1 / 75

บทที่ 7 ( ต่อ )

บทที่ 7 ( ต่อ ). IP Protocol. Data (Transport Layer). Header. ลำดับข้อมูล. IP. IP. แพ็คเกต (Packet). แพ็คเกต (Packet) เป็นลักษณะของข้อมูลที่อยู่ในชั้น Network Layer ลักษณะของ Packet จะมีการ Encapsulation ในส่วน Header เข้าไปกับตัวข้อมูลที่ส่งมาจากชั้น Transport Layer.

dale
Télécharger la présentation

บทที่ 7 ( ต่อ )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 7 (ต่อ) IP Protocol

  2. Data (Transport Layer) Header ลำดับข้อมูล IP IP แพ็คเกต (Packet) • แพ็คเกต (Packet) เป็นลักษณะของข้อมูลที่อยู่ในชั้น Network Layer • ลักษณะของ Packet จะมีการ Encapsulation ในส่วน Header เข้าไปกับตัวข้อมูลที่ส่งมาจากชั้น Transport Layer

  3. Internet Protocal (IP) • โปรโตคอล IP ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการรับส่งแพ็กเกจหรือเรียกว่า “datagram” ซึ่งเป็นหน่วยข้อมูลที่รับมาจากโปรโตคอลที่อยู่ชั้นที่สูงกว่า • IP จะรับผิดชอบในการจัดเส้นทาง (Routing) ให้แพ็กเกจส่งไปยังเครือข่ายที่โฮสต์นั้นอยู่โดยใช้เราเตอร์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย • โปรโตคอล IP ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ Connectionless ที่มีความเชื่อถือน้อย เนื่องจากไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อก่อนที่จะทำการรับส่งข้อมูล • ในการส่งข้อมูลแต่ละครั้ง โฮสต์ส่งจะไม่ทำการติดต่อโฮสต์ปลายทางเพื่อตกลงเกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลก่อน แต่โฮสต์ที่ต้องการส่งข้อมูลจะทำการส่งแพ็กเก็ตออกไปทันที โดยคาดหวังว่าโฮสต์ปลายทางจะได้รับแพ็กเก็ตนั้น • แพ็กเก็ตที่ถึงปลายทางอาจไม่เรียงลำดับหรือมีการซ้ำกันหรือมาถึงล่าช้าได้ การแก้ปัญหาจะเป็นหน้าที่ของโปรโตคอลในชั้นทีสูงกว่ารับผิดชอบ

  4. Internet Protocal (IP) • เป็นโปรโตคอลที่ทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทางโดยอาศัย IP Address • คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP Address ประจำเครื่อง ซึ่งเป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลก • IP Address ไม่ใช่หมายเลขที่ใช้อ้างอิงเครื่องใดเครื่องหนึ่งจริงๆ แต่การอ้างอิงถึงตำแหน่งเครื่องจะเป็น MAC Address • หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก • แต่การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center)

  5. Header Data รูปแบบของแพ็กเกจ IP

  6. แพ็กเกจ IP • Version : หมายเลขเวอร์ชันของโปรโตคอล ที่ใช้งานในปัจจุบันคือ เวอร์ชัน 4 (IPv4) และเวอร์ชัน 6 (IPv6) • Header Length : ความยาวของเฮดเดอร์ โดยทั่วไปถ้าไม่มีส่วน option จะมีค่าเป็น 5 (5*32 bit) • Type of Service (TOS) : ใช้เป็นข้อมูลสำหรับเราเตอร์ในการตัดสินใจเลือกการเราต์ข้อมูลในแต่ละดาต้าแกรม • Length : ความยาวทั้งหมดเป็นจำนวนไบต์ของดาต้าแกรม ซึ่งด้วยขนาด 16 บิตของฟิลด์ จะหมายถึงความยาวสูงสุดของดาต้าแกรม คือ 65,535 byte (64k) แต่ในการส่งข้อมูลจริง ข้อมูลจะถูกแยกเป็นส่วนๆตามขนาดของ MTU ที่กำหนดในลิงค์เลเยอร์ และนำมารวมกันอีกครั้งเมื่อส่งถึงปลายทาง แอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่จะมีขนาดของดาต้าแกรมไม่เกิน 512 byte

  7. แพ็กเกจ IP • Identification : เป็นหมายเลขของดาต้าแกรมในกรณีที่มีการแยกดาต้าแกรมเมื่อข้อมูลส่งถึงปลายทางจะนำข้อมูลที่มี identification เดียวกันมารวมกัน • Flag : ใช้ในกรณีที่มีการแยกดาต้าแกรม • Fragment offset : ใช้ในการกำหนดตำแหน่งข้อมูลในดาต้าแกรมที่มีการแยกส่วน เพื่อให้สามารถนำกลับมาเรียงต่อกันได้อย่างถูกต้อง • Time to live (TTL) : กำหนดจำนวนครั้งที่มากที่สุดที่ดาต้าแกรมจะถูกส่งระหว่าง hop (การส่งผ่านข้อมูลระหว่างเน็ตเวิร์ค) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการส่งข้อมูลโดยไม่สิ้นสุด โดยเมื่อข้อมูลถูกส่งไป 1 hop จะทำการลดค่า TTL ลง 1 เมื่อค่าของ TTL เป็น 0 และข้อมูลยังไม่ถึงปลายทาง ข้อมูลนั้นจะถูกยกเลิก และเราเตอร์สุดท้ายจะส่งข้อมูล ICMP แจ้งกลับมายังต้นทางว่าเกิด time out ในระหว่างการส่งข้อมูล • Protocol : ระบุโปรโตคอลที่ส่งในดาต้าแกรม เช่น TCP ,UDP หรือ ICMP

  8. แพ็กเกจ IP • Header checksum : ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในเฮดเดอร์ • Source IP address : หมายเลข IP ของผู้ส่งข้อมูล • Destination IP address : หมายเลข IP ของผู้รับข้อมูล • Data : ข้อมูลจากโปรโตคอลระดับบน

  9. IP Address • IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเราท์เตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมาย จุด ขั้นระหว่างชุด ตัวอย่าง IP Address 192.168.0.1 • ขนาดความยาวของ IP Address ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมีความยาวที่ 32 บิต หรือ 4 ไบต์ • ลักษณะของ IP Address จะมีการจำแนกออกเป็น Class จำนวน 5 class ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก คือ 1. ส่วนของหมายเลขเครือข่าย (NetID) - เป็นส่วนที่ใช้กำหนดหมายเลขของเครือข่าย - ใช้สำหรับการวางเส้นทางแพ็คเกตระหว่างเครือข่าย - ในส่วนนี้สามารถระบุ Class ของ IP Address ได้ 2. ส่วนของหมายเลขโฮสต์ (HostID) - เป็นส่วนที่ใช้กำหนดหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ - เป็นการระบุตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจงของอุปกรณ์หรือโฮสต์บนเครือข่าย

  10. ประเภทของ IP Address • IPv4 แบ่งหมายเลขไอพีออกเป็น 5 ประเภทคือ A, B, C, D, และ E • หมายเลขไอพีแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มบอกหมายเลขเครือข่าย (Network ID) และกลุ่มบอกหมายเลขโฮสต์

  11. ลักษณะไอพีแอดเดรส • เขียนด้วยตัวเลข 4 ชุดติดกัน และคั่นด้วย เครื่องหมาย “.” เช่น 202.28.38.130 , 10.1.1.222. • ตัวเลขแต่ละชุดมีค่าระหว่าง 0 -255 • หมายเลขลงท้ายด้วย 0 และ 255 จะไม่กำหนดเป็นไอพีแอดเดรสสำหรับอุปกรณ์ เช่น 202.44.210.0 และ 202.44.210.255 • ระบบเครือข่ายเดียวกันกำหนดไอพีแอดเดรสซ้ำกันไม่ได้ • แต่ละเครือข่ายในระบบอินเตอร์เน็ตจะมีไอพีแอดเดรสเป็นของตนเอง โดยจัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่กำหนดไอพีแอดเดรสเพื่อไม่ให้ซ้ำกัน

  12. ลักษณะของ IP Address • IP Address ขนาด 32 บิตนี้ สามารถใช้แทนหมายเลขแอดเดรสของอุปกรณ์ได้ถึง 4 พันล้านเครื่อง เท่ากับ 232 (4,294,967,296) • แต่ไม่ได้นำ IP มาใช้งานทั้งหมด เนื่องจากมีการสงวนไว้บางส่วนเพื่องานเฉพาะอย่าง • มีการเขียนให้อยู่ในรูปของเลขฐานสิบ เพื่อง่ายต่อการจดจำ 10000000 . 00001011 . 00000011 . 00011111 128 . 11 . 3 . 31 • ในแต่ละไบต์เมื่อนำมาแปลงเป็นเลขฐานสิบ จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 - 255

  13. Class ของ IP Address • Class ที่ใช้งานอยู่ มี 5 ชนิด คือ Class A - Class D • โดยแต่ละ Class ออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละองค์กร • ปัจจุบัน Class A และ Class B ถูกนำมาใช้งานเต็มหมดแล้ว • เหลือแต่เพียง Class C ที่ยังสามารถใช้งานได้ • ส่วน Class D ถูกใช้เป็น Multicast Address • และ Class E สงวนไว้เพื่อใช้งานในอนาคต • ในตำแหน่งไบต์แรก จะบ่งบอกว่า IP Address นั้นอยู่ใน Class ใด

  14. IP Address : Class A 7 bit 24 bit • บิตซ้ายสุดเป็น 0 ใช้ 7 บิตถัดมากำหนดเลขเครือข่าย มีเลขเครือข่ายได้ 27 หรือ 128 ค่า • อีก 24 bit เป็นเลข Host • Address 0.0.0.0  default route 127.0.0.0  loop back ตัวอย่าง 9.0.0.0 [ibm.com] 15.0.0.0 [hp.com]

  15. Class A : 0.0.0.0 – 127.255.255.255 • บิตแรกของไบต์แรกต้องมีค่าเป็น 0 เพื่อใช้แทนว่าเป็น Class A • มีส่วนของหมายเลขเครือข่าย (NetID) มีขนาด 7 บิต • มีส่วนของหมายเลขโฮสต์ (HostID) มีขนาด 24 บิต

  16. ดังนั้น ในบิตแรกของ Class A จะมีค่าเป็น 0 เสมอ • สามารถมีจำนวนเครือข่ายได้เท่ากับ 126 (27 - 2) เครือข่าย • มีจำนวนของโฮสต์ได้ถึง 24 บิต (224 – 2)หรือเท่ากับ 16,777,214 เครื่อง • นิยมนำไปใช้กับองค์กรขนาดใหญ่มากๆ ที่มีจำนวนเครื่องจำนวนมาก • สาเหตุที่ต้องลบออก 2 ออกจาก HostID เนื่องจาก • Host ที่มี IP เป็น 0 ทั้งหมด จะถูกสงวนไว้สำหรับอ้างอิงหมายเลขเครือข่าย เช่น 121.0.0.0 • Host ที่มี IP เป็น 1 ทั้งหมด จะถูกสงวนไว้สำหรับการทำ Broadcast Address เช่น 121.255.255.255 • สาเหตุที่ต้องลบออก 2 ออกจาก NetID ของ Class A เนื่องจาก • NetID ที่มี IP เป็น 0 ทั้งหมด และ 1 ทั้งหมด จะไม่นำมาใช้งาน

  17. Class B IP Address : Class B 14 bit 16 bit • บิตแรกเป็น 10 ใช้ 14 บิตถัดมากำหนดเลขเครือข่าย มีเลขเครือข่ายได้ 214- 2หรือ 16,382 128.1.0.0 – 191.254.0.0 • อีก 16 bit เป็นเลข Host 216- 2 0.1 – 255.254 • จัดสรรให้กับหน่วยงานขนาดกลาง ตัวอย่าง 158.108.0.0 [ku.ac.th]

  18. Class B : 128.0.0.0 – 191.255.255.255 • 2 บิตแรกของไบต์แรกต้องมีค่าเป็น 1 กับ 0 เพื่อใช้แทนว่าเป็น Class B • มีส่วนของหมายเลขเครือข่าย (NetID) มีขนาด 14 บิต • มีส่วนของหมายเลขโฮสต์ (HostID) มีขนาด 16 บิต

  19. ดังนั้น ในบิตแรกของ Class B จะมีค่าเป็น 1 0 เสมอ • สามารถมีจำนวนเครือข่ายได้เท่ากับ 16,382 (214 - 2) เครือข่าย • มีจำนวนของโฮสต์ได้ถึง 16 บิต (216 – 2)หรือเท่ากับ 65,534 เครื่อง • นิยมนำไปใช้กับองค์กรขนาดกลาง เช่นสถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐ • สาเหตุที่ต้องลบออก 2 ออกจาก HostID เนื่องจาก • Host ที่มี IP เป็น 0 ทั้งหมด จะถูกสงวนไว้สำหรับอ้างอิงหมายเลขเครือข่าย เช่น 190.180.0.0 • Host ที่มี IP เป็น 1 ทั้งหมด จะถูกสงวนไว้สำหรับการทำ Broadcast Address เช่น 190.180.255.255 • สาเหตุที่ต้องลบออก 2 ออกจาก NetID ของ Class B เนื่องจาก • NetID ที่มี IP เป็น 0 ทั้งหมด และ 1 ทั้งหมด จะไม่นำมาใช้งาน

  20. Class C IP Address : Class C 21 bit 8 bit • บิตแรกเป็น 110 ใช้ 21 บิตถัดมากำหนดเลขเครือข่าย มีเลขเครือข่ายได้ 192.0.1.0 – 223.255.254.0 • อีก 8 bit เป็นเลข Host 1 – 254 • จัดสรรให้กับหน่วยงานขนาดเล็ก ตัวอย่าง 203.144.152.0 [mcot.or.th]

  21. Class C : 192.0.0.0 – 223.255.255.255 • 3 บิตแรกของไบต์แรกต้องมีค่าเป็น 1 1 0 เพื่อใช้แทนว่าเป็น Class C • มีส่วนของหมายเลขเครือข่าย (NetID) มีขนาด 21 บิต • มีส่วนของหมายเลขโฮสต์ (HostID) มีขนาด 8 บิต

  22. ดังนั้น ในบิตแรกของ Class C จะมีค่าเป็น 1 1 0 เสมอ • สามารถมีจำนวนเครือข่ายได้เท่ากับ 2,097,150 (221 - 2) เครือข่าย • มีจำนวนของโฮสต์ได้ถึง 8 บิต (28 – 2)หรือเท่ากับ 254 เครื่อง • นิยมนำไปใช้กับองค์กรขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มาก • สาเหตุที่ต้องลบออก 2 ออกจาก HostID เนื่องจาก • Host ที่มี IP เป็น 0 ทั้งหมด จะถูกสงวนไว้สำหรับอ้างอิงหมายเลขเครือข่าย เช่น 192.168.4.0 • Host ที่มี IP เป็น 1 ทั้งหมด จะถูกสงวนไว้สำหรับการทำ Broadcast Address เช่น 192.168.4.255 • สาเหตุที่ต้องลบออก 2 ออกจาก NetID ของ Class C เนื่องจาก • NetID ที่มี IP เป็น 0 ทั้งหมด และ 1 ทั้งหมด จะไม่นำมาใช้งาน

  23. Class D : 224.0.0.0 – 239.255.255.255 • 4 บิตแรกของไบต์แรกต้องมีค่าเป็น 1 1 1 0 เพื่อใช้แทนว่าเป็น Class D • ใช้สำหรับเป็น Multicast Address

  24. Class E : 240.0.0.0 – 255.255.255.255 • 4 บิตแรกของไบต์แรกต้องมีค่าเป็น 1 1 1 1 เพื่อใช้แทนว่าเป็น Class E • Class นี้ได้สงวนไว้ใช้ในอนาคต

  25. แสดงช่วงความกว้างของไอพีแอดเดรสในแต่ละคลาสแสดงช่วงความกว้างของไอพีแอดเดรสในแต่ละคลาส

  26. สรุปรายละเอียดไอพีแอดเดรสคลาส A, B และ C • จำนวนเครื่องของ IP Address Class ต่างๆ ต้องหักออก 2 เครื่องเนื่องมาจาก • IPที่มีส่วนที่เป็น Host ID เป็น 0 ทั้งหมดจะใช้สำหรับอ้างถึงหมายเลขเครือข่าย เช่น 158.108.0.0 • IP ที่มีส่วนที่เป็น Host ID เป็น 1 ทั้งหมดจะใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Broadcast เช่น 158.108.255.255

  27. Private/Public Internet • การเชื่อมต่อคอมฯ เข้ากับอินเตอร์เน็ตต้องร้องขอหมายเลขไอพีจาก InterNIC ซึ่งเป็นองค์กรดูแลการแจกจ่ายไอพี • เครือข่ายส่วนบุคคล (Private network) ที่ไม่มีการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต ไม่จำเป็นต้องร้องขอหมายเลขไอพีและสามารถใช้หมายเลขอะไรก็ได้ที่ไม่ซ้ำกันในเครือข่าย • แต่เมื่อมีการเชื่อมต่อเครือข่ายส่วนบุคคลเข้ากับอินเตอร์เน็ต อาจทำให้หมายเลขไอพีที่ใช้ ไปซ้ำกับโฮสต์อื่นในอินเตอร์เน็ตได้ จึงได้มีการกำหนดหมายเลขไอพีส่วนบุคคลเพื่อ ป้องกันปัญหาดังกล่าว

  28. Network Address • Network Address คือ หมายเลขเครือข่าย (NetID) • ตัวอย่างเช่น IP Address : 123.4.67.76 Network Address : 123.0.0.0 IP Address : 172.54.13.121 Network Address : ___________ IP Address : 201.128.42.53 Network Address : ___________

  29. Subnet • ปัญหาของ IPv4 คือหมายเลขไอพีอาจถูกใช้หมด (หนทางแก้ไขคือเพิ่มจำนวนบิตให้มากกว่า 32 บิต IPv6) • การแบ่งซับเน็ตเป็นวิธีการหนึ่งในการใช้หมายเลขไอพีอย่างคุ้มค่า โดยการแบ่งเป็นเครือข่ายย่อย • หลักการ: แบ่งเลขไอพีของกลุ่มหมายเลขโฮสต์ออกเป็นเครือข่ายย่อย โดยเริ่มจากเลขส่วนที่มีความสำคัญมาก่อน • จุดประสงค์หลักของการแบ่งเครือข่ายใหญ่ให้เป็นหลายเครือข่ายย่อยคือ • ด้านประสิทธิภาพและการรักษาความปลอดภัย

  30. การแบ่งเครือข่ายออกเป็นเครือข่ายย่อย (Subnetting) • ในทางปฏิบัติ เราไม่สามารถเชื่อมต่อโฮสต์เป็นจำนวนมากๆ บนเครือข่ายเดียวกันได้ • การเชื่อมต่อโฮสต์เป็นจำนวนมากๆ บนเครือข่ายเดียวกัน จะทำให้เกิดความคับคั่งของข้อมูลในเครือข่ายสูง • แก้ปัญหา คือ ทำการแบ่งเครือข่ายออกเป็นเครือข่ายย่อย หรือเรียกว่า การทำซับเน็ต (Subnetting) • เครือข่ายที่มีขนาดเล็กลง เรียกว่า เครือข่ายย่อย (Subnetworks)

  31. การแบ่งเครือข่ายออกเป็นเครือข่ายย่อย (Subnetting) • เป็นการแบ่งเครือข่ายขนาดใหญ่ให้เป็นเครือข่ายขนาดเล็กหลายๆเครือข่าย แต่เครือข่ายเล็กๆเหล่านั้นยังคงมี Network ID เดียวกันอยู่ โดยใช้เทคนิคการดึงเอา bit ส่วนที่เป็น Host ID แถวซ้ายสุดออกมา n bit เพื่อไว้ใช้กำหนดเป็นหมายเลขเครือข่ายย่อย เช่น ถ้าดึง Host ID ออกมา 3 bit จะแบ่งเครือข่ายย่อยได้ 6 เครือข่าย ( 000 และ 111 ใช้ไม่ได้ ) • การแบ่งเป็นเครือข่ายย่อยๆ นี้จะถูกจัดการโดย Router หรือ Gateway ของเครือข่ายนั้นๆเท่านั้น โดยที่เครื่องอื่นๆที่อยู่นอกเครือข่ายจะมองเห็นเครือข่ายนี้เป็นเครือข่ายเดียวเท่านั้น

  32. กฎของ subnetwork • ส่วนที่เป็น subnet ไม่สามารถกำหนดให้เป็น 0 ทั้งหมด • ส่วนที่เป็น subnet ไม่สามารถกำหนดให้เป็น 1 หมด • แต่บางที่ก็ใช้ได้

  33. เครือข่ายคลาส B ที่มีลำดับชั้นเพียงสองระดับ โดยไม่มีการแบ่งซับเน็ตหรือเครือข่ายย่อย

  34. เครือข่ายคลาส B ที่มีการแบ่งซับเน็ต

  35. การทำซับเน็ต (Subnetting) การทำซับเน็ต จะมีการแบ่ง IP Address ออกเป็น 3 ส่วน คือ • หมายเลขเครือข่าย (NetID) - เป็นระดับแรกสุดที่ใช้ระบบไซต์ และ Class • หมายเลขเครือข่ายย่อย (SubnetID) - ใช้ระบุ Physical Subnetwork • หมายเลขโฮสต์ (HostID) - ใช้แทนหมายเลขโฮสต์ = 2n-2 เมื่อ n คือจำนวนบิตของ subnet ดังนั้นการเดินทางของ Packet จะเป็นแบบ Site -> Sub network -> Host

  36. IP Address แบบปกติ (Class B) • IP Address แบบที่มีการแบ่งซับเน็ต (Class B)

  37. Subnet Mask • Subnet Maskจะทำควบคู่ไปกับการทำซับเน็ต • Subnet Maskหรือเรียกว่า การทำมาสกิ้ง (Masking) เป็นกระบวนการที่บอกให้รู้ว่าครือข่ายได้มีการแบ่งเป็น Subnet แล้ว • Subnet Maskสามารถบ่งบอกจำนวนบิตที่ใช้ในการแบ่งเครือข่ายย่อย เพื่อใช้ระบุเป็นหมายเลขเครือข่ายย่อย และมีส่วนของโฮสต์เป็นอะไร • ดังนั้น ในการออกแบบเครือข่าย จึงจำเป็นต้องมีการระบุ Subnet Mask • หากไม่มีการทำซับเน็ต ค่าของ Subnet Mask จะมีการระบุเป็นค่า Default อยู่แล้ว ตาม Class ต่างๆ ของ IP Address

  38. Subnet Mask • Subnet mask คือตัวเลขขนาด 32 บิตที่บ่งชี้ว่าส่วนไหนของเลขไอพีเป็นหมายเลขเครือข่ายและส่วนไหนเป็นหมายเลขโฮสต์ • Subnet mask มีส่วนช่วยในการส่งข้อมูล โดยช่วยในการหา Network address ของ IP address เพื่อจะได้รู้ว่าควรจะส่งไปในเส้นทางไหน โดยดูจาก Network address ของ IP ต้นทางกับปลายทาง • ถ้า Network address ตรงกัน เครื่องทั้งสองอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน • ถ้า Network address ต่างกัน เครื่องทั้งสองอยู่คนละเครือข่ายกัน

  39. การติดตั้งซับเน็ตมาสก์

  40. การทำซับเน็ตใน Class C • นำ Host Address จำนวน 8 บิต มาแบ่งเป็น 2 ส่วน • ดังตัวอย่าง จะแบ่ง 3 บิตซ้าย เป็นตัวกำหนดเครือข่ายย่อย ส่วน 5บิตขวามือเป็นตัวกำหนด Host Address ดังนั้น Ip Address 1 ชุดสามารถแบ่งเครือข่ายย่อยได้ 8 เครือข่าย ซึ่งแต่ละเครือข่ายจะมีเครื่องลูกข่ายได้ถึง 32 เครื่อง ดังตารางต่อไปนี้

  41. การทำซับเน็ตใน Class C ดังนั้นจากตารางเราจะได้เครือข่ายย่อยทั้งหมด 6 เครือข่าย แต่ละเครื่องจะมีเครื่องลูกข่ายได้สูงสุด 30 เครื่อง

  42. การทำซับเน็ตใน Class C • การแบ่ง Subnet จะช่วยให้การใช้งาน IP Address ได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เสีย IP Address โดยไม่จำเป็น แต่การแบ่งเครือข่ายย่อยนี้ Router จะต้องทราบข้อมูลในการแบ่งซับเน็ตของเราด้วยว่าใช้ข้อมูลไปกี่บิตเป็นซับเน็ต และใช้ข้อมูลกี่บิตเป็น Host จะได้ส่งข้อมูลให้เครือข่ายได้อย่างถูกต้อง เรียกข้อมูลการแบ่งซับเน็ตนี้ว่า “Subnet Mask” ซึ่งจะกำหนดให้ • ค่าของ Net ID และ Subnet ID มีค่าเป็น 1 • ส่วน Subnet Mask ของ Host ID มีค่าเป็น 0 ดังตารางต่อไปนี้

  43. การทำซับเน็ตใน Class C

  44. Class C Subnet * Subnet 0 ทั้งหมด และ 1 ทั้งหมดจะถูกจองไว้ใช้สำหรับการควบคุมระบบเครือข่าย และ Subnet ที่มีจำนวนเครือข่ายย่อยเท่ากับ 1 จะใช้งานไม่ได้เนื่องจากไม่มีจำนวนบิตเหลือนำไปใช้ทำ Subnetดังนั้น Host Address ขนาด 8 บิตจึงเหลือทำ Subnet ได้เพียง 5 แบบเท่านั้น **ในการใช้งานจริงจะแบ่งเครือข่ายย่อยออกเป็น 6 เครือข่ายจะได้ลูกข่าย 30 เครื่อง หรือ เครือข่ายย่อย 14 เครือข่าย จะได้เครือข่ายย่อย 14 เครื่องเท่านั้นสำหรับ Subnet ใน Class C

  45. กรณีมีการทำ Subnet แล้วไม่กำหนดเป็น 255 หรือ 0 • ตัวอย่างเช่น IP Address 213.23.47.37 Mask 255.255.255.240 Subnetwork Address 213.23.47.32 **สังเกตได้ว่า ตำแหน่ง 3 ไบต์แรกสามารกำหนดได้ทันที ในขณะที่ตำแหน่งไบต์สุดท้ายต้องใช้วิธีเทียบบิตด้วยลอจิก AND ดังนี้ 37 = 0 0 1 0 0 1 0 1 240 = 1 1 1 1 0 0 0 0 32 = 0 0 1 0 0 0 0 0 เปรียบเทียบด้วยลอจิก AND

  46. Subnet Mask • Subnet Mask ที่เป็นค่า Default Network Id + subnet เป็น 1 ทั้งหมด Host Id เป็น 0 ทั้งหมด

  47. ตัวอย่าง

  48. ตัวอย่างการหาค่า IPของเครื่องคอมพิวเตอร์

More Related