html5-img
1 / 58

เรื่อง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

สื่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทย. เรื่อง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน. ผู้จัดทำ. นางสุรีย์รัตน์ ส่งเสริมภักดี กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนอุทัยวิทยาคม อำเภอเมืองฯ จังหวัดอุทัยธานี.

bonner
Télécharger la présentation

เรื่อง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สื่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทยสื่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

  2. ผู้จัดทำ นางสุรีย์รัตน์ ส่งเสริมภักดี กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนอุทัยวิทยาคม อำเภอเมืองฯ จังหวัดอุทัยธานี

  3. กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนี้แต่งตามแบบกาพย์เห่เรือ คือแต่งเป็นโคลงผสมกาพย์ ตอนต้นเป็นโคลงสี่สุภาพ 1 บท จากนั้นเป็นกาพย์ยานี 11 ไม่จำกัดจำนวน ขยายความต่อจากโคลงบทนั้น โดยมากเนื้อความในกาพย์ยานีบทแรกจะเลียนความจากโคลงสี่สุภาพตอนต้น บทประพันธ์ในลักษณะนี้ หากพรรณนาความรู้เกี่ยวกับเรือหรือเดินทางเรือ เรียกว่ากาพย์เห่เรือ แต่ถ้าพรรณนาเรื่องอื่น ๆ จะเป็นเรื่องใดก็ได้ เช่น ชมนก ชมหนังสือ หรือชมเครื่องคาวหวานดังที่ได้ศึกษาต่อไปนี้ เรียกว่า กาพย์เห่ สาระสำคัญ

  4. อ่านทำนองเสนาะกาพย์แห่ชมเครื่องคาวหวาน ได้อย่างไพเราะ อธิบายความหมายของคำศัพท์จาก กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานได้อย่างถูกต้อง ถอดความคำประพันธ์จากกาพย์แห่ชมเครื่องคาวหวาน เป็นร้อยแก้วได้อย่างถูกต้องและสละสลวย จุดประสงค์การเรียนรู้

  5. ที่มากาพย์เห่เรือนี้สันนิษฐานว่าทรงพระราชนิพนธ์ เพื่อชมฝีพระหัตถ์ ในการแต่งเครื่องเสวยของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ผู้แต่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ความมุ่งหมายเพื่อเป็นบทเห่เรือพระที่นั่งเวลาเสด็จประพาสส่วนพระองค์เพื่อชมฝีพระหัตถ์ในการปรุงเครื่องเสวยของ “สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี”

  6. ลักษณะคำประพันธ์แต่งเหมือนกาพย์เห่เรือประกอบด้วยโคลงสี่สุภาพ จำนวน 1 บท และกาพย์ยานี 11 ไม่จำกัดจำนวน เรามาดูคำสัมผัสตามแผนผังบังคับของโคลงสี่สุภาพ กันหน่อยนะคะ 0 0 0 0  0  0 0 (0 0) 0 0  0 0 0 0  0  0 0 0  0 0 0 0  (0 0) 0 0  0 0 0  0  0  0 0

  7. คราวนี้นักเรียนลองมาเรียกชื่อคำสัมผัสให้ถูกต้องกันหน่อยนะคะคราวนี้นักเรียนลองมาเรียกชื่อคำสัมผัสให้ถูกต้องกันหน่อยนะคะ 0 0 0 0  0  0 0 (0 0) 0 0  0 0 0 0  0  0 0 0  0 0 0 0  (0 0) 0 0  0 0 0  0  0  0 0 สัมผัส- คำสุดท้ายของวรรคหลังบาทที่ 1 ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคแรกของบาทที่ 2 และบาทที่ 3 - คำสุดท้ายของวรรคหลังบาทที่ 2 ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคแรกบาทที่ 4

  8. “แกงไก่มัสมั่นเนื้อ นพคุณ พี่เอย หอมยี่หร่ารสฉุน เฉียบร้อน ชายใดบริโภคภุญช์ พิศวาส หวังนา แรงอยากยอหัตถ์ข้อน อกให้หวนแสวง”

  9. เรามาดูผังภูมิกาพย์ยานีเรามาดูผังภูมิกาพย์ยานี กันดีกว่า 0 0 / 0 0 0 0 0 0 / 0 0 0 บาทเอก 0 0 / 0 0 0 0 0 0 / 0 0 0 บาทโท 0 0 / 0 0 0 0 0 0 / 0 0 0 บาทเอก 0 0 / 0 0 0 0 0 0 / 0 0 0 บาทโท ถ้าเข้าใจแล้วดูหน้าต่อไปกันเลย

  10. เธอรู้จักกาพย์ยานีแล้วเธอรู้จักกาพย์ยานีแล้ว มาดูกันว่ากาพย์ยานีมี ลักษณะบังคับอะไรบ้าง กาพย์ยานี 11 บทหนึ่งมี 2 บาท บาทต้นเรียก บาทเอก บาทท้ายเรียก บาทโท บาทหนึ่งมี 2 วรรค วรรคหน้ามี 5 พยางค์ วรรคหลัง มี 6 พยางค์ รวมเป็น 11 พยางค์ จึงมักเรียกว่า กาพย์ยานี 11 ดังนี้ บาทเอก วรรคที่ 1 วรรคที่ 2 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0บาทโท วรรคที่ 3 วรรคที่ 4 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0

  11. สัมผัสบังคับของกาพย์ยานีสัมผัสบังคับของกาพย์ยานี สัมผัสนอกบังคับดังนี้ 1. พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 1 สัมผัสกับพยางค์ที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 ของวรรคที่ 2 ของบาทเอก 2. พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 2 ของบาทเอก สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของ วรรคที่ 1 ของบาทโท 3. พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 1 ของบาทโท สัมผัสกับพยางค์ที่ 1 หรือ 2 หรือ 3ของวรรคที่ 2 ของบาทโท สัมผัสระหว่างบท พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 2 ของบาทโท สัมผัสกับ พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 2 ของบาทเอกในบทต่อไป สัมผัสใน แต่ละวรรคควรมีสัมผัสใน เพื่อความไพเราะ อาจเป็นสัมผัสสระ หรือสัมผัสอักษรก็ได้ประมาณ 1 - 2 แห่ง

  12. เข้าสู่เนื้อหากาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานเข้าสู่เนื้อหากาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กันเลยดีกว่านะคะ

  13. “มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา” แก้วตา หมายถึง ผู้เป็นที่รักยิ่ง

  14. กาพย์บทนี้ ถอดความได้ว่า แกงมัสมั่นของน้องผู้เป็นที่รักยิ่งของพี่ มีกลิ่นหอมของยี่หร่า คงมีรสร้อนแรงมาก ชายคนใดเมื่อได้รับประทานเข้าไปแล้ว จะทำให้คิดถึงแต่คนทำ

  15. มัสมั่น

  16. “ยำใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรา รสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ” ยำใหญ่ หมายถึง ชื่ออาหารยำแบบไทย ประกอบด้วย แตงกวา ไข่ต้ม กุ้งต้ม หมูต้ม หนังหมู เห็ดหูหนู หัวผักกาดขาว ใบสะระแหน่ ใบโหระพา ปรุงให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หรือหวานด้วยก็ได้ เหลือตรา หมายถึง เหลือจะพรรณนาหรือเหลือคะเนนับ

  17. กาพย์บทนี้ ถอดความได้ว่า ยำใหญ่ที่มีเครื่องครบครัน จัดวางอยู่ในจานอย่างสุดจะพรรณนาปรุงรสด้วยน้ำปลาญี่ปุ่นทำให้น่าลิ้มลองอย่างยิ่ง

  18. ยำใหญ่

  19. “ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม เจือน้ำส้มโรยพริกไทย โอชาจะหาไหน ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง” ตับเหล็ก หมายถึง ม้ามของหมู โอชาหมายถึง รสอร่อย

  20. กาพย์บทนี้ ถอดความได้ว่า น้องนำตับเหล็กมาลวกแล้วใส่น้ำส้มพร้อมกับโรยพริกไทยลงไปทำให้มีรสอร่อยมาก ไม่มีที่ไหนทำมาเปรียบกับฝีมือของน้องได้

  21. ตับเหล็ก

  22. “หมูแนมแหลมเลิศรส พร้อมพริกสดใบทองหลาง พิศห่อเห็นรางชาง ห่างห่อหวนป่วนใจโหย” หมูแนม หมายถึง ชื่ออาหารว่างมีหลายแบบ เช่น หมูแนมแข็งต้องห่อหมูที่โขลกหรือบด และผสมเครื่องปรุงแล้วด้วยใบทองหลางที่ซ้อนบนใบตอง มัดแน่น เก็บไว้ ๓ วัน จึงปิ้งทั้งห่อ แกะออกมารับประทานกับผักและน้ำจิ้ม รางชาง หมายถึง สวยงาม, เด่น

  23. กาพย์บทนี้ ถอดความได้ว่า หมูแนมมีรสดีเยี่ยม พร้อมมีพริกสด กับใบทองหลางเคียง พี่มองดูห่อหมูแนมแล้ว เห็นสวยงาม แต่ครั้นพอพี่ห่างห่อหมูแนม ทำให้หัวใจของพี่ปั่นป่วน คิดถึงแต่น้องอยู่ตลอดเวลา

  24. หมูแนม

  25. “ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย“ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤๅจะเปรียบเทียบทันขวัญ ก้อย หมายถึง อาหารจำพวกเครื่องจิ้ม ทำจาก เนื้อปลา หรือกุ้งที่ยังดิบรับประทานกับผักสด ประทิ่น หมายถึง กลิ่นหอม แด หมายถึง ใจ

  26. กาพย์บทนี้ ถอดความได้ว่า ก้อยกุ้งปรุงเสร็จแล้วกลิ่นหอมมากราวกับอาหารทิพย์ เมื่อสัมผัสลิ้นอร่อยมากจนแทบขาดใจ ฝีมือปรุงอาหารของน้องจึงไม่มีใครเทียบได้

  27. ก้อยกุ้ง

  28. “เทโพพื้นเนื้อท้อง เป็นมันย่องล่องลอยมัน น่าซดรสครามครัน ของสวรรค์เสวยรมย์” เทโพ หมายถึง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาสวาย เนื้อมีรสอร่อย มักใช้แกงคั่วส้ม ใส่ผักบุ้ง เรียกว่า แกงเทโพ รสครามครัน หมายถึง รสอร่อยมาก

  29. กาพย์บทนี้ ถอดความได้ว่า แกงปลาเทโพโดยใช้เนื้อท้อง ที่มีมันมาแกง ดูน่าซดเสียเหลือเกิน คงมีรสอร่อยมาก เปรียบเหมือนอาหารทิพย์ที่พึงใจ

  30. แกงเทโพ

  31. “ความรักยักเปลี่ยนท่า ทำน้ำยาอย่างแกงขม“ความรักยักเปลี่ยนท่า ทำน้ำยาอย่างแกงขม กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม ชมไม่วายคลับคล้ายเห็น” แกงขม หมายถึง เครื่องกินกับขนมจีนน้ำยามีมะระหั่นเป็น ชิ้นเล็ก ๆ แล้วลวกให้สุก กล หมายถึง เหมือน อ่อม หมายถึง ชื่อแกงชนิดหนึ่ง คล้ายแกงคั่ว แต่ใส่มะระ มักใช้แกงกับปลาดุก เรียกว่า แกงอ่อมมะระ หรือแกงอ่อมมะระปลาดุก กล่อมเกลี้ยงกลม หมายถึง รสกลมกล่อม

  32. กาพย์บทนี้ ถอดความได้ว่า ด้วยความรักของน้องที่มีต่อพี่ น้องจึงเปลี่ยนมาทำน้ำยาอย่างแกมขม เหมือนแกงอ่อมมะระ ซึ่งมีรสกลมกล่อม ทำให้พี่ต้องชมฝีมือของน้องไม่ขาดปาก และคลับคล้ายเห็นหน้าน้องอยู่ตลอดเวลา

  33. แกงขม

  34. “ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ รสพิเศษใส่ลูกเอ็น ใครหุงปรุงไม่เป็น เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ” ลูกเอ็น หมายถึง ลูกกระวาน แขก เรียกว่า ลูกเฮ็ล เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ หมายถึง เหมือนกับที่น้องตั้งใจทำ

  35. กาพย์บทนี้ ถอดความได้ว่า ข้าวปรุงด้วยเครื่องเทศ มีรสพิเศษเพราะใส่ลูกกระวานลงไป ใครก็หุงไม่ได้อย่างที่น้องตั้งใจทำ

  36. ข้าวหุง

  37. “เหลือรู้หมูป่าต้ม แกงคั่วส้มใส่ระกำ รอยแจ้งแห่งความขำ ช้ำทรวงเศร้าเจ้าตรากตรอม” แกงคั่วส้ม หมายถึง ชื่อแกงเผ็ด ปรุงน้ำพริกคล้ายแกงส้ม แต่ใส่กะทิ ความขำ หมายถึง ความลับ ระกำ หมายถึง ชื่อปาล์มชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นกอก้านใบมี หนามแข็ง ผลออกเป็นกระปุกกินได้ ตรากตรอม หมายถึง มีแต่ความระทมใจ

  38. กาพย์บทนี้ ถอดความได้ว่า น้องรู้เรื่องในการทำอาหารมากจริง ๆ นำเอาหมูป่ามาต้มทำแกงคั่วส้มใส่ระกำ ทำให้เห็นเค้าเงื่อนแห่งความลับระหว่าง พี่กับน้อง ซึ่งมีแต่ความทุกข์ระทมใจ

  39. แกงคั่วส้ม

  40. “ช้าช้าพล่าเนื้อสด ฟุ้งปรากฏรสหื่นหอม คิดความยามถนอม สนิทเนื้อเจือเสาวคนธ์” พล่า หมายถึง อาหารยำที่ใช้เนื้อสด ๆ ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำปลา พริก ตะไคร้ฝอย ใบสะระแหน่ หื่นหอม หมายถึง หอมมากจนเร้าอารมณ์ เสาวคนธ์ หมายถึง ของหอม, เครื่องหอม, กลิ่นหอม

  41. กาพย์บทนี้ ถอดความได้ว่า น้องทำพล่าเนื้อสดกลิ่นหอมฟุ้งมากจนเร้าอารมณ์พี่ ทำให้คิดถึงครั้งเมื่อเราเคยทะนุถนอมรักใคร่ใกล้ชิดกันด้วยความสดชื่นหอมหวน

  42. พล่าเนื้อสด

  43. “ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองทำเมืองบน ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน” ล่าเตียง หมายถึง ชื่ออาหารว่างทำด้วยไข่โรยเป็นฝอยบนกระทะ แล้วหุ้มไส้ที่ทำด้วยกุ้งสับปรุงรส พับห่อจัดเป็นคำ ๆ วางลำดับเป็นชั้น เมืองบน หมายถึง เมืองฟ้า, เมืองสวรรค์ ลดหลั่นชั้นชอบกล หมายถึง มีลวดลายเป็นชั้น ๆ อย่างสวยงาม นิทร [นิด] หมายถึง นอน

  44. กาพย์บทนี้ ถอดความได้ว่า พอเห็นอาหารที่ชื่อว่าล่าเตียง ทำให้พี่คิดถึงเตียงนอนของน้องที่เป็นเตียงทองทำเหมือนอยู่บนสวรรค์ ซึ่งมีลวดลายเป็นชั้น ๆ อย่างสวยงาม เห็นแล้วทำให้คิดอยากนอนกับน้อง

  45. ล่าเตียง

  46. “เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน“เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน เจ็บไกลใจอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง” หรุ่ม หมายถึง อาหารว่างคล้ายล่าเตียง ทำด้วยไข่โรยเป็นฝอย แต่ไส้ทำด้วยหมูสับ ห่อเป็นคำ ๆ แต่คำใหญ่กว่าล่าเตียง ไฟฟอน หมายถึง กองไฟที่ดับแล้วแต่ยังมีความร้อนระอุอยู่

  47. กาพย์บทนี้ ถอดความได้ว่า พอเห็นอาหารที่ชื่อว่าหรุ่ม ความเศร้าก็ประดังกันเข้ามาในอกทำให้ร้อนระอุอยู่ ในอก เป็นความเจ็บปวดที่ยาวนานด้วยใจคิดถึงน้อง ทำให้พี่ร้อนรุ่มกลุ้มใจ

  48. หรุ่ม

  49. “รังนกนึ่งน่าซด โอชารสกว่าทั้งปวง นกพรากจากรังรวง เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน” รังนก หมายถึง รังนกนางแอ่น ทำด้วยน้ำลายนก ที่ขยอกออกจากลำคอ ใช้นึ่งแล้วทำเป็นอาหารหวานคาวได้ เรียม หมายถึง พี่

  50. กาพย์บทนี้ ถอดความได้ว่า เห็นรังนกนึ่งช่างน่าชมและคงมีรสอร่อยกว่าอาหารอื่น ๆ ทำให้พี่นึกถึงการที่นกต้องพรากจากรังไป ซึ่งก็เหมือนกับการที่ตัวพี่ต้องพลัดพรากจากน้องไป

More Related