1 / 23

“ คาดการณ์ ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 4 ตลอดทั้งปี 2554 และปี 2555 ”

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. “ คาดการณ์ ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 4 ตลอดทั้งปี 2554 และปี 2555 ”. ขอบเขตของการแถลงข่าว. ด้านอุปสงค์ของเศรษฐกิจ ด้านอุปทานของเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจโลก. ด้านอุปสงค์ของเศรษฐกิจ. ด้านการบริโภค.

devi
Télécharger la présentation

“ คาดการณ์ ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 4 ตลอดทั้งปี 2554 และปี 2555 ”

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย “คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 4 ตลอดทั้งปี 2554 และปี 2555”

  2. ขอบเขตของการแถลงข่าว • ด้านอุปสงค์ของเศรษฐกิจ • ด้านอุปทานของเศรษฐกิจ • เสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจ • ภาวะเศรษฐกิจโลก

  3. ด้านอุปสงค์ของเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ของเศรษฐกิจ

  4. ด้านการบริโภค การบริโภคในไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นด้านการบริโภคที่ลดลง ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าอัตราการขยายตัวของการบริโภคตลอดทั้งปี 2554 จะขยายตัวที่ประมาณร้อยละ 1.6 ชะลอตัวลงจากการบริโภคในปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 และคาดว่ามีอัตราการขยายตัวของการบริโภคในปี 2555 จะขยายตัวประมาณที่ร้อยละ 4.5 เร่งตัวขึ้นจากปี 2554 ที่มา : ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย

  5. ด้านการลงทุน สถานการณด้านการลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ชะลอลงตัวลงจากในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีที่การลงทุนขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.4 เป็นผลมาจากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในหลายพื้นที่ส่งผลสถานการณ์ด้านการลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 4 หดตัวลง คาดว่าอัตราการขยายตัวของการลงทุนโดยตลอดปี 2554 น่าจะขยายตัวที่ประมาณร้อยละ 4.5 ชะลอตัวลงจากปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 9.4 และคาดว่าการลงทุนโดยรวมในปี 2555 น่าจะสามารถขยายตัวได้ในระดับที่ดีที่ร้อยละ 10.6เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่มา : สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  6. การค้าระหว่างประเทศและดุลการค้าการค้าระหว่างประเทศและดุลการค้า ในช่วงไตรมาสที่ 4 คาดว่าการส่งออกจะหดตัวลงร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ส่งผลให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง • ปัจจัยเกื้อหนุน • ความต้องการสินค้าจากต่างประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง • ระดับราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง • ปัจจัยบั่นทอน • ผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมที่สร้างความเสียหายอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรม • การแข่งขันด้านการส่งออกที่ค่อนข้างรุนแรง • ความเสี่ยงด้านภาวะเศรษฐกิจโลก อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป และสหรัฐอเมริกา ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคาดว่าภาวะการส่งออกตลอดทั้งปี 2554 จะสามารถขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 16.5 ชะลอตัวลงจากปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 28.5 และคาดว่าการส่งออกปี 2555 น่าจะสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยขยายตัวที่ร้อยละ 10.2ชะลอตัวลงจากการขยายตัวของการส่งออกในปี 2554

  7. ด้านอุปทานของเศรษฐกิจด้านอุปทานของเศรษฐกิจ

  8. ภาคเกษตรกรรม ภาคเกษตรกรรมไตรมาสที่ 4 หดตัวลงร้อยละ 5.8 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3 ที่ภาคเกษตรกรรมหดตัวลงร้อยละ 0.9 ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีหลังภาคเกษตรกรรมหดตัวลงร้อยละ 3.4 เนื่องจากผลผลิตพืชสำคัญ คือ ข้าวนาปรังลดลงจากการรณรงค์ของภาครัฐให้เกษตรกรลดการปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 รวมถึงผลผลิตสินค้าเกษตรอื่นๆ เช่น ผลไม้ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันปะหลัง และประมง มีปริมาณออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มชะลอตัวลง รวมถึงผลกระทบจากอุทกภัยที่สร้างความเสียหายแก่พื้นที่ทำการเกษตรเป็นจำนวนมาก ที่มา : สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าในปี 2554 ภาคเกษตรกรรมจะสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 1.4อันเป็นผลมาจากการในระดับสูงในช่วงครึ่งแรกของปี สำหรับการคาดการณ์ปี 2555 คาดว่าภาคเกษตรกรรมจะขยายตัวในเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

  9. GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะหดตัวลงถึงร้อยละ 10.4 ส่งผลให้ในช่วงครึ่งหลังของปีภาคอุตสาหกรรมน่าจะหดตัวลงประมาณร้อยละ 3.7 อันเป็นผลมาจากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่สร้างความเสียหายอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรม ภาคอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับ GDP ภาคอุตสาหกรรมตลอดทั้งปี 2554 คาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะหดตัวลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และคาดว่าในปี 2555 ภาคอุตสาหกรรมจะสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.5 • ปัจจัยเกื้อหนุน • ความต้องการสินค้าจากต่างประเทศยังคงมีอย่างต่อเนื่อง • การบริโภคในประเทศขยายตัวในระดับที่ดี • ปัจจัยบั่นทอน • สถานการณ์น้ำท่วมที่สร้างความเสียหายอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรม • ความเสี่ยงด้านภาวะเศรษฐกิจโลก อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป และสหรัฐอเมริกา

  10. ภาคการท่องเที่ยว ที่มา:ธนาคารแห่งประเทศไทย • ไตรมาส 4/54 คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 4.2 ล้านคน หดตัวลงร้อยละ 8.6 ส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 1.60 แสนล้านบาท หดตัวร้อยละ16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน • ทั้งปี 2554 คาดว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 18.6 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 16.6 และมีรายได้จำนวน 6.93 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 17.1 • ทั้งปี 2555 คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 19.3 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 3.7 และรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 7.32 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับในช่วงปี 2554 • สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ • ปัญหาหนี้ของภูมิภาคยุโรป • การเกิดสึนามิ และการระเบิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่น • + ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่มีแนวโน้มดีขึ้น • + ภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคปรับตัวดีขึ้น • + ฤดูกาลท่องเที่ยวชายฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน • + ช่วงปลายปีมีเทศกาลมากมาย เช่น เทศกาลกินเจ ปีใหม่ การจัดมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ และงานเฉลิมฉลองในหลวงครบรอบ 84 พรรษา • + การจัดการส่งเสริมการขายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย • + สถานการณ์การเมืองของไทยที่คลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้น

  11. ดัชนีความเชื่อมั่น ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มา : ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ที่มา : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ค่าดัชนีความเชื่อมั่นมีการปรับตัวในทิศทางที่เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ทั้งดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการค้าและบริการ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมถือเป็นดัชนีความเชื่อมั่นเดียวที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวในทิศทางที่ลดลงเมื่อเทียบกับค่าดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ค่อนข้างชัดเจน รวมถึงสถานการณ์ด้านการเมืองที่ค่อนข้างนิ่งและเริ่มมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ ออกมามากขึ้น

  12. คาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะเป็นปัจจัยหลักที่จะบั่นทอนความเชื่อมั่นในช่วงไตรมาสที่ 4 เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมได้มีการขยายวงกว้างและสร้างความเสียหายอย่างมากโดยเฉพาะต่อภาคอุตสาหกรรมที่นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี ที่ได้รับความเสียหายอย่างมากจากสถานการณ์ดังกล่าว รวมถึงการที่น้ำได้เข้าท่วมในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครในบางพื้นที่ยิ่งเป็นปัจจัยบั่นทอนความเชื่อมั่นในไตรมาสนี้ในระดับสูง ซึ่งคาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นในทุกภาคธุรกิจน่าจะมีการปรับตัวในทิศทางที่ลดลงเมื่อเทียบกับค่าดัชนีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 แต่อย่างไรก็ตามในช่วงไตรมาสที่ 4 ต่อเนื่องไตรมาสที่ 1 ปีหน้าจะมีวาระสำคัญทั้งในส่วนของงานเฉลิมพระชนม์พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ซึ่งจะถือเป็นปัจจัยบวกของความเชื่อมั่นในช่วงไตรมาสที่ 4 ได้บ้าง คาดการณ์ความเชื่อมั่นในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 • ปัจจัยเกื้อหนุน • ระดับราคาสินค้าเกษตรทรงตัวอยู่ในระดับสูง • มาตรการการให้ความช่วยเหลือด้านค่าครองชีพของประชาชนในด้านต่างๆ • ปัจจัยเสี่ยง • สถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง และกรุงเทพมหานครที่สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจภาพรวมในระดับสูง • สถานการณ์ด้านต้นทุนการประกอบการ และค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง • ความกังวลต่อสถานการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จากปัญหาหนี้สาธารณะในสหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในยุโรป ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

  13. ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

  14. ด้านการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการปรับอัตราดอกเบี้ย R/P 1 วันในช่วงไตรมาสที่ 4 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 และคาดว่ามีโอกาสในปี 2555 คาดว่าจะมีโอกาสปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอีก 0.5-0.75 ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย ไตรมาสที่ 4 ปริมาณเงินฝากและสินเชื่อยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในช่วงต้นไตรมาสที่ 1 ปี 2555 นั้น ปริมาณเงินฝากอาจทรงตัวทั้งนี้จากการที่ต้องใช้เงินในการซ่อมแซมต่างๆ ส่วนทางด้านของสินเชื่อนั้นคาดว่าน่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น

  15. อัตราแลกเปลี่ยน ที่มา:ธนาคารแห่งประเทศไทย • ไตรมาส 4/54 ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า • ตลอดปี 2554 คาดว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นมายืนที่ระดับ 30.5 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ • ตลอดปี 2555 คาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ในช่วง 29.0-30.0 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ • ค่าเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่ปรับตัวอ่อนค่าลง ยกเว้นค่าเงินเยนที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้น • การส่งออกที่ขยายตัวอย่างมากและต่อเนื่อง • พื้นฐานเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี • ความต้องการเงินบาทลดลงจากการที่ประเทศไทยประสบกับปัญหาอุทกภัย ทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุน

  16. สถานการณ์เศรษฐกิจโลก

  17. สรุปภาวะเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มสรุปภาวะเศรษฐกิจโลกและแนวโน้ม ที่มา : IMF World Economic Outlook December2011

  18. ภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ระดับราคาน้ำมันในปี 2554 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 106.3 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และในปี 2555 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 107.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

  19. คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่ 4 ตลอดทั้งปี 2554 และปี 2555

  20. คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 4 ตลอดทั้งปี 2554 และปี 2555

  21. คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 4ตลอดทั้งปี 2554 และปี 2555 (ต่อ)

  22. คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 4 ตลอดทั้งปี 2554 และปี 2555 (ต่อ)

  23. คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 4 ตลอดทั้งปี 2554 และปี 2555(ต่อ)

More Related