1 / 41

หน่วยตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด ศูนย์โรคหัวใจภาคเหนือ

หน่วยตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด ศูนย์โรคหัวใจภาคเหนือ. คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย. ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยลูกโป่ง. การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยลูกโป่ง.

Télécharger la présentation

หน่วยตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด ศูนย์โรคหัวใจภาคเหนือ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดหน่วยตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด ศูนย์โรคหัวใจภาคเหนือ

  2. คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยลูกโป่ง

  3. การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยลูกโป่งการขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยลูกโป่ง การรักษาผู้ป่วยหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ โดยการใส่สายสวนที่มีลูกโป่งเล็ก ๆ อยู่ปลายสาย ผ่านหลอดเลือดแดงที่ขา หรือข้อมือ เข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ บริเวณที่มีการตีบตัน แล้วทำการขยายหลอดเลือดให้เท่ากับหรือใกล้เคียงปกติ เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีขึ้น

  4. แสดงหลอดเลือดหัวใจตีบแสดงหลอดเลือดหัวใจตีบ

  5. หลอดเลือดแดงที่แขน หลอดเลือดแดงที่ขา

  6. แสดงการขยายหลอดเลือด หัวใจตีบด้วยลูกโป่ง

  7. แสดงการใส่ขดลวดชนิดพิเศษเข้าไปค้ำยันในหลอดเลือดแสดงการใส่ขดลวดชนิดพิเศษเข้าไปค้ำยันในหลอดเลือด ในกรณีที่การขยายหลอดเลือดด้วยลูกโป่งแล้ว ไม่สามารถขยายหลอดเลือดได้เต็มที่ หรือมีการตีบตันกลับของหลอดเลือด

  8. ข้อบ่งชี้ในการทำ 1. หลอดเลือดหัวใจมีการตีบตันมากกว่า 70 % ของหลอดเลือดปกติ 2. มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือมีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ 3. มีอาการเจ็บหน้าอก อย่างรุนแรง ที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล หรือทนต่อผลข้างเคียงของยาไม่ได้

  9. วัตถุประสงค์ในการทำ 1. ป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย 2. ลดการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง

  10. 3. ทำให้การทำงานของหัวใจมีประสิทธิภาพดีขึ้นโดยเฉพาะหัวใจห้องล่าง 4. ลดความรุนแรงของโรค และลดอัตราตายของผู้ป่วย

  11. การปฏิบัติตัวขณะตรวจ

  12. 1. นอนบนเตียงตรวจที่สามารถปรับระดับความสูงและปรับทิศทางได้

  13. 2. ติดสายตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อุปกรณ์วัดความดันโลหิต

  14. 3. ทำความสะอาดบริเวณขาหนีบ หรือ ข้อมือ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ 4. คลุมผ้าปราศจากเชื้อบริเวณที่จะทำการใส่สายสวน ห้ามท่านเอามือวางหรือจับบนผ้า

  15. 5. แพทย์จะฉีดยาชา ให้ก่อนการใส่สายสวน

  16. 6. เมื่อเริ่มถ่ายภาพ ให้ท่านยกแขนทั้งสองข้าง ไว้เหนือศีรษะ ( กรณีใส่ สายสวนที่ข้อมือ ให้ยกเฉพาะข้างที่ไม่ได้ใส่สายสวนไว้เหนือศีรษะ 7. ขณะทำการขยายหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจด้วยลูกโป่ง อาจรู้สึกแน่นอก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ ถ้ามีอาการเกิดขึ้นให้รีบบอกแพทย์ หรือพยาบาลทันที

  17. ภาพแสดงหลอดเลือดหัวใจข้างซ้ายภาพแสดงหลอดเลือดหัวใจข้างซ้าย

  18. ภาพแสดงหลอดเลือดหัวใจข้างขวาภาพแสดงหลอดเลือดหัวใจข้างขวา

  19. ภาพแสดงกำลังใส่ลูกโป่งและขดลวดภาพแสดงกำลังใส่ลูกโป่งและขดลวด

  20. ภาพแสดงหลอดเลือดหัวใจข้างขวา หลังขยาย และใส่ขดลวด

  21. การปฏิบัติตัวหลังตรวจการปฏิบัติตัวหลังตรวจ สำหรับผู้ที่ใส่สายสวนทางหลอดเลือดที่ขาหนีบ 1. แพทย์จะคาสายสวนไว้ในหลอดเลือดที่ขาหนีบ 4 - 6 ชั่วโมง 2. ดึงสายสวนที่ขาหนีบออก ทำการกดแผลเพื่อห้ามเลือด นานประมาณ 15 - 30 นาที หลังเลือดหยุดใช้หมอนทรายทับแผลไว้ประมาณ 4 - 6 ชั่วโมง เพื่อให้แน่ใจว่าเลือดหยุดไหลแล้ว จะไม่ซึมออกมาอีก

  22. 3. ท่านต้องนานราบ เหยียดขา ข้างที่ใส่สายสวน ห้ามงอขา และขาหนีบ ประมาณ 4 - 6 ชั่วโมง 4. ให้นอนพักอยู่บนเตียง 12 -24 ชั่วโมง หรือ ตามแพทย์สั่ง

  23. 5. ห้ามไอ หรือจามแรง ๆ ไม่ออกแรงเบ่ง ยกศีรษะ หรือผงกศีรษะ 6.เจ้าหน้าที่พยาบาล จะสังเกตอาการผิดปกติ ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ วัดสัญญาณชีพ จนกว่าอาการจะคงที่

  24. 7. ถ้ามีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ปวดแผล หรือรู้สึกมีน้ำอุ่น ๆ บริเวณแผล ควรรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่พยาบาลทราบ

  25. 8. ภายหลังการตรวจ ประมาณ 30 นาที ถ้าไม่มีอาการ คลื่นไส้อาเจียน ท่านสามารถรับประทานอาหาร และน้ำได้

  26. กรณีใส่สายสวนที่ข้อมือกรณีใส่สายสวนที่ข้อมือ 1. แพทย์จะเอาสายสวนออกจากหลอดเลือด กดแผลห้ามเลือด ประมาณ 5 นาที แล้วใช้ผ้ากอซปิดและกดแผลไว้ ปิดด้วยพลาสเตอร์แบบเหนียวและแน่น

  27. 2. หลังทำสามารถลุกนั่ง และเดินได้ ถ้าไม่มีอาการผิดปกติ

  28. 3. ภายหลังการตรวจ ประมาณ 30 นาที ถ้าไม่มีอาการ คลื่นไส้อาเจียน ท่านสามารถรับประทานอาหารและน้ำได้

  29. ภาวะแทรกซ้อน 1. ลิ่มเลือดอุดตันบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้อัมพาต หรืออัมพฤกษ์ได้

  30. 2. เลือดออกมากบริเวณแผล 3. แผลบวมมากจากการมีเลือดคั่งใต้ผิวหนัง

  31. 4. หัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจวาย

  32. 5. ติดเชื้อบริเวณแผล หรือในกระแสเลือด 6. เสียชีวิต

  33. ค่าตรวจรักษา 30,000 บาท ไม่รวมสายอุปกรณ์พิเศษ

  34. ระยะเวลานอนโรงพยาบาล ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน จะให้นอนโรงพยาบาล 1 คืน วันรุ่งขึ้นกลับบ้านได้

  35. การดูแลตนเองเมื่อกลับบ้านการดูแลตนเองเมื่อกลับบ้าน 1. ไม่ให้แผลถูกน้ำ 3 วัน จนกว่าแผลจะหาย ไม่ต้องทำแผล ยกเว้น มีอาการบวมแดง หรือผิดปกติ

  36. 2. สามารถทำงานได้เมื่อครบ 1 สัปดาห์

  37. 3. มาตรวจตามนัด รับประทานยาตามแพทย์สั่ง

  38. 4. ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บอก ใจสั่น เหนื่อย ให้รีบมาพบแพทย์ได้ทันที โดยไม่ต้องรอถึงวันนัด

  39. 5. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น อาหารที่มีไขมัน คลอเรสเตอรอลสูง การสูบบุหรี่ ความเครียด เป็นต้น

  40. 6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

  41. จากใจพวกเราชาวสวนหัวใจและหลอดเลือดจากใจพวกเราชาวสวนหัวใจและหลอดเลือด

More Related