชีไปใช้

  6. ขอบเขตแม่บทการบัญชี • วัตถุประสงค์งบการเงิน • ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน • คำนิยาม การรับรู้และการวัดมูลค่าขององค์ประกอบต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นงบการเงิน • แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน

  7. คำศัพท์ที่สำคัญ • ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefit) คือ ความสามารถในการที่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดหรือสิ่งที่เทียบเท่าเงินสด (Cash Equivalent) ให้แก่กิจการทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยอาจให้อยู่ในรูปของการผลิตซึ่งจัดเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities) หรืออยู่ในรูปของความสามารถในการแปลงเป็นเงินสดหรือสิ่งที่เทียบเท่าเงินสดหรืออาจอยู่ในรูปของการที่ไม่เพิ่มเงินสดหรือสิ่งที่เท่าเงินสดแต่เป็นการลดกระแสเงินสดจ่าย เช่น การลดค่าใช้จ่าย

  8. 1. วัตถุประสงค์งบการเงิน • งบการเงินจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานและการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ อันเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินทุกประเภทในการนำไปใช้ตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ

  9. 1. วัตถุประสงค์งบการเงิน • งบการเงินตามแม่บทการบัญชี มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 35 ระบุว่า • งบดุล (Balance Sheet) • งบกำไรขาดทุน (Income Statement) • งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ (Statement of Equity’s change) หรือ งบกำไรขาดทุนแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive Income) • งบกระแสเงินสด (Cashflow Statement) • นโยบายบัญชีและหมายเหตุประกอบงบการเงิน (Accounting Policy and Disclosure)

  10. 1. วัตถุประสงค์งบการเงิน • ข้อสมมติในการจัดทำงบการเงิน • เกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis) • การดำเนินงานต่อเนื่อง (Going Concern)

  11. 2. ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน • คุณสมบัติที่ทำให้ข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพหลักของงบการเงินมี 4 ประการ • ความเข้าใจได้ • ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ • ความเชื่อถือได้ • การเปรียบเทียบกันได้

  12. ความเข้าใจได้ (Understandability) • ข้อมูลในงบการเงินต้องสามารถเข้าใจได้ดีในทันทีที่ผู้ใช้งบการเงินใช้ข้อมูลดังกล่าว • ข้อมูลแม้ว่าจะมีความซับซ้อนแต่ถ้าเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจก็ไม่ควรละเว้นที่จะแสดงในงบการเงินเพียงเหตุผลที่ว่าข้อมูลดังกล่าวยากเกินกว่าที่ผู้ใช้งบการเงินบางคนจะเข้าใจได้ • ข้อแม้ว่า • ผู้ใช้งบการเงินมีความรู้ตามควรเกี่ยวกับธุรกิจ กิจกรรมเชิงเศรษฐกิจและการบัญชีรวมทั้งมีความตั้งใจตามควรที่จะศึกษาข้อมูลดังกล่าว

  13. ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevance) • ข้อมูลที่มีประโยชน์ต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน ข้อมูลจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจได้ก็ต่อเมื่อข้อมูลนั้นช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งช่วยยืนยันหรือชี้ข้อผิดพลาดของผลการประเมินที่ผ่านมาของผู้ใช้งบการเงินได้ • ข้อพิจารณา • ความมีนัยสำคัญ • การไม่แสดงข้อมูลหรือการแสดงข้อมูลผิดพลาดมีผลกระทบต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ ความมีนัยสำคัญขึ้นอยู่กับขนาดของรายการหรือขนาดของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายใต้สภาพการณ์เฉพาะซึ่งต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป

  14. ความเชื่อถือได้ (Reliability) • ข้อมูลที่ไม่มีความผิดพลาดที่มีนัยสำคัญ รวมทั้งไม่มีความลำเอียงในการนำเสนอข้อมูลที่ทำให้ข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง • ข้อพิจารณา • การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม • เนี้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ • ความเป็นกลาง • ความระมัดระวัง • ความครบถ้วน

  15. การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมการเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม • ข้อมูลจะมีความเชื่อถือได้เมื่อรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีได้แสดงอย่างเที่ยงธรรมตามที่ต้องการให้แสดงหรือควรจะแสดง ดังนั้น งบดุลควรแสดงสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเฉพาะรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการ ณ วันที่เสนอรายงาน

  16. เนี้อหาสำคัญกว่ารูปแบบเนี้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ • ข้อมูลต้องบันทึกและแสดงตามเนื้อหาและความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจมิใช่ตามรูปแบบทางกฎหมายเพียงอย่างเดียวเนื้อหาของรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีอาจไม่ตรงกับรูปแบบทางกฎหมายหรือรูปแบบที่ทำขึ้น

  17. ความเป็นกลาง • ข้อมูลที่แสดงอยู่ในงบการเงินมีความน่าเชื่อถือเมื่อมีความเป็นกลางหรือปราศจากความลำเอียง งบการเงินจะขาดความเป็นกลางหากการเลือกข้อมูลหรือการแสดงข้อมูลในงบการเงินนั้นมีผลทำให้ผู้ใช้งบการเงินตัดสินใจหรือใช้ดุลยพินิจตามเจตนาของกิจการ

  18. ความระมัดระวัง • การใช้ดุลยพินิจที่จำเป็นในการประมาณการภายใต้ความไม่แน่นอนเพื่อมิให้สินทรัพย์หรือรายได้แสดงจำนวนสูงเกินไป และหนี้สินหรือค่าใช้จ่ายแสดงจำนวนต่ำเกินไป • แต่ไม่ใช้จะทำการตั้งค่าเพื่อ หรือสำรองสูงเกินความเป็นจริง

  19. ความครบถ้วน • ข้อมูลในงบการเงินที่เชื่อถือได้ต้องครบถ้วนภายใต้ข้อจำกัดของความมีนัยสำคัญและต้นทุนในการจัดทำ รายการบางรายการหากไม่แสดงในงบการเงินจะทำให้ข้อมูลมีความผิดพลาดหรือทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิด ดังนั้น ข้อมูลดังกล่าวจะมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจน้อยลงและขาดความน่าเชื่อถือได้

  20. การเปรียบเทียบกันได้ (Comparability) • ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาต่างกันเพื่อคาดคะเนถึงแนวโน้มของฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการนั้น

  21. ข้อจำกัดของข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและความเชื่อถือได้ข้อจำกัดของข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและความเชื่อถือได้ • ทันต่อเวลา • ความสมดุลระหว่างประโยชน์ที่ได้รับการต้นทุนที่เสียไป • ความสมดุลของลักษณะเชิงคุณภาพ

  22. 3. คำนิยาม การรับรู้และการวัดมูลค่าขององค์ประกอบต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นงบการเงิน • องค์ประกอบเกี่ยวกับการวัดมูลค่าฐานะการเงิน • สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ(ผู้ถือหุ้น) • องค์ประกอบเกี่ยวกับการวัดมูลค่าผลการดำเนินงาน • รายได้ และค่าใช้จ่าย

  23. 3. คำนิยาม การรับรู้และการวัดมูลค่าขององค์ประกอบต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นงบการเงิน • สินทรัพย์ • ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต • หนี้สิน • ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ • ส่วนของเจ้าของ • ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว

  24. 3. คำนิยาม การรับรู้และการวัดมูลค่าขององค์ประกอบต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นงบการเงิน • รายได้ • การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเข้าหรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์หรือการลดลงของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ • ค่าใช้จ่าย • การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสออกหรือการลดค่าของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สินอันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ

  25. 3. คำนิยาม การรับรู้และการวัดมูลค่าขององค์ประกอบต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นงบการเงิน • การรับรู้รายการ (Recognition) • เงื่อนไขในการรับรู้รายการ • มีความเป็นได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของรายการจะมีการเข้าและออกจากกิจการ • รายการดังกล่าวมีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ

  26. ความน่าจะเป็นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต • มีความเป็นไปได้ • ค่อนข้างแน่(Probable) • น่าจะมีอยู่ (Reasonably Possible) • ไม่น่าจะมีอยู่ (Remote) • ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจต้องเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

  27. ความเชื่อถือได้ของการวัดมูลค่า • สามารถประเมินหรือคำนวณมูลค่าได้อย่างสมเหตุสมผล

  28. การรับรู้รายการในงบการเงินการรับรู้รายการในงบการเงิน • การรับรู้สินทรัพย์– กิจการต้องได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากรายจ่ายที่เกิดขึ้นเกินกว่ารอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายจ่ายนั้น • การรับรู้หนี้สิน– กิจการมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากรจะออกจากกิจการเพื่อชำระภาระผูกพันในปัจจุบัน และภาระผูกพันที่ต้องชำระนั้นต้องสามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ • การรับรู้รายได้– กิจการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือการลดลงของหนี้สิน • การรับรู้ค่าใช้จ่าย– กิจการได้เสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตซึ่งเกิดจากการลดลงของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน

  29. การรับรู้รายการในงบการเงินการรับรู้รายการในงบการเงิน • ราคาทุนเดิม (Historical Cost) • จำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่จ่ายไปหรือบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ่งที่นำไปแลกสินทรัพย์มา ณ เวลาที่ได้มาซึ่งสินทรัพย์นั้น และการบันทึกหนี้สินด้วยจำนวนเงินที่ได้รับจากการก่อภาระผูกพันหรือบันทึกด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชำระหนี้สินที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ • ราคาทุนปัจจุบัน (Current Cost) • จำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ต้องจ่ายในขณะนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ชนิดเดียวกันหรือสินทรัพย์ที่เท่าเทียมกัน และการแสดงหนี้สินด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ต้องใช้ชำระภาระผูกพันในขณะนั้น

  30. การรับรู้รายการในงบการเงินการรับรู้รายการในงบการเงิน • มูลค่าที่จะได้รับ (Realizable Value) • จำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่อาจได้มาในขณะนั้นหากกิจการขายสินทรัพย์โดยมิใช่การบังคับขายและการแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าที่ต้องจ่ายคืนหรือด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชำระหนี้สินที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกต • มูลค่าปัจจุบัน (Present Value) • มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิในอนาคตซึ่งคาดว่าจะได้รับในการดำเนินงานตามปกติของกิจการ และการแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายสุทธิซึ่งคาดว่าจะต้องจ่ายในการชำระหนี้สินภายใต้การดำเนินงานตามปกติของกิจการ

  31. การรับรู้รายการในงบการเงินการรับรู้รายการในงบการเงิน • ตัวอย่าง • สินค้าคงเหลือแสดงด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า • หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดอาจแสดงด้วยราคาตลาด • หนี้สิน เงินบำนาญแสดงด้วยมูลค่าปัจจุบัน

  32. 4. แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน • ทุน เป็นส่วนหนึ่งของส่วนของเจ้าของ หรือ ผู้ถือหุ้น • แนวความคิดในการรับรู้มูลค่าทุน • แนวคิดทุนทางการเงิน • แนวคิดทุนทางการผลิต

  33. แนวคิดทุนทางการเงิน • เป็นการวัดมูลค่าจากจำนวนเงินที่มีการลงทุนโดยวัดเป็นหน่วยเงินตรา • การรักษาระดับทุน คือ การวัดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ณ ต้นงวด กับ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ณ ปลายงวด

  34. แนวคิดทุนทางการผลิต • แนวคิดทุนที่วัดมูลค่าจากผลผลิตหรือกำลังการผลิดที่กิจการมี • การรักษาระดับทุน คือ การวัดมูลค่าผลผลิต ณ ต้นงวด กับ มูลค่าผลผลิต ณ ปลายงวด

  35. วัตถุประสงค์ ข้อสมมติ ข้อจำกัด ลักษณะเชิงคุณภาพ ลักษณหลัก ข้อพิจารณา

  36. การบ้านและแบบฝึกหัด • อธิบายความแตกต่างระหว่าง แนวคิดทางบัญชี กับ แม่บทการบัญชี

  37. สัปดาห์หน้า • Creative Accounting

More Related