1 / 59

โดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)

Your Investment Partner. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เอ็มเอฟซี มาสเตอร์ ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เฉพาะส่วน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. โดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน). หัวข้อในการนำเสนอ. เพื่อทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุน

aure
Télécharger la présentation

โดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Your Investment Partner กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เอ็มเอฟซี มาสเตอร์ ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เฉพาะส่วน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)

  2. หัวข้อในการนำเสนอ • เพื่อทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุน • แผนการลงทุนของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ใน MFC Master Fund • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เอ็มเอฟซี มาสเตอร์ ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว • สรุปภาวะเศรษฐกิจ ภาวะตลาดตราสารหนี้และตราสารทุน และกลยุทธ์การลงทุน • การคงเงิน และขอรับเงินเป็นงวด

  3. 1. เพื่อทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุน

  4. อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี เดือน มกราคม 2556 – พฤษภาคม 2556 ความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2555 – ธ.ค. 2555 เฉลี่ย 4 ธนาคาร ได้แก่ KBANK, BBL, SCB, KTB) 2.3125 2.125 ในช่วงเดือนมกราคม – เดือน พฤษภาคม 2556 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี ปรับลดลงจาก 2.3125% มาอยู่ที่ 2.125%

  5. ดัชนีผลตอบแทนรวมพันธบัตร อายุ 2ปีเดือน มกราคม 2556 – พฤษภาคม 2556 ในช่วงเดือน มกราคม 2556 – พฤษภาคม 2556 ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 2 ปี ปรับเพิ่มขึ้นจาก 144.50 เป็น 146.87 หรือคิดเป็น 1.64%

  6. ดัชนีผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เดือน มกราคม 2556 – พฤษภาคม 2556 ในช่วงเดือน มกราคม 2556 – พฤษภาคม 2556 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้น จาก 1,3913.93 จุด ไปอยู่ที่ 1,562.07 หรือคิดเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลง 12.22%

  7. นโยบายการลงทุนในตราสารหนี้Master Pool Fund

  8. สัดส่วนการลงทุน ณ 31 พฤษภาคม 2556 (นโยบายตราสารหนี้) นโยบายการลงทุน ไม่จำกัด ไม่จำกัด 40% 40% - กลุ่ม 1: ตราสารหนี้ภาครัฐ หรือตราสารหนี้ที่ได้รับการค้ำประกันโดยกระทรวงการคลัง กลุ่ม 2: เงินฝาก หรือบัตรเงินฝากธนาคาร หรือสถายบันการเงินที่ค้ำประกันโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน (FIDF) กลุ่ม 3: ตราสารหนี้สถาบันการเงิน กลุ่ม 4: ตราสารหนี้ออกโดยบริษัทเอกชน องค์การมหาชน และรัฐวิสาหกิจ (กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน) กลุ่ม 5: อื่น ๆ อาทิ หน่วยลงทุน ตราสารอนุพันธ์ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ตราสารต่างประเทศ เป็นต้น

  9. อัตราผลตอบแทน ณ 31 พฤษภาคม 2556 (นโยบายตราสารหนี้)

  10. ผลตอบแทนสะสม นโยบายตราสารหนี้ (1 ม.ค.56 – 31พ.ค.56) หมายเหตุ อัตราผลตอบแทนอ้างอิง: 50%ZRR2Y + 50%Avg.FD1Y(BBL, KBANK, SCB, KTB) โดยคำนวณผลตอบแทนอ้างอิงเป็นรายเดือน และนำมาคำนวณหาอัตราผลตอบแทนรวมสะสม ด้วยการเชื่อมต่อแบบเรขาคณิต (Geometric Linked) ตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ของสมาคมบริษัทจัดการกองทุน (สจก.กช.12549) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป

  11. นโยบายการลงทุนในตราสารผสมMaster Pool Fund

  12. สัดส่วนการลงทุน ณ 31 พฤษาคม 2556 (นโยบายผสม) นโยบายการลงทุน ไม่จำกัด ไม่จำกัด 40% 40% ไม่จำกัด - กลุ่ม 1: ตราสารหนี้ภาครัฐ หรือตราสารหนี้ที่ได้รับการค้ำประกันโดยกระทรวงการคลัง กลุ่ม 2: เงินฝาก หรือบัตรเงินฝากธนาคาร หรือสถายบันการเงินที่ค้ำประกันโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน (FIDF) กลุ่ม 3: ตราสารหนี้สถาบันการเงิน กลุ่ม 4: ตราสารหนี้ออกโดยบริษัทเอกชน องค์การมหาชน และรัฐวิสาหกิจ (กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน) กลุ่ม 5: ตราสารทุน กลุ่ม 6: อื่น ๆ อาทิ หน่วยลงทุน ตราสารอนุพันธ์ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ตราสารต่างประเทศ เป็นต้น

  13. สัดส่วนการลงทุน ณ 31 พฤษภาคม 2556(นโยบายผสม)

  14. อัตราผลตอบแทน ณ 31 พฤษภาคม 2556 (นโยบายผสม)

  15. ผลตอบแทนสะสม นโยบายผสม (1 ม.ค.56 – 31พ.ค.56) หมายเหตุ อัตราผลตอบแทนอ้างอิง:85%SETIndex + 15%Avg.SV1Y(BBL, KBANK, SCB, KTB) โดยคำนวณผลตอบแทนอ้างอิงเป็นรายเดือน และนำมาคำนวณหาอัตราผลตอบแทนรวมสะสม ด้วยการเชื่อมต่อแบบเรขาคณิต (Geometric Linked) ตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ของสมาคมบริษัทจัดการกองทุน (สจก.กช.12549) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป

  16. อัตราผลตอบแทนสะสมตั้งแต่จัดตั้งกองทุน นโยบายตราสารหนี้ และนโยบายผสม ณ 31 พฤษภาคม 2556 หมายเหตุ: MFC Master Fund จัดตั้งในวันที่ 1 กรกฎาคม 2552

  17. 2. แผนการลงทุนของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีใน MFC Master Fund

  18. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จะมีแผนการลงทุนทั้งหมด 5แผน ดังนี้ ( มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม 2556)

  19. อัตราผลตอบแทนสะสม ม.ค. – พ.ค. 2556 ณ 31 พฤษภาคม 2556

  20. 3. กองทุน เอ็มเอฟซี มาสเตอร์ ฟันด์

  21. รางวัลที่เอ็มเอฟซีได้รับจากการบริหารกองทุนรางวัลที่เอ็มเอฟซีได้รับจากการบริหารกองทุน MFC Master Fund ชนะเลิศกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีเด่น ประเภทกองทุนร่วม (Pool Fund)โครงการประกวดกองทุนดีเด่น ครั้งที่ 1 ปี 2555 โดยสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (AOP) รับรางวัลโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

  22. MFC Employee’s Choice Master Fund Sub Fund SUB FUND 1 นโยบายพันธบัตร (เงินฝาก และพันธบัตร) SUB FUND 4 นโยบายตราสารหนี้ระยะสั้น (หน่วยลงทุนในกองทุน MMM) SUB FUND 2 นโยบายตราสารหนี้ (เงินฝาก พันธบัตร และตราสารหนี้ภาคเอกชน) SUB FUND 3 นโยบายผสมที่เน้นลงทุนในตราสารทุน (Mixed Fund) SUB FUND9 นโยบายหุ้นปันผล-ป้องกันความเสี่ยง) SUB FUND 5 นโยบายกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ SUB FUND 8 นโยบายอิสลามิก (หน่วยลงทุนในกองทุน MIF) SUB FUND 7 นโยบายทองคำ(หน่วยลงทุนในกองทุน SPDR Gold) SUB FUND 6 นโยบายกองทุนหุ้นต่างประเทศ 22 นำเสนอ บริษัท หงษ์หยวน คอนสตรัคชัน แมททิเรียล จำกัด

  23. MFC Master Fund

  24. 4. ภาวะเศรษฐกิจ ภาวะตลาดฯ และกลยุทธ์การลงทุน

  25. ภาวะตลาดตราสารหนี้และ กลยุทธ์การลงทุน

  26. แนวโน้มเศรษฐกิจไทย แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวกลับสู่ระดับปกติระหว่าง 4.5 – 5.0% (yoy) จากปัจจัยขับเคลื่อนอุปสงค์ในประเทศ ได้แก่ การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชน ในขณะที่ภาคการส่งออกมีแนวโน้มค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น ปัจจัยเสี่ยงหลักที่คาดว่าจะกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว อาจกระทบต่อภาคการส่งออกสินค้า ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความล่าช้าของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล แรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังคงคาดว่าจะอยู่ในระดับทีจัดการได้ ทั้งปี 2556 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 2.7 – 3.2 (yoy)

  27. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ ปัจจัยบวก • การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2556 ยังคงอยู่ในระดับต่ำ • การใช้มาตรการ QE ของธนาคารกลางประเทศต่างๆ ทำให้สภาพคล่องในตลาดการเงินโลกอยู่ในระดับสูง • การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำของประเทศกลุ่ม DM • ความแตกต่างระหว่างอัตราดอกผลตอบแทนของตราสารหนี้ในตลาด DM และ EM ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งดึงดูดให้เงินลงทุนจากต่างประเทศเข้าลงทุนในตราสารหนี้ในตลาด EM • คณะกรรมการนโยบายการเงินมีโอกาสที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหากเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยง • เศรษฐกิจในกลุ่ม จี 3 สามารถขยายตัวได้เร็วกว่าที่คาด • ปริมาณอุปทานพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวค่อนข้างมาก • การประกาศอุปทานของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติมเพื่อใช้สำหรับแผนการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน

  28. กลยุทธ์การลงทุนในตราสารหนี้กลยุทธ์การลงทุนในตราสารหนี้ กลยุทธ์ด้านพันธบัตรและเงินฝากสถาบันการเงิน • รักษาอายุเฉลี่ยของกองทุนที่ระดับ 1.4-2 ปี • กระจายการลงทุนโดยเน้นพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มีสภาพคล่องสูง • เงินฝากและตราสารระยะสั้นของธนาคาร : หาโอกาสเพิ่มผลตอบแทนแก่กองทุน โดยลงทุนในตราสารกลุ่มนี้ที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลอายุใกล้เคียงกัน กลยุทธ์ด้านหุ้นกู้เอกชน • มองหาโอกาสการลงทุนหุ้นกู้เอกชนในตลาดแรก • รักษาน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนไว้ที่ระดับไม่เกิน 40% ของ NAV ตามนโยบายกองทุนฯ

  29. แนวโน้มตลาดตราสารทุนในไตรมาส 2/2556 ภาพรวมตลาดหุ้นไทยคาดว่าตลาดหุ้นไทยจะแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 1,490-1,580จุด ปัจจัยบวกคือ • การลงทุนของภาครัฐในโครงสร้างปัจจัยพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ (Mega Projects) • เศรษฐกิจไทยปี 2556 เติบโตสูงถึงร้อยละ 4.5 – 5.0 และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนเติบโต ร้อยละ 12-15% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ดีและสูงกว่าค่าเฉลี่ยภูมิภาค • ความคืบหน้าของแนวทางปัญหา Fiscal Cliff ของสหรัฐอเมริกา และการแก้ไขปัญหาหนี้ในยุโรปมีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ช่วยให้บรรยาการการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงดูดีขึ้น • กระแสเงินลงทุนต่างชาติจากสภาพคล่องที่ล้นระบบ ซึ่งเกิดมาจาก: : มาตรการการอัดฉีดสภาพคล่องจากทั้งจากสหภาพยุโรป, สหรัฐอเมริกา, จีน และญี่ปุ่น ส่งผลให้เกิด Carry trade : การเคลื่อนย้ายเงินทุนจากพันธบัตรรัฐบาลมาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่ต้องติดตามคือ • เครื่องชี้สภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ จีน, สหรัฐฯ, ยุโรป และญี่ปุ่น • ความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาหนี้ในสหภาพยุโรป และผลกระทบของ Sequester ของสหรัฐอเมริกา • ปัจจัยการเมืองภายในประเทศ

  30. แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในระยะเวลา 6 เดือน – 12 เดือนข้างหน้า MFC คาดว่าเป้าหมายดัชนีหลักทรัพย์ ปี 2556 ที่ประมาณ 1,687 จุด ทั้งนี้จากสถานะการณ์การแก้ไขปัญหาและปัญหาของโครงสร้างหนี้สินในกลุ่มประเทศยุโรปมีทิศทางที่ดีขึ้นบางส่วน สภาพคล่องที่มีอยู่สูงทั่วโลก อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเกือบทั่วโลก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ร้อยละ 4.5-5.0 ในปี 2556 ทาง MFC มองว่าทิศทางของ SET index ในกรณีต่างๆ น่าจะเป็นไปตามตารางด้านล่าง อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นไทยมีความเสี่ยงและผันผวนสูงจาก • เศรษฐกิจโลกที่ค่อนข้างเปราะบาง • ความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา • ปัจจัยการเมืองภายในประเทศอาจเป็นปัจจัยกดดันความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ

  31. กลยุทธ์ตราสารทุนในไตรมาส 2/2556 กลยุทธ์ด้านน้ำหนักการลงทุนในตราสารทุน • รักษาสัดส่วนการลงทุนอยู่ในระดับ 90% (+ 5%) • ทยอยขายทำกำไรและกลับเข้าลงทุนใหม่ (Trading Strategy) เพื่อลดระดับความเสี่ยงในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน กลยุทธ์ด้านน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม • Overweight : Property Development, Construction Material, Finance & Securities, Healthcare, Commerce, Transportation, Telecommunication and Media • Trading : Energy and Petrochemical

  32. กลยุทธ์การลงทุนของตลาดหุ้นไทยในระยะเวลา 6 เดือน – 12 เดือนข้างหน้า • ในระยะยาวรักษาสัดส่วนการลงทุนให้อยู่ในระดับ 85-95% ของสัดส่วนการลงทุนในหุ้นที่ได้รับการอนุมัติ เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจและผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนไทยที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยอัตราการเติบโตที่ดี • Core Portfolio: เน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการลงทุนของภาครัฐในโครงสร้างปัจจัยพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ (Mega Projects) และจากกำลังซื้อภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นทั่วประเทศ ดังนั้นกลุ่มที่น่าจะได้รับประโยชน์ ได้แก่ กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, กลุ่มวัสดุก่อสร้าง,กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์, กลุ่มการแพทย์, กลุ่มพาณิชย์, กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์, กลุ่มเทคโนโลยีสาร และกลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ • Trading Portfolio: Trading กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีเพื่อหาโอกาสทำกำไรจากสภาวะตลาดที่มีความผันผวนสูง

  33. 5. การคงเงิน และรับเงินเป็นงวด

  34. การยกเว้นภาษีของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ • มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ ดังนี้ • กฎกระทรวงฉบับที่ 277 (พ.ศ.2533) • ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 188) • ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 202)

  35. กฎกระทรวงฉบับที่ 277 (พ.ศ.2533) สมาชิกที่ได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใน 2 กรณีดังต่อไปนี้ จะได้รับการยกเว้นภาษี (ก) กรณีได้รับเงินเนื่องจากลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ทุพพลภาพ หรือเกษียณอายุตามข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ข) กรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุอื่นๆ ที่ไม่เข้าข้อ (ก) แต่เมื่อออกจากงานแล้วได้คงเงินไว้ทั้งจำนวนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และต่อมาได้รับเงินหลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ทุพพลภาพ หรือครบกำหนด เวลาเกษียณอายุตามข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การยกเว้นภาษีของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  36. ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 188) แก้ไขโดยประกาศอธิบดีฯ ฉบับที่ 202 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2554 กรณี ตาย ต้องมีหลักฐานใบมรณะบัตรที่แสดงถึงการตาย กรณี ทุพพลภาพ ต้องมีหลักฐานจากแพทย์ กรณี ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ เกษียณอายุตามข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในเวลาที่ออกจากงาน มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ เป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน ถ้าเป็นสมาชิกไม่ถึง 5 ปีต่อเนื่องกัน ต้องเป็นสมาชิกไปจนมีระยะเวลาการเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน กรณีที่เคยเป็นสมาชิกของ กบข. ต้องเป็นสมาชิกกองทุน กบข. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี กรณี ออกจากงานและได้คงเงินไว้กับกองทุนทั้งจำนวน ต่อมาได้รับเงิน หรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ทุพพลภาพ หรือครบกำหนดเวลาเกษียณอายุตามข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับการเกษียณอายุข้างต้น การยกเว้นภาษีของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  37. การคงเงิน และขอรับเงินเป็นงวด พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ฉบับแก้ไขปี 2550 มาตรา 23/3 ลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพ โดยออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด มีสิทธิคงเงินทั้งหมดในกองทุนได้ ตามระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับกองทุน มาตรา 23/2 ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะการเกษียณอายุตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน แสดงเจตนาขอรับเงินเป็นงวดได้ ระยะเวลาคงเงินหรือรับเงินงวด ข้อบังคับกองทุนสามารถกำหนดระยะเวลาให้สมาชิกคงเงินได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า 90 วัน

  38. ระยะเวลาการคงเงิน และการขอรับเงินกองทุนเป็นงวดในข้อบังคับกองทุน การคงเงินไว้ในกองทุน • สมาชิกสามารถคงเงินไว้ในกองทุนได้ ไม่เกิน 10 ปี การข้อรับเงินเป็นงวด • ระยะเวลารับเงินงวดไม่เกิน 10 ปี • รับเป็นงวดได้ไม่เกิน 12 ครั้ง

  39. การคงเงิน และขอรับเงินเป็นงวด สถานะของผู้ขอคงเงิน/รับเงินงวด ยังเป็นสมาชิกกองทุนได้ตามระยะเวลาที่ข้อบังคับกองทุนกำหนด สมาชิกมีสิทธิได้รับผลประโยชน์จากเงินที่ลงทุนในกองทุน ไม่ต้องจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน และนายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเช่นกัน กรณีสมาชิกเสียชีวิตระหว่าง การขอคงเงิน/รับเงินงวด ไม่อยู่ภายใต้มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยให้นำบทบัญญัติตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดกมาใช้บังคับ สิทธิอื่นๆ คณะกรรมการกองทุนอาจกำหนดแตกต่างจากสมาชิกทั่วไปได้ เช่น อาจกำหนดให้ไม่ได้รับเงินอุทิศ หรือไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมหากข้อบังคับกองทุนไม่เขียนจำกัดสิทธิไว้ จะหมายความว่าสมาชิกกลุ่มนี้ได้รับสิทธิเช่นเดียวกับสมาชิกปกติทุกประการ

  40. เกณฑ์การคงเงินและรับเงินงวดของ MFC การขอคงเงิน ต้องชำระค่าธรรมเนียมเป็นรายปี ปีละ 500 บาท การขอรับเงินจากกองทุนเป็นงวด ต้องชำระค่าธรรมเนียมปีแรก 500 บาท ค่าธรรมเนียมการรับเงินงวดๆ ละ 100 บาท จำนวนเงินที่ขอรับเป็นงวดขั้นต่ำ 10,000 บาท หากการจ่ายคืนงวดใด มีเงินคงเหลือหลังการจ่ายต่ำกว่าเงินที่จะต้องจ่าย 1 งวด กองทุนจะทำการจ่ายเงินคงเหลือดังกล่าวพร้อมกับการจ่ายงวดและถือการจ่ายนั้น เป็นการจ่ายคืนงวดสุดท้าย ระบุจำนวนปีที่ต้องการคงเงินให้ชัดเจนโดยจำนวนปีที่ระบุนี้ จะไม่เกินกว่าที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน ชื่อบัญชีต้องตรงกับชื่อผู้ยื่นคำขอ ผู้ยื่นคำขอสามารถขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงเจตนารับเงินจากกองทุนเป็นงวดได้ โดยต้องแจ้งล่วงหน้า 90 วัน ในการขอแก้ไขนั้น ผู้ยื่นคำขอต้องใช้แบบฟอร์มขอแก้ไขการแสดงเจตนารับเงินจากกองทุนเป็นงวด พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ส่งมาที่เอ็มเอฟซี

  41. เอกสารประกอบแนบท้ายแบบฟอร์ม ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาสมุดเงินฝากหน้าที่มีชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีเงินฝาก พร้อม ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง กรณีมีค่าใช้จ่ายอื่นที่เกิดจากการโอนเงิน หรือค่าธรรมเนียมใดๆ ผู้ยื่นคำขอต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายนั้น เอ็มเอฟซี จะคิดค่าธรรมเนียมรายปีโดยยึดหลักการนับแบบวันที่ชนวันที่ การคำนวณจำนวนเงินที่ได้รับในแต่ละงวด จะใช้วันที่คำนวณจำนวนหน่วยทุกวันสิ้นเดือนและผู้ยื่นคำขอจะได้รับเงินภายในวันทำการที่ 5 ของเดือนถัดไป สิทธิและหน้าที่ของ เอ็มเอฟซี ในการดูแลรักษาการคงเงินหรือขอรับเงินเป็นงวดจะสิ้นสุดในกรณีที่กองทุนมีการเปลี่ยนแปลงบริษัทจัดการกองทุนเป็นบริษัทจัดการอื่น ผู้ยื่นคำขอมีหน้าที่ต้องติดต่อกับคณะกรรมการกองทุนหรือบริษัทจัดการกองทุนรายใหม่เพื่อดำเนินการต่อไป เกณฑ์การคงเงินและรับเงินงวดของ MFC

  42. การคงเงินของสมาชิกที่ออกจากงานการคงเงินของสมาชิกที่ออกจากงาน ณ 31 สิงหาคม 2556 (ลาออก และแสดงความจำนงขอคงเงิน มีเงิน 4 ก้อน) 4 1 2 3 เงินสะสม 1,000,000 ผลประโยชน์เงินสะสม 300,000 เงินสมทบ 1,000,000 ผลประโยชน์เงินสมทบ 300,000 ณ 1 กันยายน 2556 (เงินที่คงไว้จะรวมเป็น 2 ก้อน) ผลประโยชน์เงินสะสม 1,600,000 เงินสะสม 1,000,000 ณ 1 ธันวาคม 2557 (วันที่ขอถอนเงิน จะได้เงิน 2 ก้อน) เงินสะสม 1,000,000 ผลประโยชน์เงินสะสม x,xxx,xxx

  43. การคงเงินของสมาชิกที่เกษียณอายุการคงเงินของสมาชิกที่เกษียณอายุ ณ 30 กันยายน 2556 4 1 2 3 เงินสะสม 1,000,000 ผลประโยชน์เงินสะสม 300,000 เงินสมทบ 1,000,000 ผลประโยชน์เงินสมทบ 300,000 ณ 1 ตุลาคม 2556 (ขอคงเงิน เงินจะรวมเป็น 1 ก้อน) เงินกองทุนที่คงไว้ 2,600,000 ณ สิ้นวันจะมีผลประโยชน์จากการลงทุนเกิดขึ้น เงินกองทุนที่คงไว้ 2,600,000 ผลประโยชน์เงินกองทุนที่คงไว้ xxxx

  44. ตัวอย่างการได้รับ/ ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  45. ตัวอย่างการได้รับ/ ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  46. ตัวอย่างการได้รับ/ ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  47. ตัวอย่างที่ 5 ธนาคารไทยสยาม มีโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด (EARLY RETIREMENT) โดยกำหนดว่าพนักงานที่มีอายุระหว่าง 50 – 59 ปี และมีอายุงานไม่น้อยกว่า 10 ปี สามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้ จากโครงการดังกล่าว นางพิศมัยซึ่งมีอายุ 53 ปี มีอายุการทำงาน 10 ปี และมีอายุสมาชิก 9 ปี 7 เดือนได้ขอเข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป หากนางพิศมัยต้องการที่จะได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวน นางพิศมัยต้องแจ้งขอคงเงินไว้ในกองทุนจนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือมิฉะนั้น หากขอรับเงินทันทีขณะที่มีอายุ 53 ปี จะต้องเสียภาษีจากเงินกองทุนฯ 3 ส่วน คือ เงินสมทบ, ผลประโยชน์เงินสมทบ และผลประโยชน์เงินสะสม ตัวอย่างการได้รับ/ ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  48. ข้อดีและข้อพึงระวังของการคงเงิน และการรับเงินเป็นงวด

  49. ข้อดีและข้อพึงระวังของการคงเงิน และการรับเงินเป็นงวด (ต่อ)

  50. ข้อดีและข้อพึงระวังของการคงเงิน และการรับเงินเป็นงวด (ต่อ)

More Related