1 / 6

บททักทาย 2 เก็บมาฝาก 3 ปฏิทินน่าเที่ยว 5 แวดวงการศึกษา 6

วันปิยมหาราช 23 ต.ค.48. กิจกรรมประจำเดือน. ธันวาคม 2548. OFFICE OF QUALITY ASSURANCE AND INFORMATION NEWSLETER. ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๔๗ ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘. 1 ธ.ค.48 ร่วมกิจกรรมถวายชัยมงคล เฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เวลา 9.00 – 10.00 น. ณ อาคารรวงกาญจนานุสรณ์

Télécharger la présentation

บททักทาย 2 เก็บมาฝาก 3 ปฏิทินน่าเที่ยว 5 แวดวงการศึกษา 6

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วันปิยมหาราช 23 ต.ค.48 กิจกรรมประจำเดือน ธันวาคม 2548 OFFICE OF QUALITY ASSURANCE AND INFORMATION NEWSLETER ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๔๗ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ 1 ธ.ค.48 ร่วมกิจกรรมถวายชัยมงคล เฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เวลา 9.00 – 10.00 น. ณ อาคารรวงกาญจนานุสรณ์ 16 ธ.ค.48 ประชุมคณะกรรมการคุณภาพ QRC เวลา 14.30 น. ณ ห้องประชุม BC 803 16 – 22 ธ.ค.48 สอบกลางภาคการศึกษาที่ 2/2548 25 ธ.ค. – 3 ม.ค.48 หยุดเทศกาลคริสต์มาส และปีใหม่ Merry Christmas & Happy New Year 2006 หน้า • บททักทาย 2 • เก็บมาฝาก 3 • ปฏิทินน่าเที่ยว 5 • แวดวงการศึกษา 6 • สาระน่ารู้ เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ 8 • เก็บมาบอก 10 • นิยามศัพท์ชวนรู้ 11 • กิจกรรมประจำเดือน12 สำนักงานประกันคุณภาพและข้อมูล มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น โทร.สายตรง 0-2511-2948 และ 0-2938-7058 - 65 ต่อ 180 ที่ปรึกษา ดร.สุวิชากร ชินะผา อ.อัญชลี เหลืองอ่อน คณะผู้จัดทำ อุฬารา อินทร์แปลง ดลฤดี มงคล นริศรา ทองนาคะ ตรวจสอบ โดย……………………………………... (นางสาวอัญชลี เหลืองอ่อน) ผู้อำนวยการสำนักงานประกันคุณภาพและข้อมูล 12

  2. ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๔๗ นิยามศัพท์ชวนรู้ ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๔๗ บททักทาย การวิเคราะห์ข้อสอบ หมายถึง การศึกษาถึงคุณภาพของข้อสอบ โดยคุณภาพที่สำคัญประกอบด้วย ความเที่ยงตรง (Validity) คือ ข้อสอบสามารถวัดการเรียนรู้หรือเนื้อหาตามหลักสูตรได้จริง ความเชื่อมั่น (Reliability) คือ ข้อสอบสามารถให้ผลสะท้อนศักยภาพหรือความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนได้มากที่สุด โดยมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนต่างๆ เกิดขึ้นน้อยที่สุด ความเป็นปรนัย (Objectivity) คือ ข้อสอบมีความชัดเจน สื่อความหมายให้เข้าใจได้ตรงกันไม่วกวนกำกวมจนต้องตีความหมายแตกต่างกันระหว่างผู้เรียนแต่ละคน การจำแนก (Discrimination) คือ ข้อสอบต้องสามารถจำแนกหรือแยกผู้เรียนได้ถูกต้องตามระดับความสามารถ คำถามที่ใช้จะทำให้ได้คำตอบที่แตกต่างกันระหว่างผู้เรียนที่มีความรู้ความสามารถหรือทักษะที่แตกต่างลดหลั่นกันตามระดับการเรียนรู้ของผู้เรียน ระดับความยาก (Difficulty) เหมาะสม คือ ข้อสอบที่ยากเกินไปหรือง่ายเกินไปจะทำให้ประสิทธิภาพของการวัดและประเมินผลลดลง เพราะข้อสอบดังกล่าวไม่สามารถจำแนกหรือแบ่งระดับความสามารถของผู้เรียนได้ สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านข่าวสารประกันคุณภาพฯ ทุกท่าน พบกันเช่นเคยเป็นประจำทุกเดือนกับข่าวสารฉบับส่งท้ายปีเก่าเพื่อต้อนรับปีใหม่ 2549 นะคะ ในเดือนนี้มีวันที่สำคัญยิ่งของประชาชนชาวไทยทั้งแผ่นดินเนื่องในวโรกาส มหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 ธันวาคม 2548 ซึ่งในปีนี้ทรงเจริญ พระชนมายุครบ 78 พรรษา ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในพ.ศ.2549 ด้วย และได้มีพระบรมราโชวาท ทรงเตือนทุกฝ่าย ต้องระวัง คิด พูด และทําอย่างมีสติ ในส่วนกิจกรรมของมหาวิทยาลัยจะมีการสอบกลางภาค2/2548 ระหว่างวันที่ 16-23 ธันวาคม 2548 อย่าลืมเช็คตารางคุมสอบนะคะว่ามีคุมสอบวันไหน เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้นะคะ กลับมาที่ เนื้อหาสาระข่าวสารประกันคุณภาพฯ เริ่มต้นด้วยคอลัมน์เก็บมาฝากจากการประชุมเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดเชิงนโยบายอุดมศึกษาเกี่ยวกับ 8 ยุทธศาสตร์ยกคุณภาพอุดมศึกษาไทย แวดวงการศึกษา ตามด้วยคอลัมน์สาระน่ารู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ คำศัพท์ชวนรู้ กิจกรรมประจำเดือน ปฏิทินกิจกรรมน่าเที่ยวยังคงมีมาฝากเช่นเดิมสำหรับใครที่กำลังมองหาที่ท่องเที่ยว พักผ่อน จะใกล้หรือไกลช่วงวันหยุดคริสต์มาสและปีใหม่ที่ใกล้จะมาถึง และยังมีคอลัมน์ใหม่เก็บมาบอกเล็กๆ น้อยที่เราทุกคนไม่ควรมองข้าม สำหรับการนำเสนอข่าวสารคณะผู้จัดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้นำสาระที่เป็นประโยชน์ให้กับท่านผู้อ่าน หากมีข้อเสนอแนะสามารถส่งมายังสำนักงานประกันคุณภาพฯ หรือ E-mail มาที่ qalanch@stjohn.ac.th หรือ qaulara@stjohn.ac.th แล้วพบกันใหม่ เดือนมกราคม 2549 นะคะ 11 2

  3. เก็บ-มา-ฝาก เก็บมาบอก ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๔๗ ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๔๗ โต๊ะทำงานบอกอะไรในตัวคุณ คอลัมน์เก็บมาฝากฉบับนี้ขอนำ เรื่อง 8 ยุทธศาสตร์ ยกคุณภาพอุดมศึกษาไทย จากการประชุมเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดเชิงนโยบายอุดมศึกษา จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ที่โรงแรมสยามซิตี้ สกอ.ได้นำเสนอกรอบแนวคิดเชิงนโยบายอุดมศึกษา ที่จะยกระดับคุณภาพและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หลังจากที่พบว่าระบบอุดมศึกษาไทยยังด้อยในเรื่องของคุณภาพ จึงได้จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอุดมศึกษาไทยในช่วงระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2549-2553 ดังต่อไปนี้ ประการแรกการผลิตและพัฒนากำลังคนทั้งด้านคุณภาพและขยายปริมาณ โดยเร่งศึกษาและกำหนดความต้องการกำลังในสาขาวิชาต่างๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์แห่งเอเชีย (Medical Hub) ด้านสังคมศาสตร์ และด้านสาขาที่ตอบสนองภาคอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ซึ่งจะมีการระดมผู้เชี่ยวชาญของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมประการที่ 2คุณภาพและมาตรฐานอุดมศึกษา โดยจัดทำโรดแมปการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอุดมศึกษาไทยในช่วง 5 ปีจากนี้ไป ตั้งแต่ปี 2549-2553 โดยมุ่งการยกระดับมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ และให้ทันกับมาตรฐานระดับโลก จะมีการสร้างระบบการจัดการคุณภาพอย่างเบ็ดเสร็จ และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเสริมประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสูงทุกระบบประการที่ 3 การวิจัยและพัฒนา ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญยิ่งของระบบอุดมศึกษาไทย ทาง สกอ.ได้เล็งเห็นว่าควรเร่งสร้างนักวิจัยมืออาชีพในสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นความร่วมมือกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาด้วยกันเองหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสร้างกระแสสังคมในการสนับสนุน และมีระบบจูงใจสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนได้ทำงานวิจัยของตนเอง เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ รวมทั้งการเพิ่มสิทธิบัตรให้เกิดขึ้นในสถาบันอุดมศึกษา โดยอาจร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสร้างระบบบริหารงานวิจัยและกำหนดบทบาททิศทางงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โต๊ะทำงานที่ใช้อยู่ทุกวัน สามารถบอกอะไรตั้งมากมายในความเป็นตัวคุณ เจ้านายเป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องเห็นโต๊ะทำงานคุณทุกวัน ลองมาดูสิค่ะว่าโต๊ะทำงานของคุณเป็นแบบไหนกันบ้าง  1. โต๊ะยุ่งเหยิง บนโต๊ะจะเต็มไปด้วยกองหนังสือ เศษกระดาษ บันทึกเก่า ๆ กระจัด กระจาย แต่ถึงจะรกแค่ไหน คุณก็รู้ว่าของที่คุณต้องการอยู่ตรงไหน  “คุณ เป็นคนที่ไม่ชอบให้ใครมายุ่งวุ่นวาย ทำอะไรรวดเร็วแต่จะไม่รอบคอบ จนบางครั้งคุณดูขาดความน่าเชื่อถือในสายตาของคนอื่น ลองมองหาตะกร้าหรือแฟ้มจัดเก็บให้เข้าที่และหาทางกำจัดเอกสารเก่า ๆ ที่ไม่ใช้เสียบ้าง เพียงเท่านี้คุณก็เป็นมืออาชีพได้แล้ว ”   2. โต๊ะคุณเนี๊ยบ สิ่งของหรือเอกสารที่จำเป็นเท่านั้นที่จะมีโอกาสอยู่บนโต๊ะคุณได้ เอกสารทุกอย่างเป็นระเบียบ ของใช้ทุกชิ้นทำความสะอาดใหม่เอี่ยมตลอดเวลา “คุณ เป็นคนที่จริงจังกับชีวิต รักความเป็นระเบียบวินัย ผ่านการอบรมมาอย่างเข้มงวด ชอบออกคำสั่ง เข้ากับคนอื่นได้ยาก อย่างนี้ลองนำรูปครอบครัว รูปภาพวิว หรือภาพสัตว์น่ารัก ๆ สีสันสดสวยมาติดไว้บ้าง เพื่อเติมความอบอุ่นให้บุคลิกของคุณ ”   3. โต๊ะศิลปิน ดูเหมือนจะเรียบ (แต่ไม่เรียบ) บางครั้งมีของตกแต่งดีไซน์เก๋ ๆ แปลกตา ไม่ซ้ำใคร  “คุณ เป็นคนช่างฝัน มีจินตนาการสูง ไม่ชอบอะไรที่ดูพื้น ๆ ชอบสังสรรค์ เลือกคบคนที่มีรสนิยมพอ ๆ กัน ทำให้คนอื่นไม่กล้าเข้าหาคุณ กลัวรสนิยมเข้ากันไม่ได้”   4. โต๊ะคิกขุ นอกจากจะมีเครื่องใช้ที่จำเป็นแล้ว ยังมีของใช้กระจุกกระจิกวางไว้บนโต๊ะ เช่น ขวดโหลใส่ทอฟฟี่ กล่องดินสอแบบน่ารัก หรือที่เสียบปากกาสีหวานแหวว การ์ตูนตามสมัยนิยม “ คุณ มีนิสัยแบบเด็ก ๆ บางครั้งเอาแต่ใจตัวเอง ดื้อรั้นแบบไม่มีเหตุผลทำให้ดูไม่เป็นมืออาชีพ ลองหาหนังสือ บทความ หรือข่าวสารที่น่าสนใจมาติดไว้ที่บอร์ดข้างโต๊ะทำงานของคุณบ้าง ให้รู้กันไปเลยว่า คุณก็จริงจังเป็นเหมือนกัน ”แหล่งที่มา : [online] http://www.cdd.go.th อ่านต่อหน้า 4 10 3

  4. เก็บ-มา-ฝาก สาระน่ารู้ ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๔๗ ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๔๗ ระบบการประกันคุณภาพ ประการที่ 4 การพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา มีหลักสำคัญคือ การกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของอาจารย์อุดมศึกษาให้มีวุฒิปริญญาเอก และเร่งยกระดับคุณวุฒิคณาจารย์ในภาพรวมจากปัจจุบันที่มีอาจารย์วุฒิปริญญาเอกเพียง 25% อีกภายใน 10 ปี จะต้องเพิ่มเป็น 50% อีกทั้งจะจัดทำระเบียบหรือหลักเกณฑ์ที่เอื้อให้อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาไปสอนในสถาบันอื่นๆ ได้ โดยอาจกำหนดให้มีค่าตอบแทนเพิ่ม และส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อการผลิตบุคลากรระดับปริญญาเอกในสาขาที่เป็นความต้องการให้เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนปรับปรุงระบบเงินเดือนเพื่อดึงดูดคนดีคนเก่งเข้ามาเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยประการที่ 5 การปฏิรูประบบการเงินอุดมศึกษา โดยเริ่มต้นที่พัฒนาระบบกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต (ICL) ให้แล้วเสร็จเพื่อให้ทันประกาศใช้ในปีการศึกษา 2549 และให้คณาจารย์และผู้เกี่ยวข้องทางการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยเพื่อเสนอแนะแนวทาง และกระบวนการ เพื่อให้สามารถดำเนินการปฏิรูประบบการเงินเพื่อการอุดมศึกษาตามนโยบายของรัฐบาลประการที่ 6 โครงสร้างและการบริหารจัดการ จะมีการยกร่างพระราชบัญญัติอุดมศึกษากลางที่เอื้อให้รัฐสามารถกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษาในการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล จัดตั้งองค์กรกลางที่ทำหน้าที่แทนรัฐบาล (Buffer Agency) ในการประสานงานระหว่างรัฐบาลและสถาบันอุดมศึกษา อีกทั้งจะมีการเร่งรัดกระบวนการนิติบัญญัติให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับให้เสร็จสิ้น 20 แห่ง ภายในปี พ.ศ.2550 และจัดการแก้ไขกฎหมาย ระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงานสอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 5. ระบบ Input Process Output เป็นระบบพื้นฐานที่ใช้กับทุกวงการ ในการศึกษาสามารถใช้ระบบนี้ได้ โดยพิจารณาว่าปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และปัจจัยผลผลิต (Output) คืออะไร เช่น Input ได้แก่ ทรัพยากรคน (อาจารย์ นักศึกษา ผู้บริหาร บุคลากร) นโยบาย หลักสูตร ปัจจัยเกื้อหนุน Process ได้แก่ กระบวนการบริหารจัดการ กระบวนการเรียนการสอน กระบวนการวิจัย กระบวนการบริหารจัดการ Output ได้แก่ ปริมาณบัณฑิต คุณภาพบัณฑิต บริการต่างๆ ศรัทธาประชาชน แหล่งที่มา : เอกสารเผยแพร่เล่มที่ ป01 เรื่อง ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพระดับอุดมศึกษา ของสำนักงานพัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษา (พปค.) และสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 9 อ่านต่อหน้า 5 4

  5. เก็บ-มา-ฝาก เริ่มประเมินปีหน้า-วิทยฐานะครู นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ว่าที่ประชุมมีมติให้ประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน 2 กลุ่ม คือผู้ที่เคยประเมินและผ่านการประเมินแล้ว ประมาณ 12,000 คน แต่เป็นการประเมินตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ.2523 และผู้ที่เคยประเมินเป็นอาจารย์ 3 เชิงประจักษ์ แต่ยังไม่ผ่านการประเมินในส่วนของผลงานทางวิชาการ อีกประมาณ 38,000 คน โดยให้ประเมินใหม่ตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 เพื่อให้ได้รับเงินวิทยฐานะชำนาญการ 3,500 บาท และเงินวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 5,600 บาท ไม่ใช่ได้โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 54 และมาตรา 55 ในพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูที่กำหนดไว้ว่าผู้ที่ได้รับวิทยฐานะจะต้องผ่านการประเมิน ซึ่งในการประเมินครั้งใหม่จะไม่ประเมินใหม่ทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ แต่จะให้เทียบโอนผลการประเมินที่มีอยู่แล้ว โดยคิดเป็นสัดส่วน เช่น 70-75 เปอร์เซ็นต์ และให้ประเมินเพิ่มเติมใหม่ในส่วนที่เหลืออีกประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์ โดยเน้นการประเมินในเรื่องที่เป็นปัจจุบัน เช่น การสอนแบบใหม่ การปฏิรูปการศึกษา การใช้สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย เป็นต้น โดยที่ประชุมมอบหมายให้สำนักงาน ก.ค.ศ.ไปจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการหาคณะกรรมการประเมินในระดับเขตพื้นที่ เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้ผู้ที่เหมาะสมมาเสนอที่ประชุม ก.ค.ศ. อีกครั้งในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2548 และคาดว่า ครูอาจารย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ จะสามารถประเมินใหม่ได้ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ครู แหล่งที่มา : ข่าวสด. ฉบับที่ 5481 [หน้าที่ 24 ] ประจำวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๔๗ ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๔๗ สาระน่ารู้ ระบบการประกันคุณภาพ ประการที่ 7 การผลิตและพัฒนาครู มีการกำหนดบทบาทที่ชัดเจนของมหาวิทยาลัยราชภัฏในการผลิต พัฒนาครูและการขยายตัวของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในการผลิตกำลังคนในสาขาวิชาต่างๆ โดยมีแนวทางศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพการผลิตครูด้วยหลักสูตร 5 ปี และหลักสูตรต่อยอด 1 ปี จากผู้จบการศึกษาสาขาอื่นๆ เพื่อการกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการผลิตและพัฒนาครูต่อไป ตลอดจนจะสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏและคณะศึกษาศาสตร์/คณะครุศาสตร์ และคณะอื่นๆ ของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการผลิตและพัฒนาครูตามหลักสูตรที่กำหนด เช่น หลักสูตร 5 ปี หลักสูตร 4+1 ปี และการพัฒนาครูที่มีอยู่ในระบบและประการที่ 8 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเอกชนในการจัดการศึกษา โดยใช้กลไกของการปฏิรูปการเงินเพื่อการอุดมศึกษาเป็นเครื่องมือ รวมทั้งอาจเพิ่มการอุดหนุนบางรายการเพิ่มเติม เช่น การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการปรับปรุงระเบียบ ข้อบังคับ และกลไกต่างๆ ในส่วนที่สามารถดำเนินการได้ก่อน เพื่อให้เกิดการกำกับดูแลการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาทั้งรัฐและเอกชนให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งจะดำเนินการขอปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่เป็นอุปสรรคในระยะต่อไปด้วย ทั้งหมดนี้ยังเป็นแค่กรอบแนวคิดเชิงนโยบายที่ยังไม่เกิดการกระทำที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน ซึ่งทุกฝ่ายคงต้องร่วมด้วยช่วยกันผลักดันให้กรอบแนวคิดดังกล่าวนี้บังเกิดผลจริง เพื่อการยกระดับคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาไทยให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศในระดับสากลต่อไป แหล่งที่มา : มติชนรายวัน. ฉบับที่ 10139 [หน้าที่ 26 ] ประจำวันที่ 13 ธันวาคม 2548 ระบบการประกันคุณภาพ หมายถึง ระบบที่ก่อให้เกิดผลดี ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ในวงการอุตสาหกรรม ระบบการประกันคุณภาพได้เกิดขึ้นหลายระบบ เพื่อประกันคุณภาพตามมาตรฐานหรือไม่ ในส่วนวงการศึกษาได้ดัดแปลงระบบการประกันคุณภาพมาใช้ ซึ่งสรุปได้ 5ระบบ ดังต่อไปนี้ 1.       ระบบ ISO เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพที่มีการเน้นในหลักการ เป้าหมายและจุดประสงค์ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหรืองานบริการที่รวมการประกันคุณภาพและการควบคุมคุณภาพเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์ของผู้บริการเป็นไปตามความต้องการทางคุณภาพของลูกค้า 2.       ระบบ TQM เป็นระบบที่ปรับปรุงการวางแผน การจัดองค์กร และทำความเข้าใจในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับแต่ละบุคคลในแต่ละระดับเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ให้มีความยืดหยุ่นที่จะสามารถแข่งขันได้ ประสิทธิภาพของการจัดองค์กรในระบบนี้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของทุกคนในการนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย 3.       ระบบ The Malcom Baldrige National Quality Award เป็นแนวทางการตรวจสอบคุณภาพองค์กร ซึ่งแนวทางนี้อาจนำมาใช้ในการตรวจสอบคุณภาพขององค์กรทางด้านการศึกษา มีองค์ประกอบ 7 ด้าน คือ 1.การเป็นผู้นำ 2. สารสนเทศและการวิเคราะห์ 3. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 4. การพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ 5. การบริหารกระบวนการผลิตบัณฑิต วิจัย และบริการวิชาการ 6. สัมฤทธิ์ผลทางวิชาการ และ7. สัมฤทธิ์ผลในการผลิตบัณฑิต 4.       ระบบ CIPP ระบบ CIPP มีชื่อเต็มคือ Context, Input, Process, Product ซึ่งหมายถึง การประเมินตามด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านการดำเนินการ และด้านการผลิต ปฏิทินน่าเที่ยว วันที่13 - 24 มกราคม 2548Bangkok International Film Festival  กรุงเทพมหานคร วันที่ 21-23 มกราคม 2548 เทศกาลร่มบ่อสร้างและหัตถกรรมสันกำแพง จ.เชียงใหม่ วันที่ 19-23 มกราคม 2548 งานศิลปาชีพบางไทร ครั้งที่ 20 ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 17-19 มกราคม 2548 เทศกาลกล้วยไม้บานและของดีมัญจาคีรี จ.ขอนแก่น 8 5 อ่านต่อหน้า 9 QC QA QS QM TQM, TQMS SD Reengineering TQM, TQMS ที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ สำหรับในการเข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้ ผู้เขียนได้รับทราบถึง ความก้าวหน้าของระบบคุณภาพการศึกษาของไทยที่ในปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นมาในระดับหนึ่ง และจะยังพัฒนาไปอีกอย่างต่อเนื่อง และก็ต้องพัฒนาระบบคุณภาพของเราให้ก้าวหน้าควบคู่กันไปด้วย

  6. หลักสูตรแบบออนไลน์ ได้งานแถมเงินพ่วงปริญญา ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๔๗ ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๔๗ แวดวงการศึกษา แวดวงการศึกษา ข่าว สมศ. แนะใช้ผลประเมินหลักสูตรจัดสรรงบฯ ให้ ม.รัฐ ติการศึกษาไทยเก่งแต่ตำรา ไม่รู้จักคิดต่อยอดปรับใช้จริง ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้เดินทางไปดูงานการประเมินและรับรองคุณภาพการศึกษาของประเทศอังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น มีหลักการการประเมินค่อนข้างใกล้เคียงกัน ส่วนในระดับอุดมศึกษาในประเทศอังกฤษ จะอาศัยองค์กรกลางที่มีความเป็นอิสระเป็นผู้ประเมิน เพื่อรับรองและลงถึงระดับหลักสูตร มีการรับรองหลักสูตร ซึ่งจะส่งผลต่อการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐต่อหลักสูตรนั้นๆ ส่วนประเทศไทยมีความแตกต่างกัน โดย สมศ. ซึ่งเป็นองค์กรกลางทำหน้าที่ประเมินเพื่อพัฒนา ไม่ใช่ การประเมินเพื่อให้การรับรอง ส่วนการประเมินหลักสูตรของมหาวิทยาลัยนั้น ดำเนินการโดยต้นสังกัดคือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) แต่ไม่มีผลต่อการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งเป็นจุดที่ตนคิดว่าควรจะมีการทบทวน โดยให้ สมศ. และ สกอ.ทำงานประสานกันด้านการประเมินและรับรองให้ใกล้ชิดกว่าเดิม และให้ผลการประเมินควรต้องมีผลต่อการจัดสรรงบประมาณที่ภาครัฐให้กับมหาวิทยาลัยด้วย นอกจากดูงานแล้ว ยังได้ พบกับนักเรียนไทยในโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ซึ่งขณะนี้เด็กมีพัฒนาการที่ดี แต่ทุนที่ได้รับไม่มีข้อผูกมัด ซึ่งคณะที่ดูงานเห็นร่วมกันว่าน่าจะจัดทำข้อเสนอแนะต่อนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการว่า แม้ว่าเด็กเหล่านี้จะไม่มีข้อผูกมัดการชดใช้ทุน ก็ น่าจะมีแนวทางการชักชวน หรือแนะนำให้เด็กเหล่านี้ กลับมาเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งตั้งอยู่กระจายทั่วประเทศ และกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ แหล่งที่มา: ไทยรัฐ. ฉบับที่ 17487 [หน้าที่ 15 ] ประจำวันที่ 7 ธันวาคม 2548   เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.48 ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี นักวิชาการอิสระ กล่าวตอนหนึ่งในการบรรยายพิเศษ การจัดการความรู้:กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพและความสุข ในงานมหกรรมการจัดการความรู้ ครั้งที่ 2 ว่า ระบบการศึกษาของไทยในทุกระดับ ถือว่าเป็นปัญหาหลักที่ทำให้คนขาดศีลธรรมพื้นฐานเพราะมีการมองเพียงแค่ความรู้ในตำรา และหากเราเคารพเฉพาะความรู้จากตำรา จะมีคนเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่จะเป็นคนที่มีความรู้ ทั้งที่จริงๆ แล้วในตัวคนทุกคนจะมีความรู้ที่ต่างกันไป ซึ่งจะเห็นได้จากการจัดระบบการศึกษา ที่มีการนำความรู้จากตำราเป็นตัวตั้ง ทำให้การที่จะหาโรงเรียนที่ดีมีคุณภาพ หรือครูที่เก่งๆ จะหาได้ยาก เพราะคนที่จะท่องตำราเก่งนั้นจะมีเพียงไม่กี่คน ทั้งที่คนทุกคนก็มีความรู้ที่ต่างกันจากประสบการณ์ที่ต่างกัน  ดังนั้นจำเป็นต้องส่งเสริมให้เห็นว่าความรู้ในตัวคน มีความสำคัญกว่าความรู้ในตำรา และจะทำให้คนรู้สึกมีเกียรติ มีความมั่นใจ แต่หากเรายึดตำราเป็นหลักแม้แต่คนที่เป็นครู ก็จะไม่มีความมั่นใจในการสอนเพราะตัวของครูเองก็ท่องหนังสือมาสอน “ทุกวันนี้ระบบการเรียนการสอนของไทย สอนให้คนกลายเป็นคนไม่เก่ง เพราะคนที่จะเก่งในระบบการศึกษาไทยจะต้องเป็นคนที่มีคะแนนสูง เป็นคนที่ท่องตำราเก่ง ท่องสูตรเก่ง โดยที่คนอื่นๆ กลายเป็นคนด้อยหมด ซึ่งเป็นการทำลายศักยภาพของคน แต่ถ้าหากเราเข้าใจว่าทุกคนมีความรู้ความสามารถที่ต่างกันไป โดยที่ไม่ยึดความรู้จากตำราเป็นตัวตั้ง จะทำให้นำไปสู่ความสำเร็จในหลายอย่าง รวมทั้งในเรื่องของการปฏิรูประบบการศึกษาด้วย ความรู้จากตำราก็มีความสำคัญ แต่ควรวางความสำคัญให้ถูก โดยใช้ความรู้ของคนเป็นตัวฐาน และใช้ความรู้จากตำรามาต่อยอด ตามความเหมาะสมของแต่ละคน” ศ.นพ.ประเวศ กล่าว แหล่งที่มา : สยามรัฐ.   ฉบับที่ 19212 [หน้าที่ 7 ] ประจำวันที่ 2 ธันวาคม 2548 6 7

More Related