1 / 37

บทที่ 8

บทที่ 8. หนี้สาธารณะ. โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สายวิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หัวข้อ 8.1 ความหมายและความสำคัญของหนี้สาธารณะ 8.2 วัตถุประสงค์การก่อหนี้สาธารณะ 8.3 ประเภทหนี้สาธารณะ 8.4 แนวคิดเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ 8.5 หลักการ และการควบคุมการก่อหนี้สาธารณะ

Télécharger la présentation

บทที่ 8

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 8 หนี้สาธารณะ โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สายวิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  2. หัวข้อ 8.1 ความหมายและความสำคัญของหนี้สาธารณะ 8.2 วัตถุประสงค์การก่อหนี้สาธารณะ 8.3 ประเภทหนี้สาธารณะ 8.4 แนวคิดเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ 8.5 หลักการ และการควบคุมการก่อหนี้สาธารณะ 8.6 ผลการก่อหนี้สาธารณะ 8.7 วิวัฒนาการหนี้สาธารณะของไทย 8.8 หนี้สาธารณะและวิกฤติเศรษฐกิจ 8.9 สถานะหนี้และภาระหนี้ของรัฐบาล

  3. 8.1 ความหมายและความสำคัญของหนี้สาธารณะ 1)ความหมายของรายจ่ายสาธารณะ - หนี้สาธารณะ(Public Debt)หรือหนี้รัฐบาล( Government Debt ) หมายถึง “ หนี้สินที่รัฐบาลก่อขึ้นเพื่อนำมาใช้จ่ายในกิจการของ รัฐบาล และที่อยู่ในรูปของสัญญาใช้เงินที่รัฐบาลให้ไว้แก่ผู้ที่รัฐบาล กู้ยืมว่ารัฐบาลจะจ่ายคืนเงินต้นที่กู้มาพร้อมทั้งดอกเบี้ยจำนวนหนึ่ง เมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญา” -หนี้สาธารณะยังมีความหมายครอบคลุมถึงข้อผูกพันที่รัฐบาล จะต้องรับผิดชอบตามพันธกรณีที่รัฐบาลได้กระทำในฐานะผู้ค้ำประกัน เงินกู้และรับรองปริวรรตเงินตราอีกด้วย ปัจจุบันขยายครอบคลุมถึง หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน

  4. (1) การค้ำประกันเงินกู้ (Loan Guarantee) การที่รัฐยอมข้อ • ผูกพันในการรับประกันการชำระหนี้ให้แก่หน่วยราชการต่างๆ และ • รัฐวิสาหกิจ • (2) การรับรองปริวรรติเงินตรา (Exchange Guarantee) การที่ • รัฐบาลรับรองว่าจะให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจได้แลกเปลี่ยนเงินตรา • ต่างประเทศ และอนุญาตให้ส่งเงินไปชำระหนี้เงินกู้ให้กับเจ้าหนี้ใน • ต่างประเทศตามงวดสัญญาที่ต้องชำระคืน • (3) หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน • การเงิน เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังเกิดวิกฤตในภาคเศรษฐกิจและการเงินปี • 2540 ที่กองทุนฯเข้าไปช่วยเหลือสถาบันการเงิน

  5. 2) ความสำคัญของหนี้สาธารณะ - มีความสัมพันธ์กับการเก็บภาษี อันส่งผลต่อการใช้จ่ายและการ ออมของประชาชน -มีผลต่อการใช้หรือจัดสรร หรือการเคลื่อนย้ายทรัพยากรทางการ เงินระหว่างภาครัฐบาลกับภาคเอกชน(ทั้งบุคคลและสถาบันหรือองค์กร ที่เกี่ยวข้อง) และการเคลื่อนย้ายทรัพยากรระหว่างประเทศ -มีผลต่อการพัฒนาของประเทศ โดยเฉพาะกรณีที่ทรัพยากร ทางการเงินของประเทศหรือของรัฐบาลมีไม่เพียงพอ เพื่อนำมาใช้จ่าย ในการลงทุนของรัฐบาล -มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงหรือการหมุนเวียนของปริมาณเงินใน ระบบเศรษฐกิจ และกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม

  6. 8.2 วัตถุประสงค์ของการก่อหนี้สาธารณะ 1)เพื่อใช้จ่ายในการลงทุน เป็นรายจ่ายลงทุนในโครงการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เช่น ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ 2)เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งด้านรายได้(เศรษฐกิจ ขยายตัว-เศรษฐกิจหดตัว)และระดับราคา(เงินเฟ้อ-เงินฝืด) 3)เพื่อชดเชยงบประมาณที่ขาดดุล (รายรับ<รายจ่าย) 4)เพื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน เช่น ประสบภัยทางธรรมชาติ สงคราม 5)เพื่อรักษาและเพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศ ในกรณีที่ดุลการ ชำระเงินขาดดุลติดต่อกันหลายๆปีทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประ เทศลดลงเหลือน้อยกว่าระดับปกติ กระทบความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

  7. 6)เพื่อระดมทุนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ กรณี ที่ประชาชนเก็บออมเงินไว้เฉยๆ ไม่ใช้จ่าย ทำให้เกิดภาวะเงินฝืด 7)เพื่อนำมาหมุนเวียนใช้หนี้เก่า กรณีถึงกำหนดชำระคืน แต่ รัฐบาลไม่มีเงินเพียงพอที่จะใช้คืน 8)เพื่อปรับปรุงโครงสร้างภาระหนี้ให้มีการกระจายหนี้ดีขึ้น (Refinancing) กรณีที่ภาวะการณ์และแหล่งเงินทุนใหม่มีดอกเบี้ย ต่ำและให้เงื่อนไขที่ดีกว่า

  8. 8.3 ประเภทของหนี้สาธารณะ 1)แบ่งตามระยะเวลาการกู้ เป็นเป็น 3 ประเภท (1) หนี้ระยะสั้น (Short-Term Loan) -ระยะเวลาการไถ่ถอนคืนไม่เกิน 1 ปี ส่วนใหญ่ 3 เดือน -สาเหตุจากรัฐบาลมีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย โดยเฉพาะ ในช่วงต้นปีงบประมาณ -วิธีการกู้ยืมโดยการออกตั๋วเงินคลัง(Treasury Bills)โดย รัฐมนตรีว่าหารกระทรวงการคลังเป็นคนมีอำนาจกระทำ(กู้) และการ กู้ยืมโดยการเบิกเกินบัญชี (Overdraft หรือ O/D) จากธนาคารแห่ง ประเทศไทย(กู้ได้ไม่เกิน 25% ของงบประมาณรายจ่าย และดอกเบี้ย ไม่เกิน 2% ต่อปี ไถ่ถอนคืนภายใน 3 เดือนแรกของปีถัดไป)

  9. (2) หนี้ระยะกลาง (Medium-Term Loan) -ระยะเวลาการไถ่ถอนคืน 1-5 ปี -ไม่เป็นที่นิยมในการกู้ (3) หนี้ระยะยาว (Long-Term Loan) -ระยะเวลาการไถ่ถอนคืน 5 ปีขึ้นไป ปกติ 10-20 ปี -เครื่องมือโดยการออกพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) โดยราคาไม่สูงนักและอัตราดอกเบี้ยใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ประจำของธนาคารพาณิชย์ -นำไปใช้ในโครงการใหญ่ๆ และสาธารณูปโภคที่ให้ผลตอบแทน ระยะยาว เช่น ไฟฟ้า ประปา

  10. 2)แบ่งตามแหล่งที่มาของเงินกู้ แบ่งเป็น 2 ประเภท (1) หนี้ภายในประเทศ (Internal Debt) -กู้จากธนาคารกลาง ธนาคารพาณิชย์ มูลนิธิ และสถาบัน การเงินต่างๆ (2) หนี้ภายนอกประเทศ (External Debt) -กู้จากเอกชนต่างประเทศ ธนาคารต่างประเทศ รัฐบาล ต่างประเทศ และสถาบันการเงินระหว่างประเทศ 3)แบ่งตามลักษณะการก่อหนี้ แบ่งเป็น 2 ประเภท (1) การก่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Non- Expansionary Borrowing) -เป็นการเปลี่ยนมือผู้ใช้เงินจากภาคเอกชนมาสู่ภาครัฐบาล

  11. เงินเอกชนส่วนที่จะบริโภคเงินเอกชนส่วนที่จะบริโภค ค่าใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจไม่เปลี่ยน เงินเอกชนส่วนที่ออม ค่าใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น - -กรณีขายให้เอกชน ทำให้ปริมาณเงินในมือประชาชนลดลง การใช้จ่ายลดลง รัฐนำเงินไปใช้จ่าย ระบบเศรษฐกิจจึงอยู่ในสมดุล เดิม -กรณีกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น โดยเงิน ที่นำมาให้กู้(หรือนำมาซื้อพันธบัตร)เป็นส่วนที่ขายตราสารให้เอกชนหรือ เรียกเงินกู้ยืม(คืน)จากเอกชน การใช้จ่ายเอกชนลด รัฐนำมา ใช้จ่ายทำให้การใช้จ่ายภาครัฐบาลเพิ่ม แต่ไม่ทำให้ของระบบ เปลี่ยนแปลง

  12. (2) การก่อหนี้ที่ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Expansionary Borrowing) - -กู้จากธนาคารกลาง -กู้จากธนาคารพาณิชย์ โดยพันธบัตรส่วนที่ซื้อสามารถเป็นส่วน หนึ่งของเงินสดสำรองตามกฎหมาย(เป็นส่วนที่ธนาคารเก็บสำรองไม่ได้ นำมาปล่อยสินเชื่อ) ไม่กระทบต่อปริมาณการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร เมื่อรัฐบาลใช้จ่ายจะทำให้เป็นการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ

  13. -กู้จากต่างประเทศ ใช้จ่ายไปใน โครงการพัฒนาต่างๆ เศรษฐกิจขยายตัว การสงคราม หรือซื้ออาวุธ เศรษฐกิจไม่ขยายตัว แนวคำถาม - “รัฐบาลจำเป็นต้องก่อหนี้สาธารณะ” ท่านเห็นด้วยกับคำกล่าว ข้างต้นหรือไม่ อย่างไร? - การก่อหนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร? หากรัฐต้องก่อหนี้จะต้อง คำนึงถึงอะไรหรือปัจจัยใดบ้าง? - “การก่อหนี้ก่อให้เกิดผลทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันตาม แหล่งที่มาของเงินกู้” ท่านเข้าใจอย่างไร? อธิบาย

  14. 8.4 แนวคิดเกี่ยวกับการก่อหนี้ - ปริมาณหนี้สาธารณะของแต่ละประเทศจะมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายประการ เช่น (1) ขนาดของระบบเศรษฐกิจ(วัดจาก GDP) (2) การสะสมทุนภายในประเทศ(การสะสมทุนภายในประเทศตำ ประเทศต้องกู้เงินมาก) (3) ความจำเป็นในการใช้เงินเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาต่างๆ ถ้า มีความจำเป็นมาก การก่อหนี้จะมากตามไปด้วย (4) ความสามารถในการชำระหนี้คืนในอนาคต ถ้าสูงจะทำให้การ ก่อหนี้สูงตามไปด้วย(ผู้ให้กู้ก็อยากให้กู้) (5) ภาวะทางเศรษฐกิจ เช่น รุ่งเรือง-ถดถอย, เงินเฟ้อ-เงินฝืด (6) ภาระทางงบประมาณในอนาคต

  15. - สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการก่อหนี้สาธารณะ เช่น (1) ปริมาณเงินกู้ (2) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (3) ระยะเวลาการไถ่ถอนเงินกู้ (4) ประสิทธิภาพการบริหารเงินกู้ (5) ผลกระทบต่อการจัดสรรทรัพยากร และผลกระทบต่อระบบ เศรษฐกิจ -การวัดระดับปริมาณหนี้สาธารณะวัดจาก (1) สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์ประชาชาติ:GNP(หรือต่อ ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น:GDPก็ได้) (2) สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

  16. - แนวคิดในการก่อหนี้สาธารณะ 3 แนวคิด 1) การก่อหนี้และการบริหารหนี้แบบต้านวงจรเศรษฐกิจ (The Counter-Cyclical Approach) -วัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (เสถียรภาพของ P,Y) -ศ.ก.รุ่งเรือง MS>MD,AD>AS,เงินเฟ้อ(P ),Y ต้อง MS โดย ขายพันธบัตรซึ่งเป็นการก่อหนี้ระยะยาวMS AD P ,Y -ศ.ก.ถดถอย ADP ,Y ซื้อคืนพันธบัตรMS C AD P , Y G AD P ,Y -เงื่อนไข ดอกเบี้ยที่ให้ผู้ให้กู้ต้องสูงกว่าปกติเพื่อเป็นแรงจูงใจ

  17. 2) การก่อหนี้และการบริหารหนี้แบบตามวงจรเศรษฐกิจ (The Cyclical Approach) -การก่อหนี้และการบริหารหนี้ที่ดีที่สุดควรดำเนินการโดยให้เกิด ภาระดอกเบี้ยเงินกู้แก่รัฐบาลน้อยที่สุด ต้นทุนเงินกู้ของรัฐบาลต่ำสุด -ศ.ก.รุ่งเรือง ปัจจุบันดอกเบี้ย(R)สูง Rอนาคตจะต่ำ ควร ก่อหนี้ระยะสั้นเพราะจะทำให้เสียต้นทุนดอกเบี้ยสูงไม่นาน เมื่อ ดอกเบี้ยลดค่อยกู้ใหม่อีก -ศ.ก.ตกต่ำ R ต่ำ ก่อหนี้ระยะยาว(เพราะดอกเบี้ยต่ำ,ควร ยืดระยะเวลาการไถ่ถอนเพราะเสียต้นทุนดอกเบี้ยต่ำ)

  18. 3) การก่อหนี้และการบริหารหนี้แบบเป็นกลาง (The Neutrality Approach) -มีข้อโต้แย้ง 2 แนวคิดแรก (1) แบบแรก เน้นเสถียรภาพมากเกินไป โดยรัฐบาลรับภาระ ดอกเบี้ยสูง ไม่ยุติธรรมสำหรับคนรุ่นหลัง (2) แบบสอง ไม่คำนึงเสถียรภาพ ก่อให้เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้น รายได้ประชาชาติลด(Y ) -แนวคิดหลัก การก่อหนี้ต้องเป็นไปโดยสม่ำเสมอและทำเป็น ประจำ โดยมีหลักทรัพย์รัฐบาลไม่มากประเภทนัก จะง่ายต่อการ คาดคะเนผลทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และการกู้จากแหล่งเงินกู้ภายใน ประเทศทำให้การคาดคะเนผลทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นค่อนข้างแน่นอน -วัตถุประสงค์เพื่อเกิดความแน่นอนของแหล่งเงินกู้

  19. 8.5 หลักการและการควบคุมการก่อหนี้สาธารณะ 1)หลักผลประโยชน์ แบ่งเป็น 2 ประการ (1) พิจารณาจากงบลงทุน การก่อหนี้ควรจะนำเงินไปใช้จ่ายในงบ ลงทุน เพื่อเกิดผลตอบแทนในอนาคต (2) พิจารณาจากผลตอบแทน ผลตอบแทนที่ได้รับต้องไม่ควร น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยหรือต้นทุนของการลงทุน(หรือเงินกู้) โดยใช้ หลักการวิเคราะห์โครงการ 2)หลักการชำระหนี้คืนและมาตรการควบคุม (1) การก่อหนี้โดยตรงของรัฐบาล (1.1)การกู้จากต่างประเทศ - ไม่เกินร้อยละ 9 ของเงินตราต่างประเทศที่หามาได้

  20. - ไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี - ไม่เกินร้อยละ 13 ของรายได้ของรัฐบาล (1.2) การกู้ภายในประเทศ -ไม่เกินร้อยละ 20 ของบประมาณรายจ่ายหรืองบประมาณรายจ่าย เพิ่มเติม -ไม่เกินร้อยละ 80 ของงบประมาณในการชำระต้นเงินกู้ (2) การกู้โดยรัฐบาลค้ำประกัน -มีการกำหนดข้อจำกัดในการกู้ที่คิดเป็นสัดส่วนกับรายจ่าย ประจำปีหรือกำหนดการกู้ไม่ให้เกินจำนวนเท่าของเงินทุนที่ชำระแล้ว 3)หลักนิติบัญญัติ - ส่วนราชการที่จะก่อหนี้ต้องเสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณา และ รมต.การคลังเป็นผู้มีอำนาจลงนามสัญญาเงินกู้

  21. - การก่อหนี้กระทำโดยการออกกฎหมายรองรับ 4)หลักการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ - เพื่อควบคุมภาวะเศรษฐกิจให้เป็นไปตามที่ต้องการ ทั้งด้านอุป สงค์รวม การว่างงาน รายได้ประชาชาติ ระดับราคา เป็นต้น 8.6 ผลการก่อหนี้สาธารณะ - ผลของการก่อหนี้สาธารณะกับการโอนภาระหนี้ 1) แนวคิดเกี่ยวกับการโอนภาระหนี้สาธารณะ (1) แนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม (Conservative) ไม่เห็นด้วยกับการ ก่อหนี้ของรัฐบาล เพราะประโยชน์ตกแก่คนรุ่นปัจจุบัน ภาระตกแก่ คนรุ่นต่อไป รัฐบาลเป็นหนี้เพราะใช้จ่ายฟุ่มเฟือย (2) แนวคิดแบบเสรีนิยม(Liberals) รัฐจำเป็นต้องก่อหนี้เพราะ

  22. หารายได้ไม่ทันกับรายจ่าย นำไปจ่ายลงทุนได้ผลตอบแทนอนาคต 2) ผลการโอนภาระหนี้สาธารณะ (1) การโอนภาระหนี้ต่อการเก็บภาษี กรณีเก็บภาษีแล้วนำไปชำระ หนี้ - ถ้าโครงสร้างภาษีทางอ้อมส่วนใหญ่(ซึ่งเป็นแบบถดถอย) ไม่ ยุติธรรมสำหรับผู้มีรายได้น้อยซึ่งต้องเสียภาษี เท่ากับเป็นการโอน ภาระหนี้ให้ผู้มีรายได้น้อยมากกว่าผู้ที่มีรายได้สูง - ถ้าอัตราส่วน หนี้ ต่อ GNP (หรือ GDPก็ได้) มีค่าลดลง การก่อ หนี้ทำให้ GNP ขยายตัวสูง จึงไม่เป็นภาระแก่คนรุ่นหลัง (2) การโอนภาระหนี้กับการสะสมทุนภายในประเทศ -พิจารณาวิธีการหาเงิน(เก็บภาษี,กู้) และการใช้จ่าย(ประจำ,ลงทุน)

  23. -ถ้า ภาษี ใช้จ่ายประจำ และเงินกู้ ใช้จ่ายลงทุน เป็นการ ยุติธรรมกับคนรุ่นปัจจุบันและคนรุ่นต่อไป -ถ้าภาษี ใช้จ่ายลงทุน ภาระภาษีตกแก่คนรุ่นปัจจุบัน ประโยชน์ตกแก่คนรุ่นต่อไป และเงินกู้ ใช้จ่ายประจำ ภาระภาษีตกแก่คนรุ่นต่อไป แต่ ประโยชน์ตกแก่คนรุ่นปัจจุบัน สรุปว่า เกิดความไม่ยุติธรรม (3) การโอนภาระหนี้จากการก่อหนี้ต่างประเทศ - พิจารณาผลประโยชน์ที่ได้รับ - ไม่มีผลให้การบริโภคและการลงทุนของคนรุ่นปัจจุบันลดลง -ถ้าสามารถนำเงินกู้มาลงทุนก่อให้เกิดผลผลิตหรือรายได้หรือ เงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่าเงินต้นและดอกเบี้ยที่จ่าย ถือว่าไม่ เป็นภาระแก่คนรุ่นต่อไป

  24. (4) การโอนภาระหนี้กับการพัฒนาเศรษฐกิจ -เป้าหมายการกู้เพื่อลงทุนในการพัฒนาประเทศ โดยกู้จากต่างประ เทศไม่ถือว่าเป็นภาระแก่คนรุ่นต่อไปเพราะประโยชน์ตกแก่คนรุ่นต่อไป -ผลกระทบของการก่อหนี้ต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจ 1. ผลทางด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจของการก่อหนี้สาธารณะ 1) การกู้จากต่างประเทศ -เกิดจากปัญหาขาดแคลนเงินทุนภายในประเทศ -สาเหตุการกู้จากต่างประเทศ (1) กู้เพื่อทดแทนส่วนที่ขาดระหว่างการออมในประเทศกับการ ลงทุนในประเทศ เรียกว่า ช่องว่างการออม (Saving Gap) เพราะการ ออม(หรืออุปทานเงินให้กู้) มีน้อยกว่าความต้องการลงทุน(หรืออุปสงค์ ต่อเงินกู้) ผลคือ การบริโภคในประเทศไม่ลด นำเงินกู้มาลงทุน

  25. ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว (2) กู้เพื่อนำมาทดแทนช่องว่างระหว่างรายได้กับรายจ่ายเงินตรา ต่างประเทศ เกิดจากส่งออก(รายได้เงินตราต่างประเทศ)น้อยกว่านำเข้า (รายจ่ายเงินตราต่างประเทศ) เรียก ช่องว่างทางการค้า (Trade Gap) กู้มาเพื่อใช้จ่ายนำเข้า ไม่ส่งผลต่อการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศ จึงส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจน้อย 2) การกู้จากธนาคารกลาง -เหมือนกับการพิมพ์เงินเพิ่ม ทำให้ปริมาณเงินเพิ่ม รัฐบาลกู้แล้ว นำมาใช้จ่าย ทำให้การให้สินเชื่อแก่เอกชนเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจขยายตัว -ปริมาณเงินในระบบจะเพิ่มขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าธนาคาร กลางมีนโยบายการเงินในขณะนั้นเป็นแบบใด(แบบขยายตัวหรือแบบ หดตัว) ถ้าเป็นแบบขยายตัวปริมาณเงินจะเพิ่มมาก

  26. -สิ่งที่ต้องระวังคือผลกระทบต่อเงินเฟ้อ -สิ่งที่ต้องระวังคือผลกระทบต่อเงินเฟ้อ 3) การกู้จากธนาคารพาณิชย์(ธพณ.) -กู้จากส่วนที่ ธพณ.ปล่อยสินเชื่อ เป็นการแย่งเงินทุนจากเอกชน -กู้จากส่วนที่เหลือจากการปล่อยกู้ แล้วนำมาใช้จ่าย อุปสงค์รวม เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจขยายตัว -ส่วนที่กู้โดยออกพันธบัตร ธพณ.นำไปเป็นเงินสำรองตามกฎหมาย ไม่ทำให้การปล่อยสินเชื่อลดลง รัฐนำมาใช้จ่าย เศรษฐกิจขยายตัว 4) การกู้จากเอกชน -กู้จากส่วนที่ออม(S) G AD Y -กู้จากส่วนที่บริโภค(C) C G Y , Y (ขึ้นอยู่กับ ประสิทธิภาพการใช้จ่ายและผลของตัวทวีคูณการบริโภคกับการใช้จ่าย)

  27. 3) ผลทางด้านการกระจายรายได้ -กู้ภายในประเทศ ผลได้ที่เป็นการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยจะ ตกแก่คนรวยเป็นส่วนใหญ่(คนรวยถือพันธบัตร แต่คนจนถือน้อย) การเก็บภาษีเพื่อนำมาชำระหนี้กระทบคนจนมากกว่า รายได้และการ บริโภคลดลงมากกว่า -กู้จากต่างประเทศ และหากส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อ กระทบต่อผู้ที่มี รายได้ประจำ ผู้ถือพันธบัตร และเจ้าหนี้ แต่จะเกิดผลดีต่อพ่อค้านัก ธุรกิจ ผู้ถือสินทรัพย์(เช่นที่ดิน) และรัฐบาล(ลูกหนี้) เกิดการ เปลี่ยนแปลงในการกระจายรายได้จากกลุ่มเกิดผลเสียสู่กลุ่มที่เกิดผลดี 4) ผลต่อระดับราคาสินค้า ดุลการค้า และดุลการชำระเงิน ระหว่างประเทศ

  28. (1) ผลทางด้านระดับราคาสินค้า -เศรษฐกิจตกต่ำ ราคาปัจจัยการผลิตไม่เปลี่ยน การใช้จ่าย เพิ่มขึ้น อุปสงค์รวมเพิ่มขึ้น กระทบราคาน้อยมาก -เศรษฐกิจรุ่งเรือง ปัจจัยการผลิตถูกใช้เต็มที่แล้ว การใช้จ่าย รัฐบาล ทำให้อุปสงค์รวมเพิ่มขึ้น ราคาปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น ราคา สินค้าเพิ่มขึ้น (2) ผลทางด้านดุลการค้าและดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ -ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้จ่ายและแหล่งที่มาของเงินกู้ -ถ้านำเงินกู้ไปซื้อสินค้า อาวุธ หรือชำระหนี้ต่างประเทศ ทำ ให้ดุลการค้าและดุลการชำระเงินเลวลง -กู้ภายในประเทศ แล้วนำไปเป็นทุนสำรองหรือใช้จ่าย ไม่ กระทบดุลการค้าและดุลการชำระเงิน

  29. 8.7 วิวัฒนาการหนี้สาธารณะของไทย 1.วิวัฒนาการของการก่อหนี้ต่างประเทศของไทย -ครั้งแรกปลายปี 2445 กู้เพื่อสร้างทางรถไฟจากลพบุรีไป อุตรดิตถ์และสาธารณประโยชน์ต่างๆ สกุลเงินปอนด์ ตลาดเงิน ลอนดอนและปารีส -ปัจจุบันกู้มาเพื่อพัฒนาประเทศ และการเศรษฐกิจต่างๆ จาก ธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย รัฐบาลประเทศต่างๆ ตลาดเงิน ยุโรป ตลาดเงินโตเกียว ตลาดเงินนิวยอร์ค เป็นต้น 2.วิวัฒนาการการก่อหนี้ภายในประเทศ -ระยะที่ 1 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อใช้จ่ายในงบประมาณ แผ่นดิน (เพื่อสหกรณ์ เพื่อการอุตสาหกรรม เพื่อเทศบาล และเพื่อ ช่วยชาติ)

  30. -ระยะที่ 2 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 -2502 เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ โดยออกตั๋วเงินคลัง -ระยะที่ 3 2503-2522 เพื่อชดเชยงบประมาณขาดดุล ส่วนใหญ่ เป็นพันธบัตร -ระยะที่ 4 2523-2533 เพื่อแก้ปัญหาความซบเซาทางเศรษฐกิจ -ระยะที่ 5 2534-ปัจจุบัน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ 8.8 หนี้สาธารณะและวิกฤตเศรษฐกิจ -ผลกระทบภายหลังวิกฤต เช่น ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง เงินทุนต่างประเทศของเอกชนไหลออก ส่งผลกระทบค่าเงินบาทและ สภาพคล่องภายในประเทศ สถาบันการเงินถูกปิดกิจการ

  31. -มาตรการที่รัฐดำเนินการ 1)เสริมสร้างทุนสำรองระหว่างประเทศเพื่อรักษาค่าเงิน 2)งบประมาณขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 3)บรรเทาผลกระทบทางสังคม 4)เพิ่มทุนสถาบันการเงินของรัฐเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง 5)แทรกแซงสถาบันการเงินเพื่อประกันเงินฝาก 6)เพิ่มทุนให้สถาบันการเงิน -มาตรการก่อหนี้ 1)การก่อหนี้ต่างประเทศ เพื่อ 1.1)ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ(SAL) เพื่อเพิ่มทุนสถาบันการเงิน เฉพาะกิจของรัฐ 1.2)เงินกู้โครงการลงทุนทางสังคม(SIP)

  32. 1.3)เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ(Miyazawa) 1.3)เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ(Miyazawa) 1.4)เพื่อปรับโครงสร้างทางการเกษตร 2)หนี้ในประเทศ 2.1)เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 2.2)เพื่อชดเชยความเสียหายกองทุนฟื้นฟูฯ 2.3)เพื่อช่วยเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินตามโครงการ14 สิงหาคม2541

  33. 8.9 สถานะหนี้และภาระหนี้ของรัฐบาล -การวิเคราะห์พิจารณาว่า 1)วิเคราะห์ว่าระดับของหนี้อยู่ในระดับที่จัดการได้(Manageable) 2)ระดับหนี้ลดลงในระยะยาว(Sustainable) -องค์ประกอบที่ต้องพิจารณาในการวิเคราะห์ 1)ฐานะการคลัง การเกินดุล-ขาดดุลงบประมาณ ถ้าเกินดุลได้ดี 2)สัดส่วนหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ต่อ GDP สูงต่ำเพียงไร สูงสุด เมื่อไร ระยะปานกลางและระยะยาวลดลงไหม 3)ภาระหนี้(รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม) ต่อ งบประมาณรายจ่ายรวม (Dept service) อยู่ระดับใด สูงสุดเมื่อไร ทยอยลดลงไหมในระยะปานกลาง

  34. คำถามท้ายบทที่ 8 หนี้สาธารณะ จากข้อมูลที่กำหนดให้ ในแต่ละช่วงรัฐบาลสมควรก่อหนี้ หรือไม่ เพราะเหตุใด ?

  35. "การเมืองบีบเรามาตลอด ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า จุดยืนของเราเป็นอย่างไร ผมเคยบอกแล้วว่า ผมอยู่ที่นี่แม้วันเดียว และผมได้ทำความถูกต้องเป็นอุดมการณ์ ดีกว่าผมอยู่ 10 ปีแล้วยอมปล่อย..เป็นสวะลอยน้ำ.." ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์

More Related