1 / 44

การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา นำเสนอโดย สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา

การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา นำเสนอโดย สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา. 1. กรอบการนำเสนอ. แนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินงาน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและแนวโน้มในอนาคต นโยบายให้คนพิการได้มีโอกาสทางการศึกษา

Télécharger la présentation

การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา นำเสนอโดย สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา นำเสนอโดย สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา 1

  2. กรอบการนำเสนอ • แนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินงานกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ • นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและแนวโน้มในอนาคต • นโยบายให้คนพิการได้มีโอกาสทางการศึกษา • ทิศทาง ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และมาตรการการพัฒนาการจัดการศึกษา • สำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา • กลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการบริการสนับสนุน • นักศึกษาพิการในสถานศึกษา • แนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการของ สกอ. • หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการขอรับการสนับสนุนเงินอุดหนุนฯ • สำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา • นโยบายการพัฒนาศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (DSS Center) • หน้าที่ของศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (DSS Center) • สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไข • การดำเนินการในระยะต่อไป 2

  3. แนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินงานแนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินงาน “งานช่วยเหลือผู้พิการมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าผู้พิการมิได้เป็นผู้ที่อยากจะพิการ แต่อยากช่วยตนเอง ถ้าเราไม่สามารถช่วยเขาให้สามารถที่จะปฏิบัติงาน เพื่อมีชีวิตและมีเศรษฐกิจของครอบครัว จะทำให้เกิดสิ่งที่หนักในครอบครัว หนักแก่สังคม ฉะนั้น นโยบายที่จะทำก็คือ ช่วยเขาให้เขาช่วยตัวเองได้ เพื่อที่จะให้เขาสามารถเป็นประโยชน์ต่อสังคม” (พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะกรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จ- พระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 22 เดือนมีนาคม พุทธศักราช 2527) 3

  4. แนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินงาน (ต่อ) • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 • มาตรา 55 และมาตรา 80 วรรคสอง • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 • มาตรา 30 มาตรา 49 และมาตรา 80 • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา 10 • พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 • มาตรา 15 มาตรา 16 และมาตรา 20 • พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 • มาตรา 5 (1) มาตรา 8 วรรค 4 และวรรค 5 มาตรา 9 วรรค 2 4

  5. แนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินงาน (ต่อ) • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545 - 2549) • มุ่งเน้นแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งพัฒนาสังคมไทยสู่ • “สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ” • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 - 2554) • มุ่งเน้นสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันภายใต้แนวปฏิบัติของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยการเร่งขยายโอกาสการเข้าถึงบริการสังคม สำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสให้ทั่วถึง • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 - 2559) ยังคงยึดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อเนื่องจากแผนฯ 9 – 10 รวมถึงความสามารถในการพึ่งตนเองกับการแข่งขันในเวทีโลก 5

  6. แนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินงาน (ต่อ) • แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551 - 2565) มุ่งเน้นยกระดับ คุณภาพอุดมศึกษาไทย ผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพสู่ตลาดแรงงาน • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในกระแสโลกาภิวัฒน์ • แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 - 2554) • ในยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับอุดมศึกษาไทย ได้กำหนดมาตรการสนับสนุน • ให้ผู้พิการได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาและให้จัดสิ่งอำนวย • ความสะดวกให้กับนักศึกษาพิการ • แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 - 2559) มุ่งเน้น • ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีศักยภาพตรงตามความต้องการของสังคม มีดุลยภาพ ระหว่างเก่งงานและเก่งความดี มีความรับผิดชอบ มีสุขภาวะทั้งร่างกายและจิตใจ • สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพงานที่เปลี่ยนแปลงได้ 6

  7. ความสำคัญของกฎหมาย • ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะผู้พิการ โดยคำนึงถึงสิทธิและโอกาสที่จะได้รับการศึกษา • คนพิการมีสิทธิได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย • ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยให้สอดคล้องกับ ความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการและต้องมีการปรับปรุงแผน การจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง • ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใด • ทางการศึกษาที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ • สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษาให้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย 7

  8. นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและ แนวโน้มในอนาคต (ต่อ) • คนพิการ หมายถึง บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด • (ความหมายคนพิการตาม พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 มาตรา 3) 8

  9. นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและ แนวโน้มในอนาคต (ต่อ) • การแบ่งประเภทของความพิการ • กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2552 กำหนดประเภทของคนพิการทางการศึกษา ไว้ 9 ประเภท คือ • 1. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น • 2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน • 3. บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา • 4. บุคคลที่มีความบกพร่องทางกายหรือสุขภาพ • 5. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ • 6. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา • 7. บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ • 8. บุคคลออทิสติก • 9. บุคคลพิการซ้อน 9

  10. นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและ แนวโน้มในอนาคต (ต่อ) • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ ได้ออกประกาศกระทรวงฯ พ.ศ.2552 กำหนดประเภทความพิการไว้ 6 ประเภท คือ • 1. ความพิการทางการเห็น • 2. ความพิการทางการได้ยินหรือการสื่อความหมาย • 3. ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย • 4. ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรมหรือออทิสติก • 5. ความพิการทางสติปัญญา • 6. ความพิการทางการเรียนรู้ 10

  11. นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและ แนวโน้มในอนาคต (ต่อ) • กระทรวงสาธารณสุขได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 กำหนดประเภทความพิการไว้ 5 ประเภท คือ • 1. คนพิการทางการเห็น • 2. คนพิการทางการได้ยินหรือการสื่อความหมาย • 3. คนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว • 4. คนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม • 5. คนพิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ 11

  12. นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและ แนวโน้มในอนาคต (ต่อ) • องค์การอนามัยโลก (WHO) • คิดประมาณการสัดส่วนคนพิการร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรโลก • ประเทศไทย • กระทรวงสาธารณสุข : ร้อยละ 8.1 ของจำนวนประชากรไทย • สำนักงานสถิติแห่งชาติ : ร้อยละ 1.8 ของจำนวนประชากรไทย • สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจประชากรไทย ปี 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 65.4 ล้านคน • สถิติข้อมูลคนพิการจากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) ปี 2555 • คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ มีจำนวน 1,278,605 คน (2 ก.ค.2555) 12

  13. นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและ แนวโน้มในอนาคต (ต่อ) • สภาพัฒน์ได้ประมาณการจำนวนคนพิการวัยเรียน (0 – 24 ปี) • ในปี 2555 – 2559 มีแนวโน้มบ่งชี้ว่าจะมีจำนวนคนพิการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ลดลงจากปี 2554 ดังนี้ • ปี คนพิการ เพิ่มขึ้นร้อยละ • 2554 407,182 คน - • 2555 433,260 คน 6.40 • 2556 450,972 คน 10.75 • 2557 447,768 คน 9.97 • 2558 444,768 คน 9.14 • 2559 441,234 คน 8.36 13

  14. นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและ แนวโน้มในอนาคต (ต่อ) • สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้สำรวจจำนวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษามาตั้งแต่ปี 2547 – 2553 พบว่า แนวโน้ม มีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยตลอด ดังนี้ • ปี 2547 จำนวน 1,048 คน ปี 2548 จำนวน 1,289 คน • ปี 2549 จำนวน 1,452 คน ปี 2550 จำนวน 1,928 คน • ปี 2551 จำนวน 1,953 คน ปี 2552 จำนวน 2,107 คน • ปี 2553 จำนวน 4,668 คน (ข้อมูลจากศูนย์สารนิเทศ สำนักอำนวยการ สกอ.) • สำหรับในปี 2554 อยู่ในระหว่างการจัดทำฐานข้อมูลและการสำรวจข้อมูลภาวะการมีงานทำของนิสิต นักศึกษาพิการหลังจากสำเร็จการศึกษา 14

  15. นิยาม ข้อมูล สถิติจำนวนคนพิการและ แนวโน้มในอนาคต (ต่อ) • สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบบริการให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2547 และผลการสำรวจล่าสุดในเรื่องนโยบาย แนวทางและมาตรการในการรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาพิการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา พบว่า สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้กำหนดนโยบายที่ชัดเจนแต่ไม่ได้ปิดกั้นสำหรับผู้พิการที่สามารถสอบผ่านได้ โดยสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่มีแนวทางและมาตรการในการรับนิสิต นักศึกษาพิการเข้าศึกษาต่อในสถาบันเหมือนนักศึกษาทั่วไป สำหรับการจัดบริการรองรับนิสิต นักศึกษาพิการระดับอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา โดยสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่มีการจัดบริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ การจัดอาคารสถานที่ให้เหมาะสมกับคนพิการ อาทิ ลิฟท์ ทางลาด ราวจับ ห้องส้วม ห้องน้ำ รวมทั้งการบริการด้านสื่อหนังสืออักษรเบรลล์ การจัดหาอาสาสมัคร เพื่อนช่วยเพื่อน เป็นต้น 15

  16. นโยบายให้คนพิการได้มีโอกาสทางการศึกษานโยบายให้คนพิการได้มีโอกาสทางการศึกษา • เพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการโดยคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการได้ออกระเบียบคณะกรรมการฯ พ.ศ.2552 ข้อ 6 วรรคหนึ่ง “กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาที่รับคนพิการเข้าศึกษามีสิทธิได้รับค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ตามจำนวนเงินที่ต้องเรียกเก็บจากนิสิต นักศึกษาพิการ ทั้งนี้ไม่เกินอัตราและรายการที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการกำหนด” 16

  17. ทิศทาง ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์และมาตรการ • การพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ • ในระดับอุดมศึกษา • นโยบายการปฎิรูปการศึกษาสำหรับคนพิการในทศวรรษ ที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) ของกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดไว้ดังนี้ • วิสัยทัศน์ • คนพิการได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเสมอภาค • พันธกิจ • พันธกิจที่ 1 : คนพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาค • พันธกิจที่ 2 : คนพิการได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของแต่ละประเภทความพิการในทุกระบบและรูปแบบการศึกษา • พันธกิจที่ 3 : การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ • พันธกิจที่ 4 : พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ 17

  18. นโยบายการปฎิรูปการศึกษาสำหรับคนพิการในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) ของกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดไว้ดังนี้ (ต่อ) • ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษา • ยุทธศาสตร์ที่ 1 : เพิ่มโอกาสให้คนพิการได้รับบริการทางการศึกษา • ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ให้เหมาะสมสำหรับคนพิการ • ยุทธศาสตร์ที่ 3 : พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา สำหรับคนพิการ • ยุทธศาสตร์ที่ 4 : พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้สำหรับคนพิการ • ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ • ยุทธศาสตร์ที่ 6 : พัฒนาระบบการบริหารและกลไกในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ • ยุทธศาสตร์ที่ 7 : ปฏิรูประบบการเงิน การคลัง และงบประมาณเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการ 18

  19. นโยบายการเข้าถึงและได้รับบริการทางการศึกษานโยบายการเข้าถึงและได้รับบริการทางการศึกษา ระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ • ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ในระดับอุดมศึกษา • ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา • วิสัยทัศน์ • จัดการศึกษาสำหรับคนพิการโดยคำนึงถึงความเท่าเทียมและคุณภาพ ในการเข้ารับการศึกษา โดยให้การช่วยเหลือให้นักศึกษาได้ศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เต็มศักยภาพ และมีงานทำ • ยุทธศาสตร์ที่ 1 : สร้างโอกาสทางการศึกษา • กลยุทธ์ : จัดสรรโอกาสทางการศึกษาให้นักศึกษาพิการที่มีศักยภาพ ได้เข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษา 19

  20. นโยบายการเข้าถึงและได้รับบริการทางการศึกษานโยบายการเข้าถึงและได้รับบริการทางการศึกษา ระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ(ต่อ) • ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาการจัดการการเรียนรู้ของผู้พิการ • กลยุทธ์ที่ 1 : พัฒนาระบบบริการสนับสนุนคนพิการ (DSS) ในสถาบันอุดมศึกษา ที่ส่งเสริมการเรียนของนักศึกษา • กลยุทธ์ที่ 2 : พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาพิเศษและ • การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาพิการ • กลยุทธ์ที่ 3 : พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับคนพิการ • ยุทธศาสตร์ที่ 3 : พัฒนาองค์ความรู้ • กลยุทธ์ : ผลิตงานวิจัยและสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านคนพิการ • ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ส่งเสริมการมีงานทำของบัณฑิตผู้พิการ • กลยุทธ์ : ส่งเสริมความร่วมมือในการสนับสนุนการประกอบอาชีพของบัณฑิตพิการ 20

  21. กลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการสนับสนุนกลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการสนับสนุน นักศึกษาพิการในสถานศึกษา • สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา • สกอ.เตรียมความพร้อมเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษา สร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาพิการ โดยจัดประชุมสัมมนาเรื่องการพัฒนาระบบรองรับคนพิการในสถาบันอุดมศึกษามาเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2546 • จัดทำฐานข้อมูลและสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบบริการเพื่อรองรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษามาตั้งแต่ปี 2547 • แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเพื่อทำหน้าที่เสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการ 1 ชุด และคณะทำงานอีก 7 ชุด • คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน ประกอบด้วย หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านคนพิการและองค์กรคนพิการ 21

  22. กลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการสนับสนุนกลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการสนับสนุน นักศึกษาพิการในสถานศึกษา (ต่อ) • กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ กระทรวงศึกษาธิการ • จัดตั้งตาม พ.ร.บ. การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 • บริหารงานโดยคณะกรรมการ 2 ชุด และคณะอนุกรรมการ 1 ชุด • คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ทำหน้าที่เสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการให้ความเห็นชอบแผนการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ วางระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง แนวปฏิบัติต่าง ๆ องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ มี รมว.ศธ. เป็นประธาน กรรมการ โดยตำแหน่ง 10 คน กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คนและมี ผอ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เป็นเลขานุการ 22

  23. กลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการสนับสนุนกลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการสนับสนุน นักศึกษาพิการในสถานศึกษา (ต่อ) • กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ กระทรวงศึกษาธิการ (ต่อ) • คณะกรรมการบริหารกองทุน ทำหน้าที่บริหารกองทุน อนุมัติการจ่ายเงินเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ มีเลขาธิการ กพฐ.เป็นประธาน ผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ ผู้แทนองค์กรคนพิการ ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 คน และมี ผอ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นเลขานุการ • คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการที่ขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนฯ ทำหน้าที่พิจารณาโครงการฯ ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เสนอขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนฯ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินต่อไป ทั้งนี้ องค์ประกอบของคณะอนุกรรมการฯ มาจากการแต่งตั้งของคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ 23

  24. แนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการของ สกอ. • จัดประชุมสัมมนา เรื่อง การพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษามาเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2546 • จัดทำและนำเสนอยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษาให้กระทรวงศึกษาธิการบูรณาการยุทธศาสตร์ร่วมกับหน่วยงานหลัก • จัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ สกอ.มาตั้งแต่ปี 2549 • - จัดสรรงบประมาณให้สถาบันอุดมศึกษาที่รับนักศึกษาพิการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปเพื่อพัฒนาการจัดตั้งศูนย์ DSS Center การจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา การจัดจ้างล่ามภาษามือ การจัดอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา 24

  25. แนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการของ สกอ. • สกอ. จัดสัมมนาทางวิชาการระดับชาติ เรื่อง การเข้าถึงและได้รับบริการทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ (Accessibility to Higher Education for Persons with Disabilities) เมื่อวันที่ 16 – 17 กรกฎาคม 2552 ณ โรงแรมมณเฑียรริเวอร์ไซด์ • - เชิญนายกรัฐมนตรีมาปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับการสนับสนุนการศึกษาของคนพิการในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย • - เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาพิเศษทั้งในประเทศและต่างประเทศมาบรรยาย/รายงานผลงานวิจัย/บทความทางวิชาการและจัดนิทรรศการด้านคนพิการ • สกอ.จัดฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา ในปี 2551 จำนวน 1 รุ่น และในปี 2553 จำนวน 3 รุ่น 25

  26. แนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการของ สกอ. (ต่อ) • สกอ. ออกประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่องแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ • (ประกาศ ณ วันที่ 13 มกราคม 2553) • 1. สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสถาบันในสัดส่วนที่เหมาะสม ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป • 2. สถาบันอุดมศึกษาที่รับคนพิการเข้าศึกษามีสิทธิ์ได้รับค่าเล่าเรียน • ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่นตามจำนวนที่สถาบันเรียกเก็บจากนิสิต นักศึกษาพิการ ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราและรายการที่กำหนด • 3. สภาสถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ออกข้อกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการรับคนพิการเข้าศึกษาต่อในสถาบันให้สอดคล้องกับแนวทางฯของ สกอ. • 4. สภาสถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับนิสิตนักศึกษาพิการเข้าเรียนในสถาบันและแจ้งต่อ สกอ.ทราบไม่น้อยกว่า 120 วัน ก่อนเริ่มปีการศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนงบประมาณให้สถาบันอุดมศึกษา 26

  27. แนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการของ สกอ. (ต่อ) • 5. ให้สถาบันอุดมศึกษาจัดทำแผนการรับและแผนงบประมาณเงินอุดหนุนการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรีต่อ สกอ.ภายในเดือนมกราคมของทุกปี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการขอตั้งงบประมาณ • 6. สถาบันอุดมศึกษาที่รับคนพิการเข้าศึกษาต้องจัดเทคโนโลยี สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการความช่วยเหลือทางการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างเหมาะสม • 7. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 27

  28. หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการขอรับการ สนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการ ในระดับอุดมศึกษา • สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดทำคู่มือ หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการขอรับการสนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา ในปี 2553 สำหรับนิสิตนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี ดังนี้ • 1. คุณสมบัติของคนพิการ ที่มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนทางการศึกษา • 1. มีบัตรประจำตัวคนพิการ (ออกโดยสำนักงานส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ) • 2. ศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนในหลักสูตร ไม่สูงกว่าปริญญาตรี • 3. ไม่เคยได้รับเงินอุดหนุนทางการศึกษาตามประกาศนี้ในหลักสูตร ปริญญาตรีมาก่อนและไม่ศึกษาเป็นปริญญาที่สอง 28

  29. หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการขอรับการ สนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการ ในระดับอุดมศึกษา (ต่อ) • 2. รายการที่ให้การอุดหนุน • คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการได้จัดประกาศ เรื่อง กำหนดอัตราและรายการที่ใช้การอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2553) ประกอบด้วย ค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม ตามรายการที่ปรากฏในระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง (อัตราที่จ่ายจริงไม่เกินขอบเขตที่กำหนด ทั้งนี้ไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้) 29

  30. หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการขอรับการ สนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการ ในระดับอุดมศึกษา (ต่อ) • 3. การยื่นคำขอรับเงินอุดหนุน สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการดังนี้ • ประมาณการจำนวนเงินและจำนวนนิสิตพิการที่คาดว่าจะรับเข้าศึกษาในแต่ละปี เพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณประจำปี โดยรายงานต่อ สกอ.ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี • รายงานจำนวนเงินที่ต้องเรียกเก็บและรายชื่อนิสิต นักศึกษาพิการที่รับเข้าศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา พร้อมระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศของสถาบันที่ใช้บังคับในภาคการศึกษานั้นต่อ สกอ.ภายในเดือนมิถุนายนและพฤศจิกายนของทุกปี • สถาบันอุดมศึกษารายงานข้อมูลเกี่ยวกับผลการศึกษาของนิสิตนักศึกษาพิการต่อ สกอ.อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนกันยายนของทุกปี เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการต่อไป • สถาบันอุดมศึกษาที่รับนิสิตนักศึกษาพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการเข้าศึกษาก่อนประกาศนี้ ให้ได้รับการอุดหนุนทางการศึกษาตามประกาศนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป 30

  31. ระบบการดำเนินงานสนับสนุนเงินอุดหนุน ทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการ 31

  32. สรุปขั้นตอนการดำเนินงานสำหรับสถาบันอุดมศึกษาที่ขอรับ การอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา จัดทำแผนการรับนิสิตนักศึกษาพิการ พร้อมทั้งแผนงบประมาณเงินอุดหนุนการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรีของสถาบัน สถาบันตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูลรายบุคคล ของนิสิตนักศึกษาพิการในสถาบัน สถาบันรับสมัครนิสิตนักศึกษาพิการที่ประสงค์ ขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษา สถาบันตรวจสอบคุณสมบัตินิสิตนักศึกษาพิการและจำนวนเงินที่ได้รับอุดหนุนทางการศึกษา สถาบันแจ้งข้อมูลรายชื่อนิสิตนักศึกษาพิการพร้อมค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนทางการศึกษามายังสกอ. สกอ.ตรวจสอบ/อนุมัติและสรุปจำนวนนิสิตนักศึกษาพิการแจ้งกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ (ศธ.) เพื่อขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษา กองทุนฯโอนเงินอุดหนุนทางการศึกษามายังสกอ. สถาบันรับโอนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการ สถาบันจัดส่งหลักฐานใบเสร็จรับเงินให้สกอ. รายงานผลการศึกษาของนิสิตนักศึกษาพิการ (ภายในเดือนกันยายนของทุกปี) 32

  33. แบบแสดงความจำนงขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรีแบบแสดงความจำนงขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี 33

  34. แบบแสดงความจำนงขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี (ต่อ) 34

  35. แบบฟอร์มการรายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัตินิสิตนักศึกษาพิการที่ประสงค์ขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษาและจำนวนเงินที่ได้รับเงินอุดหนุนทางการศึกษาแบบฟอร์มการรายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัตินิสิตนักศึกษาพิการที่ประสงค์ขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษาและจำนวนเงินที่ได้รับเงินอุดหนุนทางการศึกษา 35

  36. นโยบายการพัฒนาศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (DSSCenter) • กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษาของ สกอ. • จัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ สกอ. • ปัจจุบันศูนย์ DSS Center ของ สกอ. มีจำนวน 31 แห่ง (ปี 2555) ดังนี้ • ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ • (9 ศูนย์) มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย • มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม • (วิทยาเขตภาคพายัพ) มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ • (8 ศูนย์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม • มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร • มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 36

  37. นโยบายการพัฒนาศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (DSSCenter) (ต่อ) • ภาคกลาง มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร • (9 ศูนย์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช • มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี • ภาคตะวันออก • (2 ศูนย์) มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี • ภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา • (3 ศูนย์) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา • โดยสถาบันอุดมศึกษาที่รับนักศึกษาพิการเข้าเรียนจะดำเนินการจัดจ้างบุคลากรประจำศูนย์ DSS เพื่อให้บริการนักศึกษาพิการ จัดซื้อวัสดุ-ครุภัณฑ์ เพื่อนิสิตนักศึกษาพิการแต่ละประเภทความพิการ รวมถึงการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการอื่นใด ให้นักศึกษาพิการในรูปแบบต่าง ๆ 37

  38. หน้าที่ของศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (DSS Center) • ศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (DSS Center) ทำหน้าที่บริการนักศึกษาพิการ ดังนี้ • 1. เป็นศูนย์ข้อมูลด้านคนพิการของสถาบัน • 2. บริการให้คำปรึกษา • 3. จัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (ISP : Individualized Service Plans) • 4. ให้บริการด้านการจัดสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และความช่วยเหลือ อื่นใดทางการศึกษา • 5. ประสานงานกับคณะที่มีนักศึกษาเรียนร่วมและเป็นเครือข่ายให้บริการ กับสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ 38

  39. สภาพปัญหาการดำเนินงานและแนวทางการแก้ไขสภาพปัญหาการดำเนินงานและแนวทางการแก้ไข • สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษาในปี 2555 สรุปผลการติดตามได้ดังนี้ • 1. การรับนิสิตนักศึกษาพิการเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่ได้กำหนดโควต้ารับนักศึกษาพิการเข้าศึกษาแต่เปิดโอกาสให้ผู้พิการเข้าศึกษาได้ในบางคณะ/สาขาวิชา โดยผ่านกระบวนการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันเช่นเดียวกับนักศึกษาทั่วไป • สถาบันอุดมศึกษาที่กำหนดโควต้ารับนักศึกษาพิการเข้าศึกษา ได้แก่ ม.ธรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ มรภ.เชียงใหม่ และ มรภ.สงขลา • แนวทางการแก้ไข จัดประชุมสัมมนาชี้แจงนโยบายการเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาพิการได้เข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์จัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา โดยให้สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งจัดสรรโควต้าให้กับนักศึกษาพิการด้วย 39

  40. สภาพปัญหาการดำเนินงานและแนวทางการแก้ไข (ต่อ) • 2. การขาดแคลนงบประมาณ งบประมาณอุดหนุนการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการมีไม่เพียงพอ • แนวทางการแก้ไข ตามระเบียบของคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2552 กำหนดว่า หากสำนักงานไม่สามารถจัดหางบประมาณสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาที่รับคนพิการเข้าศึกษาตามสิทธิ์ที่ได้รับค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นตามจำนวนที่ต้องเรียกเก็บจากนิสิตนักศึกษาพิการได้ให้ส่งเรื่องขอรับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการต่อไป ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราและรายการที่คณะกรรมการกำหนดในปี 2554 สกอ.ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย จำนวน 40 ล้านบาท และได้รับการอนุมัติจำนวนเงินดังกล่าว โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างการจัดสรรงบให้สถาบันอุดมศึกษาที่รับนิสิตนักศึกษาพิการ 40

  41. สภาพปัญหาการดำเนินงานและแนวทางแกไข (ต่อ) • 3. การขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษาของนิสิตนักศึกษาพิการ การขาดหลักฐานที่สมบูรณ์ครบถ้วนของนิสิต นักศึกษาพิการในการขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการทำให้ต้องเสียเวลาในการติดตามทวงถาม เกิดความล่าช้าในการโอนเงินอุดหนุนฯ • แนวทางการแก้ไข สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประชาสัมพันธ์และแจกจ่ายคู่มือ หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการขอรับเงินอุดหนุนฯ ดังกล่าวไปยังทุกคณะของทุกสถาบันอุดมศึกษา นอกเหนือจากที่ได้จัดส่งให้งานกิจการนักศึกษาแล้ว โดยเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานของสถาบันอุดมศึกษาต้องชี้แจง ประสานงานให้นิสิตนักศึกษาพิการเข้าใจขั้นตอนการขอรับเงินอุดหนุนดังกล่าว เพื่อความรวดเร็วในการโอนเงินอุดหนุนฯ 41

  42. สภาพปัญหาการดำเนินงานและแนวทางแกไข (ต่อ) • 4. การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดการพัฒนาบุคลากรที่ดูแลรับผิดชอบคนพิการในระดับอุดมศึกษา • แนวทางการแก้ไข สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา (Intensive Program) ในระยะที่ 1 จำนวน 1 รุ่น 24 คน 12 สถาบัน โดยจัดฝึกอบรมในประเทศไทยและศึกษาดูงานประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2551 เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษารุ่นต่อไป และดำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา ในระยะที่ 2 จำนวน 3 รุ่น 60 คน 37 สถาบัน โดยจัดฝึกอบรมและศึกษาดูงานในประเทศไทยในปี 2553 • สำหรับในปี 2555 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะจัดหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา โดยกำหนดเป็น 4 หลักสูตร (สำหรับผู้บริหาร, คณาจารย์/ผู้สอน, ผู้ปฏิบัติงาน, เจ้าหน้าที่ IT) (ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการพิจารณาร่างหลักสูตร) 42

  43. การดำเนินการในระยะต่อไปการดำเนินการในระยะต่อไป • การปรับปรุงยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา • การพิจารณาจัดสรรงบประมาณประจำปีให้แก่โครงการของมหาวิทยาลัยที่สอดคล้อง กับยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา • การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในสถาบันอุดมศึกษา • การศึกษาระบบสนับสนุนการจัดบริการทางการศึกษาสำหรับนิสิต นักศึกษาพิการ ในระดับอุดมศึกษา • การสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ DSS Center • การสนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา • การพัฒนามาตรฐานการจัดบริการทางการศึกษาสำหรับนิสิต นักศึกษาพิการในระดับอุดมศึกษา • การสนับสนุนการวิจัยองค์ความรู้ด้านคนพิการในระดับอุดมศึกษา • การพัฒนาการบริการในระยะเปลี่ยนผ่านสำหรับบุคคลพิการจากมัธยมศึกษาสู่อุดมศึกษา • การติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา 43

  44. จบการนำเสนอ ขอบคุณ 44

More Related