html5-img
1 / 16

สารพิษจากเชื้อรา : อะฟลาทอกซินในอาหารสัตว์

สารพิษจากเชื้อรา : อะฟลาทอกซินในอาหารสัตว์. โดย ภานุวัฒน์ อนันตรักษ์. ชนิดของเชื้อราในวัตถุดิบอาหารสัตว์. 1.อะฟลาทอกซิน 2.สเตอริกมาโตซิสติน 3.โอคราทอกซิน 4.ซิทรินิน 5.พาทูลิน 6.กรดเพนิซิลลิก 7.ซีราโนน 8.ไตรโคทีซีน 9.สารพิษจากเชื้อราอื่นๆ. อะฟลาทอกซิน.

astra
Télécharger la présentation

สารพิษจากเชื้อรา : อะฟลาทอกซินในอาหารสัตว์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สารพิษจากเชื้อรา:อะฟลาทอกซินในอาหารสัตว์สารพิษจากเชื้อรา:อะฟลาทอกซินในอาหารสัตว์ โดย ภานุวัฒน์ อนันตรักษ์

  2. ชนิดของเชื้อราในวัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดของเชื้อราในวัตถุดิบอาหารสัตว์ 1.อะฟลาทอกซิน 2.สเตอริกมาโตซิสติน 3.โอคราทอกซิน 4.ซิทรินิน 5.พาทูลิน 6.กรดเพนิซิลลิก 7.ซีราโนน 8.ไตรโคทีซีน 9.สารพิษจากเชื้อราอื่นๆ

  3. อะฟลาทอกซิน เป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อรา Aspergillus flavus และAspergillus parasiticus มีหลายชนิดได้แก่ บี1 บี2 จีหนึ่ง จี2 เอ็ม1 เอ็ม2 อะฟลาทอกซินทนความร้อนได้ถึง 260 องศาเซลเซียส อะฟลาทอกซินชนิดนี้เจริญที่อุณหภูมิต่ำกว่า 7.5 หรือสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส แต่ผลิตสารพิษได้มากที่สุดที่อุณภูมิ 25 องศาเซลเซียส อุณภูมิที่เหมาะสมในการผลิตสารพิษอยู่ในช่วง 24-28 องศาเซลเซียส ความเป็นพิษของอะฟลาทอกซินอะฟลาทอกซินมีพิษอย่างรุนแรงต่อตับของสัตว์ทุกชนิด และเป็นสารก่อมะเร็งต่อสัตว์ พิษของอะฟลาทอกซินต่อสัตว์ พันธุ์ ปริมาณ ช่องทางและระยะเวลาที่ได้รับ รวมทั้งอาหารหรือภาวะโภชนาการของสัตว์ด้วยผลการในสัตว์ทดลองยังพบว่าอะฟลาทอกซินไวที่สุดและทำให้เกิดมะเร็งเซลล์ตับ เยาวมาลย์และคณะ(2540) ได้ทำการวิเคราะห์หาปริมาณอะฟลาทอกซินในวัตถุดิบที่ใช้ผสมเป็นอาหารสัตว์พบว่ามีอะฟลาทอกซินอยู่ในกากถั่วลิสง

  4. ตาราง แสดงผลการตรวจวิเคราะห์วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปนเปื้อนอะฟลาทอกซิน ที่มา : กองควบคุมอาหารสัตว์ (2543)

  5. ขั้นตอนในการปนเปื้อนของอะฟลาทอกซินในอาหารมีหลายขั้นตอนดังนี้คือขั้นตอนในการปนเปื้อนของอะฟลาทอกซินในอาหารมีหลายขั้นตอนดังนี้คือ ปนเปื้อนมาตั้งแต่เมล็ดก่อนปลูก และเกิดขึ้นในระหว่างปลูก ระหว่างขนส่ง ขณะที่ทำการผลิตและการบรรจุหีบห่อระหว่างการเก็บก่อนบริโภคหรือนำไปเลี้ยงสัตว์ การเกิดอะฟลาทอกซินในอาหารสัตว์ เมล็ดพืชถูกทำลาย(แตกหัก)ในระหว่างการเก็บเกี่ยวมีความชื้นสูงเกินไป(มากกว่า 13%)ผลิตอาหรสัตว์ปกติไม่ควรเกิน 11% จึงจะเก็บอาหารได้ดีไซโลและถังเก็บอาหารเกิดการรั่วหรือมีเหงื่อเกิดขึ้นไม่ได้ใส่สารป้องกันเชื้อรากับเมล็ดธัญพืชที่มีความชื้นสูง ปัจจัยที่มีผลต่ออาหารที่เกิดเชื้อรา คือ ชนิดของเมล็ดพืช อุณหภูมิ( 75-90 ๐ F) เหมาะสมมากสำหรับเชื้อรา ความชื้นสัมพันธ์ การถ่ายเทอากาศ อายุการเก็บเกี่ยว (เยาวมาลย์, 2544)

  6. ตาราง แสดงปริมาณสารอะฟลาทอกซินตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 ที่มา : กองควบคุมอาหารสัตว์ (2543)

  7. ผลของเชื้อราและสารพิษเชื้อราต่อคุณค่าทางโภชนาการของอาหารผลของเชื้อราและสารพิษเชื้อราต่อคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร 1. เชื้อราจะทำลายไขมันในเมล็ดเป็นอันดับแรกในระหว่างการเก็บ 2. เชื้อราจะทำลายกรดอะมิโนเกือบทุกตัวในระหว่างที่เชื้อราเจริญเติบโต และกรดอะมิโนที่ถูกทำลายมากที่สุด คือไลซีนและอาร์จินีน การเจริญเติบโตของเชื้อราทำให้คุณค่าของโปรตีนในวัตถุดิบอาหารหรืออาหารลดลง (เยาวมาลย์, 2544) 3. เชื้อราต้องการวิตามินสำหรับการเจริญเติบโต ดังนั้นถ้ามีเชื้อราเกิดขึ้นจะทำลายวิตามินต่างๆ คือ เอ ดี ซี เค บี1 บี2 ไนอาซีน บี6 4.เมื่อเชื้อราทำลายคุณค่าของพลังงาน กรดอะมิโนและวิตามินจะมีผลในทางอ้อมในการที่สัตว์กินอาหารที่มีเชื้อราอยู่ต่อแร่ธาตุในอาหาร โดยเฉพาะCa,P,Zn,Mn,Fe,Cu 5. การเกิดของเชื้อรามีผลในการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของอาหาร เช่นสี กลิ่น การจับตัวเป็นก้อน ตลอดจนลดความน่ากินลง 6. การเสริมเมทไธโอนีนจะช่วยขับพิษหรือแก้พิษจากอะฟลาทอกซิน 7. การเกิดของเชื้อราในอาหารสำเร็จรูป ก่อให้เกิดความไม่สมดุลของอาหารเกิดขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้ลดอัตราการเจริญเติบโต ขนผิดปกติ ขาอ่อน ขาพิการ ซากมีสีซีด แสดงการขาดวิตามินต่างๆ และ ฯลฯ (เยาวมาลย์, 2544)

  8. ตาราง แสดงค่า LD50 ของ afatoxin B1 ที่ให้กินเพียงครั้งเดียวแล้วทำให้สัตว์แสดงอาการ เป็นพิษอย่างเฉียบพลัน หมายเหตุ : LD50 หรือmedian lethal dose หมายถึงปริมาณของวัตถุมีพิษต่อน้ำหนักตัว ทีทำให้ สัตว์ทดลองตายไป 50% ของจำนวนสัตว์ทดลองทั้งหมด

  9. ตาราง ระดับอะฟลาทอกซินที่เป็นพิษแก่สัตว์ชนิดต่างๆ

  10. ตาราง แสดงอาการสัตว์ปีกที่ได้รับอะฟลาทอกซิน ที่มา : เปล่งศรี (2540)

  11. ปัญหาสารพิษอะฟลาทอกซินในประเทศไทยปัญหาสารพิษอะฟลาทอกซินในประเทศไทย ปัญหาความสูญเสียของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ มีทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ ทางตรง ได้แกค่าใช้จ่ายที่ใช้รักษาสัตว์ป่วย การสูญเสียชีวิตสัตว์ การสูญเสียแรงงานจากการทำงานมากขึ้นต้องสูญเสียอาหารเลี้ยงสัตว์มากขึ้น เพราะอัตราแลกเนื้อใช้อาหารมากขึ้น ต้องใช้สารยับยั้งชื้อราหรือสารทำลายสารพิษจากเชื้อราและยาบำรุงเสริม ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้น (นิรนาม, 2540) ทางอ้อม เสียค่าใช้จ่าย เช่น สารเคมี แรงงาน การทดสอบ การตรวจสอบวัตถุดิบอาหารสัตว์ ในทางปฏิบัติเราสามารถตรวจสารพิษเชื้อราได้ทุกชนิด เพราะในอาหารสัตว์ที่ทำให้สัตว์ป่วยมีเชื้อราหลายๆ ชนิดอยู่รวมกันต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น ปัญหาสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศ เป็นปัญหาสำคัญทางเศรษฐกิจซึ่งมีความสำคัญในระดับสุขภาพของประเทศ จากการประชุมกรรมการ CODEX เกี่ยวกับ Food Additive and Contaminants ในประเทศพัฒนาแล้วได้กำหนดระดับอะฟลาทอกซินในถั่วลิสงไว้ ไม่เกิน 5 พีพีบี อาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงขณะที่ให้นมอะฟลาทอกซินปนเปื้อน ไม่เกิน 5 พีพีบี และอาหารสัตว์ทั่วไปมีอะฟลาทอกซินไม่เกิน 50 พีพีบี และจะเกิดความลำบากสำหรับประเทศไทย หากการกำหนดค่าของสารพิษจากเชื้อราต่ำลงกว่านี้ จึงควรมีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด การเก็บเกี่ยว การตกเขียว การตากแห้ง และการใช้เครื่องอบ (จักรกริศน์, 2540)

  12. วิธีป้องกันการปนเปื้อนและการทำลายเชื้อราวิธีป้องกันการปนเปื้อนและการทำลายเชื้อรา วิธีลดการปนเปื้อนและการทำลายเชื้อราในอาหารสัตว์สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 คือ 1. วิธีทางฟิสิกส์และกายภาพ ซึ่งได้แก่ 1.) คัดเอาเมล็ดพืชที่แตกและมีเชื้อราออก 2.) โดยการนึ่ง การต้ม การคั่ว และการอบ 3.) การใช้รังสี คือแสงอุลตราไวโอเลต ซึ่งมีอยู่ในแสงแดดโดยการนำไปตากแดดหรือรังสีไอออนไนซ์ เช่นรังสีเอกซ์ รังสีแกมมา ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษา 4.)การใช้สารดูดซับ(Sorbentmaterriai)เช่น ดิน (Clays) เบนโธไนท์ (bentonite)ซิโอไลท์ (Zeolite) ฟิลโลซิลิเกต (phyllosilicate) หรือเอสเอสซีเอเอส (hydrate sodium calcium aluminosilicate, HSCA) เป็นสารดูดซับเชื้อราโดยเฉพาะอะฟลาทอกซินได้ดีมาก แต่ต้องระวังเพราะสารเหล่านี้อาจดูดซึมวิตามิน แร่ธาตุ และยาปฏิชีวนะได้ ยังมีสารดูดซับพวกอินทรีย์ที่สกัดมาจากคาร์โบไฮเดรต (เยาวมาลย์, 2544) 5.) การสกัดด้วยสารละลาย เช่น อาซีโตน คลอโรฟอร์ม เบนซิน

  13. 2.วิธีทางเคมี มีอยู่หลายวิธีดังนี้ 1.) ออกซิเดชั่น (oxidation) เช่นใช้สารคลอรอค (Clorox) ด่างทับทิม พบว่าลดอะฟลาทอกซินลงได้แต่ไม่เป็นที่นิยม 2.) รีดักชั่น (Reduction) เช่นใช้โซเดียมโบโรไฮไดด์ (borohydried) ใช้ไม่ได้ในอาหารสัตว์ 3.) ไฮดรอกซิเลชั่น (Hydroxylation) ในปฏิกิริยาเป็นด่าง โดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ แอมโมเนีย โซเดียมไบคาร์บอเนต ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้ 4.) แอมโมเนียซัน (Ammoniation) โดยใช้แก๊สแอมโมเนียและสารละลายแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ 1-2% ซึ่งเป็นที่แพร่หลายมากที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา 5.) สารเคมีอื่นๆ เช่นฟอร์มาดีไฮด์ ในอาหารสัตว์ไม่ค่อยใช้กัน เพิ่มมลภาวะ 6.) สารเคมียับยั้งการเกิดเชื้อรา 3.ทางด้านชีวภาพ(Biological) โดยอาศัยขบวนการหมักวัตถุดิบอาหารสัตว์ด้วยเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆลงไป คาดว่าจะเป็นวิธีการรักษาคุณค่าของสารอาหารไว้ได้มากวิธีหนึ่ง 4.ทางจุลินทรีย์ มีการนำจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์มาเสริมในอาหารสัตว์ในชื่อของ โปรไบโอติกเมื่อเสริมในอาหารสัตว์แล้วสามารถขับสารพิษออกจากร่างกายสัตว์ได้ (เยาวมาลย์, 2544)

  14. การแก้ไขการเกิดพิษของเชื้อราในสัตว์และอาหารการแก้ไขการเกิดพิษของเชื้อราในสัตว์และอาหาร 1. คอปเปอร์ซัลเฟตละลายน้ำให้กิน 7 วัน ในอัตราส่วน 20 ppm (1:200)หรือในอาหาร 600 ppm 2. กรดโปรปิออนนิค (propionic acid) ในอาหาร 0.05% หรือแคลเซียมโปรปิออนเนต 0.22% ในอาหาร 3. เจนเทียนไวโอเลต (gentianviolet) 1 ppm ในน้ำ หรือ 8 ppmในอาหาร 4. ใช้ในสเตติน (Nystatin) 125 ppm ในอาหารหรือเบต้าไฮดรอกซิควิโนลิน(-hydroxy quinolin) ในอาหาร 5. ใช้เพนตะคลอโรฟีนอล (pentachorophenol) ในวัสดุรองพื้นคอก (ขี้แกลบ) 0.5-1.0 ppm 6. ใส่อีทอกควินิน (Ethoxyquin 66%) 70 กรัม ต่อตันอาหาร เพื่อควบคุมเชื้อรา 7. ใส่สารควบคุมเชื้อราในอาหาร ดังนี้ 1.) กรดโปรปิออนนิค 1.2 กก. ต่อตันอาหาร หรือ 1200 ppm 2.) เจนเทียนไวโอเลต 276 กรัมต่อตันอาหาร หรือ 276 ppm 3.) คอปเปอร์ซัลเฟต 150 กรัมต่อตันอาหาร หรือ 150 ppm (เยาวมาลย์, 2544)

  15. สรุปและข้อเสนอแนะ สารพิษจากเชื้อราเป็นชนิดไมโคทอกซิน อยู่ในรูปของเมตาบอไลท์ ซึ่งเป็นชนิดที่มีอันตรายต่อสุขภาพคนและสัตว์ ที่มีการปนเปื้อนอยู่ในอาหารอยู่ 13 ชนิด คือ อะฟลาทอกซิน ซีราเลโนน ซีอาเพนอล ไตรโคเรซีน โอคราทอกซิน ซิตรินิน กรดเพนิซิลลิก พาทูลิน สเตอริกมาโตซิสติน แอลเทอราชิออลเอทิลอีเทอร์ กรดไมโคฟีนอลิก เพนิเทรเอ และพีอาร์ทอกซิน สารพิษจะปนเปื้อนได้ทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยววัตถุดิบและการนำวัตถุดิบนำไปใช้ในอาหารสัตว์ ซึ่งผลของการเป็นพิษ มีพิษอย่างเฉียบพลันและสารก่อมะเร็งในสัตว์ ทำให้ขัดขวางการทำงานของน้ำย่อย การยับยั้งการเคลื่อนที่ของไขมันและยังทำลายกรดอะมิโนและวิตามินที่ละลายในไขมัน ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีป้องกันการปนเปื้อนและการทำลายเชื้อราทั้งทางฟิสิกส์และเคมี

  16. จบการนำเสนอ

More Related