1 / 28

แผนที่

แผนที่. ความหมายของแผนที่.

awena
Télécharger la présentation

แผนที่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แผนที่

  2. ความหมายของแผนที่ • แผนที่คือ การนำเอารูปภาพของสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวของ มาย่อส่วนให้เล็กลง แล้วนำมาเขียนบนกระดาษหรือวัตถุที่แบนราบ สิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลกประกอบด้วยสิ่งที่เกิดเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลกแผนที่เป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่ง ที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการดำเนินกิจการงานต่างๆ ตลอดจนการศึกษาหาความรู้ทั้งในด้านวิชาการ และในด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน ตั้งแต่โบราณจนถึงสมัยปัจจุบันสิ่งที่แสดงลักษณะภูมิประเทศของผิวโลกทั้งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น โดยแสดงลงในพื้นราบเป็นกระดานหรือวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งที่แบนราบ

  3. ชนิดของแผนที่ ชนิดของแผนที่ นิยมแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ • 1.แผนที่ภูมิประเทศ เป็นแผนที่แสดงข้อมูลรายละเอียดของผิวโลกที่เกี่ยวกับภูมิลักษณะแบบต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบ แม่น้ำ ทะเล ทะเลสาบ เป็นต้น และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เมือง หมู่บ้าน พื้นที่เกษตรกรรม อ่างเก็บน้ำ ถนน ทางรถไฟ เป็นต้น

  4. 2.แผนที่เฉพาะเรื่อง เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงข้อมูลหลักเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นแผนที่ประชากร แผนที่อากาศ แผนที่ป่าไม้ แผนที่ท่องเที่ยว แผนที่เหล่านี้จะมีการสำรวจเพิ่มเติมหรือปรับแก้ไขข้อมูลให้ทันสมัยเป็นระยะๆไป

  5. ตัวอย่างแผนที่เฉพาะเรื่องตัวอย่างแผนที่เฉพาะเรื่อง • 1.แผนที่ท่องเที่ยว มีการจัดทำทั้งในระดับประเทศ ระดับภาคและระดับจังหวัด โดยเน้นข้อมูลด้านการเดินทาง ได้แก่ ถนน ทางรถไฟ ที่ตั้งจังหวัด อำเภอ สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่พัก เป็นต้น

  6. 2.แผนที่แสดงเส้นทางคมนาคม แผนที่นี้จัดทำโดยกรมทางหลวงเพื่อแสดงรายละเอียดของเส้นทางคมนาคม ได้แก่ ถนน ทางรถไฟ สนามบินเป็นหลัก มีประโยชน์เพื่อใช้กำหนดเส้นทาง ระยะทางโดยประมาณ และการหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีปัญหา

  7. 3.แผนที่ธรณีวิทยา เป็นแผนที่ที่แสดงอายุของหิน หน่วยหิน ชนิดหินและโครงสร้างทางธรณีวิทยา นอกจากนี้ยังแสดงข้อมูลประกอบอื่นๆ เช่นทางหลวงสายสำคัญ ที่ตั้งของจังหวัดเป็นต้น

  8. 4.แผนที่การใช้ที่ดิน แผนที่นี้แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยเฉพาะด้านการเกษตร เนื่องจากการใช้ประโยชน์ที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงมากและรวดเร็ว แผนที่การใช้ที่ดินจึงต้องการมีการปรับปรุงให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ แต่ในปัจจุบันมีการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อจัดทำแผนที่การใช้ที่ดินทำให้การทำงานรวดเร็วมากขึ้น แผนที่นี้จัดทำโดยกรมพัฒนาที่ดินหรือสำนักงานสถิติการเกษตร

  9. ประวัติความเป็นมาของแผนที่ประวัติความเป็นมาของแผนที่ ประวัติความเป็นมาของแผนที่ความสามารถในการทำแผนที่เป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ พฤติกรรมที่แสดงออกทางแผนที่มีมานานแล้ว เช่น พวกเอสกิโมรู้จักการทำแผนที่ด้วยการใช้ไม้สลักติดลงบนหนังแมวน้ำ แสดงแหล่งล่าสัตว์ ตกปลา ชาวเกาะมาร์แชลใช้เปลือกหอยแทนเกะ ก้านมะพร้าวแทนเส้นทางเดินเรือและบริเวณที่มีคลื่นจัด เป็นต้น

  10. แผนที่ของชาวเอสกิโม ทำด้วยไม้สลักติดบนหนังแมวน้ำ แผนภูมิของชาวหมู่เกาะ Marshall ใช้เปลือกหอยแทนเกาะและก้านมะพร้าวแทนคลื่น

  11. แผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือ แผนที่ของชาวเมโสโปเตเมีย เมื่อ 2,300 ปี ก่อนพุทธศักราช ทำด้วยดินเหนียว แสดงกรรมสิทธิที่ดินแปลงหนึ่ง แผนที่บาบิโลนเป็นแผนที่เก่าแก่ที่สุด เมื่อ 2,500 ปี ก่อนค.ศ

  12. ความเป็นมาของแผนที่ในประเทศไทยความเป็นมาของแผนที่ในประเทศไทย แผนที่ปโตเลมีฉบับที่เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ.693 เรียกบริเวณที่ตั้งประเทศไทยปัจจุบันว่า AureaKhersonesusซึ่งแปลว่า แหลมทอง (Gloden peninsular) แผนที่ภายในประเทศที่เก่าแก่ที่สุดคือ แผนที่ยุทธศาสตร์สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พ.ศ.1893-1912 

  13. องค์ประกอบของแผนที่ 1 ชื่อแผนที่ บอกให้ทราบถึงแผนที่เรื่องอะไร แสดงรายละเอียดอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง และตรงความต้องการ 2. ขอบระวาง แผนที่ทุกชนิดจะมีขอบระวาง ซึ่งเป็นขอบเขตของพื้นที่ในภูมิประเทศที่แสดงบนแผนที่แผ่นนั้น มักจะแสดงด้วยเส้นขนานเพื่อแสดงตำแหน่งละติจูดกับเส้นเมริเดียนเพื่อแสดง ตำแหน่งลองจิจูด และจะแสดงตัวเลขเพื่อบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของตำแหน่งต่างๆ3 .ทิศทาง การใช้ทิศทางในแผนที่ประกอบกับเข็มทิศ หรือการสังเกตดวงอาทิตย์และดาวเหนือจึงช่วยให้เราสามารถเดินทางไปยังสถานที่ ที่เราต้องการได้

  14. 4. สัญลักษณ์ เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ ในภูมิประเทศจริง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่านและแปลความหมายจากแผนที่ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ในแผนที่จะต้องมีคำอธิบายสัญลักษณ์ประกอบไว้ด้วยเสมอ 5. มาตราส่วน เป็นอัตราส่วนระหว่างระยะทางที่ย่อส่วนมาลงในแผนที่กับระยะทางจริงในภูมิประเทศ มาตราส่วนช่วยให้ผู้ใช้ทราบว่าแผนที่นั้นๆ ย่อส่วนมาจากสภาพในภูมิประเทศจริงในอัตราส่วนเท่าใดมาตราส่วนแผนที่” มาตราส่วนแผนที่โดยมากจะมี 3 ลักษณะ ได้แก่ มาตราส่วนแบบเศษส่วน มาตราส่วนคำพูด และมาตราส่วนแบบกราฟิกมาตรา

  15. 6. เส้นโครงแผนที่ เป็นระบบของเส้นขนานและเส้นเมริเดียน ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ให้เป็นมาตรฐานไว้ใช้อ้างอิง ร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วย6.1 เส้นขนาน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากทิศตะวันออก สร้างขึ้นจากการวัดมุมเริ่มจากเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีค่ามุม 0 องศา ไปยังขั้วโลกทั้งสองด้านละไม่เกิน 90 องสา เส้นขนานที่สำคัญ

  16. ประกอบด้วย1. เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นอิเควเตอร์ มีค่ามุม 0 องศา2. เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิปดาเหนือ3. เส้นทรอปิกอฟแคปริคอร์น มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิดาใต้4. เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาเหนือ5. เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาใต้

  17. 6.2 เส้นเมริเดียน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ สร้างขึ้นจากการสมมติเส้นเมริเดียนปฐม มีค่ามุม 0 องศา ลากผ่านตำบลกรีนิซ กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร ไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ด้านละ 180 องศา โดยเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาตะวันออกและ 180 องศาตะวันตก จะทับกันเป็นเส้นเดียวนี้ให้เป็นเส้นวันที่หรือเส้นแบ่งเขตวันระหว่างชาติ หรือเส้นแบ่งเขตวันสากล

  18. 7. พิกัดภูมิศาสตร์ เป็นระบบที่บอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก โดยอาศัยเส้นโครงแผนที่ซึ่งเส้นขนานและเส้นเมริเดียนตัดกันเป็นจุดสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก โดยอ่านค่าพิกัดภูมิศาสตร์เป็นละติจูด (เส้นขนาน) และลองจิจูด(เส้นเมริเดียน)

  19. สี สีฟ้าหรือสีน้ำเงินแหล่งน้ำ เช่นทะเล ทะเลสาบ หนองน้ำสีเขียวทราบลุ่ม หรือป่าไม้สีเหลืองที่ราบสูงสีน้ำตาลที่สูง หรือภูเขาสูง

  20. เครื่องหมายสัญลักษณ์บนแผนที่เครื่องหมายสัญลักษณ์บนแผนที่

  21. ความสำคัญของแผนที่ • ด้านสาธารณประโยชน์ เช่น เพื่อใช้ในการวางแผนสร้างสถานีผลิตกระแสไฟฟ้าและการวางสายไฟ การประปา สายโทรศัพท์ และแหล่งที่จะทิ้งขยะมูลฝอย บริษัทประกันภัยก็ต้องใช้แผนที่เพื่อจะได้ศึกษาถึงทางเดินของพายุ บริเวณที่ถูกภัยธรรมชาติ • ด้านการพัฒนาวางแผนการเศรษฐกิจและสังคม ไม่ว่าโครงการนั้นจะเกี่ยวข้องกับการสงวนรักษาน้ำ การสร้างอ่างเก็บน้ำ ท่อน้า โรงงานกรองน้ำเสีย การขุดบ่อบาดาล หรือโครงการเกี่ยวกับการป้องกันน้ำท่วม การสร้างคันคูและแหล่งที่จะเก็บกักน้ำ

  22. 3.ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีความจำเป็นต้องนักท่องเที่ยวมากในอันที่จะทำให้นักท่องเที่ยวรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวได้ง่าย และสะดวกในการที่จะวางแผนการเดินทางหรือตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวตามความเหมาะสมด้านการทหาร แผนที่มีความจำเป็นอย่างมากในการวางแผนยุทธศาสตร์, ยุทธวิธีถ้าขาดแผนที่หรือแผนที่ล้าสมัย ข้อมูลไม่ถูกต้อง การวางแผนอาจผิดพลาดได้ เป็นต้น

  23. ประโยชน์ของแผนที่นอกเหนือจาก ที่กล่าวมาแล้ว 1. เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แผนที่ถนน แผนที่ผังเมือ 2. เพื่อใช้ในการทหารด้านต่างๆ เช่น การเคลื่อนกำลังพล การจู่โจม การหาตำแหน่งข้าศึก ฯลฯ 3. เพื่อใช้ประกอบการค้นหาทรัพยากรธาตุที่อยู่บนพื้นโลก 4. เพื่อใช้ทางด้านวิศวกรและการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ 5. เพื่อใช้ศึกษาประกอบการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา สำหรับเป็นแนวทางปฏิบัติเมื่อมีความจำเป็น

  24. คำถาม • 1.แผนที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของเรามากหรือไม่อย่างไร • 2.แผนที่มีความสำคัญในด้านใดบ้าง • 3แผนที่มีกี่ชนิดอะไรบ้าง.

  25. อ้างอิง http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Map-benining.htm www.gisthai.org/about-gis/vactor-gis.htm www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Map-benining.htm www.rmutphysics.com/sciencefac/artic/map/map.htm https://adwords.google.com/support/aw/bin/answer

  26. คณะผู้จัดทำ

  27. คณะผู้จัดทำ • 1.นางสาววันไหม กิกิ้ง เลขที่ 28 • 2.นางสาววาสนา หวานอารมณ์ เลขที่ 29 • 3.นางสาวสุปราณี มูลตรีภักดี เลขที่ 31 • 4.นางสาวสุพรรษา ไพรัตน์ เลขที่ 32 • 5.นางสาวชลิตา ศรีบ้านบาก เลขที่ 19 • ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1

  28. จบการนำเสนอ

More Related