1 / 25

แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : คัมภีร์ฉันทศาสตร์

แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : คัมภีร์ฉันทศาสตร์. ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์.

Télécharger la présentation

แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : คัมภีร์ฉันทศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : คัมภีร์ฉันทศาสตร์

  2. ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ (2413)ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมขึ้น เนื่องจากเห็นว่าแพทย์แผนโบราณและตำรายาพื้นบ้านเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่มีค่า และที่สืบทอดกันมานั้น มีผิดบ้าง สูญหายบ้าง จึงรวบรวมไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา โดยเขียนลงสมุดไทยด้วยอักษรไทย เส้นหรดาล ปรากฏฉบับสมบูรณ์เมื่อ พระยาพิศณุประสาทเวช (คง ถาวรเวช) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของราชแพทยาลัยได้เริ่มจัดพิมพ์เพื่ออนุรักษ์ตำราแพทย์แพทย์ไทยไว้ให้คนรุ่นหลัง

  3. ที่มาของเรื่อง เมื่อรัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งโรงเรียนราชแพทยาลัยขึ้นแล้ว ใน พ.ศ. 2432 ได้มีการพิมพ์ตำราแพทย์สำหรับโรงเรียนเล่มแรกชื่อว่า “แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๘ พิมพ์เป็นตอนๆ แบ่งออกเป็นภาคกล่าวรวมทั้งวิชาแพทย์ไทยโบราณและวิชาแพทย์ฝรั่ง โดยมีความประสงค์เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่โรงเรียนราชแพทยาลัยและมหาชนทั่วไป

  4. จุดประสงค์ของเรื่อง จุดมุ่งหมายของตำรา แพทยศาสตร์สงเคราะห์ เมื่อพิจารณาจากพระราชปรารภนั้น มิได้มีบทบาทเป็นตำราแพทย์ เฉพาะให้แพทย์ใช้ และก็มิได้เป็นเพียงตำราแพทย์ ที่ใช้เรียนในราชแพทยาลัยเท่านั้น หากยังเป็นตำราแพทย์ประจำบ้าน สำหรับสามัญชนทั่วไป ไว้ใช้ช่วยตนเอง และครอบครัวด้วย

  5. คัมภีร์ฉันทศาสตร์ : บทนำ ศัพท์ภาษาไทยว่า "แพทย์" มาจากศัพท์สันสกฤต "ไวทย" แปลว่า ผู้รู้พระเวท หมายถึงผู้รู้วิชาการต่างๆ ที่ประมวลอยู่ในคัมภีร์พระเวท (คัมภีร์พระเวทฉบับหนึ่งคือ อถรรพณเวท เป็นต้นกำเนิดของตำราการแพทย์ และการรักษาโรคด้วยสมุนไพร) และผู้รู้วิชาการรักษาโรค เป็นที่นับถือยกย่องและมีบทบาทมากในสังคม ต่อมาคำว่า "ไวทย" จึงมีความหมายเจาะจงหมายถึงผู้รู้วิชาการรักษาโรค

  6. ความหมายของคัมภีร์ฉันทศาสตร์ความหมายของคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ในความหมายกว้าง "ฉันทศาสตร์" คงจะหมายถึงตำราแพทย์โดยรวม ผู้เรียบเรียงให้ความสำคัญแก่ "พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์" ว่ามีเนื้อหาเป็นหลักของตำราแพทย์ทั้งหมด "ฉันทศาสตร์" จึงมีความหมายครอบคลุมตำราต่างๆ เช่น "ปฐมจินดาร์ โรคนิทาน อภัยสันตา ตักกะศิลา" เป็นต้น ส่วนในความหมายแคบ "ฉันทศาสตร์" เป็นชื่อตำราฉบับหนึ่ง เช่นเดียวกับตำราอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้ว พิจารณาจากบทไหว้ครู และเนื้อหาที่สอนจรรยาแพทย์ และข้อควรปฏิบัติสำหรับแพทย์ น่าจะนับได้ว่าเป็นตำราฉบับแรกในหนังสือชุดแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ในความนำนี้จะกล่าวถึง "ฉันทศาสตร์" ตามความหมายแคบนี้

  7. ความหมายของฉันท์ ในวรรณกรรมอินเดียโบราณ คำประพันธ์สั้นๆ ที่ผูกขึ้นมาเพื่อใช้ท่องจำ ข้อความรู้ต่างๆ ในคัมภีร์พระเวท เรียกว่า "สูตร" เฉพาะ สูตร ในคัมภีร์อถรรพเวท (ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของตำราการแพทย์อินเดีย) เรียกได้อีกอย่างว่า "ฉันท์" ชื่อ "ฉันทศาสตร์" จึงน่าจะมีความหมายว่า ตำรา (ศาสตร์) ที่แต่งเป็นสูตร (ฉันท์) ตามอย่างตำราการแพทย์ในคัมภีร์อถรรพเวท และด้วยเหตุที่คัมภีร์อถรรพเวท มีเรื่องราวส่วนใหญ่เกี่ยวกับไสยศาสตร์ด้วย จึงมักเรียกกันว่า "คัมภีร์ไสย์" ดังปรากฏในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ที่กล่าวถึงอยู่หลายครั้ง

  8. แพทยศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง แบ่งเป็นคัมภีร์ต่างๆ ดังนี้ ๑. คัมภีร์ฉันทศาสตร์ จรรยาของแพทย์ทับ ๘ ประการ๒. พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ การปฏิสนธิแห่งทารก กำเนิดโลหิตระดูสตรีครรภ์ทวานกำเนิดโรคกุมารและยารักษา๓. พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ กล่าวถึงกองธาตุพิการตามฤดูฯ๔. พระคัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัต)๕. พระคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย กล่าวถึงการค้นหาต้นเหตุการเกิดของโรคฯ๖. พระคัมภีร์วรโยคสาร กล่าวถึงนิมิตรร้ายดีฯ๗. พระคัมภีร์มหาโชตรัต กล่าวถึงโรคระดูสตรีฯ๘. พระคัมภีร์ชวดาร กล่าวถึงพิษอาหารทำให้ลมโลหิตกำเริบฯ๙. พระคัมภีร์โรคนิทาน กล่าวถึงกองธาตุทั้งสี่มีเกิน-หย่อนหรือพิการฯ๑๐. พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงกองธาตุทั้งสี่ โรคโลหิตระดูสตรีฯ๑๑. พระภัมภีร์ธาตุบรรจบ กล่าวถึงโรคอุจจาระธาตุฯ๑๒. พระคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา กล่าวถึงโรคปัสสาวะมุตกิตมุตฆาตฯ๑๓. พระคัมภีร์ตักกะศิลา กล่าวถึงบรรดาไข้พิษทั้งปวงฯ๑๔. พระคัมภีร์ไกษย กล่าวถึงโรคกระษัย ๒๖ ประการฯ

  9. คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ไหว้พระรัตนตรัย ไหว้เทพเจ้าของพราหมณ์ ไหว้หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์หลวงของพระเจ้าพิมพิสาร) ไหว้ครูแพทย์โดยทั่วไป บทไหว้ครู ความสำคัญของแพทย์ ความรู้แพทย์ จรรยาบรรณแพทย์ คุณสมบัติที่แพทย์พึงมี วิธีสังเกตไข้และยารักษา กำเนิดโรคภัย โรคและการรักษา คำเตือนแพทย์ให้ศึกษาคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ลักษณะแพทย์ที่ดี คำอวยพรของคนแต่ง

  10. ความสำคัญของคัมภีร์ฉันทศาสตร์ความสำคัญของคัมภีร์ฉันทศาสตร์ จะกล่าวคัมภีร์ฉัน         ทศาสตรบรรพ์ที่ครูสอนเสมอดวงทินกร            แลดวงจันทร์กระจ่างตา ส่องสัตว์ให้สว่าง กระจ่างแจ้งในมรรคา เปรียบคัมภีร์ฉันทศาสตร์โบราณที่ครูพร่ำสอนกันมากับ ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่ช่วยนำทางแก่สัตว์โลก

  11. ความสำคัญของแพทย์ อนึ่งจะกล่าวสอน      กายนครมีมากหลายประเทียบเปรียบในกาย   ทุกหญิงชายในโลการ่างกาย = เมือง เปรียบแพทย์คือทหาร   อันชำนาญรู้ลำเนา ข้าศึกมาอย่าใจเบา     ห้อมล้อมรอบทุกทิศาแพทย์ = ทหาร ให้ดำรงกระษัตริย์ไว้       คือดวงใจให้เร่งยาอนึ่งห้ามอย่าโกรธา      ข้าศึกมาจะอันตราย ปิตตํ คือ วังหน้า    เร่งรักษาเขม้นหมายอาหารอยู่ในกาย    คือเสบียงเลี้ยงโยธาน้ำดี = วังหน้า, อาหาร = เสบียง ดวงจิตคือกระษัตริย์    ผ่านสมบัติอันโอฬาร์ข้าศึกคือโรคา           เกิดเข่นฆ่าในกายเรา   หัวใจ = พระมหากษัตริย์, โรคภัย = ข้าศึก

  12. คุณสมบัติของแพทย์ แพทย์ต้องมีความรู้และจรรณยาแพทย์    เป็นแพทย์ไม่รู้ใน           คัมภีร์ไสย์ท่านบรรจงรู้แต่ยามาอ่าองค์              รักษาไข้ไม่เข็ดขาม ไม่รู้คัมภีร์เวช        ห่อนเห็นเหตุซึ่งโรคทำแพทย์เอ๋ยอย่างมคลำ          จักขุมืด  บ  เห็นหน แพทย์ใดจะหนีทุกข์ ไปสู่สุขนิพพานดลพิริยสติตน                          ประพฤติได้จึ่งเป็นการ ศีลแปดแลศีลห้า           เร่งรักษาสมาทานทรงไว้เป็นนิจกาล            ทั้งไตรรัตน์สรณา แพทย์ต้องมีความรู้ทางธรรมโดยรักษาศีลแปดและศีลห้า และยึดไตรรัตน์

  13. โลภะ (เห็นลาภอย่าโลภนัก) มารยา (อย่าหาญหักด้วยมารยา) โทสะ (โทโสจงอดใจ สุขุมไว้อยู่ในตัว) โมหะ (โมโหอย่าหลงเล่ห์) ความใคร่ (ด้วยกาเมมิจฉาใน) พยาบาท (พยาบาทแก่คนไข้ ทั้งผู้อื่นอันกล่าวกล) ความคลางแคลงใจ(วิจิกิจฉาเล่า จงถือเอาซึ่งครูตน) ความประหม่า (อุทธัจจังอย่าอุทธัจ เห็นถนัดในโรคา) ความคิดเบียดเบียน(พยาบาทวิหิงสา กามราคในสันดาน ความไม่กลัวบาป (กลัวบาปแล้วจงจำ ทั้งที่แจ้งจงเว้นวาง) ความรังเกียจ (อย่าเกียจแก่คนไข้ คนเข็ญใจขาดในทาง) ความง่วงเหงา (อนึ่งโสดอย่าซบเซา อย่าง่วงเหงานั้นมิดี ความถือดี (ทิฏฐิมาโนเล่า อย่าถือเอาซึ่งโรคเกิน) ความลังเลใจ (วิตักโกนั้นบทหนึ่ง ให้ตัดซึ่งวิตักกา)

  14. บางหมอก็กล่าวคำ มุสาซ้ำกระหน่ำความ บ้างกล่าวอุบายให้ แก่คนไข้นั้นหลายพัน บางหมอก็เกียจกัน ที่พวกอันแพทย์รักษา แพทย์ที่ยึดหลักจรรยาแพทย์จะไปจุติบนสวรรค์ พูดไม่จริง ยกตัวเองว่าเก่ง รังเกียจโรค พูดว่าหนักแต่เบา พูดให้คนไข้ต้องเสียเงิน ต้องการลาภ ลักษณะแพทย์ที่ไม่ดี บางทีไปเยียนไข้ บ มีใครจะเชิญหา อำไว้จนแก่กล้า แพทย์อื่นมาก็ขัดขวาง หินชาติแพทย์เหล่านี้      เวรามีมิได้กลัวทำกรรมนำใส่ตัว             จะตกไปในอบาย แพทย์ที่ขาดจรรยาแพทย์ จะไปอยู่ในนรก ไปหาคนไข้เอง ไปบอกว่ามียาดี รักษาคนไข้ไมได้ แต่ทำเป็นรักษาได้ บางแพทย์ก็หลงเล่ห์ ด้วยกาเมเข้าปิดบัง บ้างถือว่าตนเฒ่า เป็นหมอเก่าชำนาญดี บางพวกก็ถือตน ว่าไข้คนอนาถา หลงเล่ห์ “กาม” รักษา ด้วยเจตนาโลภ ประมาท ถือว่าอายุมาก ชำนาญกว่า ไม่รักษาคนไข้อนาถา ถือว่าไม่ได้เงิน

  15. คำเตือนแพทย์บางประการคำเตือนแพทย์บางประการ ผู้ใดจะเรียนรู้ พิเคราะห์ดูผู้อาจารย์ เที่ยงแท้ว่าพิศดาร ทั้งพุทธ์ไสยจึ่งควรเรียน การพิจารณาครูแพทย์ ครูพักแลครูเรียน    อักษรเขียนไว้ตามมีจงถือว่าครูดี          เพราะได้เรียนจึ่งรู้มา ให้เคารพครูบาอาจารย์ อย่าหมิ่นว่ารู้ง่าย     ตำรับรายอยู่ถมไปรีบด่วนประมาทใจ      ดังนั้นแท้มิเป็นการ อย่าประมาทในการศึกษา บางทีก็ยาชอบ       แต่เคราะห์ครอบจึ่งหันหวนหายคลายแล้วทบทวน   จะโทษยาก็ผิดที เชื่อมั่นในตัว ทบทวนการรักษา ใช่โรคสิ่งเดียวดาย    จะพลันหายในโรคาต่างเนื้อก็ต่างยา          จะชอบโรคอันแปรปรวน อย่าประมาทในการรักษาโรค วิจาโรให้พินิจ        จะทำผิดฤาชอบกาลดูโรคกับยาญาณ        ให้ต้องกันจะพลันหาย ให้วินิจฉัยโรคให้ถูกต้อง เรียนรู้คัมภีร์ไสย      สุขุมไว้อย่าแพร่งพรายควรกล่าวจึ่งขยาย        อย่ายื่นแก้วแก่วานร อย่าแพร่งพรายตำรากับคนที่ไม่สมควร

  16. การสรรคำ การเล่นเสียงสัมผัส ผู้ใดใครทำชอบ ตามระบอบพระบาลี กุศลผลจะมี อเนกนับเบื้องหน้าไป การซ้ำคำ กายไม่แก่รู้ประมาทผู้อุดมญาณ แม้เด็กเป็นเด็กชาญ ไม่ควรหมิ่นประมาทใจ การเพิ่มเสียง  “ร” ให้ดำรงกระษัตริย์ไว้ คือดวงใจให้เร่งยา อนึ่งห้ามอย่าโกรธา ข้าศึกมาจะอันตราย คุณค่าด้านวรรณศิลป์

  17. ภาพพจน์ อุปมาจะกล่าวคัมภีร์ฉันทศาสตรบรรพ์ที่ครูสอนเสมอดวงทินกรแลดวงจันทร์กระจ่างตา บุคคลวัต จบเรื่องที่ตนรู้โรคนั้นสู้ว่าแรงกรรมไม่สิ้นสงสัยทำสุดมือม้วยน่าเสียดาย อุปลักษณ์ดวงจิตคือกระษัตริย์ผ่านสมบัติอันโอฬาร์ ข้าศึกคือโรคาเกิดเข่นฆ่าในกายเรา

  18. รสทางวรรณคดี เสาวรจนีข้าขอประนมหัตถ์พระไตรรัตนนาถาตรีโลกอมรมาอภิวาทนาการ พิโรธวาทัง ไม่รักจะทำยับพาตำรับเที่ยวขจร เสียแรงเป็นครูสอนทั้งบุญคุณก็เสื่อมสูญ สัสลาปังคพิสัย ไม่รู้คัมภีร์เวชห่อนเห็นเหตุซึ่งโรคทำแพทย์เอ๋ยอย่างมคลำจักขุมืดบเห็นหน

  19. คุณค่าด้านสังคม ด้านวิชาการหรือด้านการแพทย์ • ให้ความรู้ด้านเวชศาสตร์และสมุนไพรไทย • คุณค่าทางด้านการแพทย์แผนโบราณ • เน้นความเป็นวิทยาศาสตร์ • ให้ความรู้ถึงคุณสมบัติของแพทย์ • ทราบถึงความสำคัญของแพทย์ • ทราบถึงคำเตือนสำหรับแพทย์บางประการ • ให้คุณค่าทางด้านคุณธรรม • ข้อบกพร่องของแพทย์ • ด้านจรรยาบรรณแพทย์ • ความผิดพลาดจากการรักษา

  20. คุณค่าด้านเนื้อหา เนื้อหาของคัมภีร์ฉันทศาสตร์และแพทยศาสตร์สงเคราะห์จะเน้นใจความหลักสองส่วน นั่นคือ เน้นคุณค่า จรรยาบรรณของแพทย์ สิ่งที่แพทย์ที่ดีพึงปฏิบัติและไม่พึงปฏิบัติ อันเป็นการรวบรวมจรรยาบรรณของแพทย์ในด้านต่างๆ มาประมวลรวมไว้ในตำราเดียวอย่างเป็นระบบ ทำให้คุณค่าของแพทย์ดูเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และก่อให้เกิดอิทธิพลและเป็นต้นแบบของจรรยาบรรณแพทย์แขนงต่างๆ จนกระทั่งปัจจุบัน ส่วนที่สองคือตำราแพทย์แผนโบราณ ซึ่งเป็นการรวบรวมตำราแพทย์แผนโบราณฉบับหลวง ก่อให้เกิดการประมวลความรู้ทางด้านการแพทย์แผนโบราณเป็นหนึ่งเดียว ง่ายต่อการนำมาจัดระบบให้การศึกษาเช่นเดียวกัน ทั้งยังเป็นการรวบรวมความรู้ทางการแพทย์เอาไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลาและผิดเพี้ยนไปจากเดิม จึงถือได้ว่า คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์ เป็นวรรณคดีที่รวบรวมพื้นฐานทุกสิ่งอย่างของอาชีพแพทย์อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และมีคุณค่าทั้งทางด้านองค์ความรู้และทางด้านจิตใจต่อแพทย์ ผู้ประกอบวิชาชีพ และผู้ที่สนใจอาชีพแพทย์อย่างยิ่ง

  21. ความรู้เพิ่มเติม หมอชีวก โกมารภัจจ์ ถือกำเนิดจากนางนครโสเภณี แคว้นมคธ ถูกนำมาทิ้งในกองขยะ เจ้าชายอภัยราชกุมาร โอรสพระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ทรงเก็บมาเลี้ยงที่วัง เป็นหมอหลวงในราชสำนักของพระเจ้าพิมพิสาร ได้ถวายการรักษาโรค “ภคันทลาพาธ” (ริดสีดวงทวาร) ของพระเจ้าพิมพิสารแห่งเมืองราชคฤห์ คุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง - เป็นอุบาสกที่ดี เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เคารพพระพุทธเจ้าอย่างสูง - ใฝ่เรียนรู้และมีความพยายาม ตั้งใจเล่าเรียนอย่างมานะ - มีจิตใจเสียสละ ดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถ ไม่เลือกอยากดีมีจน

  22. ลักษณะทับ ๘ ประการ ๑. เด็กเป็นไข้ เนื่องจากแม่ทราง ๒ ชนิดให้โทษ คืออาการต่อไปให้ลงท้อง กระหายน้ำ เชื่อมมัว ตัวร้อน ปลายมือปลายเท้าเย็น ถ้าเด็กมีอาการเป็นดังนี้ ก. ตอนเช้าให้กินยาตรี ข. ตอนเที่ยงให้กินยาหอมผักหนอก ค. ตอนเย็นให้กินประสะนิลน้อย ๒. เด็กเป็นไข้ให้สำรอก เสมหะเป็นสีเหลืองสีเขียว เป็นเม็ดมะเขือ ให้ไอนอนผวา เบื่อข้าวเบื่อนม ตัวร้อนบ้างเย็นบ้างเป็นคราวๆ ตามองช้อนไปข้างบน ๓. เป็นไข้แล้วให้อุจจาระพิการ ลงท้องเป็นมูกเหม็นเปรี้ยวเหม็นคาว ละอองทรางขึ้นในคอ ให้ไอ มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ตัวร้อนจัด เชื่อมมัว

  23. ๓. เป็นไข้แล้วให้อุจจาระพิการ ลงท้องเป็นมูกเหม็นเปรี้ยวเหม็นคาว ละอองทรางขึ้นในคอ ให้ไอ มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ตัวร้อนจัด เชื่อมมัว ๔. ไข้เนื่องจากหวัดกำเดา ให้ไอ ตัวร้อนจัด หายใจถี่ ปากคอแห้ง นอนผวา เม็ดทรางเกิดในคอ ข้าวนมไม่กิน ท้องขึ้นหลังแข็ง ให้ใช้ยาเย็นและสุขุม ๕. เด็กไข้ตกอุจจาระเป็นมูกดำสดๆ เป็นหวัดมีกำเดาแทรก ตัวร้อนจัด เชื่อมมัว อยากน้ำเป็นกำลัง ตอนเช้าให้กินน้ำสมอไท เที่ยงยาหอมผักหนอก ๖. กำลังเด็กเป็นไข้หวัด มีอาการซึมเซาเชื่อมมัว ปวดหัวตัวร้อนตั้งแต่เท้าตลอดเบื้องบน บางทีท้องขึ้น หอบไอแห้ง ลงเป็นมูกเลือดไม่เป็นเวลา พอแก้ได้ ๗. เด็กให้ลงออกมาเป็นส่าเหล้า เหม็นคาว เหม็นขื่น ต่อมาเป็นมูกเลือดสดๆ ปวดเบ่งตับทรุดลงมาตัวร้อน ท้องขึ้น ปลายเท้าปลายมือเย็น หายใจขัด อาการนี้อาการตาย แก้ไม่ได้ ๘. เด็กใดๆก็ดี หกล้ม ชอกช้ำ ต่อมาจับไข้ตัวร้อนเป็นเวลา หน้าตาไม่มีสีเลือด ท้องร่วงเป็นส่าเหล้าหรือไข่เน่า สุดท้ายลงเป็นมูกเลือด ตัวร้อนหายใจขัดสะอื้น ปลายเท้าเย็น มือเย็น อาการนี้เป็นอาการตายแก้ไม่ได้

  24. จารึกตำรายาที่วัดพระเชตุพนวิมงมังคลารามจารึกตำรายาที่วัดพระเชตุพนวิมงมังคลาราม จารึกตำรายาที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม แบ่งเป็น ๔ ประเภท (หรือวิชา) ดังนี้๑. วิชากายภาพบำบัด (ฤาษีดัดตน) ทำเป็นรูปฤาษี หล่อด้วยดีบุกผสมสังกะสี จำนวน ๘๐ ท่า มีโคลงสี่สุภาพอธิบายประกอบทุกท่า ๒. วิชาเวชศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาโรคภัยไข้เจ็บตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย มีการแยกสมุฏฐานของโรค การวินิจฉัยโรค การใช้ยาบำบัดรักษาโรค รวมจำนวนยา ๑,๑๒๘ ขนาน ๓. วิชาแผนนวด หรือวิชาหัตถศาสตร์ มีภาพโครงสร้างของร่างกายมนุษย์ แสดงที่ตั้งของเส้นประสาทการนวด ๑๔ ภาพ และภาพเกี่ยวกับการนวดแก้ขัดยอกแก้เมื่อยและโรคต่างๆ อีก ๖๐ ภาพ ๔. วิชาเภสัช ว่าด้วยสรรพคุณของเครื่องสมุนไพร ที่เรียกว่า ตำราสรรพคุณยาปรากฏสรรพคุณในการบำบัดรักษา จำนวน ๑๑๓ ชนิด แม้ว่าพระคัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัต) ในหนังสือ "แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์" นั้น น่าจะเป็นคนละสำนวนกันกับตำราสรรพคุณยาฉบับวัดพระเชตุพนฯ และฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท เพราะมีรายละเอียดต่างกัน แต่ก็มีเนื้อหาใกล้เคียงกันมาก เห็นได้ว่ามีพื้นฐานมาจากต้นฉบับเดียวกัน โดยได้มีการปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมในชั้นหลัง

  25. ท่าฤๅษีดัดตน ประโยชน์การบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตน นอกจากใช้เป็นท่าในการบริหารร่างกายแล้ว ทำให้ร่างกายตื่นตัว แข็งแรง และเป็นการพักผ่อน ท่าต่างๆ ที่ใช้ยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคเบื้องต้น ได้อีกด้วย นับว่ามีประโยชน์เป็นอันมาก ได้แก่  1.ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของแขนขาและข้อต่างๆ เป็นไปอย่าง คล่องแคล่ว มีการเน้นการนวดโดยบางท่าจะมีการกดหรือบีบนวดร่วมไปด้วย 2.ทำให้โลหิตหมุนเวียน เลือดลมเดินได้สะดวก นับเป็นการออกกำลังกายที่สามารถทำได้ทุกอิริยาบถของคนไทย 3.เป็นการต่อต้านโรคภัย บำรุงรักษาสุขภาพให้มีอายุยืนยาว 4.มีการใช้สมาธิร่วมด้วยจะช่วยยกระดับจิตใจให้พ้นอารมณ์ขุ่นมัว หงุดหงิด ความง่วง ความท้อแท้ ความเครียด และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการหาใจหากมีการฝึกการหายใจให้ถูกต้อง การปั้นเป็นรูปฤาษีนั้นไม่มีหลักฐานว่า พระมหากษัตริย์ไทยลอกแบบมาจากที่ใด แต่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปทั่วไปว่าคนไทยเคารพนับถือฤาษีเป็นครูบาอาจารย์ การปั้นเป็นรูปฤาษีและระบุชื่อฤาษีเป็นผู้คิดค้นท่าเหล่านั้น อาจเป็นกลวิธีให้เกิดความขลัง เพราะผู้ฝึกต้องมาฝึกท่าทางต่างๆ กับรูปปั้นฤาษีเปรียบเสมือนได้ฝึกกับครู เพราะฤาษีเป็นครูของศิลปะวิทยาการต่างๆส่วนใหญ่เป็นท่าดัดตามอิริยาบถของคนไทย มีความสุภาพและทั่วไปสามารถทำได้ แต่อย่างไรก้ตามในจำนวนท่า ฤาษีดัดตน 80 ท่า มีท่าแบบจีน 1 ท่า ท่าแบบแขก 1 ท่า ท่าดัดคู้ 2 ท่า แสดงถึงการแลกเปลี่ยน ความรู้กัน และมีการระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นของต่างชาติ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและอายุยืนยาวเช่น อินเดียมีการบริการร่างกาย ที่เรียกว่า โยคะ จีนมีการรำมวยจีนที่เรียกว่า ไทเก๊ก ไทยมีการบริการร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตน เป็นต้น สถาบันการแพทย์แผนไทย ได้ดำเนินการคัดเลือกท่าฤาษีดัดตนพื้นฐาน 15 ท่า จากท่าฤาษีดัดตนที่รวบรวมไว้ทั้งหมด 127 ท่า

More Related