1 / 34

บทที่ 1

บทที่ 1. การวิเคราะห์เชิงปริมาณเบื้องต้น. วัตถุประสงค์. หลังจากเรียนจบบทเรียนนี้ ผู้เรียนสามารถ. บอกความหมายของการวิเคราะห์เชิงปริมาณได้ อธิบายความสำคัญและประโยชน์ของการวิเคราะห์เชิงปริมาณได้ ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณกับปัญหาต่างๆได้ บอกขั้นตอนการวิเคราะห์เชิงปริมาณได้

Télécharger la présentation

บทที่ 1

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1 การวิเคราะห์เชิงปริมาณเบื้องต้น

  2. วัตถุประสงค์ หลังจากเรียนจบบทเรียนนี้ ผู้เรียนสามารถ • บอกความหมายของการวิเคราะห์เชิงปริมาณได้ • อธิบายความสำคัญและประโยชน์ของการวิเคราะห์เชิงปริมาณได้ • ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณกับปัญหาต่างๆได้ • บอกขั้นตอนการวิเคราะห์เชิงปริมาณได้ • อธิบายลักษณะพื้นฐานและประโยชน์ของการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน(break-even analysis)ได้ • แก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนได้

  3. การวิเคราะห์เชิงปริมาณการวิเคราะห์เชิงปริมาณ • เป็นวิธีการหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์และสถิติ ที่ใช้ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาทางธุรกิจ • เครื่องมือที่สำคัญของการวิเคราะห์เชิงปริมาณคือ การสร้างตัวแบบ(Model) ทางคณิตศาสตร์เพื่อจำลองสภาพของปัญหา • ผลที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ สามารถนำไปใช้ร่วมกับสารสนเทศอื่นๆเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ Quantitative Analysis Meaningful Information Raw Data

  4. ขั้นตอนการวิเคราะห์เชิงปริมาณขั้นตอนการวิเคราะห์เชิงปริมาณ • การวิเคราะห์ปัญหา(Problem analysis) • การสร้างตัวแบบ(Model development) • การรวบรวมข้อมูล(Collecting data) • การหาผลลัพธ์(Calculating data) • การทดสอบผลลัพธ์(Testing the solution) • การนำผลลัพธ์ไปใช้แก้ปัญหา(Implementation)

  5. 1. การวิเคราะห์ปัญหา(Problem analysis) • ระบุลักษณะปัญหาและขอบเขตให้ชัดเจน โดยสังเกตการณ์และจดบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เช่น • พัสดุคงคลังมีมาก • ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง • การประสานงานระหว่างฝ่ายผลิตกับพนักงานขายไม่ราบรื่น • ศึกษาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการนำเทคนิคเชิงปริมาณมาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหา โดยใช้การวิเคราะห์ต้นทุน-กำไรเพื่อประมาณค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนที่จะได้รับว่าคุ้มกันหรือไม่

  6. 2. การสร้างตัวแบบ(Model development) • ตัวแบบ(Model) คือนามธรรมของระบบจริง ได้แก่การจำลองระบบจริงให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น ตัวแบบแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ เช่น • ตัวแบบสัญรูป(Iconic model) คือตัวแบบที่เป็นรูปจำลองของสิ่งต่างๆโดยแสดงอยู่ในลักษณะที่เหมือนตัวจริงแต่ใช้มาตรส่วนที่ต่างกันเช่น ตัวแบบของรถยนต์ บ้าน • ตัวแบบอนุมาน(Analog model) คือตัวแบบที่ใช้สิ่งอื่นเป็นตัวแทน แสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะของสิ่งต่างๆ เช่น หน้าปัดวัดความเร็วของรถยนต์ ปรอทวัดอุณหภูมิ ผังการจัดองค์การ • ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์(Mathematical model) คือตัวแบบที่ใช้ตัวเลข ตัวแปร และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์มาเขียนให้อยู่ในรูปความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ เช่น สมการ อสมการ เพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะปัญหาที่เกิดขึ้นในธุรกิจตัวอย่าง เช่น ตัวแบบจำลองสถานการณ์(Simulation model) ตัวแบบพีชคณิต(Algebraic model) ตัวแบบตารางทำงาน(Spreadsheet model)

  7. 3. การรวบรวมข้อมูล(Collecting data) • ต้องรวบรวมข้อมูลทั้งจากภายนอกองค์กรและภายในองค์กร โดยรวบรวมจากรายงานและเอกสารต่างๆ จากประสบการณ์ จากการสอบถามพนักงาน จากการสังเกตการณ์ หรือใช้ข้อมูลทางสถิติ เช่น จำนวนพนักงาน อัตราการลาออกของพนักงาน รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง เป็นต้น • เป็นขั้นตอนที่ใช้เวลามาก อาจทำควบคู่ไปกับการสร้างตัวแบบได้ • อาจเกิดปัญหา เช่น ข้อมูลที่ต้องการไม่เคยถูกเก็บมาก่อน หรือมีการจัดเก็บกระจายอยู่ในแผนกต่างๆในรูปแบบที่แตกต่างกัน หน่วยวัดที่แตกต่างกัน

  8. 4. การหาผลลัพธ์(Calculating data) • นำตัวแบบที่สร้างไว้มาทำการคำนวณด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ เพื่อหาผลลัพธ์ที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา • โดยการหาผลลัพธ์หรือผลเฉลยนั้นมีวิธีการคำนวณที่กำหนดไว้เป็นขั้นตอนที่ชัดเจน แต่ละตัวแบบจะมีวิธีการคำนวณหาผลเฉลยที่แตกต่างกัน • อาจใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วย เพื่อความรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ

  9. 5. การทดสอบผลลัพธ์(Testing the solution) • ทดสอบและวิเคราะห์ว่าเป็นผลลัพธ์ที่ดีจริง • ทบทวนความเป็นไปได้และความมีเหตุมีผลของผลลัพธ์อีกครั้ง ก่อนนำไปใช้ โดยลองใช้กับปัญหาขนาดเล็กหรือใช้กับบางแผนกก่อน เพื่อหาจุดบกพร่องของผลลัพธ์ ของตัวแบบและข้อมูลที่ใช้ และทำการแก้ไขปรับปรุง

  10. 6. การนำผลลัพธ์ไปใช้แก้ปัญหา(Implementation) • เป็นขั้นตอนของการทำให้เกิดการยอมรับและการนำไปปฏิบัติ เนื่องจากพนักงานในองค์กรอาจต่อต้านการเปลี่ยนแปลง จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจ และสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วม เพื่อให้เห็นว่าแนวทางใหม่จะเป็นแนวทางที่ดีสำหรับองค์กร • ขึ้นกับผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง ว่ามีความเข้าใจและมั่นใจว่าผลลัพธ์ที่ได้มานั้นสามารถนำไปแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ • การตัดสินใจทางธุรกิจ ผู้ตัดสินใจจะต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณมุ่งเน้นเฉพาะสิ่งที่แสดงเป็นตัวเลขได้เท่านั้น ในขณะที่ยังมีข้อมูลเชิงคุณภาพอื่นๆที่ไม่สามารถคำนวณเป็นตัวเลขได้ เช่น ความพอใจ ผลกระทบทางการเมือง ดินฟ้าอากาศ เป็นต้น

  11. การประยุกต์ใช้เทคนิคเชิงปริมาณการประยุกต์ใช้เทคนิคเชิงปริมาณ • ปัญหาการจัดสรร • ปัญหาการกำหนดส่วนผสม • ปัญหาการขนส่ง • ปัญหาการกำหนดงาน • การวิเคราะห์ข่ายงาน • ปัญหาการควบคุมพัสดุคงคลัง • ปัญหาแถวคอย • ปัญหาการตัดสินภายใต้ความไม่แน่นอนและความเสี่ยง • ปัญหาการแข่งขัน

  12. ตัวอย่างหน่วยงานที่นำการวิเคราะห์เชิงปริมาณไปประยุกต์ใช้ตัวอย่างหน่วยงานที่นำการวิเคราะห์เชิงปริมาณไปประยุกต์ใช้ Stevenson and Ozgur, Introduction to Management Science with Spreadsheets

  13. ประโยชน์ของวิธีการเชิงปริมาณประโยชน์ของวิธีการเชิงปริมาณ • เป็นการให้ความใส่ใจและเห็นความจำเป็นในการวิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาที่เฉพาะเจาะจง • ช่วยให้การวางแผนดีขึ้น ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต • ช่วยให้เห็นผลลัพธ์จากการตัดสินใจเป็นรูปธรรมมากกว่าการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ • สามารถใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในการแก้ปัญหาเชิงบริหารได้

  14. ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ • โปรแกรม LINDO (Linear Interactive Discrete Optimizer) • โปรแกรม QSB+ • โปรแกรม QS • โปรแกรม D&D • โปรแกรม Micro Manager • โปรแกรม QM for Windows • โปรแกรม AB:QM • โปรแกรม Crystal Ball • โปรแกรม Microsoft Office Project Professional • โปรแกรม Excel Spreadsheet

  15. บทบาทของ Spreadsheets ในตัวแบบการตัดสินใจ • คอมพิวเตอร์สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจ • ตัวแบบคอมพิวเตอร์(Computer Models) : กลุ่มของความสัมพันธ์เชิงคณิตศาสตร์ และสมมติฐานทางตรรก ที่ถูกนำมาใช้งานจริงด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อแสดงนามธรรมของระบบจริงที่ต้องการแก้ปัญหา • Spreadsheets เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ในการสร้างตัวแบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบุคคลที่ต้องการแก้ปัญหาทางธุรกิจได้อย่างสะดวก • Spreadsheet packages - • สามารถใช้แก้ปัญหาด้วยการสร้างตัวแบบในการตัดสินใจได้ • มีbuilt-in functions ให้เลือกใช้งานมากมาย เช่นGoal Seek , Data Table, Chart Wizard

  16. Excel Spreadsheet

  17. Functions Screen

  18. Add-in Options : MS Excel 2003 คลิ๊กเมนู เครื่องมือ Add-Ins

  19. MS Excel 2007

  20. ตัวอย่างการใช้ Spreadsheet สร้างตัวแบบคำนวณยอดการผ่อนรถยนต์ • การสร้างตัวแบบ โดยให้ผู้ใช้ระบุราคารถที่ต้องการ • ผู้ใช้สามารถเลือกดาวน์ 15%, 20% หรือ 25% ของราคารถ • อัตราดอกเบี้ยต่อปี แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระยะเวลาการผ่อนชำระ และ%เงินดาวน์ • สามารถสร้างตัวแบบเพื่อคำนวณยอดการผ่อนรถรายเดือนในกรณีต่างๆ • เช่น ราคารถ 500,000 บาท • ถ้าดาวน์ 20% และผ่อน 5 ปี(60 เดือน) จะเสียดอกเบี้ยปีละ 2.95% ผ่อนเดือนละ 7,650 บาท • ถ้าดาวน์ 25% และผ่อน 6 ปี(72 เดือน) จะเสียดอกเบี้ยปีละ 3.10% ผ่อนเดือนละ 6,178 บาท

  21. ตัวอย่างการใช้ Spreadsheet สร้างตัวแบบคำนวณยอดการผ่อนรถยนต์

  22. ตัวอย่างการใช้ Spreadsheet สร้างตัวแบบคำนวณยอดการผ่อนรถยนต์ • การสลับระหว่างการแสดงสูตรและค่าของสูตรในแผ่นงานทำได้โดย • กดแป้น CTRL และแป้น `(อยู่บนแป้นพิมพ์ตำแหน่งเดียวกับเครื่องหมาย ~)

  23. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน • เป็นการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย และ ปริมาณ (cost-volume analysis) • เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่าย ปริมาณสินค้าที่ผลิต-ขาย และกำไร • จุดคุ้มทุน( Break-Even Point หรือ BEP) • คือปริมาณการขายที่ทำได้รายได้รวมเท่ากับค่าใช้จ่ายรวม • เส้นแบ่งระหว่างกำไรและขาดทุน; ถ้ายอดขายสูงกว่าจุดคุ้มทุนจะทำให้เกิดกำไรแต่ถ้าต่ำกว่าจะทำให้ขาดทุน • โดยกำหนดสมมติฐานว่าจำนวนหน่วยที่ผลิตขายได้ทั้งหมด

  24. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน • กำไร = รายได้รวม – ค่าใช้จ่ายรวม กำไร = รายได้รวม – [ ค่าใช้จ่ายคงที่ + ค่าใช้จ่ายผันแปร] ซึ่ง:รายได้รวม= [ราคาขายต่อหน่วยจำนวนหน่วยที่ผลิต] ค่าใช้จ่ายผันแปร = [ค่าใช้จ่ายผันแปรต่อหน่วยจำนวนหน่วยที่ผลิต] ค่าใช้จ่ายคงที่= เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องลงทุนเช่น ค่าเช่าอาคาร ค่าเช่าอุปกรณ์ เป็นต้น • การหาจุดคุ้มทุนทำได้โดย กำหนดให้กำไรเท่ากับศูนย์ 0 = [ราคาขายต่อหน่วยจำนวนหน่วยที่ผลิต] – [ค่าใช้จ่ายคงที่ + (ค่าใช้จ่ายผันแปรต่อหน่วยจำนวนหน่วยที่ผลิต) ] • เขียนเป็นความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ได้ดังนี้ : • จำนวนหน่วยที่ขาย(ผลิต)เพื่อให้คุ้มทุน (BEP) = ค่าใช้จ่ายคงที่ ---------------------------------------------------------- [ ราคาขายต่อหน่วย – ค่าใช้จ่ายผันแปรต่อหน่วย ]

  25. รายรับรวมที่เพิ่มขึ้นเชิงเส้น เมื่อปริมาณเพิ่มขึ้น

  26. ค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed Costs)

  27. ค่าใช้จ่ายผันแปรรวม

  28. ต้นทุนรวม(Total Cost)

  29. กำไรและจุดคุ้มทุน Profit

  30. ตัวแบบ Spreadsheet : การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน Problem: บริษัทของบิลชื่อPritchett's Precious Time Piecesเป็นบริษัทที่ ซื้อ ขาย และซ่อมนาฬิกาเก่า และชิ้นส่วนนาฬิกาบิลผลิตและขายสปริงหน่วยละ 10 เหรียญโดยมีค่าใช้จ่ายคงที่ในการผลิตสปริง 1,000 เหรียญ ค่าใช้จ่ายผันแปรต่อหน่วยคือ 5 เหรียญเป็นค่าวัสดุที่ใช้ทำสปริง

  31. ตัวแบบ Spreadsheet : การคำนวณหาจุดคุ้มทุน(BEP) • กำไร = รายได้รวม – [ ค่าใช้จ่ายคงที่ + ค่าใช้จ่ายผันแปร ] • จากโจทย์ตัวอย่างจะได้ว่า: กำไร = 10X – [1,000 + 5X] เมื่อ X คือ จำนวนหน่วยที่ขาย หรือผลิต • การหาจุดคุ้มทุน(BEP)ทำได้โดย กำหนดให้กำไรเท่ากับศูนย์ • สำหรับตัวอย่าง Bill Pritchett's คำนวณ BEP(ยอดขายที่ทำให้คุ้มทุน) ได้ ดังนี้ : 0 = 10X – [1,000 + 5X] 1,000 = 10X –5X ดังนั้น X = 1,000 / [10 - 5 ] = 200 springs

  32. จุดคุ้มทุน(Break Even Point-BEP) • มูลค่าคุ้มทุนสามารถคำนวณได้ ดังนี้ : มูลค่าคุ้มทุน = ค่าใช้จ่ายคงที่ + (ค่าใช้จ่ายผันแปรต่อหน่วย*จำนวนที่ผลิต) • สำหรับตัวอย่าง Bill Pritchett's คำนวณมูลค่าคุ้มทุนได้ดังนี้ : 1,000 + 5 * 200 = 2,000 บาท

  33. การใช้ Goal Seek เพื่อหาจุดคุ้มทุน Excel 2003 Excel 2007

  34. แบบฝึกหัด 1. ร้านบูรพากลาซมีต้นทุนคงที่รวมเดือนละ 60,000 บาท ค่าขนส่งแก้วมาขายคิดใบละ50 สตางค์ ราคาทุนของแก้วที่สั่งมาขายใบละ 19.50 บาท ทางร้านขายแก้วใบละ 30 บาทจงหาว่า • ถ้าขายแก้วได้ 5,000 ใบ ร้านนี้จะกำไรหรือขาดทุน เป็นเงินเท่าไร • ถ้าขายแก้วได้ 10,000 ใบ ร้านนี้จะกำไรหรือขาดทุน เป็นเงินเท่าไร • ร้านนี้จะต้องขายแก้วให้ได้เงินเท่าไรจึงจะคุ้มทุน 2. โรงงานบูรพาฟุตแวร์มีต้นทุนคงที่รวมเดือนละ 2,000,000 บาท ราคารองเท้าที่ผลิตขายไปคู่ละ 300 บาท ต้นทุนผันแปรต่อคู่คิดเป็น 100 บาท จงหาว่า • โรงงานนี้จะต้องขายรองเท้ากี่คู่ จึงจะคุ้มทุน • ต้องขายให้ได้เงินเท่าไรจึงจะคุ้มทุน • หากเดือนกันยายนขายได้ 8,000 คู่ โรงงานกำไรหรือขาดทุนเท่าไร เพราะเหตุใด

More Related