1 / 11

ศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน ของฝ่ายวิชาการ นายนิรัญ จันทร์ส่ง

ศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน ของฝ่ายวิชาการ นายนิรัญ จันทร์ส่ง. วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี. ศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของ ฝ่ายวิชาการ. ความสำคัญและความเป็นมา

dawn-bryan
Télécharger la présentation

ศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน ของฝ่ายวิชาการ นายนิรัญ จันทร์ส่ง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน ของฝ่ายวิชาการ นายนิรัญ จันทร์ส่ง วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี

  2. ศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการ ความสำคัญและความเป็นมา การเรียนการสอนเป็นสิ่งสำคัญที่จะเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ได้รับประโยชน์ให้มากที่สุดและผู้เรียนจะต้องนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาตนเอง ครูผู้สอนก็จะต้องพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้มีความก้าวหน้าอยู่เสมอ ฝ่ายวิชาการเป็นฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนโดยตรงจึงจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาการเรียนการสอนของครูอยู่อย่างต่อเนื่อง วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี เป็นสถาบันการศึกษาด้านอาชีวศึกษา จะผลิตนักเรียน นักศึกษาเพื่อเป็นกำลังสู่ตลาดแรงงานของ ประเทศโดยเฉพาะในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าที่จะก้าวข้าสู่ประชาคมอาเซียน

  3. ศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการ ความสำคัญและความเป็นมา ในการจัดการเรียนการสอนนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงปัญหาและ อุปสรรค์ต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาแก้ไขให้วิทยาลัยเจริญเติบโตไปพร้อม ๆ กับ การยอมรับของ ครู นักเรียน และผู้ปกครอง และสถานประกอบการ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางวิทยาลัย และเกี่ยวข้องกับนักเรียน นักศึกษา ดังนั้นฝ่ายวิชาการ จึงจำเป็นที่จะศึกษาปัญหาและความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน นักศึกษาในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ด้านการจัดการเรียน การสอนด้านสื่อนวัตกรรม ด้านนิเทศการสอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการวัดผลการประเมินผล

  4. ศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของครู นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ในด้านการจัดการเรียนการสอนและการให้บริการของหน่วยงานสนับสนุน 2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของครู นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ต่อการจัดการเรียนการสอน ของฝ่ายวิชาการวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี

  5. สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถามสถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม ครู ผู้ปกครอง นักเรียน ความพึงพอใจ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อนวัตกรรม ด้านนิเทศการสอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการวัดผลการประเมินผล ศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการ กรอบแนวคิดในการวิจัย ในการสำรวจครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ศึกษาจากเอกสาร ความคิดเห็นของนักเรียน นักศึกษา ครู ผู้ปกครองแล้วนำมาทำกรอบแนวคิดดังนี้ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

  6. ศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการ ขอบเขตการวิจัย ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครู ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน นักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี โดยจำแนกได้ดังนี้ จำนวน ครู ทั้งหมด 115 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 3,450คน และจำนวนนักเรียนทั้งหมด 3,450 คน จำนวนประชากรทั้งสิ้น 7,015 คน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง ผู้ศึกษาได้เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเปรียบเทียบ ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่มีความเชื่อมั่น 95% จากขนาดประชากร 500 – α ของยามาเน

  7. ศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการ ขอบเขตการวิจัย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยจับฉลากนักเรียนแต่ละห้อง จำนวน 123 ห้อง จากจำนวน 180 ห้อง และจับฉลากนักเรียนแต่ละคนในห้อง เฉลี่ยห้องละ 3 คน จะได้จำนวนนักเรียน เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 369 คน ส่วนการเลือกกลุ่มตัวอย่างครู โดยใช้วิธีการ นำชื่อครูมาจับฉลากอย่างง่าย จากจำนวน 115 คน ได้กลุ่มตัวอย่างของครู 86 คน และ เลือกกลุ่มตัวอย่างของผู้ปกครองโดยใช้วิธีการจับฉลากของตัวแทนผู้ปกครองแต่ละ จำนวน 123 ห้อง ผู้ปกครองจากการจับฉลากผู้ปกครองในห้องเรียนแต่ละห้อง ๆ ละ 3 คน จำนวนกลุ่มตัวอย่างจากผู้ปกครอง จำนวนทั้งหมด 369 คน ดังนั้นจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 824 คน เพื่อใช้ในการตอบคำถาม รวมจำนวน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 824 คน

  8. ศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการ สรุปผลการวิจัย จากการวิจัยพบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงที่สุดคือ ครู อาจารย์มีความรู้ ความสามารถตามเกณฑ์มาตรฐาน 9 ข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ 4.73 มีค่า SD. = 0.45 อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนค่าเฉลี่ยที่ที่ต่ำสุดก็คือ ครูหยุดการเรียนการสอนบ่อย มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.42 มีค่า SD = 1.13 ด้านการนิเทศการสอน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อาจารย์ผู้นิเทศการสอนให้ความรู้ ชี้แนะด้านการเรียนการสอนอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ยที่ 4.03 มีค่า SD = 0.55 ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ข้อที่มีคะแนนความพึงพอใจในระดับสุด มีค่าเฉลี่ย 4.84 มีค่า SD = .37

  9. ศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการ สรุปผลการวิจัย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือการใช้เวลาในการทำกิจกรรมมากเกินไป อยู่ในระดับความพึงพอใจ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.46 มีค่า SD. = .86 ในด้านการวัดผลประเมินผล นักเรียน ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 3.58 มีค่า SD. = .053 อภิปรายผล ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการ ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน มีคะแนนความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับ มาก ทั้งรายด้าน และโดยรวม ข้อที่ ครู ผู้ปกครองนักเรียน และ นักเรียน มีความพึงพอใจ มากที่สุด ด้านการจัดการเรียนการสอน

  10. ศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการ • อภิปรายผล ข้อที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงที่สุดคือ ครู อาจารย์มีความรู้ ความสามารถตามเกณฑ์มาตรฐาน 9 ข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ 4.73 ส่วนค่าเฉลี่ยที่ที่ต่ำสุดก็คือ ครูหยุดการเรียนการสอนบ่อย มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.42 ด้านการนิเทศการสอน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อาจารย์ผู้นิเทศการสอนให้ความรู้ ชี้แนะด้านการเรียนการสอนอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ยที่ 4.03 ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ข้อที่มีคะแนนความพึงพอใจในระดับสุด มีค่าเฉลี่ย 4.84 มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือการใช้เวลาในการทำกิจกรรมมากเกินไป อยู่ในระดับความพึงพอใจ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.46 ในด้านการวัดผลประเมินผล นักเรียน ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 3.58

  11. ศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการศึกษาปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของฝ่ายวิชาการ ข้อเสนอแนะ ระยะเวลาการเดินทางไประหว่างตึกเรียนใช้เวลามากเกินไปควรจัดห้องเรียนและของครูแต่ละคนที่สอนเวลาใกล้เคียงกันอยู่ในอาคารเรียนเดียวกัน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์บางห้องเรียนมีปัญหาไฟฟ้าตก บางรายวิชาเป็นทฤษฎีที่ไม่ควรนำมาใช้เรียนเพราะควรเน้นวิชาการสอนปฏิบัติเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะมากกว่าที่เป็นอยู่

More Related