1 / 10

รังสีอัลตราไวโอเลต ( Ultraviolet radiation )

รังสีอัลตราไวโอเลต ( Ultraviolet radiation ). ผลต่อสุขภาพของมนุษย์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม. รังสีอัลตราไวโอเลต ( UV ). รังสีดวงอาทิตย์ประกอบด้วย รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) รังสีช่วงแสงสว่าง (Visible) และรังสีอินฟราเรด (Infrared). รังสีอัลตราไวโอเลต ( UV ).

chuong
Télécharger la présentation

รังสีอัลตราไวโอเลต ( Ultraviolet radiation )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet radiation) ผลต่อสุขภาพของมนุษย์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

  2. รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) รังสีดวงอาทิตย์ประกอบด้วย รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) รังสีช่วงแสงสว่าง (Visible) และรังสีอินฟราเรด (Infrared)

  3. รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) UVC(100-280nm)สามารถทำลายเนื้อเยื่อและทำให้เกิดมะเร็งที่ผิวหนังได้ เป็นรังสีที่เป็นอันตรายต่อผิวหนังมาก แต่รังสีนี้ถูกกรองกั้น โดยชั้นบรรยากาศไว้ได้ทั้งหมด จึงแทบไม่มี หลุดลอดมายัง โลกเลย UVB(280-315nm)มีอยู่ประมาณ 18% ของรังสี UV ที่ส่องมายังโลก ซึ่งเป็นรังสีที่มีพลังงานมาก โดยจะเห็นได้จากการ ที่รังสีนี้เป็นตัวการทำให้ผิวหนังมีอาการไหม้ ร้อนแดง และยังส่งผลให้มีการสร้างเมลานินเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้ผิดหนังเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง UVA(315-400nm)มีอยู่ประมาณ 75% ของรังสี UV ที่ส่องมายังโลก โดยที่จะมีพลังงานต่ำกว่า UVB จึงไม่ทำให้เกิดอาการร้อนแดง หรือว่าการไหม้ แต่จะแทรกลงไปในชั้นผิวหนัง และก็ทำลายสารองค์ประกอบ ของผิวหนัง ทำให้เกิดการ Photo aging หรืออาการจาก UV ที่ทำอันตรายต่อ DNA โปรตีน และไขมันซึ่งเป็นเสมือนเกราะป้องกันผิวหนัง ซึ่งผลของมันก็คือ ทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นและฝ้าตามใบหน้าและร่างกาย

  4. แหล่งกำเนิดของรังสี UVนั้น มีทั้งจากธรรมชาติและจากสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น แต่แหล่งกำเนิดรังสี UV ที่สำคัญ คือ ดวงอาทิตย์ และคนส่วนใหญ่จะได้รับรังสี UV จากแสงแดด แต่เนื่องจาก ชั้นของบรรยากาศได้ลดลง มนุษย์และสิ่งแวดล้อมจึงได้รับรังสี UV เพิ่มมากขึ้น สำหรับสุขภาพของ มนุษย์ รังสี UV เป็นเสมือนดาบสองคม กล่าวคือ หากได้รับรังสีในขนาดต่ำจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้าง วิตามินดีแต่ถ้าได้รับมากเกินไปเป็นเวลานานจะมีผลในการทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมทั้ง ผิวหนัง ตา และก่อให้เกิดมะเร็ง ไบโอโมเลกุลในร่างกายซึ่งดูดซึมรังสี UV จ ะเกิดปฏิกิริยาขั้นปฐมภูมิ คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลเล็กน้อย หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางโมเลกุลโดยสิ้นเชิง ซึ่งการเปลี่ยน แปลงนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแต่มีผลต่อเนื่องในระยะยาว DNA เป็นโมเลกุลสำคัญที่ถูกทำลายได้ด้วย รังสี UVB ( 280 - 315 nm) และ UVA (315 – 400 nm) จากการเฝ้าสังเกตการณ์ พบว่าเมื่อเซลล์ prokaryotic และ eukaryotic ได้รับรังสี UV จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ เช่น เซลล์ตาย โครโมโซมเปลี่ยนแปลง เกิดการกลายพันธุ์ และการเปลี่ยนแปลงของ โครงสร้างเซลล์ นอกจากนี้ยัง พบว่า ยีนหลายตัว และไวรัสหลายชนิด ก็ถูกกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยรังสี UV

  5. ผลต่อสุขภาพของมนุษย์ ทางผิวหนัง รังสี UV ทำให้ผิวหนังร้อนแดงได้อย่างเฉียบพลัน และถ้าได้รับรังสีมากก็จะทำให้เกิดเป็น เม็ดพุพอง และทำลายเซลล์ผิวหนังชั้นบน รังสี UVB ทำให้ผิวหนังร้อนแดงได้เล็กน้อย และไม่มีผล ต่อเนื่องภายหลังแม้จะได้รับรังสีนี้ซ้ำอีก ส่วนความรู้ด้านรังสี UVA นั้น สามารถทำลายเนื้อเยื่อได้ มักพบอยู่ในสิ่งแวดล้อม เครื่องอุปโภคบริโภค และเคมีเวชภัณฑ์ ผิวของคนเราจะเป็นตัวป้องกันมิให้รังสีทำลายเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยมี Melanin pigment เป็นตัวดูดรังสี แต่คนบางคนก็มีเม็ดสีไม่เพียงพอที่จะดูดซับรังสีได้หมดหากเจอแสงมากก็จะเกิดอาการ บวม แดง และปวด ที่เรียกว่า sun burn ซึ่งอาจจะส่งผลเสียในระยะยาวเช่นมะเร็งผิวหนัง

  6. ระบบภูมิคุ้มกันมีหลักฐานแสดงว่าภูมิคุ้มกันของคนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ได้รับรังสี UV จะถูกกดไว้ ทำให้คนเหล่านี้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย และลดประสิทธิภาพของวัคซีนลงด้วย อย่างไรก็ตามข้อมูลในด้านนี้จะ ต้องทำการศึกษาวิจัยต่อไป ตา ผลของรังสี UV ต่อตาอย่างเฉียบพลัน คือ กระจกตาอักเสบ (photokeratitis) และเยื่อตาขาวอักเสบ (photoconjunctivitis) ซึ่งปัญหานี้ป้องกันได้ด้วยการสวมแว่นกันแดดที่เหมาะสม แต่ผล ต่อเนื่องเรื้อรังที่จะเกิด คือ การเกิดต้อเนื้อ มะเร็งของเยื่อตาขาวชนิด squamous cell และต้อกระจก

  7. รังสี UVAรังสีคลื่นยาวที่เจาะลึกลงสู่ใต้ผิว ผ่านไปยังผิวหนังชั้นหนังแท้ ทำให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้าง เนื้อเยื่อ เส้นใยลาสติน และคอนลาเจน ส่งผลให้ผิวหนังดำคล้ำ หม่นหมอง เหี่ยวย่น และก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ในระยะยาว รังสี UVBรังสีคลื่นสั้นที่จะถูกดูดซับ และกระจายตัวอยู่บริเวณผิวชั้นบน ซึ่งเป็นอันตรายต่อผิวหนังอย่างเฉียบพลัน เพราะจะทำให้ผิวหนังปรากฏ อาการไหม้แดด เซลล์ผิวมีลักษณะที่หนาผิดปกติ และอาจกลายเป็นมะเร็ง ผิวหนังได้ในที่สุด

  8. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระดับการเพิ่มของรังสี UV บนพื้นผิวโลก อาจจะมีผลต่อเนื่องที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไป การได้รับรังสี UVB เพิ่มขึ้น จะมีผลเสียต่อการเจริญเติบโตของพืช การสังเคราะห์แสง และความต้านทาน โรค นอกจากนี้ระดับ ของรังสี UV ที่เพิ่มขึ้นยังมีผลต่อนิเวศวิทยาในน้ำ เช่น จำนวนของ phytoplankton จะลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากรังสี UVB ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลโดยตรงต่อแหล่งอาหารของมนุษย์และ สัตว์น้ำ เนื่องจาก phytoplankton เป็นสิ่งที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารของสัตว์น้ำ

  9. ข้อกำหนดของการรับรังสีและมาตรการการป้องกันข้อกำหนดของการรับรังสีและมาตรการการป้องกัน -ควรใช้ฉากกั้นแสง ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีทั้ง UVA และ UVB เพื่อลด การถูกแสงแดด มิใช่เพื่อให้สามารถรับแสงแดดได้นานขึ้น -ประชาชนควรรู้จักระวังตนเองต่อการรับรังสี UV มากขึ้น และการใช้วิธีป้องกันที่ เหมาะสม รวมทั้งการหลบแดดในเวลาเที่ยงวัน เนื่องจากเวลาดังกล่าวแสงแดดจะมี ระดับของรังสี UV สูงสุด ฉะนั้นจึงควรสวมหมวกปีกกว้าง ใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด และแว่นกันแดดที่ดูดซับรังสี UV ได้ -การป้องกันในเด็กเล็กที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ การป้องกันผลระยะยาวที่จะเกิดตามมา -ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อป้องกันการได้รับรังสี UV จากแสงแดดที่เพิ่มขึ้น

  10. Linkที่เกี่ยวข้อง 1. http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/Ubon/songkhla/uv.htm 2. http://www.tmd.go.th/~ozone/uvbasic.htm 3. http://www.orientalprincess.com/products/special/thai/sunscreen.html 4. http://www.artistry.co.th/artistry/publicwww/update/fashion/index_03.jsp 5. http://www.juniorhealthguard.org/pdf/Health/sunscreen.html 6. http://www.siamhealth.net/Health/Photo_teaching/sun/sunscreen.htm

More Related