html5-img
1 / 21

Chapter 4

Chapter 4. ERP และความเหมาะสมกับองค์กร. หัวข้อการเรียนรู้. ERP คืออะไรเหมาะสมกับองค์กรหรือไม่ ตัวอย่างความสำเร็จของโครงการ ERP ความแตกต่างระหว่างเถ้าแก่ และนักบริหารมืออาชีพ. ประวัติโดยย่อของ ERP.

bunme
Télécharger la présentation

Chapter 4

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Chapter 4 ERP และความเหมาะสมกับองค์กร

  2. หัวข้อการเรียนรู้ • ERP คืออะไรเหมาะสมกับองค์กรหรือไม่ • ตัวอย่างความสำเร็จของโครงการ ERP • ความแตกต่างระหว่างเถ้าแก่ และนักบริหารมืออาชีพ

  3. ประวัติโดยย่อของ ERP ERP – Enterprise Resource Planning มีรากเดิมจากระบบ MRP II – Manufacturing Resource Planning การวางแผนทรัพยากรการผลิต มีรากดั้งเดิมจาก MRP – Material Requirements Planning คือ การวางแผนความต้องการวัสดุ MRP พัฒนาไปเป็น MRP II เพิ่มความสามารถอื่น เช่น ระบบขาย ระบบบัญชี การเงิน การคิดต้นทุน และอื่นๆ เป็นต้น

  4. มีอะไรบ้างใน ERP ? โมดูลสำคัญ 3 อย่าง ของ ERP คือ การจัดจำหน่าย (Distribution), การผลิต (Manufacturing), และการบัญชีและการเงิน (Accounting and Finance) ERP ใหญ่ ๆ บางตัวโมดูลการจัดการบุคลากร (Human Resource Management: HRM) อยู่ด้วย โมดูลการจัดจำหน่าย หมายถึงกระบวนการจัดการเกี่ยวกับการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า การคิดราคา การออกใบแจ้งหนี้ การเบิกสินค้าสำเร็จรูปเพื่อการส่ง และการตัดสต็อกและควบคุมสินค้าคงคลัง การรับของคืน เป็นต้น โมดูลการผลิตจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนการผลิต การออกไปสั่งผลิต การจัดซื้อวัตถุดิบ การเบิกจ่ายวัตถุดิบเข้าไปในสายการผลิต การติดตามความคืบหน้าของปริมาณสินค้าระหว่างผลิตและที่ผลิตได้ การติดตามปริมาณแรงงานที่ใช้ในการผลิต

  5. มีอะไรบ้างใน ERP ? โมดูลการบัญชีและการเงินประกอบด้วย การทำบัญชีลูกหนี้ การทำบัญชีเจ้าหนี้ และการทำบัญชีแยกประเภท การคำนวณต้นทุนการผลิต การเก็บเงินรายได้จากการขายสินค้าและบริการ การชำระเงินค่าวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายต่างๆ การชำระภาษี ระบบ ERP ในปัจจุบันมักจะมีระบบประมวลข้อมูลสำหรับผู้บริหาร รวมทั้งสามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ เช่น ระบบลูกค้าสัมพันธ์ CRM – Customer Relationship Management ซึ่งจัดการกระบวนการทางธุรกิจทั้งก่อนการขายและหลังการขาย ERP ช่วยในการบันทึกธุรกรรมประจำวัน ระบบ ERP จะใช้ฐานข้อมูลรวม ซึ่งช่วยให้พนักงานและเจ้าหน้าที่สามารถสื่อสารกันได้เป็นอย่างดี ข้อมูลในระบบจะเชื่อมต่อกันหมด ทำให้การทำงานของทั้งองค์กรเกิดการบูรณาการ

  6. ท่านพร้อมที่จะใช้ ERP หรือไม่? • ท่านพร้อมที่จะปฏิรูปวิธีการทำงานของท่านหรือไม่ • ผู้บริหารรู้สึกว่า น่าจะทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากมีระบบสารสนเทศที่ดี ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการเปลี่ยนไปใช้ระบบ ERP ผู้บริหารต้องมีกลยุทธ์ในการจัดการการเปลี่ยนแปลงนี้ จำเป็นต้องให้ความสนใจพยายามเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบในทางที่เป็นลบและบวกต่อองค์กร การหากลยุทธ์ในการสร้างความร่วมมือในระหว่างบุคลากรในบริษัทให้มีเอกภาพ รวมทั้งผลักดันโครงการให้ประสบความสำเร็จเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับสูง

  7. ท่านพร้อมที่จะใช้ ERP หรือไม่? • 2. มีใครที่รับผิดชอบทำการศึกษาหาระบบ ERP ที่เหมาะกับบริษัท • บริษัทควรสรรหาทีมงานในการศึกษาหาซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม และผู้บริหารควรสรรหาหัวหน้าทีมซึ่งสามารถเป็นผู้จัดการโครงการ ERP ที่เข้มแข็ง เนื่องจากกระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ ERP มักจะกินเวลานาน • ท่านตั้งงบประมาณพอหรือไม่สำหรับโครงการ • ซอฟต์แวร์, ฮาร์ดแวร์ และค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและรับคำปรึกษาจากบริษัทที่ปรึกษา

  8. ท่านพร้อมที่จะใช้ ERP หรือไม่? • บุคลากรของท่านพร้อมหรือยัง • การคุ้นเคยกับวิธีการทำงานเก่า ๆ การแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ และไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการป้อนข้อมูลธุรกรรมอย่างสม่ำเสมอ และถูกต้องด้วย การขาดวินัยในการทำงานของพนักงาน เป็นบ่อเกิดแห่งความสับสนจนกระทั่งนำไปสู่ความล้มเหลวของการ Implement • ระบบ ERP เป็นการสร้างภาระงานอย่างหนึ่งให้กับผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริหารควรจะเข้าใจและสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบ ERP ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน

  9. ตัวอย่างของความสำเร็จในการใช้ ERP บริษัท UC เป็นบริษัทผลิตและประกอบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มีโรงงานแห่งเดียวในสหรัฐอเมริกา และมีระบบย่อยประมาณ 40 ระบบเชื่อมต่อกัน และเชื่อมข้อมูลเป็นระบบแบ็ช (Batch) โดยระบบจะบั่นทอน ความสามารถของบริษัทในการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและทันเวลา โดยมีต้นทุนที่ต่ำสุด การขึ้นระบบนี้บริษัทใช้วิธีแบบขึ้นทีเดียวให้เบ็ดเสร็จ โดยมีการปิดการปฏิบัติการ 10 วัน บริษัทมีการวัดสมรรถนะของการปฏิบัติงานของตนเองในหลายมิติแต่ที่สามารถวัดได้เป็นตัวเลขมีอยู่ 2 มิติ คือ 1.สัดส่วนของคำสั่งลูกค้าที่ส่งได้ทันกำหนด และ 2. เวลานำส่ง หรือเวลาส่งมอบคำสั่งสินค้าซึ่งหมายถึงช่วงเวลาระหว่างวันที่รับคำสั่งและวันที่ส่งสินค้า

  10. ตัวอย่างของความสำเร็จในการใช้ ERP รูปแสดงสัดส่วนของคำสั่งลูกค้าที่ส่งสายกว่ากำหนด

  11. ตัวอย่างของความสำเร็จในการใช้ ERP รูปแสดงค่าเฉลี่ยของเวลาส่งมอบคำสั่งลูกค้าทุกชนิด

  12. ตัวอย่างของความสำเร็จในการใช้ ERP รูปแสดงค่าเบี่ยงเบนแต่ละวันของเวลาส่งมอบของคำสั่งลูกค้า

  13. ต้นทุนรวมของเจ้าของ ปัจจุบันการซื้อของถูกอย่างเดียว ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคำนึงถึงในระหว่างการตัดสินใจเสมอไป แต่ “ความคุ้มค่า” บางครั้งก็ทำให้เกิดความคาดหวังของผู้ลงทุนที่มากกว่าความเป็นไปได้จริง แต่การลงทุนในระบบ ERP อาจจะไม่ได้ดั่งใจทันทีเพราะเป็นการลงทุนในระยะยาว และเป็นการลงทุนที่สูงในแง่ของต้นทุนรวมของเจ้าของ

  14. ต้นทุนรวมของเจ้าของ รูปแสดงต้นทุนรวมของเจ้าของ

  15. ต้นทุนรวมของเจ้าของ ถึงแม้ว่าระบบ ERP จะมีราคาสูงเพียงใด การคำนวณความคุ้มค่า เพื่อการตัดสินใจความเป็นไปได้ของโครงการ ก็ต้องมีการประมาณการอายุขัยของระบบ แนวคิดต้นทุนรวมของเจ้าของเน้นว่าไม่ให้ดูแต่ต้นทุนที่ลงไปครั้งแรกเท่านั้น เพราะเป็นเพียงส่วนเดียวของต้นทุน แต่ต้องคำนึงต้นทุนที่เกิดจากการสนับสนุนและซ่อมบำรุงระบบจึงจะเป็นต้นทุนรวมที่แท้จริง การตัดสินใจที่จะลงทุนในระบบ ERP หรือไม่ เป็นเรื่องที่เถ้าแก่ต่างต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะนอกจากจะเสียเวลาในการดำเนินงานใช้กำลังคนและใช้เงินทุนสูงแล้ว องค์กรยังต้องคำนึงถึงค่าเสียโอกาสในการนำทรัพยากรเหล่านั้นไปทำอย่างอื่น การที่ผู้เป็นเจ้าของกิจการมีความแตกต่างในพื้นฐาน

  16. มุมมองของเถ้าแก่ ปู่สร้าง ถูกที่สุด ดีที่สุด ความต้องการที่จะสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับ ทำให้การตัดสินใจเลือก ERP มักจะเป็นประเภทมีชื่อ (Brand Name) ไว้ก่อน พ่อขยาย “ความคุ้มค่า” ลูกต่อเติม ถ้าคิดว่ารุ่นปู่ และรุ่นพ่อมีความสามารถในการต่อรองที่เก่งแล้ว รุ่นลูกจะเก่งกว่าอย่างมากเพราะได้เรียนรู้หลักการต่อรองจากการศึกษาในระดับสูงอย่างมีหลักวิชาการ แล้วก็ยังได้เปรียบจากอำนาจการต่อรองจากการหนุนหลังของกิจการที่อยู่ในเครือข่ายของปู่และพ่อ ดังนั้นเถ้าแก่รุ่นลูกที่ติดดินก็จะสามารถได้รับผลตอบแทน จากการลงทุนใน ERP อย่างสูงสุด

  17. มุมมองของเถ้าแก่ รุ่นลูกหรือหลานนี้ส่วนใหญ่จบจากเมืองนอก และมีวิสัยทัศน์สมัยใหม่ มีการทำงานเป็นระบบ มีความสามารถในการต่อรองแบบไม่จบไม่สิ้น ต้องการให้แถมแล้วแถมอีก ไม่เน้น “Big Name” มีความสามารถในการเห็นภาพ หรือเข้าใจความต้องการขององค์กรอย่างชัดเจน มีอำนาจและหน้าที่ในการตัดสินใจ และใช้ที่ปรึกษามืออาชีพเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถเรียนรู้ “Best Practices”

  18. ความแตกต่างระหว่างเถ้าแก่และนักบริหารมืออาชีพความแตกต่างระหว่างเถ้าแก่และนักบริหารมืออาชีพ เถ้าแก่มีเงินและมีอำนาจในการตัดสินใจ นักบริหารมืออาชีพมีความเข้าใจในเรื่องกระบวนการธุรกิจ และการประยุกต์ใช้ระบบ ERP ในการดำเนินงาน นักบริหารมืออาชีพมักจะกำหนดแนวทางที่แน่นอนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ในขณะที่เถ้าแก่จะมีการกำหนดไว้ในตอนแรกถูกเปลี่ยนหรือขยาย ขอบเขตขึ้นเรื่อย ๆ จนความชัดเจนของ วัตถุประสงค์ในการจัดทำระบบก็กระจายออก จนหาความชัดเจนได้ยาก

  19. ความแตกต่างระหว่างเถ้าแก่และนักบริหารมืออาชีพความแตกต่างระหว่างเถ้าแก่และนักบริหารมืออาชีพ มืออาชีพทางการบริหารจัดการ (Business Professionals) มีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน โอกาสที่องค์กรจะประสบผลสำเร็จในโครงการ ERP จะมีค่อนข้างสูง การจัดการโครงการจะเป็นไปอย่างมีระบบ ผู้บริหารชั้นสูงมีอำนาจและหน้าที่ในการตัดสินใจเต็มที่ โดยจะไม่เปลี่ยนวัตถุประสงค์หรือเปลี่ยนใจจากรายงานความก้าวหน้าที่ยอมรับไปแล้ว ทำให้การทำงานสามารถทำเสร็จตามกำหนดในโครงการ ERP โดยความ”ล่าช้า” จะเกิดจากด้าน”คน” มากกว่าคือความสามารถในการสร้างความร่วมมือระหว่างบุคลากร ความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการจัดการโครงการมากกว่า

  20. ลูกเถ้าแก่มืออาชีพ ลูกเถ้าแก่มืออาชีพนั้นต้องได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นภาพลักษณ์ ประสิทธิภาพในการทำงานหรือความคุ้มค่า และมีการทำการบ้านเรื่องต้นทุนรวมของเจ้าของอย่างละเอียด ดังนั้นโครงการติดตั้ง ERP ภายใต้การนำของลูกเถ้าแก่มืออาชีพ จะมีการจ้างที่ปรึกษา มีการว่าจ้างแบบเอาท์ซอร์ส (Outsource) มีการสนับสนุนจากผู้บริหาร และก็มักจะเสร็จตามเวลา อีกทั้งประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  21. The End

More Related