1 / 49

ผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ต่อประเทศไทย

ผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ต่อประเทศไทย. อ.ดร.กรกรัณย์ ชีวะตระกุลพงษ์ และ อ.ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ต่อประเทศไทย.

Télécharger la présentation

ผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ต่อประเทศไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ต่อประเทศไทยผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ต่อประเทศไทย อ.ดร.กรกรัณย์ ชีวะตระกุลพงษ์และ อ.ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  2. ผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ต่อประเทศไทยผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ต่อประเทศไทย • สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่และมีความเชื่องโยงทางเศรษฐกิจทั้งการค้าและการเงินกับประเทศอื่นๆในโลกอย่างกว้างขวาง • วิกฤตการณ์ซับไพรม์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯจึงสามารถส่งผลกระทบต่อภาคการเงินและเศรษฐกิจทั่วโลกได้อย่างมีนัยสำคัญ • ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ • งานศึกษาชิ้นนี้จึงตั้งประเด็นเพื่อวิเคราะห์ถึง • ‘ช่องทาง’ การส่งผ่านผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ต่อระบบเศรษฐกิจไทย • สำรวจบทความวิจัยที่ผ่านมาเพื่อ ‘ประเมินผลกระทบในเบื้องต้น’ ที่อาจเกิดขึ้นต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย

  3. ส่วนประกอบการบรรยาย • สาเหตุของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ • การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน • ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา • ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย • การส่งผ่านผลกระทบโดยช่องทางภาคการเงิน • การส่งผ่านผลกระทบโดยช่องทางตลาดทุน • การส่งผ่านผลกระทบโดยช่องทางการค้าระหว่างประเทศ • บทสรุป

  4. 1. สาเหตุของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ รูปที่ 1: อัตราการค้างชำระสินเชื่อบ้านของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มา: Bloomberg 1. สาเหตุของวิกฤตการณ์ซับไพรม์

  5. 1. สาเหตุของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ ภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของประเทศสหรัฐอเมริกานับตั้งแต่ช่วงปีค.ศ. 1997 โดยราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 124 ระหว่างปีค.ศ. 1997-2006 ความหย่อนยานในมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อประเภทซับไพรม์จากการแข่งขันของบริษัทให้สินเชื่อที่สูง และภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ การเอื้อประโยชน์จากกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา การขาดมาตรฐานในการกำกับดูและการให้สินเชื่อประเภทซับไพรม์และการออกตราสารประเภทที่มีการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน (Securitization) 1. สาเหตุของวิกฤตการณ์ซับไพรม์

  6. 1. สาเหตุของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ การปรับตัวเพิ่มขึ้นของระดับอัตราดอกเบี้ยในช่วงต่อมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ซับไพรม์ลดลง ความล้มเหลวของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินให้สะท้อนกับความเสี่ยงที่แท้จริง ทำให้เกิดภาวะความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล 1. สาเหตุของวิกฤตการณ์ซับไพรม์

  7. 2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน ขนาดของสินเชื่อซับไพรม์ในประเทศสหรัฐอเมริกามีมูลค่าน้อยกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ อัตราการค้างชำระหนี้สูงประมาณร้อยละ 12-13 ความเสียหายจากสินเชื่อซับไพรม์อยู่ที่ประมาณ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.42 ของ GDP ของสหรัฐอเมริกา 2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน

  8. 2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน สินเชื่อประเภทซับไพรม์จะถูกแปลงสภาพจากสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization) ในรูปแบบที่เรียกว่า Mortgage-Backed Securitization (MBS) MBS จะถูกจัดลำดับ และนำไปจัดเป็นกลุ่มรวมกัน (Pool) แปลงต่อเป็นตราสารที่เรียกว่า Collateralized Debt Obligation (CDO) สินทรัพย์เหล่านี้มีลักษณะเป็น off-balance sheet รวมอยู่ใน Structure Investment Vehicles (SIVs) 2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน

  9. 2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน 2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน

  10. 2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน ภาวะการขาดสภาพคล่อง มูลค่าสินทรัพย์ที่ลดลง และการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือทำให้สถาบันการเงินต้องระดมเงินทุนเพิ่ม การขาดความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทำให้การระดมทุนโดยการเพิ่มทุนนั้นไม่เพียงพอ พึ่งพิงเงินทุนจากตลาดเงิน ทำให้สภาพคล่องในตลาดเงินตึงตัว และความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น ระดับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างธนาคารจึงปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก สถาบันการเงินหลายแห่งต้องลดขนาดของสินทรัพย์ จนถึงระดมเงินทุนอย่างหนักถูกควบรวมหรือซื้อกิจการ ไปจนถึงอยู่ในภาวะล้มละลาย 2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน

  11. 2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน การมีธุรกรรมเกี่ยวเนื่องกับตราสารอนุพันธ์เป็นจำนวนมาก ทำให้ผลกระทบของสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง สามารถถ่ายทอดไปสู่สถาบันการเงินอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ตราสารอนุพันธ์ในสหรัฐอเมริกามีอยู่ถึง 180 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 90 เป็นลักษณะ over-the counter (OTC) ปัญหาลุกลามไปในประเทศอื่น ๆ เช่นในภูมิภาคยุโรป รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น อันเนื่องมาจากการลงทุนในตราสารที่มีปัญหาในสหรัฐอเมริกา และภาวะฟองสบู่แตกในอสังหาริมทรัพย์เช่นเดียวกัน 2. การขยายตัวของปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ต่อระบบการเงิน

  12. 3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา รูปที่ 4: อัตราการเติบโตของ GDP และอัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกา ที่มา: Bloomberg 3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา

  13. สัญญาณของเศรษฐกิจถดถอยเพิ่งเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 3 ของปี 2008 ความปั่นป่วนของตลาดการเงินและตลาดทุนที่ผ่านมาเป็นการสะท้อนภาวะการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ปัญหาซับไพรม์ส่งผลให้ดอกเบี้ยสูงขึ้น และมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อสูงขึ้น จึงทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรลดลง 3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา 3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา

  14. รูปที่ 5: อัตราการตัดจำหน่าย (Charge-off Rate) ของสินเชื่อในสหรัฐอเมริกา ที่มา: Federal Reserve 3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา 3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา

  15. การปรับตัวลดลงของราคาหุ้นยิ่งส่งผลให้อุปสงค์รวมในการใช้จ่ายและการลงทุนลดลงการปรับตัวลดลงของราคาหุ้นยิ่งส่งผลให้อุปสงค์รวมในการใช้จ่ายและการลงทุนลดลง การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในสหรัฐปรับตัวลดลงร้อยละ 3 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2008 (เป็นครั้งแรกนับจาก 1990 และต่ำสุดนับจาก 1981) อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 6.1 ในเดือนกันยายน 2008 มีการหดตัวในภาคการผลิต โดย Factory Index ปรับตัวลดลงมาที่ 43.50 ในเดือนกันยายน ซึ่งต่ำสุดนับจากต.ค. 2001 3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา 3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา

  16. อัตราการค้างชำระหนี้บัตรเครดิตในประเทศสหรัฐอเมริกาเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากอัตราการค้างชำระหนี้บัตรเครดิตในประเทศสหรัฐอเมริกาเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก สัญญาณลุกลามของปัญหาซับไพรม์มาที่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงอย่างหนัก จากปัญหาของอุตสาหกรรมรถยนต์ เมื่อ 3 บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกาได้แก่ General Motors, Ford และ Chrysler ประสบการขาดทุนอย่างหนักจนจำเป็นต้องอาศัยเงินกู้ยืมฉุกเฉินจากรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือไม่ให้ตกอยู่ในภาวะล้มละลาย สาเหตุของการภาวะการขาดทุนอย่างหนัก เกิดเนื่องมาจากภาวะการขาดสภาพคล่องของตลาดเงินที่ทำให้ต้นทุนเงินทุนสูง รวมถึงราคาวัตถุดิบและน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น 3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา 3. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา

  17. ช่องทางภาคการเงิน ช่องทางตลาดทุน ช่องทางการค้าระหว่างประเทศ 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย

  18. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย

  19. ช่องทางที่ 1: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางภาคการเงิน ประเทศไทยเริ่มเกิดสภาวะสภาพคล่องตึงตัวขึ้น และความเชื่อมั่นของการกู้ยืมเงินระหว่างสถาบันทางการเงินในประเทศลดลง BIBOR ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา TED spread เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.03 ในเดือนก.ย. มาอยู่ที่ 0.45 ในเดือนต.ค. แต่ยังต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาที่ปรับตัวขึ้นมาสูงถึงร้อยละ 4-5 ในช่วงเดือนก.ย. – ต.ค. จากเดิมที่ระดับประมาณร้อยละ 1 ในช่วงต้นปี 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 1

  20. รูปที่ 7: อัตราดอกเบี้ย BIBOR อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล (1 เดือน) และผลต่างความเสี่ยง ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 1 ช่องทางที่ 1: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางภาคการเงิน

  21. สถานะทางการเงินของสถาบันการเงินไทยยังเข้มแข็งอยู่ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 1997 และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 1997 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้มีการปรับกฎระเบียบในการกำกับดูแลสถาบันการเงินให้มีความเข้มงวดขึ้นเป็นอย่างมาก อีกทั้งสถาบันการเงินต่าง ๆ มีการดำเนินนโยบายการปล่อยสินเชื่อและการลงทุนที่รัดกุมมากยิ่งขึ้น 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 1 ช่องทางที่ 1: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางภาคการเงิน

  22. อัตราส่วนเงินกู้ต่อเงินฝาก (Loan to deposit ratio) อยู่ในระดับที่ต่ำ คือประมาณร้อยละ 104.77 (ซึ่งในปี 1997 อัตราส่วนนี้สูงถึงร้อยละ 143.26) มีการดำรงสำรองสินทรัพย์สภาพคล่องไว้ถึงร้อยละ 11.7 ซึ่งสูงกว่าระดับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งไว้ มีอัตราส่วนหนี้สงสัยจะสูญต่ำ คือประมาณร้อยละ 6.43 (ซึ่งในปี 1997 อยู่ที่ระดับ 31.04) มีการตั้งสำรองสำหรับหนี้สงสัยจะสูญสูงถึงประมาณร้อยละ 70 โดยเฉพาะสถาบันการเงินขนาดใหญ่มีการตั้งสำรองไว้สูงมาก 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 1 ช่องทางที่ 1: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางภาคการเงิน

  23. มีการพึ่งพิงแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศต่ำ โดยมีสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อส่วนของผู้ถือหุ้นคิดเป็นร้อยละ 0.90 และเป็นหนี้ระยะสั้นเพียงร้อยละ 0.58 โดยสถาบันการเงินไทยพึ่งพิงเงินทุนจากเงินฝากในประเทศเป็นหลัก มีการถือครองสินทรัพย์ต่างประเทศต่ำ โดยสถาบันการเงินไทยได้มีนโยบายปรับลดการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศเป็นอย่างมากนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2007 เป็นต้นมา ทำให้ธนาคารหลักมีสัดส่วนการถือสินทรัพย์ต่างประเทศประมาณร้อยละ 8.83 โดยเป็นการลงทุนในตราสารอนุพันธ์เพียงร้อยละ 0.18 และมีการตัดจำหน่ายตราสารที่มีปัญหาเช่น CDOs เรียบร้อยแล้ว 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 1 ช่องทางที่ 1: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางภาคการเงิน

  24. ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภาคการเงินปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภาคการเงิน ความเสี่ยงจากหนี้สงสัยจะสูญที่อาจจะเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าการคาดการณ์ของสถาบันการเงิน จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหากหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นมาก จะทำให้เกิดความเสี่ยงจากผลประกอบการ (earning risk) แทน เนื่องจากสถาบันการเงินต้องตั้งสำรองเพิ่มสูงขึ้นมาก อีกทั้งยังต้องเผชิญกับต้นทุนเงินทุนที่สูง แม้ว่าหนี้สงสัยจะสูญจะมีแนวโน้มลดลงมาตลอด แต่เกิดจากการลดลงของหนี้เก่าที่มีการปรับโครงสร้าง หรือผ่านกระบวนการทางกฎหมายแล้ว ในขณะที่หนี้สงสัยจะสูญใหม่มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 1

  25. สถาบันการเงินในภาวะที่ผู้ฝากเงินหรือผู้ลงทุนขาดความเชื่อมั่นมีความเปราะบางมาก (Caplin and Leahy (1994), Cole and Kehoe (1996), Masson (1999)) เนื่องจากปัญหาความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล โดยทาง Fitch Ratings ได้มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินไทย 9 แห่งจากที่อยู่ในระดับ “stable” มาเป็น “negative” ในวันที่ 2 ธ.ค. 08 การถือหุ้นสถาบันการเงินไทยหลายแห่งโดยสถาบันการเงินต่างประเทศ 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 1 ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภาคการเงิน

  26. สรุปผลกระทบที่ส่งผ่านทางภาคการเงินสรุปผลกระทบที่ส่งผ่านทางภาคการเงิน สถาบันการเงินไทยในปัจจุบันมีสถานะเข้มแข็งต่อวิกฤตการณ์ซับไพรม์ที่เกิดขึ้น และยังยากที่จะเกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง หรือ balance sheet risk อย่างไรก็ตามยังมีความเสี่ยงที่เกิดจากความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงินและผู้ลงทุนที่ลดลง และความเสี่ยงจากผลประกอบการ (earning risk) หากหนี้สงสัยจะสูญที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยสูงขึ้นมาก 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 1

  27. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 2 ช่องทางที่ 2: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางตลาดทุน • ในภาวการณ์ปัจจุบัน นักลงทุนได้ปรับรสนิยมทางความเสี่ยง • ลดน้ำหนักการลงทุนผ่านตลาดทุนซึ่งที่มีความเสี่ยงสูง • ปรับการลงทุนในตลาดของระบบเศรษฐกิจใหม่ (Emerging Countries) • ขายหุ้นเพื่อต้องการสภาพคล่อง ซึ่งจัดเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง • การขายหุ้นของนักลงทุนทำให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนและมีการปรับตัวลงของมูลค่าหุ้นในตลาดอย่างมาก • สิ่งดังกล่าวส่งผลกระทบไปยังสถานะทางสินทรัพย์ของภาคเอกชนและครัวเรือน (Wealth Effect) • ทำให้หน่วยเศรษฐกิจจะมีความสามารถในการใช้จ่ายลดลงและอาจก่อให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยได้

  28. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 2 ช่องทางที่ 2: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางตลาดทุน • ณ ปัจจุบัน ตลาดหุ้นของประเทศไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ซับไพรม์อย่างรวดเร็วและชัดเจนที่สุด • ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) ได้ปรับตัวลดลงต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี และปรับตัวลดลงสูงสุดถึงประมาณร้อยละ 50 • ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สามารถอธิบายสาเหตุของการปรับตัวลงของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผลจากวิกฤตการณ์ซับไพรม์ได้ด้วยเหตุผล 3 ประการด้วยกัน 1.ผลกระทบที่ส่งผ่านจากต่างประเทศ (Spillover Effect) 2.ผลกระทบจากปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental) 3.ความอ่อนไหวของนักลงทุน (Investor’s Sentiment)

  29. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 2 สาเหตุที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง: สาเหตุที่ 1 ผลกระทบที่ส่งผ่านจากต่างประเทศ (Spillover Effect) • Diebold และ Yilmaz (2008) พบว่าผลตอบแทนในตลาดหุ้นไทยนั้นขึ้นอยู่กับผลตอบแทนที่ส่งผ่านมาจากประเทศอื่นเป็นอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดอื่น ๆ โดยผลกระทบที่ส่งผ่านจากต่างประเทศคิดเป็นร้อยละ 41.8 ของผลกระทบทั้งหมด • ส่วนตลาดที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยมากที่สุดได้แก่ ฮ่องกง (ร้อยละ 7.8) อินเดีย (ร้อยละ 7.6) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 6.3) และเกาหลี (ร้อยละ 4.6) • ตลาดทุนของประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ซับไพรม์อย่างหนักถึงแม้ว่าระบบการเงินและภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทยยังไม่ได้รับผลกระทบจากซับไพรม์ก็ตาม

  30. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 2 สาเหตุที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง: สาเหตุที่ 1 ผลกระทบที่ส่งผ่านจากต่างประเทศ (Spillover Effect) • การปรับตัวลงอย่างมากสืบเนื่องมาจากตลาดทุนของประเทศไทยมีขนาดเล็ก • สัดส่วนการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติสูง • นักลงทุนและกองทุนต่างชาติที่ลงทุนในตราสารที่เกี่ยวกับซับไพรม์ทำการเทขายสินทรัพย์อื่นๆ (ซึ่งรวมถึงหุ้นซึ่งมีสภาพคล่องสูง) เพื่อต้องการสภาพคล่อง เนื่องจากประสบปัญหาขาดทุนและมูลค่าสินทรัพย์ลดลงอย่างหนัก • เมื่อเกิดปัญหา นักลงทุนจึงปรับลดรสนิยมทางความเสี่ยง (Risk Appetite) ซึ่งประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ (Emerging Markets) ซึ่งมีความเสี่ยงโดยเปรียบเทียบสูงกว่าตลาดอื่น ๆ • สิ่งดังกล่าว ทำให้นักลงทุนต่างชาติมีการขายหลักทรัพย์ไทยสุทธิต่อเนื่องมานับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2007 เป็นต้นมา • ทำให้ตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลงมาตลอด เนื่องจากกำลังซื้อจากนักลงทุนและสถาบันในประเทศมีไม่เพียงพอที่จะต้านทานแรงเทขายจากนักลงทุนต่างประเทศไทย

  31. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 2 สาเหตุที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง: สาเหตุที่ 2 ผลกระทบจากปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental) • ความมีประสิทธิภาพของตลาดทุน ทำให้ราคาหุ้นเคลื่อนไหวตามปัจจัยพื้นฐานเพื่อสะท้อนถึงผลการดำเนินงาน/กำไรของบริษัทที่จะเกิดขึ้น • อย่างไรก็ตาม Jirasakuldech, Emekter และ Rao (2008) พบว่า ราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงาน (Earnings) และไม่ได้สะท้อนถึงมูลค่าพื้นฐานของบริษัท (Fundamental Value) ของบริษัทผู้จดทะเบียนแต่อย่างใด • ราคาหลักทรัพย์สะท้อนถึงการคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้น • Kaminsky, Lizondo และ Reinhart (1998) พบว่าราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์เป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้น • ดังนั้น การปรับตัวลดลงของตลาดหลักทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมาอาจจะสะท้อนให้เห็นถึง การคาดการณ์ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ได้

  32. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 2 สาเหตุที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง: สาเหตุที่ 3 ความอ่อนไหวของนักลงทุน (Investor’s Sentiment) • การปรับตัวลดลงของราคาหุ้นในหลายครั้ง โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าพื้นฐานที่แท้จริงแต่เกิดขึ้นเนื่องจากความอ่อนไหวของนักลงทุนที่ต่อเหตุการณ์ในขณะนั้น ซึ่งเกิดจากเหตุ 3 ประการ กล่าวคือ • ข้อมูลข่าวสารไม่สมบูรณ์ (Asymmetric Information) • ปัญหาความไม่แน่นอน (Uncertainty) • พฤติกรรมการตัดสินใจของนักลงทุน (Agent Decision Making) • ปัจจัย 3 ประการมีผลต่อจิตวิทยาของนักลงทุน สิ่งดังกล่าวอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมหมู่ (Herding Behavior) ส่งผลกระทบให้ราคาหลักทรัพย์ของประเทศไทยยิ่งปรับตัวต่ำลงมาอีก

  33. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 2 ผลกระทบอาจเกิดขึ้นจากช่องทางตลาดทุน 1: Wealth • หุ้นเป็นเครื่องมือในการลงทุนประเภทหนึ่ง การปรับตัวลดลงของราคาหลักทรัพย์ สามารถส่งผลกระทบต่อสถานะทางสินทรัพย์ ทำให้หน่วยเศรษฐกิจมีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยและลงทุนลดลง (Wealth Effects) • IMF (2008) พบว่า การลดลงของราคาหลักทรัพย์ในตลาดกำลังพัฒนาร้อยละ 10 จะทำให้ • การบริโภคภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.12 ในระยะสั้น และ 0.15 ในระยะยาว • การลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 1 • ดังนั้น การปรับตัวลงของดัชนีหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยร้อยละ 50 อาจส่งให้การบริโภคลดลงประมาณร้อยละ 0.6 และทำให้การลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 5 หรือคิดเป็นการลดลงของ GDP เท่ากับร้อยละ 1.4

  34. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 2 ผลกระทบอาจเกิดขึ้นจากช่องทางตลาดทุน 2: Volatility • ความผันผวนที่สูงขึ้นของตลาดทุน (Stock Market Volatility) • ความผันผวนมากขึ้น ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น  Funding Cost เพิ่มสูงขึ้น Required Rates of Return เพิ่มขึ้นแรงจูงใจในการลงทุนของธุรกิจลดลง • ความผันผวนมากขึ้น การคาดการณ์ของนักลงทุนและผู้บริโภค ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค/นักลงทุนลดลงการจับจ่ายใช้สอย/การลงทุนลดลง

  35. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 ช่องทางที่ 3: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางการค้าระหว่างประเทศ Source: IMF, BoT, TISCO Research

  36. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 ช่องทางที่ 3: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางการค้าระหว่างประเทศ • การชะลอตัวของระบบเศรษฐกิจโลก ทำให้อุปสงค์ภายนอกประเทศที่มีต่อสินค้าของไทยลดลง • ผลกระทบเกิดขึ้นผ่านภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศคู่ค้าที่ประสบปัญหา • อย่างไรก็ดี ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่นั้น เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศต่างๆ ซึ่งอาจทำให้ผลกระทบจากการชะลอตัวของระบเศรษฐกิจหนึ่งๆกระจายตัวไปสู่การค้าระหว่างประเทศในวงกว้างได้

  37. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 ช่องทางที่ 3: ผลกระทบที่ส่งผ่านทางการค้าระหว่างประเทศ • รูปแบบของการค้าระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นมีทั้งวัตถุประสงค์เพื่อ • นำไปบริโภคขั้นสุดท้าย การเชื่อมโยงการค้าทางตรง • นำไปเป็นสินค้าขั้นกลางเพื่อการผลิตต่อ การเชื่อมโยงการค้าทางอ้อม • BIS พบว่า ร้อยละ 70 ของมูลค่าการนำเข้าของจีนคือสินค้าขั้นกลางที่ถูกนำเข้ามาเพื่อการผลิตต่อ กว่าร้อยละ 57 ของจำนวนนั้นนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย • ในขณะที่ สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของจีนเป็นสินค้าขั้นสุดท้ายและสินค้าทุน ในปี ค.ศ. 2005 สินค้าที่ประเทศจีนส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและประเทศยุโรปกว่าร้อยละ 72 และร้อยละ 68 เป็นสินค้าขั้นสุดท้าย

  38. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 การเชื่อมโยงทางการค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม

  39. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 การเชื่อมโยงทางการค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม

  40. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 การเชื่อมโยงทางการค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม

  41. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 เมตริกการค้าระหว่างประเทศ • Xij = export of country i to country j • Xi = total export of country i • Mj = total import from country j ที่มา: Manprasert (2008)

  42. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 ระดับความเชื่อมโยงทางการค้าสุทธิ ที่มา: Manprasert (2008)

  43. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 ระดับความเชื่อมโยงทางการค้าสุทธิ ที่มา: Manprasert (2008)

  44. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 ระดับความเชื่อมโยงทางการค้าสุทธิ • Manprasert (2008) พบว่า ความสัมพันธ์ทางการค้าไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่รูปแบบทางการค้าได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีประเทศจีนเข้ามามีบทบาทในการค้าโลก • ปัจจุบัน กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเป็นผู้ส่งออกสินค้าวัตถุดิบให้กับประเทศจีนเป็นผู้ผลิต และส่งสินค้าขั้นสุดท้ายต่อไปให้กับประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรป

  45. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 ผลกระทบอาจเกิดขึ้นจากช่องทางการค้า • Park (2007) ได้ใช้แบบจำลอง The Oxford Economics’ Global Model ศึกษาผลกระทบจากการที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาชะลอตัวลงต่อระบบเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย • วิเคราะห์ผลกระทบผ่านการชะลอตัวลงของการส่งออกทั้งทางตรงและทั้งทางอ้อมของกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออก

  46. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 ผลกระทบอาจเกิดขึ้นจากช่องทางการค้า • ผลการศึกษาพบว่า การชะลอตัวลงของประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถส่งผลกระทบต่อการเติบโตของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกได้อย่างมีนัยสำคัญ • การที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นช้ากว่าปกติร้อยละ 1 จะทำให้อัตราการเติบโตของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลงประมาณร้อยละ 0.50 ต่อปี • ช่องทางการส่งผ่านเกิดขึ้นทางการชะลอตัวของการส่งออกเป็นสำคัญ • นอกจากนั้น การส่งผ่าน Shocks จะยิ่งรุนแรงขึ้นเกือบเท่าตัวหากการชะลอตัวส่งผลกระทบให้การลงทุนของประเทศจีนชะลอตัวลง • อัตราการเติบโตของกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกจะชะลอตัวในอัตราเกือบจะเท่ากับร้อยละ 1 ต่อปี ทั้งนี้การส่งออกจะถูกกระทบอย่างมาก โดยจะชะลอตัวลงถึงร้อยละ 1.5 - 1.9 ต่อปี

  47. 4. ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศไทย: ช่องทางที่ 3 ผลกระทบอาจเกิดขึ้นจากช่องทางการค้า • การเชื่อมโยงสุทธิ ซึ่งรวมถึงการเชื่อมโยงการค้าทางอ้อมผ่านหว่งโซ่การผลิตระหว่างประเทศไทยและ G3 นั้นยังมีนัยสำคัญอยู่ และสามารถส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ • ในเดือน พฤศจิกายน 2551 การส่งออกจีนลดลง ร้อยละ 2.2 ในขณะที่การนำเข้าลดลงถึงร้อยละ 18 • สิ่งดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความกังวลที่อาจเกิดขึ้นได้ จากการส่งผ่านผลกระทบของวิกฤตการณ์ซับไพรม์ที่เกิดขึ้นมายังประเทศไทยผ่านช่องทางภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา

  48. 5. บทสรุป 5. บทสรุป • วิกฤตการณ์ซับไพรม์สามารถส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศไทยโดยผ่าน 3 ช่องทาง คือ ผ่านทางตลาดการเงิน ผ่านตลาดทุน และผ่านการค้าระหว่างประเทศ • จากการรวบรวมและสำรวจบทความวิจัย เราพบว่า วิกฤตการณ์ซับไพรม์ จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจจริงของประเทศไทยได้ผ่าน 2 ช่องทางหลัง คือ ผ่านตลาดทุนและการค้าระหว่างประเทศ ส่วนช่องทางการเงินอาจจะเป็นตัวเสริมความรุนแรงให้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอย หลังจากเกิดปัญหาในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงแล้ว • วิกฤตซับไพรม์น่าจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเป็นผลอันเนื่องมาจากการปรับตัวลดลงของราคาหลักทรัพย์ในตลาดทุนและความผันผวนที่สูงขึ้น อีกทั้งการส่งออกรวมที่จะลดลงจากอุปสงค์ทางตรงและทางอ้อมผ่านทางความต้องการของสินค้าขั้นกลาง

  49. ขอบพระคุณ Q&A

More Related