1 / 45

บทที่7 ประกันภัย

บทที่7 ประกันภัย.

Télécharger la présentation

บทที่7 ประกันภัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่7ประกันภัย การประกันภัย หมายถึง การโอนความรับผิดชอบจากผู้เอาประกันภัยไปยังบริษัท ผู้รับประกัน โดยผู้รับประกันสัญญาว่า เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น ตามที่ตกลงกันไว้ บริษัทจะจ่าย ค่าเสียหายให้ตามจำนวนที่รับประกัน เพื่อแลกเปลี่ยนกับความรับผิดชอบอันนี้ ผู้เอาประกันจะต้องส่งเงินจำนวนหนึ่งให้กับบริษัทเป็นเบี้ยประกัน

  2. สัญญาประกันภัย • คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัย หากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดั่งได้ระบุไว้ในสัญญา และ ในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย โดยอาจส่งเงินเป็นงวดหรือเป็นก้อนก็ได้ • ผู้รับประกันภัย หมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ • ผู้เอาประกันภัย หมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย • ผู้รับประโยชน์ หมายความว่า บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทน หรือรับจำนวนเงินใช้ให้

  3. ข้อสังเกต • ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์นั้น จะเป็นบุคคลหนึ่งคนเดียวกันก็ได้ในฐานะที่เป็นเอกเทศสัญญาอย่างหนึ่ง จึงมีหลักเกณฑ์ทั่วไปเหมือนสัญญาอื่นๆ แต่สัญญาประกันภัยยังมีลักษณะเฉพาะอีก 3 ประการ คือ • 1. เป็นสัญญาต่างตอบแทน • ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยต่างก็เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ผู้เอาประกันภัยเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระเบี้ยประกันภัย และเป็นเจ้าหนี้ที่จะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเงินจำนวนหนึ่ง เมื่อมีเหตุในอนาคตตามสัญญาได้เกิดขึ้นผู้รับประกันภัยก็เป็นเจ้าหนี้ที่จะได้รับเบี้ยประกันภัยมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยให้และเป็นลูกหนี้ที่ต้องชำระค่าสินไหมทดแทน เมื่อมีเหตุตามสัญญาเกิดขึ้น

  4. 2. เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขอันไม่แน่นอน • เงื่อนไขตามสัญญาประกันภัยนั้นไม่แน่นอน เพราะเป็นภัยที่ไม่มีใครคาดคิดล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดแก่ใคร เมื่อใด จึงทำให้ผู้เอาประกันภัยซึ่งแม้จะได้ชำระเบี้ยประกันภัยไปแล้ว ก็ไม่แน่ว่าจะได้ ผลตอบแทนคืนมาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าจะมีภัยตามที่ระบุไว้ในสัญญาเกิดขึ้นหรือไม่ ส่วนผู้รับประกันภัย ก็เช่นเดียวกัน อาจต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนสูงแก่ผู้เอาประกันภัย หลังจากที่รับเบี้ยประกันภัย ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นก็ได้ บางกรณีจึงเรียกสัญญาประกันภัยว่าเป็น “สัญญาเสี่ยงโชค”

  5. 3. เป็นสัญญาที่รัฐควบคุม • 3.1 การประกอบธุรกิจประกันภัยต้องจัดตั้งในรูปบริษัท จำกัด และได้รับอนุญาต จากรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี • 3.2 กรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย ต้องเป็นไปตามแบบและ ข้อความที่นายทะเบียนเห็นชอบแล้ว (อันนี้มีขึ้นเพื่อป้องกันผู้รับประกันพิมพ์เงื่อนไขต่าง ๆด้วยตัวจิ๋ว จนอ่านลำบากแล้วมาอ้างทีหลังว่าไม่เข้าเงื่อนไข) ถ้ามีข้อความที่ผิดแผกแตกต่างออกไปจากแบบ ดังกล่าว ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิเลือกให้บริษัทต้องรับผิดชำระหนี้ตามแบบกรมธรรม์ที่นายทะเบียนเห็นชอบแล้วนั้น หรือข้อความใหม่ที่บริษัทออกให้ก็ได้ • 3.3 อัตราดอกเบี้ยประกันภัยต้องเป็นไปตามที่นายทะเบียนเห็นชอบ บริษัท • จะกำหนด ขึ้นเองตามใจไม่ได้

  6. ประเภทของสัญญาประกันภัยประเภทของสัญญาประกันภัย • ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ • (1) สัญญาประกันวินาศภัย และ • (2) สัญญาประกันชีวิต ลักษณะของสัญญาทั้ง 2 แตกต่างกันในสาระสำคัญคือ • สัญญาประกันวินาศภัย เป็นสัญญาที่มุ่งหมายชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ความเสียหายที่เกิดขึ้นอันสามารถคำนวณเป็นราคาเงินได้

  7. สัญญาประกันชีวิต • มุ่งที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เอาประกัน หรือผู้มีความสัมพันธ์กับ ผู้เอาประกันที่ต้องพึ่งพากันถ้าผู้เอาประกันถึงแก่กรรมลง การใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง • ถ้าความเสียหายนั้นไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้เช่นการสูญเสียความสุขความรู้สึก อาลัย อาวรณ์ ความเสียดาย จะมีการประกันภัยไม่ได้ แต่ถ้าเสียแขน ขา มือ เท้า หรืออวัยวะใด เพราะอุบัติเหตุต้องเสียค่ารักษาพยาบาล ค่าอวัยวะเทียม สิ่งเหล่านี้คำนวณเป็นเงินได้ก็ประกันได้ • อย่างไรก็ตาม แม้ชีวิตคนไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ แต่กฎหมายรับรองให้ประกันได้เรียกว่า “สัญญาประกันชีวิต”

  8. หลักเกณฑ์ร่วมกันในการทำสัญญาประกันวินาศภัยและประกันชีวิตหลักเกณฑ์ร่วมกันในการทำสัญญาประกันวินาศภัยและประกันชีวิต • 1. ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสีย • การมีส่วนได้เสีย หมายถึงว่า เมื่อมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น ใครเป็นผู้ที่จะได้รับประโยชน์หรือ เสียประโยชน์เนื่องจากเหตุการณ์นั้น ผู้นั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสีย • อาจพอสรุปได้ง่าย ๆ ว่า บุคคลใดต้องถูกกระทบกระเทือนจากเหตุที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงสถานะไป เมื่อมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นบุคคลนั้น ย่อมมีส่วนได้เสียในสิ่งนั้น เช่น ดำ เป็นเจ้าของบ้าน ถ้าบ้านถูกไฟไหม้ ดำย่อมถูกกระทบกระเทือนจากเหตุไฟไหม้นั้น จึงถือได้ว่า ดำมีส่วนได้เสียในบ้าน • อย่างไรก็ตาม ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียโดยตรงเท่านั้นทีจะเอาประกันภัยได้ เพื่อป้องกัน มิให้มีการประกันชีวิต หรือประกันทรัพย์สินของผู้อื่นแล้ว มีการทำลายชีวิตหรือทรัพย์สินของผู้อื่นนั้น เพื่อหวังเงินประกัน

  9. ผู้เอาประกันต้องมีส่วนได้เสียขณะทำสัญญาและขณะเกิดภัยด้วย เพราะถ้าในขณะทำสัญญา ไม่มีส่วนได้เสียแล้ว สัญญานั้นก็อาจเข้าลักษณะการพนันขันต่อได้เช่น นายหนึ่งมีโครงการ จะซื้อบ้านจัดสรรหลังหนึ่งในอีก 1 ปีข้างหน้าในระหว่างนี้ นายหนึ่งได้ทำสัญญาประกันวินาศภัย บ้านหลังนั้นไว้ ต่อมาก่อนที่นายหนึ่งจะซื้อบ้านหลังนั้น ปรากฏว่าบ้าน ถูกไฟไหม้หมดทั้งหลัง เช่นนี้นายหนึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนแน่นอน เพราะ ขณะเกิดภัยนายหนึ่ง ยังไม่มีส่วนได้เสีย • ตัวอย่าง นายดำอยากได้รถยนต์คันหนึ่ง ขณะทำสัญญาเอาประกันภัยรถยนต์คันนั้นนายดำยังไม่มีเงินพอซื้อได้ รถจึงยังไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของนายดำหลังจากทำสัญญาประกันภัยได้แล้ว1 ปี นายดำรับโอนรถยนต์คันนั้นมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตน ต่อมารถยนต์สูญหายไป ดังนี้ นายดำไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน เพราะขณะทำสัญญาเอาประกันนั้นนายดำไม่มีส่วนได้เสียทั้ง ๆ ที่รถอันเป็นวัตถุที่เอาประกันภัยมีตัวตนอยู่ในขณะทำสัญญาแล้ว สัญญาประกันภัยไม่ผูกพันคู่กรณี

  10. ผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาประกันวินาศภัยผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาประกันวินาศภัย • ผู้มีส่วนได้เสีย คือผู้ที่มีความสัมพันธ์อยู่กับทรัพย์สินที่เอาประกันภัย เช่น เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินนั้น หรืออาจเป็นผู้ที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ แต่ได้ประโยชน์จากการที่ทรัพย์สินนั้นคงสภาพเดิมอยู่ หรือจะได้รับความเสียหายถ้าทรัพย์สินนั้นถูกทำลายไป ส่วนได้เสียนี้จะต้องคำนวณเป็นเงินได้ด้วย ดังนั้นผู้มีส่วนได้เสียจึงอาจได้แก่ผู้รับจำนอง ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ในการกำหนดวงเงินประกันภัยนั้น ผู้เอาประกันภัยจะกำหนดให้สูงกว่าราคาแห่งทรัพย์ หรือ ความเสียหายที่แท้จริงไม่ได้ เช่น รถยนต์ราคา 400,000 บาท แต่กำหนดเอาประกันไว้ในราคา 500,000 บาท เมื่อเกิดความเสียหายแก่รถยนต์เข้า คงได้รับค่าชดใช้เพียงไม่เกิน “ส่วนได้เสีย” ที่แท้จริงคือ ไม่เกิน 400,000 บาท แม้ว่าได้เสียค่าเบี้ยประกันภัยไว้สำหรับวงเงิน 500,000 บาทก็ตามในขณะเดียวกัน ถ้ากำหนดเอาประกันภัยไว้ต่ำเช่นรถยนต์ราคา 400,000 บาท ถ้านำเอาประกันภัยไว้เพียง 200,000 บาท เพื่อจะได้เสียค่าเบี้ยประกันภัยต่ำเมื่อเกิดความเสียหายก็จะได้รับชดใช้ไม่เกินกว่าวงเงินที่เอาประกันภัยไว้คือ 200,000 บาท เท่านั้น กล่าวคือผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน เพียงเท่าที่ได้รับความเสียหายจริงเท่านั้น

  11. 2. ต้องเปิดเผยความจริง • สัญญาประกันภัย เป็นสัญญาที่ต้องอาศัยความสุจริตต่อกันอย่างยิ่ง ผู้เอาประกันภัยหรือ ผู้รับประโยชน์มีหน้าที่ต้องเปิดเผยความจริงต่าง ๆ ที่สำคัญ ในเวลาที่ทำสัญญา ข้อความจริงใดซึ่งอาจมี ผลในการจูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีก หรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา 14 เช่น ผู้เอาประกันชีวิตเป็นโรคไตอักเสบเรื้อรังอยู่และมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ แต่ในการต่อกรมธรรม์ประกันชีวิต แจ้งว่าสุขภาพดีเช่นเดิม ทำให้สัญญาเป็นโมฆียะได้ หรือขณะยื่นขอ เอาประกันชีวิตยังไม่ปรากฏ โรคใด ๆ แต่ต่อมาขณะบริษัทยังพิจารณาคำขออยู่ทราบว่าเป็นโรคกระเพาะและตับอักเสบแต่ไม่แจ้งให้บริษัททราบ สัญญาย่อมเป็นโมฆียะ

  12. ข้อควรสังเกตเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ที่ต้องเปิดเผยความจริงข้อควรสังเกตเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ที่ต้องเปิดเผยความจริง • (1) พิจารณาเฉพาะเวลาทำสัญญาประกันภัยเท่านั้น หมายความว่า เวลานับตั้งแต่ผู้เอา ประกันภัยทำคำเสนอไปจนถึงเวลาที่ผู้รับประกันภัย ส่งคำสนองมาถึงผู้เอาประกันภัย ในช่วงเวลานี้ ผู้เอาประกันภัย มีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้ว ก่อนทำสัญญา หรือเกิดมีขึ้นในขณะทำสัญญา เช่น นาย ข. ตอบข้อสอบถามของบริษัทผู้รับประกันภัย ซึ่งถามว่าเคยรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือ ไม่ด้วยโรคอะไร เคยหยุดงานเกิน 1 เดือนหรือไม่ความจริงนาย ข. เคยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ด้วยโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว 12 เดือน แต่กลับตอบข้อซักถามว่าไม่เคยถือว่าเป็นการปกปิดข้อความ ที่ต้องแถลง

  13. (2) ข้อสำคัญคือ ผู้เอาประกันภัย ผู้เอาประกันชีวิต หรือผู้ถูกเอาประกันชีวิตต้องรู้เหตุที่ ปกปิดหรือแถลงข้อเท็จจริงนั้นด้วย หมายความว่า ต้องรู้เหตุที่ปกปิด ตามข้อ 1. นั้นด้วย สัญญาจึงจะเป็น โมฆียะ ถ้ารู้เหตุภายหลังจากเวลาที่ถือว่าสัญญา เกิดขึ้นแล้วสัญญาประกันภัยนั้นสมบูรณ์ เช่น หลังจาก บริษัทรับประกันภัยตอบรับทำสัญญากับนางเหลืองแล้วต่อมานางเหลืองไปให้แพทย์ตรวจ จึงทราบว่า ตนเองป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่ก็ไม่ไปแจ้งความจริงกับบริษัท ดังนี้ สัญญาประกันชีวิต ไม่เป็นโมฆียะ เพราะขณะทำสัญญานางเหลืองไม่ทราบถึงเหตุสำคัญดังกล่าว • (3) เหตุนั้นต้องสำคัญถึงขนาดที่จะสามารถจูงใจผู้รับประกันภัย ให้เรียกประกันภัย • สูงขึ้น หรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาด้วย สัญญาประกันภัยจึงจะเป็นโมฆียะ ความสำคัญจะต้องมีมาถึง ขนาดไหนนั้น พิจารณาจากความคิดเห็นของวิญญูชนทั่ว ๆ ไป มิใช่มองจากผู้รับประกัน หรือผู้เอาประกัน ฝ่ายเดียว

  14. (4) การปกปิดข้อความจริงนั้น ถือเป็นผลสำเร็จตั้งแต่ขณะปกปิดเมื่อตอนทำสัญญาสัญญาเป็นโมฆียะทันที ดังนั้นจึงไม่ต้องคำนึงว่าเหตุที่เกิดขึ้นจะตรงกันเหตุที่ปกปิดหรือไม่ ผู้รับประกันภัย ยังคงมีสิทธิบอกล้างได้ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันทราบเหตุที่ปกปิด เช่น ปกปิดว่าไม่เคยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ต่อมาตายด้วยโรคมะเร็งสัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะผู้รับประกันภัย บอกล้างได้ ถึงแม้เวลาทราบหลังจากผู้เอาประกันภัยตายแล้วก็ตาม • (5) ระยะเวลาของผู้รับประกันภัยภายใน 1 เดือน ที่จะบอกล้างนับตั้งแต่ทราบเหตุหรือ ภายใน 5 ปี นับตั้งแต่วันทำสัญญา

  15. สัญญาประกันภัยทั้ง 2 ประเภท กฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องทำตามแบบอย่างหนึ่ง อย่างใด แต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อของตัวแทนฝ่ายนั้น เป็นสำคัญ ฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ความประสงค์ของกฎหมายที่ให้มีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็เพื่อความมั่นคงแน่นอน ดังนั้นถ้ามีหลักฐานเป็นหนังสือปรากฏข้อความ ชัดแจ้งว่ามีการตกลง ทำสัญญาประกันภัยกัน และปรากฏลายมือชื่อของฝ่ายที่ต้องรับผิด (แม้เพียงฝ่ายเดียว) แล้วย่อมมีผล บังคับฝ่ายนั้นได้ • เมื่อตกลงทำสัญญาประกันภัยกันแล้ว กฎหมายกำหนดให้ผู้รับประกันภัยต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งมีเนื้อหาตามที่กฎหมายกำหนดแก่ผู้เอาประกันภัย • กรมธรรม์ประกันภัยต้องมีข้อความตรงตามสัญญาประกันภัย ดังนั้น กรมธรรม์ ประกันภัย จึงไม่ใช่สัญญาประกันภัย แต่ถือเป็นหลักฐาน เป็นหนังสือใช้ฟ้องร้องให้บังคับคดีได้

  16. 4. บุคคลนอกจากคู่สัญญาอาจเป็นผู้รับประโยชน์ • ผู้เอาประกันภัยอาจระบุบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่ญาติของตนให้เป็นรับประโยชน์ก็ได้ เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามสัญญา บุคคลผู้รับประโยชน์แม้มิใช่คู่สัญญาก็สามารถเรียกร้องเอาประโยชน์นั้นได้กล่าวคือ ใช้หลักสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก24

  17. สัญญาประกันวินาศภัย • สัญญาประกันวินาศภัยคือ สัญญาซึ่งผู้รับประกันวินาศภัยตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันวินาศภัย ในเมื่อมีความเสียหายอย่างใด ๆ รวมถึงความสูญเสียในสิทธิผลประโยชน์ หรือ รายได้อันสามารถประมาณเป็นเงินได้ได้เกิดขึ้นโดยผู้เอาประกันวินาศภัย ตกลงจะส่งเบี้ยประกันให้แก่ผู้รับประกันภัย สัญญาประกันวินาศภัยที่สำคัญ ๆ ก็เช่นประกันอัคคีภัย ประกันภัยอุบัติเหตุ ประกันภัย ทางทะเล เป็นต้น

  18. สิทธิและหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยสิทธิและหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย • สัญญาประกันวินาศภัยกำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้เอาประกันไว้ดังนี้ • 1. สิทธิของผู้เอาประกันภัย • 1.1 สิทธิขอลดเบี้ยประกันภัย • เมื่อเข้าทำสัญญากัน ถ้าคู่สัญญาได้ยกเอาภัยบางอย่างมาเป็นหลักในการพิจารณากำหนดเบี้ยประกันภัย ต่อมาในระหว่างอายุสัญญาภัยนั้นได้หมดไปโดยมีความเสี่ยงลดลง 26 เช่น ขณะทำประกันอัคคีภัย ผู้เอาประกันภัยมีบ้านอยู่ใกล้สถานีขายน้ำมัน มีความเสี่ยงสูงจึงต้อง เสียเบี้ย ประกันภัยแพง ต่อมาปรากฏว่าสถานีขายน้ำมันดังกล่าวปิดกิจการ หรือย้ายไปแล้ว ผู้เอาประกันภัย มีสิทธิขอลดเบี้ยประกันลงได้

  19. 1.2 สิทธิขอลดจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย • ถ้าในระหว่างอายุสัญญาประกันภัยนั้น มูลประกันภัยได้ลดน้อยถอยลงไปมากผู้เอาประกันภัยชอบที่จะได้ลดจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้และลดจำนวนเบี้ยประกันภัยลงด้วย ในกรณีนี้เมื่อราคาทรัพย์ที่เอาประกันลดน้อยถอยลงไปแล้ว การที่จะคงเงินประกันไว้สูง ๆ ก็ไม่มีประโยชน์เพราะถ้าเกิดความเสียหายขึ้นจริง ๆ บริษัทก็จะชดใช้ให้ตามราคาของทรัพย์ที่ได้ลดน้อยถอยลงไปแล้ว เท่านั้น ในขณะที่ผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายเบี้ยประกันสูงอยู่เช่นเดิม กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้เอาประกันภัย มีสิทธิขอลดได้ เช่น เอาประกันภัยบ้านซึ่งได้สร้างอยู่บนที่ดินของตน ต่อมาที่ดินนั้นอยู่ในเขตถูกเวนคืน และรัฐ มีโครงการตัดถนนผ่านบ้านที่เอาประกันภัยนั้นพอดี ทำให้บ้านและที่ดินราคาตกลงไปกว่าครึ่งหนึ่ง ของราคาเดิมดังนี้ ถือได้ว่ามูลประกันภัยลดน้อยถอยลงไปมาก ผู้เอาประกันภัยขอลดจำนวนเงินลงได้

  20. 1.3 สิทธิที่จะเรียกให้ผู้รับประกันภัยหาหลักประกัน • ในกรณีที่ผู้รับประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลาย ผู้เอาประกันภัยจะเรียกให้หาหลักประกัน หรือจะบอกเลิกสัญญาก็ได้ • 1.4 สิทธิที่จะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน • เมื่อมีวินาศภัยเกิดขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัย เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง เพื่อความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ซึ่งได้เอาประกันภัยไว้ ตลอดจนเพื่อค่าใช้จ่ายอันสมควรซึ่งได้เสียไป เพื่อรักษาทรัพย์สิน ซึ่งเอาประกันภัย ไว้นั้นมิให้วินาศ โดยคำนวณค่าเสียหายที่ต้องชดใช้ในขณะเกิดเหตุ

  21. สิทธิบอกเลิกสัญญา • นอกจากจะบอกเลิกสัญญาได้ตามหลักเรื่องหนี้ อันเป็นบททั่วไปแล้ว ยังอาจบอกเลิกสัญญา ก่อนเริ่มเสี่ยงภัย หรือเมื่อผู้ประกันภัยต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย หรือเลิกสัญญา เมื่อบริษัทออก กรมธรรม์ประกันภัยโดยใช้แบบหรือข้อความที่นายทะเบียนไม่เห็นชอบด้วย หรือบอกเลิก ในกรณีที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่าทรัพย์สินเอาประกันภัยมีราคาต่ำกว่าจำนวนเงินที่เอา ประกันภัยมาก และนายทะเบียนได้สั่งให้บริษัทลดจำนวนเงินที่เอาประกันภัยลง และแจ้งให้ผู้เอาประกันภัยทราบ ถ้าผู้เอาประกันภัยบอกเลิกสัญญาให้บริษัทคืนเบี้ยประกันภัย ให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามส่วนเฉลี่ยของ ระยะเวลาที่เอาประกันภัยนั้น

  22. 2. หน้าที่ของผู้เอาประกันภัย • 2.1 หน้าที่เปิดเผยความจริงผู้เอาประกันภัย มีหน้าที่ต้องแถลงข้อความจริงขณะทำสัญญา • 2.2 หน้าที่ชำระเบี้ยประกันภัยถ้าผู้เอาประกันภัยไม่ชำระเบี้ยประกันภัย ผู้รับประกันภัยมีสิทธิจะฟ้อง • ร้องให้ชำระ ตามสัญญาได้และถ้าเกิดวินาศภัยขึ้นในระหว่างนั้น ผู้เอาประกันภัยก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหม ทดแทน • 2.3 หน้าที่บอกกล่าวเมื่อเกิดวินาศภัยเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ทราบความนั้นแล้ว ต้องบอกกล่าวแก่ผู้รับประกันภัย โดยไม่ชักช้า • 2.4 หน้าที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาถ้าผู้เอาประกันภัยไม่ปฏิบัติเงื่อนไขในสัญญาประกันวินาศภัย ผู้รับประกันภัย อาจหลุดพ้นความรับผิดได้

  23. สิทธิและหน้าที่ของผู้รับประกันภัยสิทธิและหน้าที่ของผู้รับประกันภัย • สัญญาประกันวินาศภัยกำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้รับประกันภัยไว้ดังนี้ • 1. สิทธิของผู้รับประกันวินาศภัย • 1.1 สิทธิเรียกเบี้ยประกันภัย • ผู้รับประกันภัยมีสิทธิที่จะได้รับเบี้ยประกันภัย แม้ว่าเหตุที่ได้ประกันภัยไว้ จะไม่เกิดขึ้นเลยก็ตาม • 1.2 สิทธิขอลดค่าสินไหมทดแทน • ในกรณีที่คู่สัญญาได้กำหนดราคาแห่งมูลประกันภัยไว้สูงเกินไปมาก ผู้รับประกันภัย ชอบที่จะขอลดจำนวนค่าสินไหมทดแทน และคืนจำนวนเบี้ยประกันภัยให้ตามส่วน ทั้งดอกเบี้ยด้วย • 1.3 สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน • เมื่อมีเหตุวินาศภัยตามสัญญาเกิดขึ้น เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ที่ทราบ ความวินาศภัยขึ้นแล้ว มีหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบโดยมิชักช้า ถ้าไม่แจ้ง แล้วเกิดความเสียหายแก่ผู้รับประกันภัย ผู้รับประกันภัยชอบที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในส่วนนั้น ได้อย่างไรก็ตาม การที่ผู้เอาประกันภัยแจ้งชักช้าก็ไม่ทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นจากความรับผิดไป แล้ว • ถ้าไม่ปรากฏว่าการแจ้งชักช้านั้น ทำให้ผู้รับประกันภัยเสียหายอย่างใด ผู้เอาประกันภัยก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย เช่น ผู้เอาประกันภัยแจ้งผู้รับประกันภัยทราบว่ารถหาย เมื่อเวลาล่วงไป 1 เดือนแล้ว ไม่ทำให้ผู้รับประกันภัยพ้นความรับผิด แต่ถ้าการแจ้งชักช้านั้นทำให้ผู้รับประกันภัยเสียหายอย่างใด ผู้รับประกันภัยก็อาจเรียกร้องเอาจากผู้เอาประกันภัยได้

  24. 1.4 สิทธิในการรับช่วงสิทธิ • ถ้าวินาศภัยเกิดจากบุคคลภายนอก และผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ไปเป็นจำนวนเท่าใด ย่อมรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอก เพียงนั้น รวมถึงในกรณีที่คดีขาดอายุความแล้วด้วย • 1.5 สิทธิในซากทรัพย์ • ถ้าทรัพย์ที่เอาประกันวินาศภัยไว้ถูกทำลายเสียหายลงทั้งหมด เช่น โรงสีถูกไฟไหม้ทั้งหลัง รถถูกชนพังยับเยินจนไม่อาจซ่อมแซมได้ผู้เอาประกันภัยต้องรับเอาซากนั้นไว้และใช้ราคา ค่าเสียหาย เต็มจำนวน หรืออาจขอหักค่าซากทรัพย์หรือวัสดุที่เหลืออยู่ออกก่อนได้ • 1.6 สิทธิบอกเลิกสัญญา • ผู้รับประกันภัยมีสิทธิบอกเลิกสัญญา ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยต้องคำพิพากษา ให้ล้มละลายเว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ส่งเบี้ยประกันภัยเต็มจำนวนแล้ว หรือบอกเลิกสัญญาตามเงื่อนไข และวิธีการที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยบอกกล่าวการเลิกสัญญานั้นเป็นหนังสือให้ทราบล่วงหน้า ตามควร

  25. 2. หน้าที่ของผู้รับประกันภัย • 2.1 หน้าที่ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัย • กฎหมายกำหนดให้ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ต้องส่งมอบกรมธรรม์ อันมีเนื้อความ ถูกต้องตามสัญญา มีข้อความและเป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนเห็นชอบ รวมทั้งเอกสารประกอบหรือ แนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยด้วย • 2.2 หน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน • ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้รับประกันภัยจะต้องจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัยมี 3 ประเภท • (2.2.1) ค่าสินไหมทดแทน เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง คือ เสียหายเท่าไร ผู้รับประกันภัยก็ชดใช้เพียงเท่านั้น แต่ไม่เกินจำนวนเงินซึ่งเอาประกันไว้โดยตีราคา ความเสียหาย ณ สถานที่และในเวลาที่เกิดวินาศภัย เช่น ประกันอัคคีภัยโรงภาพยนตร์ไว้10 ล้านบาท ความจริง โรงภาพยนตร์มีราคา 8 ล้านบาท ต่อมาไฟไหม้หมดผู้รับประกันภัยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพียง 8 ล้านบาท

  26. (2.2.2) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สินนั้น • หมายถึง กระทำบุบสลายหรือทำความเสียหายแก่ตัวทรัพย์สินที่เอาประกันภัย โดยเจตนาเพื่อป้องกันมิให้วินาศภัยเกิดแก่ตัวทรัพย์สินนั้น ถ้าได้กระทำโดยสมควร เพื่อปัดป้องวินาศภัยที่จะเกิดขึ้นแล้ว ผู้รับประกันภัยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนี้ เช่น เอาบ้านซึ่งประกอบด้วยตัวบ้านและ ครัวไปทำสัญญาประกันอัคคีภัยไว้ต่อมาเกิดไฟไหม้บ้านข้างเคียงลุกลามมาจนจะถึงบ้านที่เอาประกันภัยไว้ ผู้เอาประกันภัย จึงสั่งให้คนงานรื้อครัวออกเพื่อป้องกันมิให้ไฟลามไปถึงตัวบ้าน กรณีเช่นนี้ถือได้ว่า ผู้เอาประกันภัยได้จัดการ ตามสมควรเพื่อป้องปัดมิให้วินาศภัยเกิดแก่ตัวบ้าน อันเป็นวัตถุที่เอาประกันภัยไว้ ผู้รับประกันภัย ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากความเสียหายที่ต้องรื้อครัวนั้นแก่ผู้เอาประกันภัย

  27. (2.2.3) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อบรรดาค่าใช้จ่าย ในการรักษาทรัพย์สินไว้ มิให้วินาศ เป็นค่าใช้จ่ายนอกเหนือไปจากค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ตัวทรัพย์ ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ต้องรับผิดต่อค่าใช้จ่ายประเภทนี้ด้วย แต่ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไป โดยมีเหตุอันสมควร เพราะในการป้องกันวินาศภัยมิให้เกิดแก่ตัวทรัพย์ เช่น นายแดงนำบ้านของตนไปประกันอัคคีภัยไว้ต่อมาไฟไหม้บ้านข้างเคียงลุกลามมาจนถึงบ้านของนายแดง นายแดงจึงเช่าเครื่อง ดับเพลิงมาฉีดน้ำกันมิให้เพลิงมาถึงบ้านเพื่อตัดไฟมิให้ลามมาถึงบ้านของนายแดง ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ เมื่อเกิดจากการกระทำอันสมควร ผู้รับประกันต้องชดใช้ • ข้อสังเกต ผู้รับประกันภัยนั้นจะใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นอย่างอื่น ซึ่งมิใช่เงินก็ได้ แตกต่างจากผู้เอาประกันภัยซึ่งต้องส่งเบี้ยประกันภัยเป็นเงินเท่านั้น

  28. 2.3 หน้าที่คืนเบี้ยประกันภัย • ผู้รับประกันภัยต้องส่งคืนเบี้ยประกันภัยในกรณีต่อไปนี้คือ • (ก) เมื่อมีการเลิกสัญญาก่อนเริ่มเสี่ยงภัยผู้รับประกันภัย ต้องเก็บเบี้ยประกันภัย ครึ่งหนึ่ง กล่าวคือ การเสี่ยงภัยเริ่มตามกำหนดเวลาที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ อาจจะไม่เริ่มเสี่ยงภัย ในวันที่ทำสัญญาได้ อาจจะเริ่มเสี่ยงภัยในวันหลังทำสัญญาก็ได้ • (ข) เมื่อผู้รับประกันภัยขอลดค่าสินไหมทดแทน • (ค) กรณีบอกเลิกสัญญาในกรณีกรมธรรม์ผิดแบบ • (ง) ในกรณีที่นายทะเบียนสั่งให้ลดจำนวนเงินที่เอาประกันภัยลง

  29. 2.4 หน้าที่ออกค่าใช้จ่ายในการตีราคาทรัพย์ • ก่อนจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน ผู้รับประกันภัย ต้องสำรวจความเสียหายตีราคาค่าเสียหาย และออกค่าใช้จ่ายในการตีราคานั้นด้วย และ ค่าใช้จ่ายในการตีราคาความเสียหายนั้น ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ต้องออกค่าใช้จ่ายเอง ถ้าทรัพย์ที่เอาประกันภัยถูกทำลายไปทั้งหมด ผู้เอาประกันภัยชอบที่จะเรียกร้องค่าเสียหายได้เต็มตามจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้

  30. 3. การปฏิเสธความรับผิดชอบของผู้รับประกันภัยผู้รับประกันภัยอาจปฏิเสธความรับผิดได้ถ้า • 3.1 เหตุวินาศภัยนั้นเกิดขึ้น เพราะความทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ เช่น มีส่วนรู้เห็นในการวางเพลิงเผาทรัพย์ของตนที่ประกันภัยไว้ แต่การที่ผู้เอาประกันภัยให้บุตรเอารถที่ประกันภัยไว้ไปใช้แล้วเกิดอุบัติเหตุ ขึ้นยังไม่ถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัย อันจะทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิด • 3.2 เหตุวินาศภัยเกิดขึ้นเนื่องจากความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัยกล่าวคือ วัตถุที่เอาประกันภัยนั้นได้เสื่อมสลายไปเองโดยสภาพ เช่น บ้านไม้เก่าผุพังไปเอง มิได้เกิดจากภัย ใด ๆ มาทำลาย

  31. 3.3 ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดโดยตรงผลของสัญญา • ในการทำสัญญาประกันภัย ผู้รับประกันภัยอาจกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ไว้ เพื่อว่าจะไม่ต้องรับผิดชอบหากเหตุการณ์เป็นไปตามเงื่อนไข ที่กำหนดไว้หรือเพราะเหตุผู้เอาประกันภัยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่วางไว้เงื่อนไขเหล่านี้อาจกำหนดไว้ใน สัญญา หรือในกรมธรรม์ประกันภัยก็ได้ แต่ปกติมักจะกำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ผู้เอาประกันภัย เมื่อลงชื่อในสัญญาหรือเมื่อรับมอบกรมธรรม์จากผู้รับประกันภัยแล้วไม่ได้แย้งย่อมถือว่ายอมรับ เงื่อนไขนั้นแล้ว ต้องผูกพันตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้นั้น เช่น ปรากฏข้อความว่า ถ้าผู้เอาประกันภัย ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังกล่าวจะไม่มีสิทธิรับค่าสินไหมทดแทน ดังนี้เป็นต้น

  32. สัญญาประกันวินาศภัยบางประเภทสัญญาประกันวินาศภัยบางประเภท • 1. สัญญาประกันภัยในการรับขน • สัญญาประกันภัยในการรับขน จะคุ้มครองวินาศภัยทุกอย่าง ซึ่งอาจเกิดขึ้นแก่ของ ที่ขนส่ง ในระหว่างเวลาตั้งแต่ผู้ขนส่งได้รับของไป จนได้ส่งมอบของนั้นแก่ผู้รับขนส่ง เรียกว่าเป็นการคุ้มครองทรัพย์ในระหว่างขนส่ง ไม่ว่าวินาศภัยนั้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด เช่น เรืออับปาง ฟ้าผ่า อุทกภัย ไฟไหม้ สูญหาย แตกหักหรือถูกปล้นก็ตาม ซึ่งต่างจากสัญญา ประกันวินาศภัยทั่วไป ที่อาจกำหนดลักษณะของภัยที่รับประกันได้ และจำนวนค่าสินไหมทดแทนนั้นกำหนดตามราคา เมื่อถึงตำบลที่กำหนดให้ส่ง 57 ขณะที่สัญญาประกันวินาศภัยทั่วไปให้ตีราคา ค่าเสียหาย ณ สถานที่และ เวลาที่เกิดวินาศภัย

  33. 2. สัญญาผู้ประกันภัยค้ำจุน • ประกันภัยค้ำจุน คือ สัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหม ทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบการประกันค้ำจุนไม่ได้มีวัตถุที่เอาประกันภัย เป็นทรัพย์สินเหมือนประกันวินาศภัย แต่มีลักษณะเป็นการเข้ายอมรับชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้เอาประกันภัย เป็นสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อวินาศภัยอันเกิดแก่บุคคลอีกคนหนึ่งและซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ เช่น ทำสัญญาประกันภัยว่า ถ้าผู้เอาประกันภัย ขับรถไปทำความเสียหายให้ผู้อื่น ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้นให้ถ้าศาลสั่งให้ผู้เอาประกันภัยค้ำจุนชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยสามารถฟ้องผู้รับประกันภัย เรียก ค่าเสียหายดังกล่าวตามสัญญาได้

  34. 3. สัญญาประกันภัยทะเล • การประกันวินาศภัยทางทะเลยังไม่มีกฎหมายไทยว่าไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้หลัก กฎหมายต่างประเทศมาใช้ เช่น กรณีสัญญาทำกันเป็นภาษาอังกฤษ ก็ควรถือกฎหมายของอังกฤษ มาใช้เทียบเคียงเป็นต้น • 4. สัญญาประกันอัคคีภัย • พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 ได้กำหนดวิธีการเฉพาะเพื่อควบคุมการประกัน อัคคีภัยไว้ เช่น บริษัทที่รับประกันอัคคีภัย ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดภายใน 7 วัน นับแต่วันทำสัญญาประกันภัย เพื่อทราบราคา ฯลฯ เป็นต้น • 5. สัญญาประกันอุบัติเหตุ • การประกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดแก่ร่างกาย เช่น แขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะ อื่น ๆ ย่อมทำได้ ซึ่งค่าเสียหายย่อมได้แก่ค่ารักษาพยาบาลตลอดจนค่าอุปกรณ์อวัยวะเทียมต่าง ๆ ด้วย โดยผู้เอาประกันภัยสามารถกำหนดวงเงินเอาประกันภัยได้ตามต้องการ • อายุความ • การเรียกใช้ค่าสินไหมทดแทนต้องฟ้องเรียกภายใน 2 ปีนับแต่มีสัญญา

  35. สัญญาประกันชีวิต • “ สัญญาประกันชีวิต ” ได้แก่ สัญญาประกันภัย ซึ่งเงื่อนไขในการใช้จำนวนเงิน โดยอาศัย ความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลหนึ่งสัญญาประกันชีวิต จึงมีได้ 3 ลักษณะคือ • 1. สัญญาประกันชีวิตที่อาศัยความทรงชีพของบุคคล • ตามสัญญานี้ ผู้รับประกันชีวิตตกลงจะใช้เงินให้แก่ผู้เอาประกันชีวิตเมื่อผู้นั้นมีชีวิตอยู่ จนถึงเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา เช่น ตกลงกันว่า ถ้าผู้เอาประกันชีวิตมีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 60 ปี ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้ ถ้าผู้เอาประกันภัยตายก่อนเวลาดังกล่าวผู้รับประกันภัยก็ไม่ต้อง ชดใช้เงิน เบี้ยประกันที่ส่งไปย่อมเสียเปล่า

  36. 2. สัญญาประกันชีวิตที่อาศัยความมรณะของบุคคล • สัญญานี้ ผู้รับประกันชีวิตตกลงจะใช้เงินให้แก่ผู้เอาประกันชีวิต หรือผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้ที่ถูกเอาประกันชีวิตได้ตายลง เช่น บิดาประกันชีวิตตนเองโดยระบุให้บุตรเป็นผู้รับประโยชน์หรือบุตรประกันชีวิตบิดาไว้หากบิดาตายลงในระหว่างเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้รับประกันต้องใช้เงิน ให้แก่ผู้รับประโยชน์ • 3. สัญญาประกันชีวิตที่อาศัยกำหนดเวลา • สัญญาประกันชีวิตที่ตกลงกันว่า ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ไม่ว่าผู้เอาประกันชีวิต หรือผู้ถูกเอาประกันชีวิตจะยังมีชีวิตอยู่หรือถึงแก่กรรมแล้วก็ตาม ผู้รับประกันชีวิตจะชดใช้เงิน จำนวนหนึ่งให้สัญญาประเภทนี้คล้ายกับการฝากเงินสะสมเอาไว้นั่นเอง เมื่อครบกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ก็ไปเอาเงินมาใช้ ถ้าถึงแก่กรรมก่อน ก็ตกได้แก่ผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุไว้ ถ้าไม่ได้ระบุไว้ก็ตกได้แก่ทายาท โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดก

  37. ส่วนได้เสียในการประกันชีวิตส่วนได้เสียในการประกันชีวิต • ในสัญญาประกันชีวิตนั้น แม้ไม่ใช่ชีวิตเรา เราก็อาจเอาประกันชีวิตได้ ถ้าหากเรามีส่วนได้เสีย เช่น สามี ภรรยา อาจเอาประกันชีวิตของกันและกันได้ บิดา มารดา และบุตรมีส่วนได้เสียซึ่งกันและกัน สามารถเอาประกันชีวิตซึ่งกันและกันได้ อาจกล่าวได้ว่าการมีส่วนได้เสียในชีวิตของผู้ที่ตนจะเอาประกัน ชีวิตถือหลักความสัมพันธ์ และหากความสัมพันธ์ที่ผู้เอาประกันชีวิต มีต่อชีวิตบุคคลที่ถูกเอาประกัน ชีวิตนั้น เป็นความผูกพันในลักษณะเป็นสิทธิหน้าที่ต่อกันตามกฎหมายแล้ว ก็ถือว่าเป็นส่วนได้เสียที่จะเอา ประกันชีวิตบุคคลนั้นได้สำหรับกฎหมายไทยเรายอมรับให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสียสามารถเอา ประกันชีวิตได้คือ

  38. (1) ตนเองย่อมมีส่วนได้เสียในชีวิตตนเองเสมอ • (2) สามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ ต้องจดทะเบียนสมรสกัน • (3) คู่หมั้นอาจเอาประกันชีวิตกันได้ เพราะมีความผูกพันตามกฎหมายต่อกันอยู่ • (4) ลูกจ้างอาจเอาประกันชีวิตนายจ้างซึ่งมีหน้าที่จะต้องชำระค่าจ้าง แก่ลูกจ้าง และ ในทำนองเดียวกัน นายจ้างก็มีส่วนได้เสียในชีวิตลูกหนี้ตนได้ แต่ลูกหนี้ไม่มีส่วนได้เสียในชีวิตของเจ้าหนี้ จึงไม่อาจเอาประกันชีวิตเจ้าหนี้ได้ • (5) เจ้าหนี้มีส่วนได้เสียอาจเอาประกันชีวิตลูกหนี้ตนได้ แต่ลูกหนี้ไม่มีส่วนได้เสีย • ในชีวิต ของเจ้าหนี้ จึงไม่อาจเอาประกันชีวิตเจ้าหนี้ได้ • (6) บิดา มารดา และบุตร

  39. ข้อสังเกต • ส่วนได้เสียในการเอาประกันชีวิตนั้น ต้องมีอยู่ขณะทำสัญญาประกันชีวิตก็เพียงพอแล้วไม่จำต้องถึงขนาดที่ต้องมีส่วนได้เสียขณะที่มีการมรณะเกิดขึ้น เช่น สามีเอาประกันชีวิตภรรยา ต่อมา สามีและภรรยาคู่นี้ ได้หย่าขาดจากกันและหลังจากมีการหย่าขาดกันแล้ว ภรรยาตายสามีก็ยังมีสิทธิได้รับเงินที่ได้จากการที่เอาประกันชีวิต ภรรยาอยู่เพราะสัญญาประกันชีวิต มีหลักเกณฑ์เพียงให้มีส่วนได้เสียขณะทำสัญญาประกันชีวิตก็พอแล้ว

  40. สิทธิของผู้เอาประกันชีวิตสิทธิของผู้เอาประกันชีวิต • 1. สิทธิที่จะได้รับเงินจำนวนหนึ่ง • เมื่อบุคคลผู้เป็นเงื่อนไขแห่งสัญญาถึงแก่กรรมลง หรือยังคงมีชีวิตอยู่ตามที่ระบุไว้ในสัญญาผู้รับประกันชีวิตต้องใช้เงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ • 2. สิทธิบอกเลิกสัญญา • ผู้เอาประกันชีวิตจะบอกเลิกสัญญาประกันชีวิตเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ โดยงดส่งเบี้ยประกันชีวิตต่อไป โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบเป็นลายลักษณ์อักษร และถ้าได้เสียเบี้ยประกันชีวิตมาแล้วอย่างน้อย 3 ปีผู้เอาประกันชีวิตมีสิทธิได้รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยหรือรับกรมธรรม์ใช้เงิน สำเร็จจากผู้รับประกันชีวิตด้วย • 3. สิทธิขอลดเบี้ยประกันชีวิต • ถ้าการประกันชีวิตได้กำหนดเอาความเสี่ยงใดเป็นข้อพิจารณาในการกำหนดเบี้ย ประกันภัย เช่น อาชีพขุดแร่ในเหมือง อาชีพนักขับรถแข่งหรือขับเครื่องบิน ต่อมาความเสี่ยงนั้นหมดแล้ว เช่นเลิกอาชีพดังกล่าวแล้ว ย่อมมีสิทธิขอลดเบี้ยประกันชีวิตลงได้

  41. หน้าที่ของผู้เอาประกันชีวิตหน้าที่ของผู้เอาประกันชีวิต • 1. หน้าที่ต้องเปิดเผยความจริง • เนื่องจากการคิดเบี้ยประกันชีวิต มีฐานมาจากอายุและสุขภาพอนามัยของผู้เอา ประกันชีวิตถ้าไม่เปิดเผยความจริงหรือแถลงข้อความเท็จเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เช่น แถลงอายุคลาดเคลื่อน มีผลทำให้กำหนดจำนวนเบี้ยประกันต่ำถ้าถึงขั้นที่อายุที่แท้จริงอยู่นอกจำกัดอัตราปกติของเขาแล้ว เช่น อายุ 70 ปีแล้ว แต่แจ้งว่า อายุไม่ถึง 50 ปี ดังนี้จะทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆียะ หรือความจริงเกี่ยวกับอนามัย เช่น เป็นโรคมะเร็งอยู่หรือเคยถูกยิงมาแล้ว หรือเป็นโรคลมชัก โรคตับ ไต และดีซ่าน แต่แจ้งว่า สุขภาพดีสัญญาตกเป็นโมฆียะ เป็นต้น แต่ถ้าไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง เช่น เป็นโรคต้อตา หรือไม่ทราบว่าตนเป็นโรคมะเร็งอยู่ดังนี้สัญญาประกันชีวิตนั้นสมบูรณ์ • 2. หน้าที่ชำระเบี้ยประกันชีวิต • ผู้เอาประกันชีวิตต้องชำระเงิน ซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัยตามที่ได้ตกลงกัน

  42. สิทธิและหน้าที่ของผู้รับประกันชีวิตสิทธิและหน้าที่ของผู้รับประกันชีวิต • 1. สิทธิได้รับเบี้ยประกันชีวิตตามที่ตกลงกัน • 2. หน้าที่ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันชีวิต72 • 3. หน้าที่ใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิต73 • 4. สิทธิบอกล้างสัญญาประกันชีวิต ในกรณีที่สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ เนื่องจากการปกปิดข้อความจริงหรือแถลงเท็จ หรือแถลงอายุคลาดเคลื่อน

  43. เหตุยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันชีวิตเหตุยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันชีวิต • กรณีการใช้เงินเป็นไปตามเหตุมรณะของบุคคลใด ผู้รับประกันชีวิตต้องใช้เงินนั้น เมื่อบุคคลนั้นถึงแก่กรรม เว้นแต่ • 1. บุคคลนั้นได้ฆ่าตนเองด้วยใจสมัครภายใน 1 ปีนับแต่วันทำสัญญาหรือ • 2. บุคคลนั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา • อย่างไรก็ตาม รับประกันภัยต้องใช้เงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันชีวิต หรือ ถ้าผู้ตาย เอาประกันชีวิตของตนเอง ก็ให้เงินนั้นตกแก่ทายาทของผู้นั้น

  44. สิทธิการเรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีมรณภัยเกิดขึ้นเพราะความผิดของบุคคลภายนอกสิทธิการเรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีมรณภัยเกิดขึ้นเพราะความผิดของบุคคลภายนอก • กล่าวคือ ถ้ามรณภัยเกิดขึ้น เพราะความผิดของบุคคลภายนอก ผู้รับประกันภัยไม่มีสิทธิจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกได้แต่สิทธิของฝ่ายทายาทของผู้มรณะ ในอันที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกนั้นยังมีอยู่ • ข้อสังเกต • (1) กฎหมายให้หลักว่า ในการประกันชีวิตทายาทของผู้เอาประกันชีวิตมีสิทธิเรียกร้องได้ 2 ทาง คือ จากผู้ทำละเมิดทางหนึ่ง และจากผู้รับประกันชีวิตอีกทางหนึ่ง • (2) ผู้รับประกันชีวิตเมื่อได้ใช้เงินให้กับผู้รับประโยชน์แล้วไม่มีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิของ ทายาทผู้ตายไปไล่เบี้ยเอากับผู้ทำละเมิด หลักการข้อนี้แตกต่างกับการประกันวินาศภัยซึ่งกฎหมาย กำหนดให้ผู้รับประกันภัยเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ไปไล่เบี้ยเอากับ บุคคลภายนอกได้ • (3) ทายาทของผู้มรณะจะเรียกร้องเอากับผู้รับประกันภัย หรือผู้ทำละเมิดก่อนหรือหลังก็ได้หากเรียกร้องเอากับผู้รับประกันภัยก่อน และได้รับเงินตามสัญญาประกันภัยแล้ว ผู้ละเมิดจะอ้างว่า ทายาทไม่มีความเสียหาย เพราะได้มีการทดแทนโดยการใช้เงินจากผู้รับประกันชีวิตแล้วไม่ได้

  45. สิทธิของเจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยสิทธิของเจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัย • เจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยจะมีสิทธิตามกฎหมาย ดังนี้ • 1. ถ้าสัญญาประกันชีวิตไม่ได้ระบุผู้รับประโยชน์ไว้ ให้ถือว่าเงินนี้เป็นส่วนหนึ่งแห่ง กองมรดก ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากกองมรดกนั้น • 2. ถ้าสัญญาเจาะจงตัวผู้รับประโยชน์ไว้ ผู้นั้นย่อมได้รับเงินประกันชีวิตตามสัญญาแต่ต้องส่งคืนเบี้ยประกันภัยเท่าจำนวนที่ผู้เอาประกันภัยส่งไปแล้วเข้าเป็นกองมรดกของผู้ตาย ซึ่งเจ้าหนี้เอาใช้หนี้ได้ • 3. ถ้าสัญญาระบุให้เจ้าหนี้เป็นผู้รับประโยชน์ด้วย เจ้าหนี้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินประกันชีวิต ตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1742 • อายุความ • เนื่องจากการประกันชีวิตไม่ได้กำหนดอายุความไว้ดังเรื่องประกันวินาศภัย จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามบททั่วไป

More Related