1 / 36

การบริหารความเสี่ยง ( Risk Management ) โดย กลุ่มงานมาตรฐานด้านการตรวจสอบภายใน

การบริหารความเสี่ยง ( Risk Management ) โดย กลุ่มงานมาตรฐานด้านการตรวจสอบภายใน กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง 15 สิงหาคม 2549. ประเด็นการบรรยาย. สภาพแวดล้อมภาครัฐ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย

Télécharger la présentation

การบริหารความเสี่ยง ( Risk Management ) โดย กลุ่มงานมาตรฐานด้านการตรวจสอบภายใน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบริหารความเสี่ยง ( Risk Management ) โดย กลุ่มงานมาตรฐานด้านการตรวจสอบภายใน กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง 15 สิงหาคม 2549

  2. ประเด็นการบรรยาย • สภาพแวดล้อมภาครัฐ • พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 • แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546 – 2550) • พ.ร.ก. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี • การบริหารความเสี่ยง

  3. กระแสสังคม เช่น • ประชาธิปไตย • ธรรมาภิบาล สังคม เศรษฐกิจเป็น ยุคแห่งการเรียนรู้ • เศรษฐกิจเสรีไร้พรมแดน • การแข่งขันในเวทีโลก ใครเรียนรู้ไม่ทันโลก ก็จะมีปัญหา สภาพแวดล้อม โลกยุคโลกาภิวัตน์ งานของรัฐมากขึ้น ยากขึ้น รัฐต้องเล็กลง ลดเงิน ลดคน ลดอำนาจ ต้องเปิดให้มีส่วนร่วม ต้องโปร่งใส พร้อมถูกตรวจสอบ

  4. พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1 การบริหารราชการตาม พ.ร.บ.นี้ต้องเป็นไป เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อ ภารกิจของรัฐความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิง ภารกิจแห่งรัฐ………..การอำนวยความสะดวก และ การตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ โดยมี ผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน

  5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การรื้อปรับระบบการเงินและการงบประมาณ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม ยุทธศาสตร์ที่ 6 การเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย ยุทธศาสตร์ที่ 7 การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

  6. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับเปลี่ยนกระบวนการและ วิธีการทำงาน 1. นำระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มาประยุกต์ใช้ อย่างจริงจัง โดยให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนดำเนินงาน ให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับนโยบาย เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของ รัฐบาล 2. ในแผนยุทธศาสตร์ ให้ส่วนราชการกำหนดเป้าหมายในการ เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพมาตรฐานการให้บริการ

  7. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับเปลี่ยนกระบวนการและ วิธีการทำงาน (ต่อ) 3. ปรับเปลี่ยนระบบการควบคุมภายในของส่วนราชการให้มี ความทันสมัย โดยเฉพาะการควบคุมก่อนการดำเนินงาน เช่น การบริหารความเสี่ยง 4. ปรับปรุงระบบประเมินผลการดำเนินงาน โดยจัดให้มีการ เจรจาและทำข้อตกลงว่าด้วยผลงานประจำปี ให้มีการติดตามและ ประเมินผลการดำเนินงานตามข้อตกลงดังกล่าวทุกสิ้นปี และถือเป็น เงื่อนไขส่วนหนึ่งของการให้เงินรางวัลประจำปีแก่ส่วนราชการ

  8. พ.ร.ก. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี เกิดประโยชน์สุข ของประชาชน ประเมินผลการปฏิบัติ ราชการอย่างสม่ำเสมอ ผลสัมฤทธิ์ต่อ ภารกิจของรัฐ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่า ในเชิงภารกิจของรัฐ ประชาชนได้รับ ความสะดวก ตอบสนองความต้องการ ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงาน เกินความจำเป็น ปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ ให้ทันต่อสถานการณ์

  9. หมวด 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มาตรา 9 ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผล การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐาน ที่ กพร. กำหนด

  10. หมวด 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ มาตรา 45 นอกจากการจัดให้มีการประเมินผลตามมาตรา 9 (3) แล้ว ให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผล การปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลา ที่ กพร. กำหนด

  11. การสร้างแรงจูงใจ เพื่อเสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี กรอบการประเมินผลการพัฒนาการปฏิบัติราชการ มิติที่ 1มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ แสดงผลงานที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ เพื่อให้ เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนผู้รับบริการ เช่น ผลสำเร็จในการพัฒนาการปฏิบัติราชการ (1กรม/ 1 ปฏิรูป) เป็นต้น มิติที่ 2 มิติด้านประสิทธิภาพของ การปฏิบัติราชการ แสดงความสามารถในการปฏิบัติราชการ เช่น การลดค่าใช้จ่าย การลดระยะเวลา การให้บริการ และความคุ้มค่าของการใช้เงิน เป็นต้น มิติที่ 3 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ แสดงการให้ความสำคัญกับลูกค้าในการให้ บริการที่มีคุณภาพ สร้างความพึงพอใจแก่ ผู้รับบริการ มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์กร แสดงความสามารถในการเตรียมพร้อมกับการ เปลี่ยนแปลงขององค์กร เช่น การลดอัตรากำลัง การมอบอำนาจ การตัดสินใจ การอนุมัติ การอนุญาต ไปยังระดับปฏิบัติการ การวัดต้นทุนต่อหน่วย การพัฒนาระบบควบคุมภายใน เช่น มีการบริหาร ความเสี่ยง เป็นต้น

  12. การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง หมายถึง การวางแผน การดำเนินงานเพื่อจัดทำระบบบริหารความเสี่ยงของส่วนราชการ ขั้นตอนที่ 1 แต่งตั้งทีมงานเพื่อบริหารความเสี่ยง ขั้นตอนที่ 2 ทีมงานบริหารความเสี่ยงได้รับการอบรมด้านการ บริหารความเสี่ยง สามารถระบุ วิเคราะห์และ ประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร

  13. ขั้นตอนที่ 3 จัดทำรายงานประเมินผลความเสี่ยงได้ครอบคลุม ทุกด้าน ขั้นตอนที่ 4 กำหนดมาตรการหรือแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไข ลด ป้องกันความเสี่ยง ขั้นตอนที่ 5 มีการทบทวนและประเมินผลมาตรการหรือ แนวปฏิบัติการดังกล่าว

  14. ขอบเขต :- การบริหารความเสี่ยง ความหมาย ความสำคัญ กระบวนการ แนวทางดำเนินการ

  15. Good Governance องค์กร Internal Control Risk Management Internal Audit

  16. การบริหารความเสี่ยงองค์กร(Enterprise Risk Management) COSO การควบคุมภายใน(Internal Control)

  17. การควบคุมภายใน การควบคุมภายใน คือ อะไร หมายถึงกระบวนการที่คณะผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงานร่วมกันกำหนดขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจในระดับที่สมเหตุสมผลว่า การปฏิบัติงานจะสามารถบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ดังนี้ - ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน - ความเชื่อถือได้ของข้อมูลและรายงานทางการเงิน - การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

  18. การติดตามผล การประเมิน ความเสี่ยง กิจกรรม การควบคุม สารสนเทศ และการสื่อสาร นโยบาย/วิธีปฏิบัติ ระบุปัจจัยเสี่ยง การกระจายอำนาจ วิเคราะห์/วัดความเสี่ยง การสอบทาน จัดลำดับความเสี่ยง ฯลฯ จริยธรรม ปรัชญา บุคลากร โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ตรวจสอบ สภาพแวดล้อมการควบคุม

  19. แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมภายใน • การควบคุมภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดำเนินงานของหน่วยงาน • การควบคุมภายในเกิดขึ้นได้ด้วยบุคลากรทุกระดับของหน่วยงาน • การควบคุมภายในเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริหารในระดับที่สมเหตุสมผลว่าการปฏิบัติงานจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

  20. การบริหารความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management) กระบวนการที่ปฏิบัติโดยคณะกรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากรทุกคนในองค์กร เพื่อช่วยในการกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินงาน ซึ่งกระบวนการบริหารความเสี่ยงได้รับการออกแบบไว้ให้สามารถบ่งชี้เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ได้รับความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรกำหนดไว้

  21. การบริหารความเสี่ยงองค์กรการบริหารความเสี่ยงองค์กร • เครื่องมือนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์:- • ด้านกลยุทธ์ (Strategic) • ด้านการดำเนินงาน (Operation) • ด้านการรายงาน (Reporting) • ด้านการปฏิบัติตามกฎ/ระเบียบ/ข้อบังคับ (Compliance)

  22. ? ? ? ? การบริหารความเสี่ยงองค์กร

  23. แนวคิดพื้นฐาน • เป็นกระบวนการ • เกิดจากบุคลากร • กำหนดกลยุทธ์องค์กร • นำไปใช้ทั่วทั้งองค์กร • จัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ • สร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผล • บรรลุวัตถุประสงค์

  24. องค์ประกอบการบริหารความเสี่ยงองค์ประกอบการบริหารความเสี่ยง • สภาพแวดล้อมในองค์กร (Internal Environment) • การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Setting) • การบ่งชี้เหตุการณ์ (Event Identification) • การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) • การตอบสนองความเสี่ยง (Risk Response) • กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) • สารสนเทศและการสื่อสาร (Information & Communication) • การติดตามผล (Monitoring)

  25. COSO : IC COSO : ERM • Strategic • Operation • Reporting • Compliance • Operation • Financial Reporting • Compliance

  26. COSO : ERM COSO : IC • Internal Environment • Objective Setting • Event Identification • Risk Assessment • Risk Response • Control Activities • Information&Communication • Monitoring • Control Environment • Risk Assessment • Control Activities • Information&Communication • Monitoring

  27. เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น การบริหารความเสี่ยงองค์กร วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยบริหารโอกาสและควบคุมความเสี่ยง เชิงบวก โอกาส เชิงลบ ความเสี่ยง

  28. ความเสี่ยง (Risk) คืออะไร ความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ความเสี่ยงวัดได้จากผลกระทบที่ได้จากเหตุการณ์และโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น

  29. โอกาส (Opportunity) คืออะไร ความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ที่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร

  30. ประเภทของความเสี่ยง ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk) ความเสี่ยงทางการปฏิบัติงาน (Operational Risk) ความเสี่ยงทางนโยบาย/กลยุทธ์ (Policy/Strategic Risk) ความเสี่ยงทางกฎ/ระเบียบ/ข้อบังคับ (Regulatory Risk) ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ/การเมือง (Economic/Political Risk) ความเสี่ยงทางธรรมชาติ (Natural Risk)

  31. กระบวนการบริหารความเสี่ยงกระบวนการบริหารความเสี่ยง • การกำหนดวัตถุประสงค์ • การระบุความเสี่ยง • การประเมินความเสี่ยง • การเลือกวิธีการจัดการความเสี่ยง • การติดตามและประเมินผล

  32. การจัดการความเสี่ยง • การหลีกเลี่ยง (Avoid) • การยอมรับ (Accept) • การลด (Reduce) • การโอน/กระจาย (Share)

  33. แนวทางดำเนินการ  มีวิธีการที่หลากหลาย  ขึ้นอยู่กับความพร้อม ขนาด และความซับซ้อนขององค์กร  จัดให้มีบรรยากาศและวัฒนธรรมที่สนับสนุนการบริหารความเสี่ยง

  34. การสนับสนุนจากผู้บริหารการสนับสนุนจากผู้บริหาร ความรับผิดชอบ เป้าหมายที่ชัดเจน ปัจจัยสู่ความสำเร็จ การดำเนินการต่อเนื่อง การสื่อสารมีประสิทธิผล การวัดและติดตามผล

  35. A&Q กลุ่มงานมาตรฐานด้านการตรวจสอบภายใน กรมบัญชีกลาง โทร. 0 2270 0427

More Related