1 / 46

การมีสติระลึกรู้และความจำ Consciousness and Memory

การมีสติระลึกรู้และความจำ Consciousness and Memory. โดย พระมหาเผื่อน กิตฺ ติ โสภโณ. Definition of consciousness.

Télécharger la présentation

การมีสติระลึกรู้และความจำ Consciousness and Memory

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การมีสติระลึกรู้และความจำConsciousness and Memory โดย พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ

  2. Definition of consciousness Consciousness is the awareness of environmental and cognitive events such as the sights and sounds of world as well as of one’s memories, thoughts, feeling, and bodily sensations. By this definition consciousness has two sides • Consciousness includes a realization of environmental stimuli. For example you might suddenly become mindful of bird’s song, a sharp toothache, or visual recognition of friend. • Consciousness also includes one’s recognizant of mental events-those thoughts that result from memories. For example, you might think of the name of the bird, the telephone number of dentist, or the pizza you spilled on yours friend’s shirt.

  3. คำจำกัดความ ภาวะการมีสติรู้ตัว(Consciousness)หมายถึง การตระหนักรู้. การรู้สึกตัว ประกอบด้วย ด้านสัมผัส(Sensation) การรับรู้(Perception) ความจำ(Memory) ความรู้สึก(Feeling) ทั้งหมดที่คุณตระหนักรู้ในช่วงเวลาใดๆก็ตามเราใช่เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตของเรากับการรู้สึกตัวอย่างมีสติสัมปชัญญะ(Waking consciousness) อันเป็นภาวะการตื่นตัวที่ชัดเจนและเป็นระบบ ในการรู้สึกตัวอย่างมีสติสัมปชัญญะเราจะรับรู้เวลา สถานที่ เหตุการณ์ว่าเป็นจริง มีความหมายและรู้จักดี ภาวะการรู้สึกตัวยังเกี่ยวข้องกับความเหนื่อยล้า การขาดสติ การสะกดจิต ยา และการเคลิบเคลิ้มอาจแตกต่างอย่างมากจากการตระหนักรู้ตามปกติ. ทุกคนคงเคยมีประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างเช่น การหลับ การฝัน การฝันกลางวัน ในชีวิตประจำวัน การรู้สึกตัวอาจเกี่ยวข้องกับการวิ่งเป็นระยะทางไกลๆ ดนตรี การมีเพศสัมพันธ์ หรือสถานการณ์อื่นๆ

  4. ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการมีสติระลึกรู้ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการมีสติระลึกรู้ • แม้ในอดีตไม่มีการบันทึกการศึกษาเกี่ยวกับการมีสติระลึกรู้อย่างชัดเจน แต่มนุษย์มีความสนใจบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการมีสติระลึกรู้ เช่น ฉันเป็นใคร? ทำไมฉันจึงคิดอย่างที่ฉันกำลังคิด? เกิดอะไรขึ้นกับฉันหากฉันหลับหรือตาย? เรื่องราวเหล่านี้ปรากฏอยู่ตามคำสอนศาสนาและความเชื่อที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้. • การศึกษาประสบการณ์การมีสติระลึกรู้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์เริ่มต้นขึ้นศตวรรษที่ 19 โดยนักจิตวิทยาอเมริกัน วิลเลี่ยมเจมส์ผู้ซึ่งกล่าวว่า “Psychology is the science of mental life”และคนอื่นๆเช่น Hermann Ebbinghaus (ผู้เชี่ยวชาญด้านความจำ) และ Sigmund Freud(ผู้ก่อตั้งจิตวิเคราะห์)

  5. ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการมีสติระลึกรู้ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการมีสติระลึกรู้ • ช่วงต้นปี 1900 การเกิดขึ้นของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยมเช่น Ivan Pavlov John Watson ซึ่งเน้นศึกษาพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้ วัดได้ ประเมินได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่มองว่า การศึกษาการมีสติระลึกรู้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ทำได้ยาก ทำให้การศึกษาการมีสติระลึกรู้ไม่เป็นที่สนใจนัก • ในเวลาต่อมา การศึกษาเกี่ยวกับการมีสติระลึกรู้ได้กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง โดยนักจิตวิทยาในเวลาต่อมาได้ละทิ้งคำอธิบายแบบเก่าที่ถูกมองว่าเป็นแนวจิตนิยม(Mentalism)เกินไป โดยเริ่มให้คำอธิบายในภายภาพนิยม(Physicalism)ว่า ประสบการณ์การมีสติระลึกรู้อธิบายได้ด้วย เซลล์ประสาท หรือสิ่งเร้าและการตอบสนองทางจิตวิทยาที่สามารถสังเกตได้

  6. ภาวะการมีสติระลึกรู้ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ภาวะการมีสติระลึกรู้ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์

  7. จิตวิทยาการรู้คิดและปัญญากับการมีสติระลึกรู้จิตวิทยาการรู้คิดและปัญญากับการมีสติระลึกรู้

  8. แนวคิดหลักในการศึกษาภาวะการมีสติระลึกรู้แนวคิดหลักในการศึกษาภาวะการมีสติระลึกรู้ • แนวคิดหลักนักจิตวิทยานิยมศึกษาเกี่ยวกับการมีสติระลึกรู้ • การทดลองเรื่องการรับรู้ระยะแรกเริ่ม(Research with prime) • การศึกษาเชิงประสาทวิทยา: การหลับและภาวะสูญเสียความจำ(Neurocognitive studies: sleep and amnesia)

  9. Explicit and Implicit memory • ความจำที่ชัดเจน(Explicit memory) หมายถึง การนึกย้อน(recall)ข้อมูลได้ในระดับจิตสำนึก ตัวอย่างของความจำประเภทนี้ เช่น การตอบชื่อเพื่อน ชื่อบุคคลหรือสถานที่และวัตถุสิ่งของได้อย่างถูกต้อง • ความจำที่ไม่ชัดเจน(Implicit memory) หมายถึง ความจำที่วัดได้โดยผ่านการกระทำซึ่งการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวข้องกับประสบการณ์เดิมที่เกิดต่ำกว่า เทรชโฮลท์การรับรู้(Treshold)

  10. การทดลองเกี่ยวกับความจำก่อนการมีสติระลึกรู้(Research with prime) • Mayer & schvanedeldt(1971,1976) ได้ศึกษาอิทธิพลของคำที่ถูกนำเสนอในระยะเวลาสั้นๆในระดับก่อนการจำได้ที่มีต่อการระบุคำถูกนำเสนอหลังจากนั้นได้อย่างถูกต้อง ผลการทดลองพบว่า กลุ่มที่แรกที่ได้ดูคำแรกที่มีความเชื่อมโยงกับคำที่สองสามารถระบุคำที่สองได้ไวกว่า

  11. การทดลองของ Richard Nisbett & Lee Ross จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนได้ทำการทดลองซึ่งเกี่ยวข้องกับการให้ผู้รับการทดลองภาพคำศัพท์อย่างเช่น ทะเล พระจันทร์ จากนั้น ถูกขอให้พูดคำบางคำที่เกิดในความคิดของเขาออกมาพร้อมคำอธิบาย เช่น คนที่พูดว่า ผงซักผ้า จะให้คำอธิบายว่า แม่ผมใช้กระแสน้ำในการซักผา • การทดลองที่กล่าวมาแสดงให้เห็นอิทธิพลของ Subliminal priming หรือผลกระทบของ prime ที่ถูกนำเสนอต่ำกว่าระดับเทรชโฮลด์การรับสัมผัส(Sensory threshold) หรือระดับการตระหนักรู้

  12. ในการทดลอง Subliminal perception กลุ่มแรกได้ถูกให้ดูภาพ A จากนั้น C ที่ปรากฏอย่างรวดเร็ว ส่วนกลุ่มที่ 2 ได้ถูกให้ดูภาพ B และ C ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากนั้นให้ทั้งสองกลุ่มวาดภาพ C ผลการทดลองพบว่า กลุ่มที่ 1 มีแนวโน้มที่จะวาดภาพเด็กมีใบหน้าโกรธ กลุ่มที่ 2 มีแนวโน้มที่จะวาดภาพมีใบหน้ายิ้มแย้ม

  13. การทดลอง Lexical Decision Task XXXXX XXXXX BREAD TRUCK SANDWICH SANDWICH Faster reaction in LDT. การทดลอง Lexical Decision Task โดยtony marcel แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริจด์ได้ทำการทดลองโดยการให้ผู้ถูกทดลองดูคำศัพท์ที่ปรากฏขึ้นด้วยความเร็ว 20-1000มิลลิวินาที จากนั้นตามด้วย mask และคำศัพท์อีกชุด ผลการทดลองพบว่า กลุ่มที่ดูภาพที่แรกที่มีความเชื่อมโยงกับคำที่สองจะตอบสนองต่อคำศัพท์ได้เร็วกว่า Slower reaction in LDT.

  14. การมีสติระลึกรู้ในฐานะโครงสร้างทางวิทยาศาสตร์การมีสติระลึกรู้ในฐานะโครงสร้างทางวิทยาศาสตร์

  15. การนอนหลับ(Sleep) • ระยะที่ 1เมื่อคุณเข้าสู่การหลับที่ยังไม่สนิท(ระยะที่หนึ่ง) หัวใจจะเต้นช้าลง. การหายใจจะเปลี่ยนไปจากปกติมากขึ้น. กล้ามเนื้อร่างกายจะผ่อนคลาย. นี้อาจจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อกระตุกที่เรียกว่า Hipnik jerk(นี่เป็นเรื่องปกติไม่ต้องแปลกใจหากคนเห็นใครบางคนมีอาการกระตุกเป็นบางครั้งขณะหลับ). ในการหลับระยะที่หนึ่งเครื่อง EEG จะสร้างเส้นคลื่นเล็กและไม่สม่ำเสมอเป็นส่วนใหญ่กับคลื่นแอลฟา(Alpha wave). หลายคนที่ตื่นอยู่ในช่วงนี้อาจพูดได้หรือไม่ได้ว่าเขาหลับแล้ว. • ระยะที่ 2ขณะที่หลับลึกลงกว่าเดิม อุณหภูมิร่างกายลดลงมากขึ้น. เครื่อง EEG เริ่มต้นเพื่อรวมเส้นแสดงระยะการหลับ(sleep spindles)ซึ่งเป็นการทำงานของคลื่นสมองในรูปคลื่นถี่ๆที่มีลักษณะเฉพาะ. เส้นดังกล่าวนี้ดูเหมือนจะเป็นอาณาเขตที่แท้จริงของการหลับ. ภายในสี่นาทีหลังกระสวยปรากฏขึ้น คนใหญ่อาจพูดได้ว่าพวกเขาหลับแล้ว.

  16. ระยะที่3ในระยะที่สาม คลื่นสมองแบบใหม่และคลื่นเดลต้า(Delta wave)จะเริ่มปรากฏขึ้น. คลื่นเดลต้ามีขนาดใหญ่และช้า. มันเป็นสัญญาณของการหลับที่ลึกขึ้นและรู้สึกตัวน้อยลง. • ระยะที่ 4คนส่วนใหญ่หลับลึก(Deep sleep-ระดับลึกที่สุดของการหลับปกติ) ในเวลาราวหนึ่งชั่วโมง. ระยะที่สี่ คลื่นสมองเป็นคลื่นเดลต้าเกือบสมบูรณ์แบบ และผู้หลับจะอยู่ในภาวะของการลืม. ถ้าคุณทำเสียงดัง คนที่หลับจะตื่นขึ้นด้วยความรู้สึกงุนงงและจำเสียงดังไม่ได้. หลังจากใช้เวลาระยะหนึ่งในขั้นที่สี่ ผู้หลับจะถอยกลับไปสู่ระยะที่หนึ่ง ผ่านระยะที่สองและสาม. การเปลี่ยนแปลงขึ้นลงไปสู่ระยะต่างๆจะเกิดขึ้นตลอดคืน.

  17. การหลับโดยที่ยังกรอกตาและไม่กรอกตา(REMs and NREM Sleep) สภาวะการหลับแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ การหลับโดยที่ยังมีการกรอกลูกตาไปมา(REMs Sleep) ซึ่งเกี่ยวของกับการหลับและการหลับโดยไม่มีการกรอกตราไปมา(NREM sleep) ซึ่งเกิดขึ้นในขั้นที่ 1 2 3 และ4. การหลับโดยไม่มีการกรอกตาไปมาใส่เวลาราวเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของการหลับ. โดยปกติแล้ว การหลับในช่วงต้นของระยะที่หนึ่งจะยังไม่มีการกรอกตาไปมาและการฝัน. การถอยกลับมาสู่ระยะที่หนึ่งในครั้งถัดไปมักจะมาพร้อมกับการกรอกตาไปมา. การฝันในช่วงที่หลับโดยที่ตากรอกไปมามีแนวโน้มที่จะนานกว่า ชัดเจนกว่า มีรายละเอียดมากกว่า พิสดารกว่า เหมือนฝันมากกว่าความคิดหรือภาพซึ่งเกิดขึ้นในการหลับที่ไม่มีการกรอกตาไปมา. พื้นที่ของสมองที่เกี่ยวข้องกับจินตนาการและอารมณ์ยังมีความเคลื่อนไหวมากขึ้นในช่วงการหลับที่มีการกรอกตาไปมาอีกด้วย. นี้อาจเป็นเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมความฝันที่เกิดขึ้นในช่วงการหลับที่มีการกรอกตาไปมาจึงชัดเจนกว่าความฝันที่เกิดขึ้นในช่วงการหลับที่ไม่มีการกรอกตาไปมา.

  18. ระยะต่างๆของการหลับ

  19. คลื่นสมองในขณะตื่นและหลับคลื่นสมองในขณะตื่นและหลับ

  20. ทฤษฎีสมัยใหม่เกี่ยวกับการมีสติระลึกรู้ทฤษฎีสมัยใหม่เกี่ยวกับการมีสติระลึกรู้

  21. การรับรู้ในภาวะมีสติรู้ตัวมีจำกัดการรับรู้ในภาวะมีสติรู้ตัวมีจำกัด

  22. การรับรู้ในภาวะมีสติรู้ตัวเป็นแบบเลือกรับรู้เหมือนสปอร์ตไลท์การรับรู้ในภาวะมีสติรู้ตัวเป็นแบบเลือกรับรู้เหมือนสปอร์ตไลท์

  23. การรับรู้ในภาวะมีสติรู้ตัวมีการทำงานเบื้องหลังซับซ้อนเหมือนโรงละครการรับรู้ในภาวะมีสติรู้ตัวมีการทำงานเบื้องหลังซับซ้อนเหมือนโรงละคร

  24. Schacter’s model of dissociable interaction and Conscious Experience(DICE)

  25. หน้าที่ของการมีสติระลึกรู้หน้าที่ของการมีสติระลึกรู้ • หน้าที่ด้านการให้ความหมายและกำหนดบริบท(Definitional and context-setting function) • หน้าที่ด้านการปรับตัวและเรียนรู้(Adaptation and learning function) • หน้าที่ด้านการจัดลำดับความสำคัญและควบคุมการเข้าถึง(Prioritizing and Access control) • การสรรหาและควบคุมการทำงานของกายและจิต(Recruitment and Mental and physical action) • หน้าที่ด้านการตัดสินใจและการลงมือปฏิบัติ(Decision making and executive function) • หน้าที่ด้านการตรวจจับและแก้ไขความผิดพลาด(Error-detection and editing function) • หน้าที่ด้านการสะท้อนและสังเกตตนเอง(Reflective and self-monitored function) • ปรับปรุงความแตกต่างระหว่างการจัดหมวดหมู่และความยึดหยุ่นในการรับรู้สิ่งเร้า

  26. ความจำ(Memory)

  27. ความจำจากการรับสัมผัส(Sensory Memory) ความจำจากการรับสัมผัส(Sensory Memory) คือ ความจำที่เกิดจากการที่อวัยวะรับสัมผัสรับรู้สิ่งเร้า และคงอยู่ชั่วเวลาสั้นๆก่อนจะเสื่อสลายไปหากไม่มีการจัดการ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ • ความจำแบบภาพติดตา(Iconic memory) ความจำที่เกิดจากการมองเห็นภาพ ความจำประเภทนี้จะคงอยู่เป็นราวครึ่งวินาทีก่อนจะสลายไป • ความจำแบบเสียงสะท้อน(Echoic memory) เมื่อคุณได้ยินเสียง ความจำจากการรับสัมผัสจะเก็บมันไว้ในฐานะเอคโค่(Echo)เป็นเวลาสองวินาที. เอคโค่คือการทำงานในช่วงเสี้ยววินาทีของระบบการได้ยิน. โดยทั่วไป ความจำจากการับสัมผัสจะเก็บข้อมูลไว้นานพอที่จะย้ายในไปสู่ระบบการจำทุติยภูมิ.

  28. ความจำระยะสั้น(Short-Term Memory=STM) ความจําระยะสั้น หมายถึง ข้อมูลจํานวนเล็กน้อยที่เราเก็บไว้ในลักษณะเตรียมพร้อมที่จะใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ ช่วงหนึ่งประมาณ30 วินาที ข้อมูลในความจําระยะสั้นเป็นข้อมูลที่เรากําลังใช้อยู่ในปัจจุบันบางครั้งจึงเรียกความจําระยะสั้นว่า Working memory เป็นข้อมูลที่เรากําลังใช้ความตั้งใจจดจ่ออยู่ เรากําลังแปรเปลี่ยนข้อมูลนั้นและเรากําลังทบทวนซ้ำให้แก่ตัวเราเองประโยชน์ของความจําระยะสั้นคือการช่วยทําให้ข้อมูลที่เรารับเข้ามาเดิมยังคงอยู่ต่อไปได้ระยะหนึ่งโดยไม่รบกวนต่อการรับรู้ข้อมูลปัจจุบันจนกระทั่งเราสามารถรับรู้ข้อมูลที่เข้ามาใหม่ได้โดยตลอด และตีความหมายได้ • การแปลงรหัสในความจําระยะสั้น ในการแปลงสิ่งเร้าจากการจําความรู้สึกสัมผัสไปอยู่ในรูปของความจําระยะสั้นมีขั้นตอนในการดําเนินการอยู่ 2 ขั้นตอน ได้แก่ การทําการเปลี่ยนแปลงและการเก็บรักษาข้อมูล การทําการเปลี่ยนแปลงข้อมูลมี 2 ประเภทคือeffortful processing และ automatic processing effortful processing คือการที่เราใช้ความพยายามที่จะจดจําสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราต้องการจดจําส่วนautomatic processing ก็คือการจดจําที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องใช้ความพยายาม • รูปแบบเก็บข้อมูล มีรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสิ่งเร้า เช่นเก็บในรูปแบบที่เป็นเสียงเป็นภาพที่มองเห็น หรืออยู่ในรูปของความหมายของสิ่งนั้น

  29. ความคงทนของความจําระยะสั้นความคงทนของความจําระยะสั้น จากการศึกษาพบวาความจําระยะสั้นมีความคงทนอยูไดไมเกิน20 วินาที กอนที่จะหายไป ขนาดของความจําระยะสั้น George Miller ไดศึกษาขีดจํากัดที่มนุษยสามารถจะจําไดในชวงความจําระยะสั้น จากการศึกษาพบวา ตัวเลขหรือตัวหนังสือจํานวน 7 ± 2 ตัว เปนขีดจํากัดสูงสุดที่มนุษยสามารถจําไดในชวงความจําระยะสั้นโดยใชคําวา Chunk แทนหนวยพื้นฐานในการเก็บขอมูล

  30. Memory-Span Test

  31. ความจำระยะยาว(Long-TermMemory=LTM)

  32. ความจำระยะยาว ข้อมูลที่สำคัญและมีความหมายจะโยกย้ายไปสู่ระบบความจำที่สาม ซึ่งเรียกว่า ความจำระยะยาว เมื่อเปรียบเทียบ กับ STM ความจำระยะยาว (LTM) ทำหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวร LTM บรรจุทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับ โลกเอาไว้ โดยความสามารถไม่จำกัดในการเก็บข้อมูล จึงไม่มีข้อมูลหายไปจาก LTM ข้อมูลใน LTM ไม่ได้เก็บในลักษณะของเสียงเหมือน STM แต่เก็บข้อมูลไว้บนพื้นฐานของความหมายและความสำคัญของข้อมูล เช่น ถ้าเราระลึกข้อมูลจาก LTM ผิด ก็จะผิดที่ความหมาย ไม่ใช่เสียงที่พ้องกันอย่างใน STM ถ้าเราพยายามระลึกคำว่า ยุ้งข้าว แต่จำไม่ได้อาจคิดว่าเป็นทุ่งนาหรือโรงใส่ข้าวแต่จะไม่คิดว่าเป็น ยุ้งข้าว เมื่อมีข้อมูลใหม่เข้าไปใน STM จะมีการเปรียบเทียบกับความรู้ที่เก็บสะสมไว้ใน LTM ทำให้ข้อมูลใหม่นี้มีความหมาย และเก็บไว้ใน LTM ได้ง่ายขึ้น ความจำคู่ (Dual Memory) ความจำที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้เป็นการทำงานควบคู่กันของ STM และ LTM อาจเปรียบได้ว่า ความจำระยะสั้น เสมือนโต๊ะตัวเล็ก ๆ ที่อยู่ข้างหน้าคลังสินค้าขนาดมหึมาซึ่งเต็มไปด้วยตู้ใส่แฟ้ม ( เปรียบได้กับความจำระยะยาว) ก่อนที่ข้อมูลจะเข้าสู่ คลังสินค้าต้องวางไว้โต๊ะที่อยู่ข้างหน้าก่อน แต่เนื่องจากโต๊ะตัวเล็กจึงต้องรีบยกของออกเพื่อให้ข้อมูลใหม่เข้ามา บากข้อมูลที่ไม่สำคัญ จึงถูกโยนทิ้งไป ข้อมูลที่มีความหมายหรือสำคัญก็จะได้รับการบรรจุไว้ในแฟ้มที่ถาวร (LTM ) เมื่อต้องการความรู้จาก LTM เพื่อตอบ คำถามข้อมูลจะกลับมาสู่ STM หรืออาจเปรียบได้ว่าจะมีการถ่ายเอกสารจากแฟ้ม (LTM) และนำออกมาวางไว้บนโต๊ะ(STM) เพื่อจะนำไปใช้ต่อไป ถ้าความจำระยะสั้นกำลังใช้คิดแก้ปัญหาในใจบางอย่างอยู่แล้ว มีข้อมูลใหม่เข้ามา ก็จะมีการแย่งที่กันใน ความจำระยะสั้น เพราะมีที่จำกัด เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น จำได้กล่าวถึง ความจำระยะสั้นและระยะยาวในรายละเอียดต่อไป

  33. ความจำที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติProcedural memory ความจำที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติ(Procedural memory) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมและวิธีการปฏิบัติที่กลายเป็นอัตโนมัติเพราะการทำซ้ำหรือการฝึกปฏิบัติ ความจำประเภทนี้มักจะทำงานโดยปราศจากการมีสติระลึกรู้หรือการวางแผนและด้วยเหตุนี้จึงเป็นการยากที่จะอธิบาย บ่อยครั้ง วิธีการที่ดีที่สุดในการอธิบายความจำที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติคือการลงมือปฏิบัติ ตัวอย่างของความจำดังกล่าวนี้ เช่น การรู้จักวิธีขี่รถ ว่ายน้ำ ใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ การเล่นเครื่องดนตรี ความรู้ที่เกิดจากาความจำที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติมีแนวโน้มที่จะคงอยู่เป็นเวลานาน ตัวอย่างเข่น เมื่อบุคคลเรียนรู้วิธีที่จะขับรถ แม้ว่าเขาหรือเธอจะไม่ได้ขับรถเป็นเวลาหลายปี แต่ความจำเกี่ยวกับวิธีการขับรถของเขาสามารถนำกลับมาใช้ได้ทันที่ต้องการ ดังนั้น ทักษะที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติส่วนใหญ่จึงถูกจัดเป็น ความจำระยะยาว

  34. ความจำเชิงอธิบาย(Declarative memory) ความจำเชิงอธิบาย (Declarative memory) หมายถึง ความจำที่อิงอยู่กับข้อเท็จจริงและอธิบายได้ง่าย ข้อเท็จจจริงดังกล่าวมักจะอิงอยู่ภาษามากกว่าความจำที่เกิดจาการลงมือปฏิบัติ ความจำเชิงอธิบายยังถูกลืมได้ง่ายหากไม่ถูกนำมาใช้อยู่เสมอ ความจำแบบอธิบายยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ • ความจำเกี่ยวกับภาษา(Semantic memory ) • ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์(Episodicmemory

  35. ความจำเกี่ยวกับความหมาย(Semantic memory) ความจำเกี่ยวกับความหมาย(Semantic memory) คือ ความรู้เชิงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวของพวกเราโดยทั่วไปแล้วมักจะทนต่อการลืม. ชื่อของวัตถุสิ่งของ สถานที่ บุคคล วันในรอบสัปดาห์หรือเดือนในรอบปี ทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ เหตุผล คำหรือภาษา และข้อเท็จจริงอื่นๆ. ข้อมูลส่วนตัวที่เกิดจากส่วนของความจำระยะสั้นเรียกว่า semantic memory. Semantic memory ทำหน้าที่เสมือนพจนานุกรมของใจหรือสารานุกรมความรู้เบื้องต้น.

  36. ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์(Episodic memory ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์(Episodic memory) คือ ความจำที่ช่วยให้เรานึกย้อนเหตุการณ์ทำสำคัญในชีวิตของเราได้ ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ผนวกกับความจำเกี่ยวกับความหมายก่อให้เกิดความจำเชิงอธิบายอันเป็นความจำระยะยาวประเภทหนึ่ง ซึ่งเปรียบเหมือนสารานุกรมในสมองของเรา ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างความจำเหตุการณ์และความจำความหมายคือความจำเหตุการณ์คือความจำเหตุการณ์เป็นความจำที่อธิบายได้อย่างชัดเจน ขณะที่ความจำความหมายเกี่ยวข้องกับความหมายและความคิดรวบยอด(concept). ตัวอย่างเช่น ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับโต๊ะ จัดเป็น ความจำความหมาย แต่หากเมื่อบางคนพูดถึงโต๊ะอาหาร มันคือ ความจำProcedural memory อาจเกี่ยวข้องกับความจำเชิงอธิบาย(declarative memory) ได้ตัวอย่างเช่น เมื่อบางคนขับรถ การจำวิธีขับรถเป็น (procedural memory) ความจำความหมาย(semantic memory)ให้คำจัดความของรถและ ความจดจำประสบการณ์การขับรถได้เป็น episodic memory

  37. สาเหตุของการลืม • การศึกษาเรืองการลืมของแอบบิงฮอสพบว่าข้อมูลส่วนใหญ่จะถูกลืมไปในช่วงเก้าชั่วโมงแรกของการเรียนรู้จากนั้นอัตราการลืมจะคงที่. • การไม่ลงรหัส(encoding) ข้อมูล • การเสื่อสลายเพราะไม่มีการใช้งานเช่นในกรณีของความจำระดับอวัยวะรับสัมผัส(sensory memory )และความจำระยะสั้น(STM) การเสื่อสลายและการไม่ใช้งานเป็นสาเหตุของการสูญเสียความจำระยะสั้น • บ่อยครั้ง การลืมมีสาเหตุมาจากตัวกระตุ้นการจำได้(Cues) พลังของตัวกระตุ้นจะกระตุ้นความจำได้มากแค่ไหนขึ้นอยู่กับการเรียนรู้และความเชื่อต่อระหว่างอารมณ์และความจำ. • การลืมที่เกิดขึ้นทั้งในความจำระยะสั้นและความจำระยะยาวส่งผลต่อกันและกัน • เมื่อการเรียนรู้ล่าสุดรบกวนการฟื้นคืนของการเรียนรู้ก่อนหน้านี้ การส่งผลรบกวนแบบ Retroactive จะเกิดขึ้น • ถ้าการเรียนรู้เก่ารบกวนการเรียนรู้ใหม่ การรวบกวนแบบ proactiveจะเกิดขึ้นเช่นกัน

More Related