1 / 12

EC 363 บทบาทหญิงชายในระบบเศรษฐกิจ บทนำ : เศรษฐศาสตร์กับบทบาทหญิงชาย

EC 363 บทบาทหญิงชายในระบบเศรษฐกิจ บทนำ : เศรษฐศาสตร์กับบทบาทหญิงชาย. รองศาสตราจารย์ดร. ภาวดี ทองอุไทย มิถุนายน 2553. เพศ (sex) และ บทบาทหญิงชาย (gender). เพศ (sex: female or male) ความแตกต่างด้านชีวภาพ (biological) กำหนดตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์ แน่นอน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

dash
Télécharger la présentation

EC 363 บทบาทหญิงชายในระบบเศรษฐกิจ บทนำ : เศรษฐศาสตร์กับบทบาทหญิงชาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. EC 363บทบาทหญิงชายในระบบเศรษฐกิจบทนำ: เศรษฐศาสตร์กับบทบาทหญิงชาย รองศาสตราจารย์ดร. ภาวดี ทองอุไทย มิถุนายน 2553

  2. เพศ(sex) และ บทบาทหญิงชาย(gender) • เพศ (sex: female or male) • ความแตกต่างด้านชีวภาพ(biological) • กำหนดตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์ • แน่นอน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ • ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศ หรือ วัฒนธรรมใด • ลักษณะทางสรีระที่ชัดเจนและจำเพาะ • ผู้หญิง ..... ผู้ชาย .....

  3. เพศ(sex)และ บทบาทหญิงชาย(gender) • บทบาทหญิงชาย(gender) • ความแตกต่างด้านสังคมของหญิงและชาย • กำหนดโดยสังคมและสภาพแวดล้อม • ค่านิยม วัฒนธรรม ความเคยชินของธรรมเนียมปฏิบัติ ความเห็นของผู้มีอำนาจ • เปลี่ยนแปลงได้ • ตามกาลเวลา สภาพการณ์ และ เงื่อนไขของสังคมที่เปลี่ยนไป • กฎหมาย การพัฒนาเศรษฐกิจ เลียนแบบ

  4. การพัฒนาเศรษฐกิจ  วิวัฒนาการบทบาทหญิงชาย • ล่าสัตว์ เก็บหาอาหาร Hunting and gathering societies • หญิงชาย ช่วยกัน หาอาหาร สร้างที่อยู่อาศัย • สภาพร่างกายกำหนดหน้าที่อื่นๆ • ผู้หญิง - ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ กับการตั้งครรภ์ ดูแลลูก • ผู้ชาย - สภาพร่างกายได้เปรียบในการล่าสัตว์ใหญ่ ต่อสู้ • เพาะปลูกเล็กๆน้อยๆHorticultural societies • ทำกิจกรรมส่วนใหญ่ร่วมกัน สถานภาพค่อนข้างเท่าเทียม • ขยายพื้นที่ในทุ่งกว้าง Pastoral societies • ผู้ชายออกไปไกล ล่าสัตว์ใหญ่ ผู้หญิงเน้นกิจกรรมใกล้บ้าน  สถานภาพด้อยกว่า

  5. การพัฒนาเศรษฐกิจ  วิวัฒนาการบทบาทหญิงชาย • เกษตรกรรม Agricultural societies • เริ่มตั้งถิ่นฐานถาวรเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ • ความแตกต่างของอำนาจ • ผู้ชายเป็นเจ้าของที่นา ผู้หญิง “ช่วย” งานในไร่นา ดูแลบ้าน • ความแตกต่างระหว่างผู้หญิงในชนชั้นต่างๆ • ครอบครัวที่มีที่ดิน /ทรัพย์สิน สืบทอด • ครอบครัวพ่อค้า ช่างฝีมือ • เป็น หุ้นส่วน ทำหน้าที่แทน ถ้าผู้ชายไม่อยู่

  6. การพัฒนาเศรษฐกิจ  วิวัฒนาการบทบาทหญิงชาย • อุตสาหกรรม Industrial Societies • ย้ายการผลิตจากครัวเรือน โรงงาน / สำนักงาน • เปลี่ยนแปลงกิจกรรมในครัวเรือนของผู้หญิง • จำกัดอยู่แต่การดูแลลูก/ สามี และบ้านเรือน • กิจกรรมเศรษฐกิจ/ การมีส่วนร่วมในธุรกิจของครอบครัวลดลง • การแบ่งงานกันทำระหว่างหญิงและชายในครัวเรือนชัดเจนขึ้น • ชายออกหารายได้นอกบ้าน หญิงดูแลบ้าน พึ่งพารายได้ของสามี • การใช้แรงงานเด็กลดลง • สินค้าและบริการหาซื้อจากตลาดได้มากขึ้น • ขนาดของครอบครัวลดลง

  7. การพัฒนาเศรษฐกิจ  วิวัฒนาการบทบาทหญิงชาย • แต่...เวลาว่างของผู้หญิงไม่ได้เพิ่มขึ้น เพราะ... • การทำงานบ้าน ...... • การเลี้ยงลูก ..... • ใครเป็นผู้รับผิดชอบการใช้เงินของครัวเรือน? • ใครคือ “หัวหน้าครัวเรือน”? • มีหน้าที่อะไรบ้าง? • บทบาทของ “ภรรยาที่ดี” คืออย่างไร? • ต่อมา...ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว เริ่มออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้นเรื่อยๆ • เพราะเหตุใด?

  8. แนวคิดและความสนใจของศาสตร์อื่นๆต่อสาเหตุ และ ผลกระทบของความแตกต่างในบทบาทหญิงชาย • ประเด็นร่วมระหว่างศาสตร์ต่างๆ • กรรมพันธุ์ (heredity)หรือ สภาพแวดล้อม(environment) • ธรรมชาติ (nature)หรือ การเลี้ยงดู (nurture) • ชีววิทยา – โต้แย้งกันมาก เช่น • พฤติกรรมของสัตว์ (เกิดขึ้นตามธรรมชาติ) • อธิบาย พฤติกรรมของมนุษย์ (ไม่ใช่ธรรมชาติทั้งหมด แต่มีการขัดเกลาจากสังคม)ได้เหมาะสมเพียงไร

  9. จิตวิทยา - ความสนใจ ความฉลาด วิธีการคิด การใช้เหตุผล • จะเกิดอะไรขึ้นถ้า...ทั้งสองเพศมีส่วนร่วมบริหารตัดสินใจ? • รัฐศาสตร์ • ความแตกต่างที่เป็นอยู่ - ยุติธรรมหรือไม่? • ความไม่เท่าเทียมในอำนาจ • บทบาทของรัฐ ในการปรับเปลี่ยนสภาพที่เป็นอยู่ • จำเป็นหรือไม่ แค่ไหน เช่น • กิจกรรมในครอบครัว (เรื่องส่วนตัว?) • กิจกรรมสาธารณะ – ต้องสร้างความเสมอภาคในการมีส่วนร่วม?

  10. มานุษยวิทยา และ สังคมวิทยา • ความแตกต่างทางวัฒนธรรม กำหนดพฤติกรรมมนุษย์ • เน้นอิทธิพลการเลี้ยงดู/สภาพแวดล้อม มากกว่า กรรมพันธุ์ • กระบวนการสังคม 3 ด้าน • ครอบครัว • หล่อหลอมเด็กให้ยอมรับบทบาทหน้าที่ • สังคม • กำหนดความแตกต่างบทบาทหน้าที่หญิง/ชาย • สถาบันหลัก • ความแตกต่างของบทบาทหญิงชายที่สังคมสร้างขึ้น ความเชื่อ แนวคิด/แนวทางปฏิบัติที่ฝังลึก

  11. เศรษฐศาสตร์ • ไม่เน้น กรรมพันธุ์ หรือ สภาพแวดล้อม • โดยทั่วไป ใช้สมมติฐานว่าคนมีพฤติกรรมที่จะ “เห็นแก่ตัว”เน้นความเป็นเหตุเป็นผล(rationality) • แสวงหาอรรถประโยชน์สูงสุดให้ตนเอง • เมื่อสภาพการณ์เปลี่ยนแปลง มีความยืดหยุ่น (flexibility) ที่จะตอบสนอง เพื่อคงอรรถประโยชน์สูงสุดไว้ • นักเศรษฐศาสตร์สนใจว่า การแบ่งงานระหว่างหญิงชาย ที่เป็นอยู่นั้น • เหตุใด จึงคงอยู่ได้... แม้ในระยะยาว • ใช้ทฤษฎีที่มีตัวแปรน้อย  อธิบายเรื่องหลักๆ • อาศัยข้อมูลหลักฐานจากตัวเลข

  12. แต่... แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ เกี่ยวกับ “ข้อจำกัด” (constraints) มีหลากหลาย • นีโอคลาสสิก – รายได้ • มาร์กซิสต์ – ชนชั้น • สถาบัน – รัฐบาล สหภาพ กฎหมาย • เฟมินิสต์ (สตรีนิยม) – ความเป็นผู้หญิง  จำกัดการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจ • เรื่องที่สี่กลุ่มนี้เถียงกันมากที่สุด คือ... • บทบาทและผลกระทบของ สถาบันครอบครัว

More Related