1 / 17

โครงการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยจากสารเคมี และวัตถุอันตรายภาคอุตสาหกรรม

โครงการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยจากสารเคมี และวัตถุอันตรายภาคอุตสาหกรรม โครงการย่อยที่ 1 การพัฒนากลไกและเครื่องมือในการจัดการสารเคมีและ วัตถุอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพ. สนับสนุนงบประมาณโดย. ที่ปรึกษาโครงการ. สำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม. สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม

deacon-bean
Télécharger la présentation

โครงการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยจากสารเคมี และวัตถุอันตรายภาคอุตสาหกรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยจากสารเคมีโครงการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยจากสารเคมี และวัตถุอันตรายภาคอุตสาหกรรม โครงการย่อยที่ 1 การพัฒนากลไกและเครื่องมือในการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนงบประมาณโดย ที่ปรึกษาโครงการ สำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  2. แผนพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ.2555-2564) เป้าประสงค์ “ ภายในปี พ.ศ. 2564 สังคมและสิ่งแวดล้อมปลอดภัย บนพื้นฐานการจัดการสารเคมีที่มีประสิทธิภาพมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ” ภาคประชาชน พัฒนาฐานข้อมูล กลไกและเครื่องมือในการจัดการสารเคมีอย่างเป็นระบบครบวงจร ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาศักยภาพและบทบาทในการบริหารจัดการสารเคมีของทุกภาคส่วน ภาคเอกชน ภาครัฐ สังคม/สิ่งแวดล้อมปลอดภัยจากสารเคมี ยุทธศาสตร์ที่ 3 ลดความเสี่ยงอันตรายจากสารเคมี

  3. แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม(พ.ศ.2555-2558) พันธกิจ วิสัยทัศน์ • บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยให้สอดรับกับกฎหมายระหว่างประเทศ • ส่งเสริมสนับสนุนข้อมูลและองค์ความรู้ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม • ยกระดับการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล องค์กรชั้นนำด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ภาคอุตสาหกรรม บริหารจัดการให้ผู้ประกอบการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 1. บริหารจัดการให้ภาคอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ 2. สร้างความโดดเด่นด้านการบริการ ยกระดับการให้บริการ มีระบบบริหารจัดการที่ดีได้มาตรฐาน 3. เสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดี

  4. อันตรายจากสารเคมี / การแข่งขันทางการค้า • ต่างประเทศ • GHS • REACH • Risk assessment • อนุสัญญาระหว่างประเทศ มาตรการและข้อกำหนด ภาคประชาชน • ประเทศไทย • พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ระบบการบริหารจัดการสารเคมี ภาคเอกชน ภาครัฐ การพัฒนาอย่างยั่งยืน

  5. วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนากลไกหรือเครื่องมือการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. กลไกและเครื่องมือการขับเคลื่อนการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายตามแผนปฏิบัติการ 2. ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการควบคุมกำกับดูแลมีความรู้ความเข้าใจในการนำกลไก และเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ในการขับเคลื่อนในการบริหารจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย

  6. การจัดทำแผนปฏิบัติการการจัดทำแผนปฏิบัติการ การจัดทำร่างแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย สัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการ จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น วิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลต่างประเทศกับการดำเนินงานในประเทศไทย การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ การศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล • ด้านกฎหมาย กฎระเบียบ • สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา • ประเทศจีน ประเทศมาเลเซีย • ประเทศสิงคโปร์ ประเทศญี่ปุ่น • สาธารณรัฐเกาหลี ประเทศ เวียดนาม และประเทศไทย ขอบเขตการดำเนินโครงการ 1 2. • ครั้งที่ 1 รับฟังความคิดเห็นต่อกรอบร่างแผนปฏิบัติการฯ • ครั้งที่ 2 รับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนปฏิบัติการฯที่ได้ปรับปรุงจากการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 3. • ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ • การจัดทำวีดีทัศน์ การประชุมผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายด้านการจัดการสารเคมีในต่างประเทศ ผู้เข้าร่วมประชุมไม่ต่ำกว่า 500 คน

  7. การจัดทำร่างแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายการจัดทำร่างแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย รวบรวมข้อมูลกลไก เครื่องมือด้านกฎหมาย กฎระเบียบในการจัดการสารเคมีทั้งในและต่างประเทศจากเว็บไซต์/รายงาน/บทความ 1. วิเคราะห์สถานการณ์การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายของต่างประเทศเปรียบเทียบกับประเทศไทย พฤษภาคม 55 ศึกษา/รวบรวมข้อมูลจากแผนยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีแห่งชาติฉบับที่ 4 แผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานระหว่างประเทศว่าด้วยสารเคมี/ พรบ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535/นโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม/แผนงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 2. วิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการกำหนดแนวคิดและทิศทางการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายสำหรับภาคอุตสาหกรรม มิถุนายน 55 3. ยกร่างกรอบแนวคิดและทิศทางการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายสำหรับภาคอุตสาหกรรม กรกฎาคม 55 จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสีย ครอบคลุม 4 พื้นที่ (ครั้งที่ 1) 4. ยกร่างแผนการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายสำหรับภาคอุตสาหกรรม จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสีย ครอบคลุม 4 พื้นที่ (ครั้งที่ 2) กรกฎาคม-สิงหาคม 5. ปรับปรุงร่างแผนการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายสำหรับภาคอุตสาหกรรม รับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสียทั่วประเทศ กันยายน 55 6. เสนอแผนการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายสำหรับภาคอุตสาหกรรมต่อสำนักควบคุมวัตถุอันตราย ตุลาคม-ธันวาคม 55 ปรับปรุงร่างแผนฯ ตามข้อเสนอแนะที่ได้รับ

  8. กำหนดการจัดประชุม หมายเหตุ : อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

  9. สรุปประเด็นจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 จุดแข็ง (Strength) • มาตรการด้านกฎหมายของประเทศไทยมีความชัดเจน • มีการแบ่งหน่วยงานกำกับดูแลวัตถุอันตรายที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นต้น • เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานกำกับดูแลในแต่ละหน่วยงานมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสาขานั้นๆ ทำให้การกำกับดูแลวัตถุอันตรายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

  10. สรุปประเด็นจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 จุดอ่อน (Weakness) ด้านหน่วยงานกำกับดูแล • การมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลวัตถุอันตรายหลายหน่วยงานและทำงานแยกกัน ทำให้การบริหารจัดการวัตถุอันตรายของประเทศขาดการเชื่อมโยงข้อมูล • การมีหน่วยงานในการกำกับดูแลวัตถุอันตรายหลายหน่วยงาน ทำให้เกิดความสับสนในการติดต่อ ว่าหน่วยงานใดที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการดำเนินการทางด้านวัตถุอันตราย

  11. สรุปประเด็นจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 จุดอ่อน (Weakness) ด้าน พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 • กฎหมายไม่ทันสมัย ยังไม่พัฒนาให้เทียบเท่าสากล ตัวอย่างเช่น สารเคมีบางตัวมีข้อยกเว้นในประเทศ แต่ในต่างประเทศไม่ได้รับการยกเว้น • มีรายละเอียดของกฎหมายค่อนข้างมาก ผู้ประกอบการเกิดความสับสน • การนำกฎหมายไปปรับใช้ในแต่ละด้าน เช่น สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง ทำให้การดูแลไม่ทั่วถึง • การนำกฎหมายไปใช้หลายหน่วยงาน ทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติตามกฎหมาย • ไม่สามารถควบคุมสารเคมีอันตรายที่ยังไม่ประกาศ (สารเคมีที่ยังไม่ได้ประกาศชื่อ) • ประเทศไทยไม่มีฐานข้อมูลสารเคมีที่ไม่ใช่วัตถุอันตราย เพราะ พ.ร.บ. วัตถุอันตรายจะมีผลบังคับใช้กับสารเคมีที่ประกาศเท่านั้น แต่สารเคมีที่อยู่นอกเหนือจากบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายอาจมีอันตรายหรือความเป็นพิษเท่ากับวัตถุอันตราย • ภาษาที่ใช้เข้าใจยาก ทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการไม่เข้าใจในตัวบทกฎหมาย • การบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มงวด

  12. สรุปประเด็นจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 จุดอ่อน (Weakness) ด้านอื่นๆ • จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ เกิดการย่อหย่อน/ละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ และไม่มีหน่วยงานตรวจสอบและติดตามข้อเท็จจริงจากพื้นที่ • เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการแต่ละระดับ มีความรู้ ความเข้าใจในข้อปฏิบัติที่แตกต่างกัน • ขาดการตรวจสอบ ติดตาม และการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง • ขาดเครื่องมือในการตรวจวิเคราะห์และทดสอบ • มีการนัดหมายการตรวจสอบโรงงานล่วงหน้า ทำให้โรงงานมีเวลาเตรียมตัว ปกปิด ซ่อนเร้น จึงไม่ได้ข้อเท็จจริง

  13. สรุปประเด็นจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 โอกาส (Opportunity) • การจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อการบริหารจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายของประเทศ โดยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งติดต่อประสานงาน และให้บริการในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและวัตถุอันตรายของประเทศ • ปัญหาการเมืองแทรกแซงต่อการบังคับใช้กฎหมาย • ขาดการประชาสัมพันธ์ในตัวบทกฎหมาย อุปสรรค (Threat)

  14. สรุปประเด็นจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 ข้อเสนอแนะ • ควรมีการกระจายอำนาจให้หน่วยงานในท้องถิ่น • ควรมีการจัดตั้งเครือข่ายการเฝ้าระวัง และตรวจสอบ • การพัฒนาระบบการบริหารจัดการสารเคมีให้เป็นสากล จัดทำกฎหมายสารเคมีและวัตถุอันตรายฉบับใหม่ โดยมีการพัฒนาและปรับปรุงจากฉบับเดิมดังนี้ • ปรับเพิ่มบทลงโทษให้มีความเข้มข้นและมีความเข้มงวดในเรื่องบทลงโทษมากขึ้น • เพิ่มบทลงโทษไปถึงระดับผู้ถือหุ้นของสถานประกอบการ • มีมาตรการเพื่อควบคุมให้รัดกุมยิ่งขึ้น • กำหนดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบควบคุม (ตามรัฐธรรมนูญ) • พัฒนาตัวกฎหมายให้ทันสมัยเทียบเท่ากับต่างประเทศ

  15. บรรยากาศการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1

  16. เว็บไซต์โครงการฯ ที่มา : http://aida-2010.com/fti-che/mains/index

  17. สนับสนุนโดย สำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่ปรึกษาโครงการ สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม นางสาวทัศนีย์ ยวงเกตุ โทรศัพท์ 0 2345 1155 หรืออีเมล์ tassaneey@off.fti.or.th www.diw.go.th หรือ www.fti.or.th หรือ เข้าไปที่http://aida-2010.com/fti-che/mains/index

More Related