1 / 28

การตรวจสอบและข้อสังเกต ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การตรวจสอบและข้อสังเกต ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. โดย นายอรุณ สังข์ทอง ผอ.กลุ่มตรวจสอบสืบสวน. ๑. ภารกิจหลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือการจัดทำบริการสาธารณะ ๒. การจัดทำบริการสาธารณะ คือ การใช้อำนาจของฝ่ายบริหารหรือการกระทำทางปกครอง

Télécharger la présentation

การตรวจสอบและข้อสังเกต ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การตรวจสอบและข้อสังเกตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการตรวจสอบและข้อสังเกตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย นายอรุณ สังข์ทอง ผอ.กลุ่มตรวจสอบสืบสวน

  2. ๑. ภารกิจหลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือการจัดทำบริการสาธารณะ • ๒. การจัดทำบริการสาธารณะ คือ การใช้อำนาจของฝ่ายบริหารหรือการกระทำทางปกครอง • ๓. การกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย

  3. ๔. การควบคุมตรวจสอบการกระทำทางปกครองของฝ่ายปกครอง • การควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรภายในฝ่ายปกครอง (กระทรวงเจ้าสังกัด) • การควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรภายนอก (องค์กรอิสระ, รัฐสภา, ศาล, ประชาชน)

  4. ๕. การตรวจเงินแผ่นดินเป็นการควบคุมตรวจสอบการกระทำทางปกครองที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินแผ่นดินโดยองค์กรอิสระภายนอกฝ่ายบริหาร • รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๒ – ๒๕๔, ๓๐๑ – ๓๐๒ • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒

  5. องค์กรการตรวจเงินแผ่นดินหลัก ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินของหน่วยรับตรวจว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรี หรือไม่ • คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน • ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน • คณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลัง (คณะกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลัง) • สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

  6. ลักษณะงานตรวจสอบ • ๑. ตรวจสอบด้านการเงิน • ๒. ตรวจสอบการจัดเก็บรายได้ • ๓. ตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง • ๔. ตรวจสอบสืบสวน • ๕. ตรวจสอบการดำเนินงาน

  7. การแจ้งผลการตรวจสอบของ สตง. • กรณีผลการตรวจสอบปรากฏว่ามีข้อบกพร่อง • กรณีผลการตรวจสอบปรากฏว่ามีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นการทุจริต • กรณีมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เงินหรือทรัพย์สินของราชการ

  8. การแจ้งผลการตรวจสอบของ สตง.(ต่อ) • กรณีผลการตรวจสอบปรากฏว่ามีข้อบกพร่อง • แจ้งให้หน่วยรับตรวจชี้แจงหรือแก้ไขข้อบกพร่องหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง • แจ้งให้ดำเนินการตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผน ที่ราชการหรือหน่วยรับตรวจกำหนดไว้แก่เจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบ

  9. การแจ้งผลการตรวจสอบของ สตง.(ต่อ) • กรณีผลการตรวจสอบปรากฏว่ามีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นการทุจริตหรือมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เงินหรือทรัพย์สินของราชการ • แจ้งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี • แจ้งผู้รับตรวจหรือกระทรวงเจ้าสังกัดหรือผู้ควบคุมกำกับให้ดำเนินการตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนที่ราชการหรือหน่วยรับตรวจกำหนดไว้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยรับตรวจซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบด้วย

  10. การดำเนินการตามผลการตรวจสอบ • ๑. ทางแพ่ง • ๒. ทางวินัย • ๓. ทางอาญา • ๔. ทางวินัยทางงบประมาณและการคลัง

  11. วินัยทางงบประมาณและการคลัง คือ มาตรการเกี่ยวกับการควบคุมการเงินของรัฐ ที่ผู้ฝ่าฝืนมีความผิด ต้องรับโทษปรับทางปกครอง โดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นองค์กรพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด • - ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยวินัยทางงบประมาณและการคลัง พ.ศ. ๒๕๔๔ • - กำหนดความผิดเกี่ยวกับการบริหารการเงินและการคลัง

  12. ข้อสังเกตจากการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้อสังเกตจากการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • ๑. การรับ – จ่ายเงิน • รับเงินและไม่ลงบัญชี หรือรับเงินไม่ออกใบเสร็จรับเงิน • การรับเงินและไม่นำฝากธนาคารและนำส่งภายในเวลาที่กำหนด • หลีกเลี่ยงการใช้เช็คจ่ายเงิน • การเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินไม่ขีดคร่อม และผู้ถือ • จ่ายเงินโดยยังมิได้รับอนุญาตหรืออนุมัติให้จ่าย • ลงลายมือชื่อในเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้าเป็นจำนวนมาก • ไม่ประทับตราใบสำคัญเมื่อจ่ายเงินแล้ว และเก็บรักษาไม่รัดกุม

  13. ข้อสังเกตจากการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้อสังเกตจากการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • ๒. การเก็บรักษาเงิน • ไม่มีที่เก็บเงินที่รัดกุม เรียบร้อย • ไม่นำส่ง/นำฝากธนาคาร (เกินวงเงินเก็บรักษา) • กรรมการเก็บรักษาเงินไม่ปฏิบัติหน้าที่ตรวจรับเงินคงเหลือประจำวัน • ไม่จัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน (ในวันที่มีการรับจ่ายเงิน) • ไม่ตรวจสอบหรือจัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร (เดือนละครั้ง)

  14. ข้อสังเกตจากการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้อสังเกตจากการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • ๒. ยืมเงินทดรอง • ไม่ได้จัดทำใบยืมเงินทดรองให้เรียบร้อย • ไม่มีการควบคุมการยืมเงิน, มีเงินยืมค้างนานเกินกำหนด • อนุมัติให้ยืมรายใหม่โดยยังไม่ส่งใช้ใบเก่า • การยืมเงินไม่ระบุวัตถุประสงค์การยืมที่ชัดเจน

  15. ข้อสังเกตจากการตรวจสอบข้อสังเกตจากการตรวจสอบ • ขั้นตอนการตั้งงบประมาณหรือประมาณการรายจ่าย (กรณีการจัดหาวัสดุหรือครุภัณฑ์) • ขั้นตอนการกำหนดราคากลาง (กรณีงานก่อสร้าง) • ขั้นตอนการกำหนดเงื่อนไขการประมูล (SPEC และคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือเสนอผลตอบแทน) • ขั้นตอนการดำเนินการจัดหา • ขั้นตอนการจัดทำและบริหารสัญญา

  16. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ • กำหนดคุณลักษณะเฉพาะไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ ของการใช้งาน - กำหนดคุณลักษณะเฉพาะในลักษณะกีดกันผู้อื่น - กำหนดคุณลักษณะเฉพาะไม่ตรงตามสภาพแวดล้อมของโครงการ

  17. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง • การแบ่งแยกวงเงินเพื่อลดวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง • การแบ่งแยกวงเงินเพื่อให้อยู่ในอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง • จัดหาล่าช้าเพื่อใช้วิธีพิเศษ • ใช้วิธีพิเศษโดยไม่มีเหตุผลอันควร • ไม่รวมจัดหาสำหรับโครงการที่สามารถดำเนินการ พร้อมกันในคราวเดียวกันได้

  18. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดราคากลางข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดราคากลาง ไม่มีการถอดแบบจริง / ปริมาณงานไม่ถูกต้อง - มีการเปลี่ยนแปลงแบบ แต่ใช้ปริมาณงานตามแบบเดิม - ไม่ใช้ราคาที่มีในราคาสำนักงานดัชนีเศรษฐกิจการค้า หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด - ไม่สืบราคาเอง/ไม่มีหลักฐานการราคาเอง กรณีที่ไม่มี ในราคาพาณิชย์จังหวัด - ไม่ใช้ค่าแรงงานที่กรมบัญชีกลางแจ้งเวียน - ใช้ Factor F ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ ไม่เป็นปัจจุบัน

  19. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขประกาศฯข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขประกาศฯ • คุณลักษณะ ปริมาณงาน แบบรูปรายการละเอียดตามรายงานขอจ้างไม่ถูกต้องตรงกับเอกสารโครงการและงบประมาณ • ไม่ระบุเงื่อนไขหลักเกณฑ์สัญญาแบบปรับราคาได้(ค่าK)ไว้เป็นเอกสารแนบท้ายเอกสารประกวดราคา • กำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติผู้เสนอราคาฯไม่ถูกต้อง/สอดคล้องกับระเบียบ • กำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเสนอราคาเกินกว่าตัวอย่างแนบท้ายระเบียบ • กำหนดคุณสมบัติด้านผลงานไม่ชัดเจน

  20. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขประกาศฯข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขประกาศฯ • ประเภท/รูปแบบ/ข้อความ/จำนวนเงินของหลักประกันไม่ถูกต้องตามระเบียบ • กำหนดงวดงานไม่สอดคล้องกับงวดการจ่ายเงิน • กำหนดราคาขายเอกสารการประกวดราคาเกินกว่าค่าใช้จ่ายที่ทางราชการจะต้องเสียไปในการจัดทำเอกสารประกวดราคานั้น • กำหนดเงื่อนไขที่เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ผู้เสนอราคารายใดรายหนึ่ง หรือเป็นการกีดกันผู้เสนอราคารายอื่น

  21. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสารฯข้อสังเกตเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสารฯ • ไม่มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการปิดประกาศ/ส่งประกาศ • ไม่ส่ง/ส่งประกาศประกวดราคาไปยังหน่วยงานไม่ครบถ้วน ถูกต้องตามระเบียบ • ไม่ส่ง/ส่งประกาศสอบราคาไปยังผู้มีอาชีพฯให้มากที่สุด • ส่งประกาศประกวดราคา / สอบราคา ล่าช้า • เผยแพร่ข่าวสารทางเว็บไซต์ไม่ครบ • ลงสาระสำคัญเผยแพร่ข่าวสารทางเว็บไซต์ไม่ครบ • การปิดกั้นข่าวสารการประกวดราคา / สอบราคา

  22. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการพิจารณาคุณสมบัติ/ราคาข้อสังเกตเกี่ยวกับการพิจารณาคุณสมบัติ/ราคา • พิจารณาคุณสมบัติผู้เสนอราคาเข้าลักษณะกีดกันฯ • พิจารณาคุณสมบัติผู้เสนอราคาเข้าลักษณะเอื้อประโยชน์ฯ • ไม่มีการพิจารณาผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน • พิจารณาคุณสมบัติไม่ครบถ้วนถูกต้องตามเงื่อนไขการเสนอราคา • พิจารณา/ไม่พิจารณาส่วนที่เป็นสาระสำคัญ • ไม่พิจารณาราคาฐานเดียวกัน • ไม่มีการพิจารณาราคาต่อหน่วย • ไม่มีการประเมินราคาจัดทำ BOQ.

  23. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการบริหารสัญญาข้อสังเกตเกี่ยวกับการบริหารสัญญา ไม่จดบันทึกสภาพการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างทุกวัน - ไม่จดบันทึกเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวันทุกวัน - ไม่จดบันทึกการหยุดงานและสาเหตุที่มีการหยุดงาน - ไม่สั่งพักงานแล้ว รายงานคณะกรรมการตรวจการจ้าง โดยเร็ว ในกรณีที่ปรากฏว่าแบบรูปรายการละเอียดหรือข้อกำหนดในสัญญามีข้อความขัดกัน - ไม่รายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์ - ไม่ส่งมอบบันทึกให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุเมื่อเสร็จงานแต่ละงวด

  24. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการบริหารสัญญาข้อสังเกตเกี่ยวกับการบริหารสัญญา • จ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าโดยไม่มีหลักประกัน • จ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าโดยไม่มีการหักภาษีมูลค่าเพิ่ม • เปลี่ยนแปลงรายการโดยไม่ขออนุมัติผู้มีอำนาจ • แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการโดยไม่ทำบันทึกต่อท้ายสัญญา • ตรวจรับพัสดุโดยไม่ตรวจสอบคุณลักษณะเฉพาะให้ครบถ้วนทุกรายการ • ตรวจรับพัสดุโดยไม่ทดสอบการใช้งานตามเงื่อนไขของสัญญา

  25. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการบริหารสัญญาข้อสังเกตเกี่ยวกับการบริหารสัญญา ไม่ตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมที่ผู้ควบคุมงานรายงานทุกสัปดาห์ - ไม่ตรวจสอบกับแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา - ไม่รับทราบการสั่งหยุดงานหรือพักงานของผู้ควบคุมงาน - ไม่พิจารณาการสั่งหยุดงานหรือพักงานของผู้ควบคุมงาน - ไม่รายงานหัวหน้าส่วนราชการเพื่อพิจารณาสั่งการ

  26. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการบริหารสัญญาข้อสังเกตเกี่ยวกับการบริหารสัญญา ไม่รายงานหัวหน้าส่วนราชการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อทราบ หรือสั่งการแล้วแต่กรณี ในกรณีที่เห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมด หรือในงวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดไว้ในสัญญา - ไม่เสนอหัวหน้าส่วนราชการเพื่อพิจารณาสั่งการ ในกรณีที่กรรม การตรวจการจ้างบางคนไม่ยอมรับงานโดยทำความเห็นแย้งไว้

  27. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการบริหารสัญญาข้อสังเกตเกี่ยวกับการบริหารสัญญา • ไม่แจ้งเงื่อนไขการปรับ กรณีผู้รับจ้างทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดแล้วเสร็จตามสัญญา • ตรวจรับงานกรณีผู้รับจ้างทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดแล้วเสร็จตามสัญญา โดยไม่แจ้งสงวนสิทธิการปรับ

  28. สวัสดี 086 - 5708561

More Related