1 / 15

การจัดทำแผนการเรียนรู้ การใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ (PBL)

การจัดทำแผนการเรียนรู้ การใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ (PBL). การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้. หากอาจารย์จะต้องเตรียมตัวสอนในรายวิชาที่ได้รับมอบหมาย จะมีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไร. คำอธิบายรายวิชา การกำหนดเนื้อหา มคอ.2 (จุดมุ่งหมายของรายวิชา) การแบ่งสัดส่วนคะแนน การกำหนดรูปแบบการสอน

Télécharger la présentation

การจัดทำแผนการเรียนรู้ การใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ (PBL)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดทำแผนการเรียนรู้การใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ (PBL)

  2. การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ • หากอาจารย์จะต้องเตรียมตัวสอนในรายวิชาที่ได้รับมอบหมาย จะมีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไร

  3. คำอธิบายรายวิชา • การกำหนดเนื้อหา • มคอ.2 (จุดมุ่งหมายของรายวิชา) • การแบ่งสัดส่วนคะแนน • การกำหนดรูปแบบการสอน • การกำหนดรูปแบบการประเมิน

  4. PBLProject-based LearningProblem-based Learning

  5. (NUS ; National University of Singapore) NUS  ได้มีการเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนของนักศึกษาและอาจารย์ ซึ่งแต่เดิม NUS ก็ใช่วิธีการเล็คเชอร์เหมือนที่อื่นๆ (มหาวิทยาลัยเมืองไทย) ให้กลายมาเป็นProblem-based Learning (การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ หรือ PBL) “เขาไม่ได้เปลี่ยนหลักสูตร แต่เปลี่ยนวิธีการสอน ...เช่นเดียวกันกับมหาวิทยาลัยขั้นนำของโลก …. สิ่งที่เป็นปัจจัยความสำเร็จของมหาวิทยาลัยชั้นนำไม่ใช่หลักสูตร ไม่ใช่ตึกเรียนทันสมัย แต่คือ วิธีการสอน” ทางฝ่ายผู้บริหาร NUS ก็ตอกย้ำว่า "ความรู้จากเล็คเชอร์นั้น นักศึกษาเรียนจบแล้วเอาไปใช้ได้แค่ 3 ปีถึง 5 ปี ความรู้นั้นก็ล้าสมัยแล้ว” เพราะมันคงทำให้ความรู้นั้น “ตาย” อย่างไม่เกิดประโยชน์ ซ้ำยังไม่เพิ่มทักษะการศึกษาค้นคว้าให้แก่บัณฑิตเมื่อเรียนจบกลับออกไปทำงาน

  6. สอนเนื้อหาไปบางส่วนก่อน  หลังจากจากนั้นก็ทดลองให้นักเรียนแก้ปัญหาเป็นกลุ่มย่อย  ซึ่งเป็นวิธีสอนแบบแก้ปัญหา แต่เป็นการสอนแบบแก้ปัญหา (Problem solving method)  • หรือผู้สอนว่าไปตามทฤษฎี เนื้อหาที่สอนแล้วก็ยกกรณีศึกษาขึ้นมาให้นักเรียนถกกัน ก็ไม่ใช่วิธีการสอนแบบ PBL

  7. หากแต่ PBL นั้นผู้สอน ต้องนำปัญหาที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์วิชาของผู้เรียนโดยตรงต้องมาก่อนแล้วใช้ปัญหาหรือกรณีศึกษานั้นเป็นโจทย์กระตุ้นเพื่อให้ผู้เรียนไปค้นคว้าหาความรู้ ความเข้าใจด้วยตนเอง เพื่อจะได้ค้นพบคำตอบของปัญหาดังกล่าว   โดยกระบวนการหาความรู้ด้วยตนเองนี้ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการแก้ไขปัญหา (Problem solving skill) ระหว่างการเรียนผู้สอนอาจจะแนะแนวทางการค้นหาคำตอบหากเห็นว่าจะไม่อยู่ในศาสตร์วิชาที่สอนนั้นได้

  8. PBL Problem-based Learning

  9. การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ การเรียนรู้ที่ใช้ลักษณะการตั้งปัญหาเป็นประเด็นนำ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะค้นคว้าหาความรู้มาเพื่อขบคิดแก้ไขปัญหา หรือเรียนรู้จากปัญหาอาจเป็นสถานการณ์จริง ได้ถูกนำมาใช้อย่างได้ผลในหลายระดับการศึกษา เป็นรูปแบบการเรียนอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมของผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยแต่ก็ท้าทายผู้สอนมากที่สุด

  10. ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานประกอบด้วย • 1. ใช้ปัญหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริงเป็นตัวกระตุ้นหรือจุดเริ่มต้นในการแสวงหาความรู้ • 2. การบูรณาการเนื้อหาความรู้ในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น • 3. เน้นกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ • 4. เรียนเป็นกลุ่มย่อย โดยมีครู หรือ ผู้สอนเป็นผู้สนับสนุนและกระตุ้น ผู้เรียนต้องร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในกลุ่ม • 5. เน้นกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตนเองหรือกลุ่มตั้งไว้

  11. วัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ได้แก่ • 1. ได้ความรู้ที่สอดคล้องกับบริบทจริงและสามารถนำไปใช้ได้ • 2. พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารญาณ การให้เหตุผล และการนำไปสู่การ แก้ปัญหาที่มีประสิทธิผล • 3. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง • 4. ผู้เรียนสามารถทำงานและสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ • 5. เป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน • 6. ความคงอยู่ของความรู้จะนานขึ้น

  12. ปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL • 1. ความสำคัญของเนื้อหา ต้องเลือกเนื้อหาที่เป็นแกน หรือหลักการและสอดคล้องกับการนำไปใช้ในสถานการณ์จริง • 2 คุณภาพของโจทย์ปัญหา ต้องเลือกปัญหาที่พบบ่อยในสถานการณ์จริงและสร้างปัญหาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ปัญหาที่ดีจะต้องน่าสนใจและกระตุ้นในผู้เรียนสามารถอภิปรายและเรียนลงไปในระดับลึกจนเข้าใจแนวคิดของปัญหามากกว่าการท่องจำสามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมของผู้เรียนกับข้อมูลใหม่ • 3 กระบวนการกลุ่ม ทั้งครูและผู้เรียนต้องเข้าใจพลวัตรของกระบวนการกลุ่ม บทบาทของแต่ละคนในกลุ่ม กระบวนการกลุ่มที่ดีจะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

  13. ปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL • 4.บทบาท และทักษะของครู ครูหรือผู้สอนยังมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แต่จะเปลี่ยนไปจากการสอนแบบบรรยาย ดังได้กล่าวมาแล้ว • 5. การพัฒนาทักษะต่างๆ ของทั้งครูและผู้เรียน ครูอาจไม่มั่นใจตนเองในการที่ต้องเป็นครูในวิชาที่ตนไม่ชำนาญ ครูจะต้องได้รับการพัฒนาและฝึกทักษะต่างๆ ของการเป็นครูประจำกลุ่ม จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จมากขึ้น ผู้เรียนก็จะต้องรับความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนแบบนี้ • 6.ทรัพยากรการเรียนรู้ เนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลหรือความรู้ที่สำคัญ การเตรียมและจัดหาแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลาย พร้อมทั้งเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องจึงมีความจำเป็นต่อการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน • 7.การบริหารจัดการ ความร่วมมือและประสานงานกันระหว่างภาควิชาหรือหน่วยงาน ตลอดจนการวางแผนงานที่เหมาะสมจะทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ

  14. หากต้องการให้ ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียน ผู้สอนต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนก่อน

More Related