1 / 31

การพัฒนาเทคนิคการทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีต

แถลงสรุปผลการวิจัย เรื่อง. การพัฒนาเทคนิคการทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีต โดยใช้ค่ากำลังอัดที่ได้จากการเร่งการแข็งตัวด้วยพลังงานไมโครเวฟ. ผู้วิจัย. นนอ.บรรพต ลัทธคุณ. นนอ.นิธิพล พลจันทร์. อาจารย์ที่ปรึกษา. น.ต.ธนากร พีระพันธุ์. ที่มาและความสำคัญของปัญหา.

Télécharger la présentation

การพัฒนาเทคนิคการทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แถลงสรุปผลการวิจัย เรื่อง การพัฒนาเทคนิคการทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีต โดยใช้ค่ากำลังอัดที่ได้จากการเร่งการแข็งตัวด้วยพลังงานไมโครเวฟ

  2. ผู้วิจัย นนอ.บรรพต ลัทธคุณ นนอ.นิธิพล พลจันทร์ อาจารย์ที่ปรึกษา น.ต.ธนากร พีระพันธุ์

  3. ที่มาและความสำคัญของปัญหาที่มาและความสำคัญของปัญหา - เนื่องจากการทดลองของ น.ต.ธนากร และคณะ(2544) ได้สูตรการทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีตที่ 28 วัน แต่ยังไม่ได้ตรวจสอบกับคอนกรีตผสมเสร็จ และยังไม่ได้ตรวจสอบสูตรการทำนายค่ากำลังอัดนี้ เมื่อใช้เตาอบไมโครเวฟยี่ห้ออี่น จึงต้องมีการตรวจสอบความสัมพันธ์ และพัฒนาเทคนิคการทำนายค่ากำลังอัดที่ 28 วันเมื่อใช้เตาอบต่างกัน ดังนี้ 1.ตรวจสอบความสัมพันธ์จากสูตรดังกล่าวกับคอนกรีตผสมเสร็จ และ คอนกรีตในห้องปฏิบัติการ 2.พัฒนาเทคนิคการทำนายค่ากำลังอัด เมื่อใช้แท่งทดสอบในการเร่งการ แข็งตัวไม่เท่ากัน เมื่อใช้เตาอบไมโครเวฟต่างกัน

  4. วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อพัฒนาเทคนิคการทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีตที่อายุ 28 วัน ให้สามารถใช้ได้ กับไมโครเวฟต่างรุ่นกัน 2.เพื่อตรวจสอบความแม่นยำของสูตรที่ใช้ในการทำนายค่ากำลังอัดที่ 28 วัน ที่พัฒนา จากห้องปฏิบัติการ โดยใช้ทำนายค่ากำลังอัดที่ 28 วัน ของคอนกรีตผสมเสร็จทั่วไป

  5. ขอบเขตของการวิจัย 1.ปูนซีเมนต์ที่ใช้เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทธรรมดา 2.เตาอบไมโครเวฟที่ใช้เป็นเตาอบไมโครเวฟยี่ห้อเวิร์ลพูล รุ่น VIP 347, ยี่ห้อโกล์ดสตาร์ รุ่น MS-4025 และยี่ห้อฮิตาชิ รุ่น MR-30 A 3.ศึกษาเฉพาะคุณสมบัติการรับแรงอัดของคอนกรีตเท่านั้น 4.ขนาดของหินปูนที่ใช้มีขนาดโตสุดไม่เกิน 12.5 มม. 5.ทรายที่ใช้เป็นทรายก่อสร้างทั่วไป 6.สารเคมีผสมเพิ่มที่ใช้ประกอบด้วย สารลดน้ำ สารเร่งการก่อตัว และสารหน่วงการก่อตัว 7.ขนาดของตัวอย่างคอนกรีต รูปทรงกระบอก เท่ากับ 76.2 x 152.4 มม. 8.คำนวณส่วนผสมคอนกรีตตามมาตรฐานของอเมริกา

  6. ประโยชน์ที่ได้รับ 1.สามารถกำหนดแนวทางเพื่อพัฒนาเทคนิคการทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีต ที่ 28 วัน ให้สามรถใช้ได้กับเตาอบไมโครเวฟต่างรุ่นกัน 2.สามารถทราบความแม่นยำของสูตรที่ใช้ในการทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีต ที่ 28 วัน เมื่อใช้ทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีตผสมเสร็จ

  7. สมมุติฐานการทดลอง 1.เมื่อจำนวนแท่งที่ใช้ทดสอบเท่ากัน คอนกรีตที่ถูกเร่งการแข็งตัวด้วยพลังงานไมโครเวฟรวมใกล้เคียงกัน ควรจะได้ค่ากำลังอัดที่ระยะแรกใกล้เคียงกัน และสามารถทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีตได้ใกล้เคียงกัน โดยใช้สูตรในการทำนายเดียวกันได้ 2.เมื่อจำนวนแท่งที่ใช้ทดสอบไม่เท่ากัน คอนกรีตที่ถูกเร่งการแข็งตัวด้วยพลังงานไมโครเวฟต่อหนึ่งหน่วยแท่งทดสอบใกล้เคียงกัน ควรจะได้ค่ากำลังอัดที่ระยะแรกใกล้เคียงกัน และสามารถทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีตได้ใกล้เคียงกัน โดยใช้สูตรในการทำนายเดียวกันได้

  8. ขั้นตอนการทดลอง 1.หาคุณสมบัติของวัสดุ และคำนวณหาส่วนผสมของคอนกรีต 2.ตรวจสอบความสัมพันธ์ของการทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีต เมื่อใช้จำนวน แท่งทดสอบที่ใช้เร่งการแข็งตัวของคอนกรีตในเตาอบไมโครเวฟเท่ากัน เมื่อใช้ เตาอบ ไมโครเวฟต่างกัน 3.ตรวจสอบความสัมพันธ์ของการทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีต เมื่อใช้จำนวนแท่ง ทดสอบที่ใช้ในการเร่งการแข็งตัวของคอนกรีตในเตาอบไมโครเวฟไม่เท่ากัน เมื่อใช้ เตาอบไมโครเวฟต่างกัน

  9. ผสมคอนกรีตตามmix design เมื่อผสมครบ30นาที ทำการเร่งการแข็งตัวของคอนกรีต หลังผสม5.5 ชั่วโมงทดสอบกำลังอัดระยะแรก ทำนายกำลังอัดที่ 28 วันโดยใช้สูตร S28d- Ncc = (8.5459) * (Ss.sh-mcc)0.6003 ทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตที่บ่มปกติที่ 28 วัน และ เปรียบเทียบความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ขั้นตอนย่อยในการเร่งการแข็งตัวและทดสอบกำลังอัดคอนกรีตที่ไม่มีสารผสมเพิ่ม

  10. ผสมคอนกรีตตามmix design เมื่อค่าต้านทานการจมเข็มในมอร์ต้าร์=500-600psi ทำการเร่งการแข็งตัวของคอนกรีต พักคอนกรีต3.5ชั่วโมงหลังการเร่งการแข็งตัว ทดสอบกำลังอัดระยะแรก ทำนายกำลังอัดที่ 28 วันโดยใช้สูตร S28d - NCC = (12.078) x (Searly - MCC)0.437 ทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตที่บ่มปกติที่ 28 วัน และ เปรียบเทียบความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ขั้นตอนย่อยในการเร่งการแข็งตัวและทดสอบกำลังอัดคอนกรีตที่มีสารผสมเพิ่ม

  11. ผลการทดลอง ผลการหาคุณสมบัติของวัสดุ วัสดุผสมหยาบ ความถ่วงจำเพาะ = 2.67 หน่วยน้ำหนัก = 1564 กก./ลบ.ม. ส่วนขนาดคละของวัสดุหยาบขนาด 67 ตามมาตรฐาน ASTM C 33-93 วัสดุผสมละเอียด ความถ่วงจำเพาะ = 2.62 โมดูลัสความละเอียด = 2.84

  12. ส่วนผสมของคอนกรีตต่อ 1 ลบ.ซม. ตามมาตรฐานของอเมริกา หมายเหตุ 1.สารลดน้ำ 1.5% ของน้ำหนักปูนซีเมนต์ 2.สารหน่วงการก่อตัว 300 cc/ปูน 100kg 3.สารเร่งการก่อตัว 300 cc/ปูน 100kg

  13. ผลการเทียบค่าระดับพลังงานของเตาอบไมโครเวฟ โกล์ดสตาร์ รุ่นMS-4025 ระดับพลังงานที่ใช้ ใช้ระดับพลังงานที่ 284 วัตต์ 30 นาที และ 212 วัตต์ 15 นาที -พลังงานรวม = 702 .0 กิโลจูล (ใช้แท่งทดสอบ 4 แท่ง) -พลังงานต่อหนึ่งแท่งทดสอบ = 175.5 กิโลจูล

  14. ผลการเทียบค่าระดับพลังงานของเตาอบไมโครเวฟ เวิร์ลพูล รุ่นVIP 347 ระดับพลังงานที่ใช้ ใช้ระดับพลังงานที่ 291 วัตต์ 35 นาที และ 131.5 วัตต์ 10 นาที -พลังงานรวม = 690.0 กิโลจูล (ใช้แท่งทดสอบ 4 แท่ง) -พลังงานต่อหนึ่งแท่งทดสอบ = 172.5 กิโลจูล

  15. ผลการเทียบค่าระดับพลังงานของเตาอบไมโครเวฟ ฮิตาชิ รุ่นMR-30 A ระดับพลังงานที่ใช้ ใช้ระดับพลังงานที่ 225.9 วัตต์ 23 นาที และ 157.8 วัตต์ 22 นาที -พลังงานรวม = 520.0 กิโลจูล (ใช้แท่งทดสอบ 3 แท่ง) -พลังงานต่อหนึ่งแท่งทดสอบ = 173.3 กิโลจูล

  16. กราฟแสดงการใช้ระดับพลังงานในการเร่งการแข็งตัวในเตาอบไมโครเวฟกราฟแสดงการใช้ระดับพลังงานในการเร่งการแข็งตัวในเตาอบไมโครเวฟ

  17. ผลการทดสอบกำลังอัดกับคอนกรีตที่ไม่มีสารเคมีผสมเพิ่มผลการทดสอบกำลังอัดกับคอนกรีตที่ไม่มีสารเคมีผสมเพิ่ม เมื่อใช้แท่งทดสอบในการเร่งการแข็งตัวเท่ากัน

  18. ผลการทดสอบกำลังอัดกับคอนกรีตที่มีสารเคมีผสมเพิ่มผลการทดสอบกำลังอัดกับคอนกรีตที่มีสารเคมีผสมเพิ่ม เมื่อใช้แท่งทดสอบในการเร่งการแข็งตัวเท่ากัน

  19. หมายเหตุ กำลังอัดที่แสดงใน mix design เป็นของทรงลูกบาศก์

  20. ผลการทดสอบกำลังอัดกับคอนกรีตที่มีสารเคมีผสมเพิ่มเมื่อใช้แท่งทดสอบในการเร่งการแข็งตัวไม่เท่ากันผลการทดสอบกำลังอัดกับคอนกรีตที่มีสารเคมีผสมเพิ่มเมื่อใช้แท่งทดสอบในการเร่งการแข็งตัวไม่เท่ากัน

  21. สรุปผลการวิจัย

  22. ปัญหา และแนวทางแก้ไข ปัญหา 1.การบดอัดคอนกรีตระหว่างเข้าแบบไม่ดีทำให้มีฟองอากาศมาก ทำให้ผลการทดลอง ผิดพลาด 2.คอนกรีตผสมเสร็จที่นำมาทดลองผสมกันไม่ดี ทำให้ส่วนผสมของคอนกรีตที่ผสม ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้ผลการทดลองผิดพลาด แนวทางแก้ไข 1.ขณะนำคอนกรีตเข้าแบบต้องไม่ให้คอนกรีตมีฟองอากาศมากเกินไป เพื่อให้ ผลการทดลองถูกต้อง 2.ต้องทำการผสมคอนกรีตผสมเสร็จด้วยมืออีกครั้ง เพื่อให้คอนกรีตผสมเป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อให้ได้ผลการทดลองที่ถูกต้อง

  23. ข้อเสนอแนะ 1.เนื่องจากการทดลองใช้เตาอบไมโครเวฟ 3 ยี่ห้อ ในการเร่งการแข็งตัว จึงควรทำ การทดลองอีก 1 ยี่ห้อ เพิ่มขึ้นเพื่อยืนยันว่าความสัมพันธ์นี้สามารถใช้กับเตาอบ ไมโครเวฟยี่ห้ออื่นได้ 2.เนื่องจากการใช้เถ้าลอยจากถ่านหินลิกไนต์เป็นที่นิยมมากขึ้น จึงควรนำความสัมพันธ์นี้ ไปประยุกต์ใช้ทำนายค่ากำลังอัดสำหรับคอนกรีตผสมเถ้าลอย 3.ควรศึกษาหาปัจจัยในการใช้ปูนซีเมนต์และส่วนผสมอื่นๆ จากต่างแหล่งผลิต ว่ามีผล ต่อการพัฒนากำลังอัดและมีผลต่อการทำนายกำลังอัดด้วยวิธีนี้อย่างไร

  24. ? ? ? ? ? ? ? ? ตอบข้อซักถาม ? ? ? ? ? ? ? ?

  25. จบแล้วครับ

More Related