1 / 77

โลกและการเปลี่ยนแปลง

โลกและการเปลี่ยนแปลง. อ.วัฒนะ รัม มะเอ็ด. สิ่งที่ควรรู้. ธรณีวิทยา. นักธรณีวิทยา. สาขาที่เกี่ยวข้องกับธรณี.

derrick
Télécharger la présentation

โลกและการเปลี่ยนแปลง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โลกและการเปลี่ยนแปลง อ.วัฒนะ รัมมะเอ็ด

  2. สิ่งที่ควรรู้ ธรณีวิทยา นักธรณีวิทยา สาขาที่เกี่ยวข้องกับธรณี

  3. ธรณีวิทยา ( Geology จากกรีก: γη- (เก-, โลก) และ λογος (ลอกอส, ถ้อยคำ หรือ เหตุผล)) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย กลับหน้าหลัก

  4. นักธรณีวิทยา ศึกษาพบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี (4.5x109 ปี) และเห็นตรงกันว่าเปลือกโลกแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือเนื้อโลกหรือแมนเทิลที่มีสภาวะกึ่งหลอมเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ นักธรณีวิทยายังทำหน้าที่ระบุตำแหน่งและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งหิน แหล่งแร่ แหล่งปิโตรเลียมเช่น น้ำมันและถ่านหิน รวมทั้งโลหะอย่างเหล็ก ทองแดง และยูเรเนียม กลับหน้าหลัก

  5. วิชาธรณีวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มีการบูรณการความรู้จากหลากหลายวิชา เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขาวิชา เช่น ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology) ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics) ตะกอนวิทยา (Sedimentology)

  6. ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) ธรณีเคมี (Geochemistry) ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) เป็นต้น

  7. ธรณีแปรสัณฐาน (Geotectonics) ธรณีแปรสัณฐาน ( Geotectonic) เป็นการศึกษาด้านธรณีแปรสัณฐาน ที่นักธรณีวิทยาตั้งข้อสงสัยไว้หลายร้อยปีมาแล้วถึงลักษณะของพื้นผิวโลกที่มีลักษณะธรณีสัณฐานที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ บ้างก็เป็นลักษณะเทือกเขาสูงชัน บ้างก็เป็นที่ราบกินอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล หรือ ที่ราบในบางแห่งก็เป็นที่ราบไหล่ทวีปใกล้ชายฝั่งทะเล บ้างก็พบเกาะกลางมหาสมุทร รวมถึงร่องลึกกลางมหาสมุทร

  8. โดยในช่วงประมาณ ค.ศ. 1960 เมื่อ B.C. Heezen, H.H.Hess และ R.S. Dietz ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการแยกตัวของพื้นมหาสมุทร (Seafloor Spreading) กล่าวถึงการแยกตัวที่พื้นมหาสมุทรออกจากกันเป็นแนวยาวโดยมีแมกมาจากใต้ชั้นเปลือกโลกแทรกขึ้นมาเย็นตัวและแข็งตัว เกิดเป็นพื้นมหาสมุทรใหม่แล้วก็แยกจากกันออกไปอีกเรื่อยๆ นอกจากนั้นยังมีการพูดถึงการหดตัวของโลกอันเนื่องมาจากการสูญเสียพลังงานความร้อนทำให้การหดตัวเกิดขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละบริเวณ

  9. บริเวณที่มีการหดตัวมากอาจเป็นเป็นร่องลึก อยู่ต่ำลงไป แต่บริเวณที่มีการหดตัวน้อยก็อาจเห็นเป็นเทือกเขาสูงได้เนื่องจากบริเวณโดยรอบมีการหดตัวที่มากกว่า แต่อย่างไรก็ตามก็ยังไม่สามารถอธิบายถึงแนวร่องหุบเขาที่เกิดขึ้นได้ นักธรณีวิทยายังคงศึกษาถึงเหตุการณ์ต่างๆอย่างต่อเนื่อง เช่น สนามแม่เหล็กโลกโบราณ ซากดึกดำบรรพ์ต่างๆที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงทฤษฎีอยู่ 2 ทฤษฎี ที่จะมาอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ ได้แก่ 1. ทฤษฎีทวีปเลื่อน (Continental Drift) 2. ทฤษฎีแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ (Plate Tectonics)

  10. ทฤษฎีทวีปเลื่อน ในค.ศ. 1620 ฟรานซิส เบคอน ได้ตั้งข้อสังเกต ถึงการที่สองฟากมหาสมุทรแอตแลนติกมีลักษณะสัณฐานวิทยาที่สอดคล้องกัน ต่อมา P.Placet 1668 พยายามอธิบายว่าสองฟากมหาสมุทรแอตแลนติกน่าจะเชื่อมกันมาก่อน แต่ยังไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลใดสนับสนุน นอกจากอาศัยลักษณะคล้ายคลึงสอดคล้องกันของชายฝั่งมหาสมุทรเท่านั้น จากนั้นในปี 1858 Antonio Sniderได้อาศัยข้อมูลชั้นหินในยุค Carboniferous ในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือมาเชื่อมโยงกัน

  11. ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า ก่อนหน้านี้ทวีปทั้งหมดเคยเป็นทวีปผืนเดียวกันมาก่อน แล้วจึงค่อยๆ แยกออกจากกันในภายหลัง

  12. ในปี 1908 Frank B. Taylor ได้อธิบายถึงของการที่มหาทวีป 2 ทวีปซึ่งเคยวางตัวอยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือและใต้แยกออกเป็นทวีปเล็กๆ และเคลื่อนที่มาในทิศเข้าหาเส้นศูนย์สูตร นั่นคือมหาทวีปลอเรเซีย (Laurasia) ซึ่งอยู่ทางเหนือและมหาทวีปกอนด์วานา (Gondwanaland) ซึ่งอยู่ทางใต้

  13. ในปี 1910 Alfred Wegeneได้สร้างแผนที่มหาทวีปใหม่ โดยอาศัยรูปร่างแผนที่ของ Snider และตั้งชื่อว่ามหาทวีปพันเจีย ซึ่งถูกล้อมรอบด้วยมหาสมุทรพันธาลาสซา (Panthalassa) แล้วเกิดการแยกออกและเคลื่อนที่ไปอยู่ ณ ตำแหน่งที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน โดยขณะเคลื่อนที่ก็เกิดเทือกเขาขึ้น ต่อมา Taylor ได้อธิบายว่ารอยชิ้นทวีปที่ขาดหล่นปรากฏเป็นเกาะแก่ง หรือรอยฉีกที่พบเป็นร่องลึกยังปรากฏอยู่บนพื้นมหาสมุทร

  14. ทฤษฎีแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ทฤษฎีแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ เมื่อกว่าหลายทศวรรษที่ผ่านมา นักธรณีวิทยาได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่าแผ่นทวีปต่างๆ บนโลกนั้นน่าจะสามารถนำมาต่อกันได้เพราะแผ่นทวีปเหล่านี้เคยเป็นแผ่นเดียวกันมาก่อน จากการสังเกตครั้งนั้นร่วมกับการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ชนิดเดียวกันบนชายฝั่งอเมริกาเหนือและแอฟริกาในเวลาต่อมา ในช่วง 1950s ถึง 1960s นักธรณีวิทยาได้มีการศึกษาทางสมุทรศาสตร์อย่างจริงจังเพื่อหาข้อสนับสนุนแนวความคิดต่างๆ ในอดีต และได้ก่อให้เกิดทฤษฎีของเพลตเทคโทนิก (Plate Tectonics) ขึ้น

  15. ในเวลาต่อมา ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (Plates) นั้นสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวโลกตลอดช่วงธรณีกาล แผ่นเปลือกโลก Lithosphere (ซึ่งประกอบด้วยเปลือกโลกและแมนเทิลส่วนบน) ลอยตัวและไหลอยู่บนชั้นหินหนืด (ชั้นแมนเทิลที่สามารถไหลได้คล้ายของเหลวเรียกว่า Asthenosphere) สามารถเคลื่อนไปได้ประมาณหนึ่งนิ้วต่อปี และก็ได้เป็นคำตอบของสาเหตุที่ทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่นั่นเอง

  16. โดยนักธรณีได้ให้ข้อสรุปไว้ว่าแผ่นเปลือกโลกสามารถเคลื่อนที่ได้สามแบบได้แก่ โดยนักธรณีได้ให้ข้อสรุปไว้ว่าแผ่นเปลือกโลกสามารถเคลื่อนที่ได้สามแบบได้แก่ • เคลื่อนที่แยกออกจากกัน (Divergent or Ridges) • เคลื่อนที่เข้าชนกัน (Convergent or Subduction Zones) • เคลื่อนผ่าน ( Transform or Sliding Plates)

  17. เคลื่อนที่แยกออกจากกันเคลื่อนที่แยกออกจากกัน เมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แยกออกจากกัน ที่บริเวณแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว (Divergent Boundaries) หินหนืดร้อน (Hot Magma) จากชั้นแมนเทิลจะแทรกตัวขึ้นมาตามช่องว่างตามแนวรอยแตก เมื่อหินหนืดเย็นตัวก็จะกลายเป็นแผ่นเปลือกโลกใหม่ การแทรกตัวขึ้นมาของหินหนืดจะทำให้แนวแยกตัวนั้นสูงขึ้นกลายเป็นแนวเทือกเขากลางมหาสมุทร (Mid-Ocean Ridges) แสดงถึงขอบของแผ่นเปลือกโลกในมหาสมุทร เปลือกโลกใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นอย่างต่อเนื่องมีอัตราเร็วในการเกิดประมาณ 20 ลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี

  18. เคลื่อนที่เข้าชนกัน เมื่อแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรใหม่มีการเย็นตัวเป็นเวลากว่าสิบล้านปี ความหนาแน่นก็จะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นจนมีความหนาแน่นมากกว่าชั้นหินหนืดที่อยู่ด้านล่าง จากนั้นจึงมุดตัวลงไปใต้โลกเรียกว่า Subduction การมุดตัวนี้จะเกิดขึ้นในบริเวณแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (Convergent PlateBoundaries) ซึ่งแผ่นเปลือกโลกทั้งสองแผ่นมีการเคลื่อนที่เข้าชนกัน แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรที่มีความหนาแน่นมากกว่าจะเข้าชนและมุดตัวใต้แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปที่ความหนาแน่นน้อยกว่า

  19. เมื่อแผ่นเปลือกโลกมุดตัวลงไปในโลก จะเกิดการบีบอัดและหลอมเป็นบางส่วน (PartiallyMelting) เนื่องจากอุณหภูมิและความดันที่สูงขึ้น ทำให้เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟ ขึ้นเหนือบริเวณที่มีการมุดตัว โดยการเคลื่อนที่แบบ Convergence จะทำให้เกิดลักษณะธรณีสัณฐาน 2 แบบได้แก่ • การสร้างเทือกเขา • ร่องลึกมหาสมุทรและหมู่เกาะ

  20. เคลื่อนผ่าน แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่ผ่านซึ่งกันและกันในบริเวณแนวรอยเลื่อนแปรสภาพ (Transform Boundaries) มักพบในแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้แนวเทือกเขากลางมหาสมุทรเลื่อนเหลื่อมออกจากกัน บางบริเวณก็พบว่าตัดผ่านแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปด้วย ในมหาสมุทรแนวดังกล่าวนี้มักจะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวกำลังไม่มากอยู่เป็นประจำ ส่วนในภาคพื้นทวีปแนวดังกล่าวมักถูกจำกัดทำให้เกิดการสะสมพลังงานและก่อให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในเวลาต่อมาเมื่อเกิดการเลื่อนอย่างฉับพลัน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายได้ ดังเช่น รอยเลื่อนซานแอนเดียส

  21. แนวเทือกเขากลางสมุทร มีลักษณะเป็นแนวเทือกเขาเตี้ยวางตัวทอดยาวไปบนพื้นมหาสมุทรคล้ายกับเทือกเขาบนทวีป เทือกเขากลางสมุทรที่สำคัญได้แก่ Mid-Atlantic Ridge และ East Pacific Rise เป็นต้น กลางเทือกเขามีลักษณะพิเศษคือมีร่องลึกอันเกิดจากรอยเลื่อนทอดตัวตลอดความยาวของเทือกเขา โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับร่องหุบเขาที่ปรากฏอยู่บนแผ่นดินหลายแห่ง เช่น ร่องหุบเขาทางด้านตะวันออกของทวีปแอฟริกา หรือร่องหุบเขาบริเวณแม่น้ำไรน์ในยุโรป เป็นต้น

  22. การยกตัวของพื้นมหาสมุทรเป็นผลเนื่องมาจากกระแสการพาความร้อน (convection currents) ซึ่งเป็นการดันตัวขึ้นมาของหินหนืดจากชั้นฐานธรณีภาค ตามแนวที่อ่อนตัวของพื้นมหาสมุทรโดยการปะทุขึ้นมาในรูปของลาวา เกิดเป็นเปลือกโลกใหม่เมื่อเย็นตัวลง เทือกเขากลางสมุทรเป็นแนวขอบเขตรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกทางเทคโทนิกสองแผ่นและถือกันว่าเป็นแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว

  23. เทือกเขากลางสมุทรของโลกมีการเชื่อมต่อกันเกิดเป็นระบบแนวเทือกเขากลางสมุทรระบบหนึ่งของทุกๆมหาสมุทรทำให้ระบบเทือกเขากลางสมุทรเป็นแนวเทือกเขาที่ยาวที่สุดของโลก แนวเทือกเขาที่ยาวต่อเนื่องกันนี้รวมกันแล้วมีความยาวทั้งสิ้นถึง 80,000 กิโลเมตร

  24. หินที่ประกอบเป็นชั้นเปลือกโลกใต้พื้นท้องทะเลจะมีอายุอ่อนที่สุดตรงบริเวณสันกลางและอายุจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามระยะทางจากแนวสันกลางออกไป หินหนืดที่มีองค์ประกอบเป็นหินบะซอลต์ได้ดันตัวขึ้นมาที่แนวสันกลางเพราะว่าหินอัคนีด้านใต้จากชั้นเนื้อโลกมีการหลอมเหลวและขยายตัว

  25. เปลือกโลกใต้มหาสมุทรประกอบไปด้วยหินที่มีอายุอ่อนกว่าอายุของโลกมาก โดยชั้นเปลือกโลกทั้งหมดในแอ่งมหาสมุทรจะมีอายุอ่อนกว่า 200 ล้านปี เปลือกโลกมีการเกิดขึ้นใหม่ในอัตราคงที่ที่สันกลางสมุทร การเคลื่อนที่ออกจากเทือกเขากลางสมุทรทำให้ความลึกของมหาสมุทรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนที่ลึกที่สุดคือร่องลึกก้นสมุทร ขณะที่ชั้นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรเคลื่อนที่ออกจากสันกลางนั้น หินเพริโดไทต์ในชั้นเนื้อโลกที่อยู่ด้านใต้เกิดการเย็นตัวลงมีสภาพที่แข็งแกร่งขึ้น ชั้นเปลือกโลกและหินเพริโดไทต์ที่อยู่ด้านใต้นี้ทำให้เกิดธรณีภาคชั้นนอกใต้มหาสมุทร

  26. การค้นพบ ทศวรรษที่ 1950 เทือกเขากลางสมุทรถูกค้นพบเนื่องมาจากการสำรวจพื้นท้องมหาสมุทรโดยเรือวิจัย อัลเฟรด วีเจนเนอร์ได้เสนอทฤษฎีทวีปเลื่อนในปี 1912 อย่างไรก็ตามทฤษฎีนี้ไม่เป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักธรณีวิทยา เนื่องจากไม่มีคำอธิบายถึงกลไกลที่ว่าทวีปสามารถลู่ไถลไปบนแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรได้อย่างไร และทฤษฎีนี้ก็ถูกลืมเลือนไป

  27. ในทศวรรษที่ 1960 นักธรณีวิทยาได้มีการค้นพบและมีการนำเสนอกลไกลของการแยกแผ่ออกไปของแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทร เพลตเทคโทนิก

  28. รายชื่อเทือกเขากลางสมุทรรายชื่อเทือกเขากลางสมุทร เทือกเขาชิลี เทือกเขาโคโคส เทือกเขาแปซิฟิกตะวันออก เทือกเขาเอ๊กพลอเรอร์ เทือกเขาแกกเกล (เทือกเขากลางสมุทรอาร์กติก) เทือกเขากอร์ดา เทือกเขาจวนเดอฟูก้า เทือกเขากลางสมุทรแอตแลนติก

  29. แผนภาพแสดงการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก สัญลักษณ์: 1 = การแยกออกของแผ่นเปลือกโลก; 2 = แผ่นเปลือกโลกจากการเย็นตัวของหินหนืด; 3 = แผ่นเปลือกโลกมุดตัวเข้าหากัน; 4 = ภูเขาไฟ; 5 = แผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลง; 6 = เทือกเขา; 7 = ร่องลึกมหาสมุทร; 8 = แนวหมู่เกาะภูเขาไฟ; 9 = แนวการเลื่อนตัวของเปลือกโลก.

  30. กระบวนการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวโลกกระบวนการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวโลก เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวโลกที่เกิดภายใต้อิทธิพลของพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ลม แสงแดด อุทกภาค ทำให้พื้นผิวโลก( หินและดิน) เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงใน 2 ลักษณะ • การเปิดพื้นผิวดินออกไป(Denudation) ซึ่งมีผลมาจากพลังงานงานสูงเช่น พลังงานน้ำไหลในแม่น้ำ น้ำป่า ธารน้ำแข็ง พลังงานลม • กระบวนการสะสมตัว(Deposition) ซึ่งเกิดจากตะกอน ซึ่งถูกพัดพาโดยตัวกลางต่างๆ จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ สะสมตัวกลายพื้นผิวใหม่

  31. การผุพัง (Weathering) คือ การที่หินผุพังทำลายลง (อยู่กับที่) ด้วยกรรมวิธีต่างๆ จากลมฟ้าอากาศ สารละลาย และรวมทั้งการกระทำของต้นไม้ แบคทีเรีย ตลอดจนการแตกตัวทางกลศาสตร์ มีการเพิ่มอุณหภูมิและลดอุณหภูมิสลับกันเป็นต้น ภาพที่ 5 แสดงให้เห็นถึงการผุพังของหินชั้นบน ประกอบกับการดันตัวจากใต้เปลือกโลก ทำให้เกิดภูเขาหินแกรนิต

  32. การผุพังทางกายภาพ (physical weathering) เป็นการผุพังที่เกิดขึ้นกับมวลหินแร่ในเชิงกล เป็นการเปลี่ยนรูปร่างภายนอก เช่น การแตกหักของหินที่เกิดจากการหด ขยายตัวเนื่องจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง การแตกหักด้วยแรงน้ำ คลื่นลม เป็นต้น

  33. ความร้อน และน้ำค้างแข็งเมื่อไปเกาะที่หินนานๆ หินก็จะผุพัง น้ำแข็งทำให้รอยแยกขยายเพิ่มขึ้นได้การผุพังทางกายภาพ เป็นการเปลี่ยนรูปร่างของหินที่ประกอบกันอยู่ในพื้นที่ หรือการที่หินแตกแยกออกแต่ยังคงอยู่กับที่ ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับแรงกระทำที่มีทั้งการหดตัว และการขยายตัวของเนื้อหินจากสาเหตุต่างๆ แล้วทำให้หินนั้นแตกออก เช่น น้ำฝนที่แทรกซึมเข้าไปในเนื้อหินทำให้เกิดช่องว่างในเนื้อหินแล้วทำให้เกิดรอยแตกในเนื้อหิน หรือการแปรสัณฐานที่ทำให้หินเกิดเป็นรอยแตก รอยแยก

  34. ภาพที่ 1.24 การเกิดรอยแยกของหินที่เกิดขึ้นภายหลังจากน้ำหรือความชื้นในหินแห้งระเหยไปหมดหรือเกือบหมด

  35. สิ่งมีชีวิต เช่น ต้นไม้ มีรากชอนไชเข้าไปตามชั้นหิน เมื่อเจริญเติบโตขึ้นมาก็ทำให้หินนั้นแตกออกก็จัดเป็นการผุพังทางกายภาพเช่นกัน

  36. ภาพ ภูเขาหินแกรนิตซึ่งกำลังผุพังจากสภาพลมฟ้าอากาศ

  37. เมื่อเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างๆ ณ ที่ใดที่หนึ่งแล้ว อาจจะทำให้พื้นผิวโลกบริเวณนั้นเปลี่ยนไปเกิดเป็นภูมิลักษณ์รูปแบบเฉพาะใหม่ขึ้นมา เช่น แพะเมืองผี จ.แพร่ ป่าหินงาม จ.ชัยภูมิ ซึ่งเกิดจากการผุพังโดยน้ำโดยเฉพาะน้ำฝน น้ำไหล และลม

  38. การผุพังทางเคมี (chemical weathering)   น้ำเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การผุพังทางเคมี เป็นกระบวนการทางเคมีที่เกิดขึ้นในเนื้อหินแล้วทำให้หินเปลี่ยนทั้งรูปทรงและส่วนประกอบของเนื้อหิน ชนิดของปฏิกิริยาการผุพังทางเคมีแบ่งออกได้ดังนี้

  39. กระบวนการออกซิเดชัน - รีดักชันเป็นปฏิกิริยาที่มีการให้และรับอิเล็กตรอน ตัวอย่างเช่น3Fe+2SiO3 + 1/2O2--------> Fe3O4 + 3SiO2 ไพรอกซีน  +  ออกซิเจน แมกนีไทต์ +ควอซต์ 2. ปฏิกิริยาไฮโดรลิซีส (hydrolysis) เป็นปฏิกิริยาที่มีน้ำเข้าร่วมทำปฏิกิริยา โดยจะมี H+และ OH- เข้าไปแทนที่ไอออนในหิน ยกตัวอย่าง เช่น4KAlSi3O8 + 4H+ + 2H2O --------> 4K+ + Al4Si4O10 (OH)8 + 8SiO2เฟลด์สปาร์ +น้ำแร่ดินเหนียว +ควอซต์

  40. 3. ปฏิกิริยาชะล้าง (leaching) เป็นการเคลื่อนย้ายของไอออน ซึ่งจากตัวอย่างข้อ2 คือปฏิกิริยาไฮโดรลิซีส K+ถูกชะล้างออกไป 4. การขับน้ำออกจากปฏิกิริยา (dehydration) เป็นการขับน้ำออกจากหินตัวอย่าง เช่น2FeO:OH --------> Fe2O3 + H2Oเกอไทต์ฮีมาไทต์ +น้ำ 5. การละลายที่สมบูรณ์ (complete dissolution) ตัวอย่าง เช่นCaCO3 +  H2CO3 --------> Ca2+   +    2(HCO3)- แคลไซต์(หินปูน) + กรดคาร์บอนิก แคลเซียมไอออน  +  ไบคาร์บอเนต

More Related