1 / 112

ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย

ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย. พ.ต.อ.ธวัช ประสพพระ ผกก.นิติกรด้านสอบสวนฯ วน 081 - 3254740. ก่อนถูกดำเนินการทางวินัย เมื่อถูกดำเนินการทางวินัย.

bond
Télécharger la présentation

ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย พ.ต.อ.ธวัช ประสพพระ ผกก.นิติกรด้านสอบสวนฯ วน 081 - 3254740

  2. ก่อนถูกดำเนินการทางวินัยเมื่อถูกดำเนินการทางวินัยก่อนถูกดำเนินการทางวินัยเมื่อถูกดำเนินการทางวินัย

  3. คุณวุฒิและประวัติการทำงาน 1.นิติศาสตรบัณฑิต 2.ประกาศนียบัตรการดำเนินการทางวินัย สำนักงาน ก.พ. 3.ประกาศนียบัตรความรู้เกี่ยวกับศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง4.รอง สวส.สภ.อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา5.รอง สวส.สภ.อ.พระนครศรีอยุธยา 6.รอง สวส.สภ.อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 7.สว.งาน 3 กองคดี 8.รอง ผกก.กลุ่มงานนิติกรด้านสอบสวน วน. 9.ผกก.กลุ่มงานด้านเสริมสร้างและพัฒนาวินัย วน. 10.ผกก.กลุ่มงานนิติกรด้านสอบสวนและพิจารณาโทษ วน.

  4. วินัย คือ อะไร ? พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของ “ วินัย” วินย-, วินัย [ วินะยะ-] น. ระเบียบแบบแผน และข้อบังคับ,ข้อปฏิบัติ, เช่น วินัยทหาร ทหารต้องยึดมั่นในวินัย ...

  5. ความหมายของวินัย • 1.ความหมายในทางรูปธรรม ปทัสถานหรือบรรทัดฐานแห่งความประพฤติที่กำหนดให้คนแต่ละวงการปฏิบัติตาม กำหนดไว้เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติหรือแบบของคนในวงการนั้น ๆ

  6. 2.ความหมายในทางนามธรรม2.ความหมายในทางนามธรรม ลักษณะเชิงพฤติกรรมที่คนแสดงออกมา เป็น 1.การควบคุมตนเอง 2.การปฏิบัติตามคำสั่ง 3.การมีความเป็นระเบียบ 4.การอยู่ในแบบแผน

  7. ประโยชน์ของวินัย(จุดมุ่งหมายของการลงโทษ)ประโยชน์ของวินัย(จุดมุ่งหมายของการลงโทษ) • 1.เพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิของกฎหมาย • 2.เพื่อรักษามาตรฐานความประพฤติ และสมรรถภาพของข้าราชการ • 3.เพื่อจูงใจให้ข้าราชการปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น • 4.เพื่อรักษาชื่อเสียงของทางราชการและความเชื่อมั่นของประชาชน

  8. ค่านิยมของตำรวจ 5 ประการ(ส่วนที่ ๑ ค่านิยมหลัก คุณธรรมและอุดมคติของตำรวจ) • 1. พึ่งตนเอง ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ • 2. ประหยัดและอดออม • 3. มีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย • 4. ปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา • 5. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จริยธรรมและจรรยาบรรณ

  9. คุณธรรมตำรวจ 4 ประการ • 1.การรักษาความสัจ: ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม • 2.การรู้จักข่มใจตนเอง: ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจความดีนั้น • 3.การอดทน อดกลั้น และอดออม: ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริตไม่ว่าด้วยเหตุประการใด ๆ • 4.การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต: รู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง จริยธรรมและจรรยาบรรณ

  10. 1.เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่1.เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่ 2.กรุณาปรานีต่อประชาชน 3.อดทนต่อความเจ็บใจ 4.ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก 5.ไม่มักมากในลาภผล 6.มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน 7.ดำรงตนอยู่ในความยุติธรรม 8.กระทำการด้วยปัญญา 9.รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต จริยธรรมและจรรยาบรรณ อุดมคติของตำรวจ 9 ประการ

  11. สาเหตุ(ภายนอก)ที่ทำให้วินัยเสื่อมสาเหตุ(ภายนอก)ที่ทำให้วินัยเสื่อม • 1.อบายมุข • 2.ตัวอย่างไม่ดี • 3.ขวัญไม่ดี • 4.งานล้นมือ/งานไม่พอมือ • 5.โอกาสเปิดช่อง • 6.ความจำเป็นในการครองชีพ • 7.การปล่อยปละละเลยของผู้บังคับบัญชา

  12. 1.ไม่เข้าใจ 2.ตามใจ 3.ไม่ใส่ใจ 4.ชะล่าใจ 5.เผลอใจ 6.ล่อใจ 7.ไม่มีจิตใจ 8.จำใจ 9.เจ็บใจ 10.ตั้งใจ สาเหตุ(ภายใน)ของการกระทำผิดวินัย

  13. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ๑. พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ๒. กฎ ก.ตร. ๒.๑ ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.๒๕๔๗ p40 ๒.๒ ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ.๒๕๔๗p61 ๒.๓ ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ.๒๕๔๗ ๒.๔ ว่าด้วยกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ.2547p.17 ๒.๕ ว่าด้วยอำนาจการลงโทษ อัตราโทษ และการลงโทษ ภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง หรือตัดเงินเดือน พ.ศ.2547 ๒.๖ ว่าด้วยวิธีการออกคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษ พ.ศ.2547 ๒.๗ ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ.2547 ๒.๘ ว่าด้วยการร้องทุกข์ พ.ศ.2547

  14. 2.9 กฎ ก.ตร.ว่าด้วยคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการพิจารณาสั่งลงโทษ พ.ศ.2547 • 2.10 กฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการให้ผู้ถูกลงโทษตามคำสั่งเดิมรับโทษเพิ่มขึ้นกลับสู่ฐานะเดิมพ.ศ.2547 • 2.11 กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการตำรวจประจำ ตร.หรือ สำรองราชการ พ.ศ.2547 • 2.11 กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิผลฯ พ.ศ.2547

  15. 2.12 กฎ ก.ตร.ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2547

  16. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง(ต่อ)กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง(ต่อ) • ๓.ระเบียบ ก.ตร. ว่าด้วยวิธีการเสริมสร้างและพัฒนาให้ข้าราชการตำรวจมีวินัย และป้องกันมิให้ข้าราชการตำรวจกระทำผิดวินัย พ.ศ.๒๕๔๙p19 • ๔. คำสั่ง ตร.ที่ ๔๓๖/๒๕๔๘ ลง ๒๐ มิ.ย.๒๕๔๘ • ๕. หนังสือ ตร.ที่ 0006.3/ว 0095 ลง 2 พ.ย. ๒๕52

  17. ความผิดปรากฏชัดแจ้ง (มาตรา.๘๗ วรรค ๓) • ความผิดไม่ร้ายแรง(ข้อ 2) ๑. กระทำผิดต่อหน้าผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจลงโทษ ๒. กระทำผิดอาญาจนต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้นั้นกระทำผิดและผู้บังคับบัญชาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษานั้นได้ความประจักษ์ชัดแล้ว ๓. กระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงและรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคำรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนฯ หรือคณะกรรมการสืบสวนฯและได้มีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือ การดำเนินการทางวินัย

  18. ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง(ข้อ 3) ๑. กระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ๒. ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันและผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการสืบสวนเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ ๓. รับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคำรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนข้อเท็จจริง คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง หรือคณะกรรมการสอบสวนฯ และได้มีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือ(ผู้บังคับบัญชาจะงดการสืบสวนหรือสอบสวนแล้วดำเนินการตามมาตรา ๙๐ หรือ ๙๑)

  19. หน้าที่ผู้บังคับบัญชาในการเสริมสร้างและพัฒนาวินัย(มาตรา ๘๐ วินัยเชิงบวก) • 1.ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี • 2.จัดฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ • 3.สร้างขวัญและกำลังใจอย่างพอเพียงและเหมาะสม • 4.ปกครองดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความเที่ยงธรรมและเสมอหน้ากัน โดยมุ่งเน้นส่งเสริมคนดีและงดเว้นช่วยเหลือผู้กระทำผิด • 5.จูงใจหรือกระทำการอื่นใดในอันที่จะเสริมสร้างและพัฒนาทัศนคติ จิตสำนึก และพฤติกรรมให้เป็นผู้มีวินัย วินัยและการรักษาวินัย

  20. หน้าที่ผู้บังคับบัญชาในการป้องกันการกระทำผิดวินัยหน้าที่ผู้บังคับบัญชาในการป้องกันการกระทำผิดวินัย • 1.เอาใจใส่ สังเกตการณ์ รายงานเหตุและขจัดเหตุที่อาจก่อให้เกิดการกระทำผิดวินัยในเรื่องที่อยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการป้องกัน • 2.กวดขัน ควบคุม กำกับดูแล การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชา ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ • 3.ดำเนินการทางวินัยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรม วินัยและการรักษาวินัย

  21. ประเภทของความผิดวินัยประเภทของความผิดวินัย ๑. ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ๒. ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

  22. 1. วินัยต่อประชาชน 2. วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่ 3. วินัยต่อผู้บังคับบัญชา 4. วินัยต่อผู้ร่วมงาน 5. วินัยต่อตนเอง

  23. (วินัยและการรักษาวินัย)ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง(วินัยและการรักษาวินัย)ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง มาตรา ๗๘ แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ (๑) – (๑๗) ข้อปฏิบัติและข้อห้าม (๑๘) ข้อปฏิบัติและข้อห้ามตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.

  24. มาตรา 78 (1)(ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเที่ยงธรรม เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี จรรยาบรรณตำรวจ และนโยบายของรัฐบาลโดยไม่ให้เสียหายแก่ราชการ • มาตรา 78 (2) (ความผิดต่อผู้บังคับบัญชา) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ จะเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้นก็ได้

  25. มาตรา78 (4)(วินัยต่อตนเอง)ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ • มาตรา 78 (5) (ความผิดต่อผู้บังคับบัญชา) ต้องปฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำ หรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว • มาตรา 78 (6) (วินัยต่อตำแหน่ง,ต่อตนเอง) ต้องรักษาความลับของทางราชการ

  26. มาตรา 78 (7) (วินัยต่อผู้ร่วมงาน) ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี และไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้งกัน และต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ • มาตรา 78 (8) (วินัยต่อประชาชน) ต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการ หรือในการปฏิบัติหน้าที่ราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า และด้วยความสุภาพเรียบร้อยโดยห้ามมิให้ ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ฯ

  27. มาตรา 78 (9)(วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความตั้งใจ อุตสาหะ เพื่อให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ เอาใจใส่ ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ และต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ • มาตรา 78 (10) (วินัยต่อผู้ร่วมงาน) ต้องไม่กระทำการอันเป็นเหตุให้แตกความสามัคคีระหว่างข้าราชการตำรวจ • มาตรา 78 (11) (วินัยต่อผู้บังคับบัญชา) ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาการรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย

  28. มาตรา 78 (12) (วินัยต่อตนเอง) ต้องไม่ใช้กิริยาวาจาหรือประพฤติตนในลักษณะที่ไม่สมควร • มาตรา 78 (13) (วินัยต่อตนเอง)ต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว • มาตรา 78 (14) (วินัยต่อผู้บังคับบัญชา) ต้องไม่กระทำด้วยประการใด ๆในลักษณะที่เป็น การบังคับ ผู้บังคับบัญชาเป็นทางให้เสียระเบียบแบบแผนวินัยของตำรวจ

  29. มาตรา 78 (15) (วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่)ต้องไม่กระทำการหรือละเว้นการกระทำใดๆอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ หรือทำให้เสียระเบียบแบบแผนของตำรวจ มาตรา 78 (16) (วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่) ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน มาตรา 78 (17) (วินัยต่อตนเอง) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

  30. คำถาม ? • ๑.ละทิ้งกับทอดทิ้งหน้าที่ราชการตามมาตรา ๗๘(๔) หรือมาตรา ๗๙(๒) มีความแตกต่างกันอย่างไร • ๒.การนับวันละทิ้งหน้าที่ราชการมีหลักเกณฑ์ในการนับอย่างไร • ๓.ละทิ้งหน้าที่ราชการหลายครั้งแต่ละครั้งไม่เกิน ๑๕ วัน จะต้องดำเนินการอย่างไร

  31. ความผิดวินัยอย่างร้ายแรงความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๗๙ แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ (๑) – (๖) ข้อห้าม (๗) ข้อห้ามตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร.

  32. มาตรา 79 (1)ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ • มาตรา 79 (2) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร • มาตรา 79 (3)เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการหรือในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการ

  33. มาตรา 79 (4)กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือลหุโทษ • มาตรา 79 (5)กระทำการอันได้ชื่อว่าประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง • มาตรา 79 (6)กระทำการหรือละเว้นกระทำการใด รวมทั้งการกระทำผิดตามมาตรา 78 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง

  34. คำถาม? • ๑.อย่างไรที่เรียกว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มีหลักในการพิจารณาอย่างไร • ๒.กระทำหรือละเว้นการกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงหมายถึงการกระทำอย่างไร มีหลักเกณฑ์การพิจารณาอย่างไร

  35. โทษทางวินัยมี ๗ สถาน ๑. ภาคทัณฑ์ ๒. ทัณฑกรรม ๓. กักยาม ๔. กักขัง ๕. ตัดเงินเดือน ๖. ปลดออก ไล่ออก (มาตรา ๘๒ แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗)

  36. คำถาม? • ๑.ผู้ถูกลงโทษทางวินัยไม่ยอมรับทราบคำสั่งลงโทษผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการอย่างไร จึงชอบด้วยระเบียบและกฎหมาย

  37. ความแตกต่าง ระหว่างความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง กับ อย่างร้ายแรง ๑. ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง ตัดเงินเดือน ๒. ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ปลดออก ไล่ออก

  38. ความผิดวินัย แตกต่างกับ ความผิดอาญาอย่างไร? ๑. โทษ ๒. อายุความ ๓. ผลอันเกิดจากความตาย ของผู้กระทำความผิด

  39. คำถาม? • ๑.เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว ต่อมาผู้ถูกกล่าวหาถึงแก่ความตายก่อนการสอบสวนพิจารณาแล้วเสร็จกรรมการสอบสวนหรือผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือผู้มีอำนาจจะต้องดำเนินการอย่างไร • ๒.ทางวินัยมีอายุความหรือไม่

  40. การสืบสวนข้อเท็จจริง(การดำเนินการทางวินัย)การสืบสวนข้อเท็จจริง(การดำเนินการทางวินัย) • การสืบสวนข้อเท็จจริงตาม กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.2547

  41. ผู้สั่งให้ทำการสืบสวนแจ้งคำสั่ง (ข้อ 11) รู้ตัวผู้ถูกกล่าวหา แจ้งให้ ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อประธาน หรือผู้สืบสวนภายใน 15วัน (ข้อ 11 (1)) • ระยะเวลาสืบสวน • สืบสวนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว • แต่ต้องไม่เกิน 60 วัน • ขยายเวลาได้ตามความจำเป็น • (ข้อ 16 (1)) 1. ประธานกรรมการหรือผู้สืบสวนรับทราบ คำสั่ง (ข้อ 11 (2)) (ข้อ 16 (1)) - ประชุมวางแนวทางการสืบสวน (ข้อ 14) แผนผังขั้นตอนการสืบสวนข้อเท็จจริง ตาม กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ. 2547 2. รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับข้อกล่าวหา (ข้อ 17) -พิจารณาควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยหรือไม่ (ข้อ18) -ประชุมพิจารณา (ข้อ 14(2)) ไม่มีมูล (ข้อ18 ว.1) มีมูล (ข้อ18ว.2) 3. แจ้งเรื่องที่ถูกกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐาน ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ (สส.2) ( ข้อ 18 ว.2 ว.3) ไม่รับ/รับบางส่วน (ข้อ 18 ว.6) รับสารภาพ (ข้อ 18ว.5) 4. ถามว่าจะยื่นคำชี้แจงข้อกล่าวหาเป็นหนังสือหรือไม่ (15 วัน) (ข้อ18ว.6) - ให้ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา (โดยเร็ว) (ข้อ18ว.6) 5. รวบรวมพยานหลักฐานที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้าง 6. ประชุมลงมติ (ข้อ 30) (ข้อ 14 (2)) - ทำรายงานการสืบสวน (ข้อ 31) - เสนอสำนวนต่อผู้สั่งให้ทำการสืบสวน(ข้อ 31)

  42. การพิจารณาในเบื้องต้นการพิจารณาในเบื้องต้น ๑.ไม่มีมูล ๒.มีพยานหลักฐานฟังได้ว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ๓.มีมูลเพียงพอที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งการไปภายในอำนาจ • (มาตรา ๘๔ แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ และ กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.๒๕๔๗ ข้อ ๒)

  43. คำถาม ? • ๑.การพิจารณาในเบื้องต้นคืออะไร มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร เคยมีตัวอย่างในการพิจารณาหรือไม่

  44. กรณีที่ควรทำการสืบสวนข้อเท็จจริง(กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนฯ พ.ศ.๒๕๔๗ ข้อ ๔) ๑.ผู้บังคับบัญชามีเหตุอันควรสงสัยว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชากระทำผิดวินัย ๒.มีผู้ร้องเรียนกล่าวหาว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชาผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยผู้ร้องเรียนนั้นแจ้งชื่อที่อยู่เป็นที่แน่นอน พร้อมทั้งระบุพฤติการณ์แห่งกรณีที่กล่าวหาว่าข้าราชการตำรวจกระทำผิดวินัย

  45. ๓.ส่วนราชการอื่นหรือหน่วยงานอื่นแจ้งมาให้ทราบว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชาผู้ใดกระทำผิดวินัยหรือสงสัยว่ากระทำผิดวินัย๓.ส่วนราชการอื่นหรือหน่วยงานอื่นแจ้งมาให้ทราบว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชาผู้ใดกระทำผิดวินัยหรือสงสัยว่ากระทำผิดวินัย

  46. ๔.มีบัตรสนเท่ห์กล่าวโทษว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชาผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยปกติห้ามมิให้รับฟัง เว้นแต่บัตรสนเท่ห์นั้นระบุข้อเท็จจริง พยานหลักฐานกรณีแวดล้อม และหรือระบุพยานบุคคล พยานวัตถุ หรือพยานเอกสาร ชี้แนะแนวทางเพียงพอที่จะดำเนินการสืบสวนได้

  47. ๕.กรณีปรากฏเป็นข่าวในสื่อมวลชนใด ๆ ว่าข้าราชการตำรวจกระทำผิดวินัยตามปกติหากไม่มีชื่อและที่อยู่ของ ผู้ร้องเรียนหรือกล่าวโทษห้ามมิให้รับฟัง เว้นแต่ข่าวนั้นระบุข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน กรณีแวดล้อม หรือระบุพยานบุคคล พยานวัตถุหรือพยานเอกสารชี้แนะแนวทางเพียงพอที่จะดำเนินการสืบสวนได้

  48. ๖.กรณีอื่นที่ผู้บังคับบัญชาหรือจเรตำรวจเห็นควรให้มีการสืบสวนข้อเท็จจริง๖.กรณีอื่นที่ผู้บังคับบัญชาหรือจเรตำรวจเห็นควรให้มีการสืบสวนข้อเท็จจริง

  49. คำถาม ? ๑.การสอบสวนข้อเท็จจริง หรือการตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นการสืบสวนตาม พ.ร.บ.นี้หรือไม่ ๒.การสั่งให้ผู้มียศ ร.ต.อ.ทำการสืบสวนข้อเท็จจริงหรือเป็นประธานกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง ผลการสืบสวนจะเสียไปหรือไม่ เพียงใด

  50. ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสืบสวนข้อเท็จจริงผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสืบสวนข้อเท็จจริง • ๑.สารวัตรหรือเทียบเท่าขึ้นไป ๑.๑ สืบสวนด้วยตนเอง ๑.๒ แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนหรือสั่งให้ผู้หนึ่งผู้ใดสืบสวน ๑.๓ ส่งประเด็นให้เจ้าพนักงานอื่นสืบสวน • ๒.จเรตำรวจ • (กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.๒๕๔๗ ข้อ ๕)

More Related