1 / 37

การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช

บทที่ 12. การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช. เมล็ดพืชสามารถเจริญเติบโตได้ ต้องอาศัยปัจจัย 2 ประเภท. ปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายนอก เช่น น้ำ อุณหภูมิ แสง ธาตุอาหารต่างๆ. ปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายใน เช่น ฮอร์โมนพืช พันธุกรรมของพืช. การตอบสนอง. การส่งสัญญาณระหว่างเซลล์. 1. 2. 3.

dorag
Télécharger la présentation

การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 12 การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช

  2. เมล็ดพืชสามารถเจริญเติบโตได้เมล็ดพืชสามารถเจริญเติบโตได้ ต้องอาศัยปัจจัย 2 ประเภท ปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายนอก เช่น น้ำ อุณหภูมิ แสง ธาตุอาหารต่างๆ ปัจจัยที่เป็นสิ่งเร้าภายใน เช่น ฮอร์โมนพืช พันธุกรรมของพืช

  3. การตอบสนอง การส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ 1 2 3 4 5 สิ่งเร้าภายนอกและสิ่งเร้าภายใน การถ่ายโอนสัญญาณภายในเซลล์ ตัวรับสัญญาณ กระบวนการ ตอบสนองต่อสิ่งเร้า

  4. ค้นพบในปี พ.ศ. 2423 โดย Charles และ Francis Darwin • ได้ศึกษาโคลีออพไทล์(coleoptile) ของหญ้าคานารี ซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว พบว่าเซลล์ด้านที่ไม่รับแสงเติบโตเร็วกว่าด้านที่ได้รับแสง ทำให้โคลีออพไทล์(coleoptile) โค้งเข้าหาแสง แต่พอตัดปลายหรือครอบด้วยวัสดุทึบแสง พืชชนิดนี้ไม่โค้งหาแสง • แสดงว่า ปลายของโคลีออพไทล์ เป็นส่วนรับแสงและทำให้โค้งหาแสง ออกซิน

  5. ฮอร์โมนพืช ไซโทไคนิน(cytokinin) ออกซิน (auxin) กรดแอบไซซิก(abscisicacid;ABA) จิบเบอเรลลิน(gibberellin;GA) เอทิลีน(ethylene)

  6. ออกซิน -auxin-

  7. ต่อมาทดลองโดยแผ่นไมกา(mica sheet)แทรกบริเวณไม่ได้รับแสง แสงเข้ามาในทิศตรงข้าม พบว่าถ้านำแผ่นไมกาแทรกด้านรับแสง ทำให้โคลีออพไทล์(coleoptile)โค้งหาแสง เมื่อตัดปลายออกแล้วนำแผ่นเจลาตินกั้น แล้ววางปลายไว้ข้างบน แสงเข้าด้านเดียว พบว่า • โคลีออพไทล์โค้งหาแสง • แสดงว่าต้องมีสารเคมีที่ถูกลำเลียงจากปลายโคลีออพไทล์ • ที่ผ่านแผ่นไมกาไม่ได้ แต่ผ่านแผ่นเจลาตินได้ ออกซิน

  8. นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าโคลีออพไทล์(coleoptile)โค้งเข้าหาแสงได้เนื่องจากบริเวณปลายโคลีออพไทล์(coleoptile)จะสร้างสารบางชนิดและแสงจะทำให้สารนี้เคลื่อนที่จากด้านที่ได้รับแสงมากไปยังด้านที่ได้รับแสงน้อยทำให้เซลล์บริเวณด้านที่ได้รับแสงน้อยมีปริมาณสารนี้มากและจะไปกระตุ้นให้เซลล์บริเวณนี้ขยายตัวตามยาว สารเคมีที่สร้างจากปลายโคลีออพไทล์(coleoptile) และมีผลต่อการเจริญเติบโตเรียกว่า ออกซิน(auxin) สารกลุ่มออกซินที่พบมากในธรรมชาติคือ indole-3-acetic acid (IAA)

  9. แหล่งสร้างออกซิน ใบอ่อน เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด ผลอ่อน ส่วนเนื้อเยื่ออื่นๆ

  10. ผลของออกซิน ทำให้เกิดการเจริญของปลายยอดเข้าหาแสง และการเจริญของปลายรากเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก กระตุ้นเซลล์ให้พัฒนาและเปลี่ยนสภาพเป็นเนื้อเยื่อ ไซเล็มและโฟลเอ็ม กระตุ้นเซลล์บริเวณที่มีการยืดตัวให้ขยายขนาดทำให้พืชเจริญเติบโตสูงขึ้นและมีขนาดใหญ่ขึ้น กระตุ้นการแบ่งเซลล์ของแคมเบียม ยับยั้งการหลุดร่วงของใบ 4 2 2019 1 3 5

  11. ออกซินกับการนำไปใช้ สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายออกซิน เช่น indole butyric acid (IBA),2,4-dichlorophenoxy acetic acid(2,4) และ naphthalene acetic acid(NAA) นำมาใช้เร่งการเกิดรากในติ่งตอนหรือกิ่งปักชำ การพัฒนาของรากแขนงพัฒนาและเปลี่ยนสภาพของรากในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชรวมทั้งกระตุ้นให้พืชบางชนิดไม่ต้องมีการปฏิสนธิ เช่น องุ่น แตงโม มะเขือเทศ ซึ่งทำให้ได้ผลที่ไม่มีเมล็ดและยับยั้งการเจริญเติบโตจึงมีการใช้สารกลุ่มนี้เพื่อกำจัดวัชพืชบางชนิดด้วย

  12. ไซโตไคนิน

  13. นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีสารบางอย่างที่ชักนำให้เกิดการแบ่งเซลล์ในเซลล์เพาะเลี้ยงหรือเนื้อเยื่อที่เกิดบาดแผลและพบว่าน้ำมะพร้าวเมื่อใช้ร่วมกับออกซินสามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์พืชได้นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีสารบางอย่างที่ชักนำให้เกิดการแบ่งเซลล์ในเซลล์เพาะเลี้ยงหรือเนื้อเยื่อที่เกิดบาดแผลและพบว่าน้ำมะพร้าวเมื่อใช้ร่วมกับออกซินสามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์พืชได้ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบไคเนทิน(kinetin)ในเอนโดสเปิร์มของข้าวโพด (Zea mays)จึงเรียกว่า ซีเอทิน (zeatin) ซึ่งเป็นไซโทไคนินในธรรมชาติ แหล่งสร้างไซโทไคนินอยู่บริเวณเนื้อเยื่อเจริญที่รากและบริเวณที่มีการแบ่งเซลล์

  14. จิบเบอเรลลิล

  15. ผลของไซโทไคนิน

  16. สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายไซโทไคนิน เช่น 6-benzylaminopurine(BA) นำมาใช้เพื่อช่วยเร่งการแตกตาข้างของพืช รวมทั้งการทำงานร่วมกันของ ออกซินและไซโทไคนินมาใช้ในการแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มของไม้ดอกไม้ประดับและผลไม้ บางชนิด นอกจากนี้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชยังสามารถใช้สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้าย ไซโทไคนินหรือใส่น้ำมะพร้าวซึ่งมีซีเอทินลงไปในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช พืชกระตุ้นการสร้างตาใหม่ การสร้างยอด ไซโทไคนิน กับการนำไปใช้

  17. Gibberellin A1 ; GA1 จิบเบอเรลลิล Gibberellin จิบเบอเรลลิน (Gibberellin) เป็นฮอร์โมนพืชที่มีโครงสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่ ควบคุมการเจริญเติบโตและมีอิทธิพลต่อกระบวนการทางพัฒนาการรวมทั้งการยืดของข้อ การงอก การพักตัว การออกดอก การแสดงเพศ การชักนำการสร้างเอนไซม์ รวมทั้งการชราของดอกและผล [1] จิบเบอเรลลินถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2469 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น Eiichi Kurosawa ผู้ศึกษาโรค บากาเนะในข้าว เริ่มจากการศึกษาต้นข้าวที่เป็นโรค Bakanaeซึ่งมีลักษณะสูง ผอม เกิดจากเชื้อรา Gibberellafujikuroi. Gibberellin acid ; GA20

  18. ผลของจิบเบอเรลลิน 3. 1. 2. กระตุ้นเซลล์ที่ลำต้นพืชให้มีการยืดตัวและแบ่งเซลล์มากขึ้น โดยทำงานร่วมกับออกซิน กระตุ้นการสร้างเอนไซน์สำหรับย่อยแป้งที่เก็บสะสมอยู่ในเมล็ดให้เป็นน้ำตาล เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับการงอกในพืช ใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด กระตุ้นการงอกของเมล็ด

  19. เอทิลีน

  20. เอทิลีน(Ethylene) เป็นฮอร์โมนพืชที่มีสภาพเป็นก๊าซที่อุณหภูมิห้อง บทบาทที่สำคัญของเอทิลีนคือควบคุมกระบวนการเติบโตที่เกี่ยวข้องกับความชรา การหลุดร่วงของใบ ดอก ผล และควบคุมการเจริญของพืชเมื่ออยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม เอทิลีนมีผลต่อต้นกล้าของถั่ว 3 ลักษณะ (Triple response) ได้แก่ ยับยั้งความสูงของ ลำต้น ลำต้นหนาขึ้น เพิ่มการเติบโตในแนวราบ นอกจากนั้น ยังพบว่าการแผ่ขยายของแผ่นใบถูกยับยั้ง ส่วนเหนือใบเลี้ยงมีลักษณะโค้งงอเป็นตะขอ

  21. ผลของเอทิลีน กระตุ้นการขยายขนาดของเซลล์ทางด้านข้าง เมื่อเอทิลีนมีความเข้มข้นสูงระดับหนึ่ง ส่งเสริมใบและดอกเข้าสู่การเสื่อมตามอายุ และกระตุ้นให้เกิดการร่วงของใบ ดอก และผล 1 3 กระตุ้นการสุกของผลไม้ที่สามารถบ่มให้สุกได้ เช่น มะม่วง กล้วย ละมุด ทุเรียน 2

  22. กรดแอบไซซิกกับการนำไปใช้กรดแอบไซซิกกับการนำไปใช้ กรดแอบไซซิกนำไปใช้สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายกรดแอบไซซิกนั้นสามารถนำไปใช้เพื่อช่วยชะลอการเที่ยวเฉาของพืชและไม้ดอกในขณะขนส่งโดยการทำให้รูปากใบแคบลงหรือรูปากใบปิดเพื่อลดการสูญเสียน้ำของพืชแต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะมีราคาแพง จากผลของฮอร์โมนพืชที่มีต่อการตอบสนองของพืชส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากการทำงานของฮอร์โมนพืชมากกว่า 1 กลุ่มเช่น การร่วงของใบ เป็นผลของออกซินและเอทิลีนในใบอ่อนจะมีปริมาณออกซินสูงเนื่องจากอยู่ที่บริเวณแหล่งสร้างออกซินเป็นฮอร์โมนพืชที่ทำงานด้านกับเอทิลีนดังนั้นออกซินที่มีปริมาณสูงจะยับยั้งการสร้างเอทิลีนแต่เมื่อใบมีอายุมากขึ้นปริมาณออกซินจะลดลงเป็นลำดับจึงส่งผลให้ใบแก่สร้างเอทิลีนเพิ่มขึ้น การเจริญของตาข้าง เป็นผลของออกซินและไซโทไคนินเกิดจากออกซินที่สร้างบริเวณยอดถูกส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของลำต้นไปยับยั้งการสร้างไซโทไคนินที่ตาข้างเมื่อตาข้างที่ได้รับปริมาณออกซินสูงและมีปริมาณไซโทไคนินต่ำเช่นตาข้างบริเวณใกล้ยอดจะไม่เจริญแต่ในบริเวณตาข้างที่อยู่ทางด้านล่างซึ่งจะได้รับปริมาณออกซินต่ำลงและมีไซโทไคนินสูงตาข้างจึงเจริญได้หรือในกรณีที่ตัดปลายยอดของพืชออกซึ่งเป็นการลดแหล่งสร้างออกซินทำให้ตาข้างที่อยู่ใกล้ยอดสามารถเจริญได้เนื่องจากสัดส่วนของออกซินต่อไซโทไคนินต่ำทำให้ต้นพืชแตกกิ่งข้างออกเป็นพุ่มนอกจากฮอร์โมนพืชทั้ง 5 กลุ่มคือออกซินไซโทไคนินจิบเบอเรลลินเอทิลีนและกรดแอบไซซิกแล้ววิทยาศาสตร์ยังค้นพบฮอร์โมนพืชกลุ่มอื่นๆอีกเช่นบราสซิโนสเตอรอยด์ (brassinosteroid เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์และสตริโกแลกโทน (strigolactone) เกี่ยวข้องกับการยับยั้งการเจริญของตาข้างเป็นต้น

  23. ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด ฮอร์โมนพืชแต่ละกลุ่มจะมีบทบาทหน้าที่ช่วยกระตุ้นยับยั้งและส่งเสริมการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลง ทางสรีรวิทยาของพืชในกรณีสภาพพักตัวของเมล็ด (seeddormancy) พบว่าเมล็ดมีปริมาณกรดแอบไซซิกสูงและจิบเบอเรลลินต่ำเมื่อพ้นระยะพักตัวกรดแอบไซซิกจะสลายและมีการสร้างจิบเบอเรลลินเพิ่มขึ้นและเมื่อได้รับปัจจัยภายนอกที่เหมาะสมกับการงอกเมล็ดจะสามารถงอกได้นอกจากนี้ยังพบว่ามีเมล็ดพืชบางชนิดที่มีภาพพักตัวสั้นมากทำให้เมล็ดสามารถงอกได้ขณะที่อยู่ในผลเช่นขนุนมะละกอมะขามเทศลำไยและเมล็ดที่ไม่มีสภาพพักตัวเช่นโกงกาง

  24. สาเหตุและวิธีการทำลายสภาพพักตัวของเมล็ดสาเหตุและวิธีการทำลายสภาพพักตัวของเมล็ด เปลือกเมล็ดมีสารจำพวกไข คิวทิน ลิกนินซูเบอรินสะสมอยู่ที่ผนังเซลล์ของเปลือกเมล็ด ทำให้น้ำไม่สามารถซึมผ่านเข้าไปในเมล็ดได้ง่าย เช่นเมล็ดถั่วเขียวถั่วเหลือง การทำลายสภาพพักตัวโดยใช้การแช่เมล็ดในน้ำน้ำจะเข้าสู่เมล็ดพืชทางไมโครไพล์ทำให้เมล็ดพองและเปลือกเมล็ดแตก ส่วนห่อหุ้มเมล็ดมีความหนาหรือแข็งทำให้น้ำไม่สามารถผ่านเข้าสู่ภายในเมล็ดได้ซึ่งในธรรมชาติจะมีการทำลายสภาพพักตัวได้หลากหลายวิธี เปลือกเมล็ดมีสารเคมีบางชนิดที่มีผลยับยั้งการงอกของเมล็ดจึงเกิดสภาพพักตัวของเมล็ดซึ่งในธรรมชาติเมื่อฝนตกลงมาจะชะล้างสารเคลือบที่เปลือกเมล็ดออกทำให้เมล็ดสามารถงอกได้นอกจากนี้มนุษย์สามารถทำลายสภาพพักตัวของเมล็ดเหล่านี้โดยการล้างสารเคลือบเมล็ดออกและพึ่งให้แห้งจากนั้นจึงนำไปเพาะ เช่น เมล็ดมะเขือเทศ ในเมล็ดพืชบางชนิดเอ็มบริโอยังเจริญไม่เต็มที่ เช่น มะพร้าว หมาก ปาล์มน้ำมันอยู่ในสภาพพักตัวที่ต้องรอระยะเวลาให้เอ็มบริโอของเมล็ดเจริญพัฒนาเต็มที่เมล็ดจึงจะสามารถงอกได้

  25. การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ สูตรดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์ ผลบวกของจำนวนต้นกล้าที่งอกในแต่ละวัน / จำนวนวันหลังจากเพาะเมล็ด วัดดัชนีการงอกทำได้โดยการนำตัวอย่างเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ต้องการตรวจสอบมาเพาะแล้วนับจำนวนเมล็ดที่งอกจนไม่มีเมล็ดงอกเพิ่มขึ้นอีก จากนั้นนำมาคำนวณหาค่าดัชนีการงอกโดยเปรียบเทียบกับเมล็ดพันธุ์พืชชนิดเดียวกันจากแหล่งอื่น ๆ

  26. การตอบสนองของพืชในลักษณะการเคลื่อนไหวการตอบสนองของพืชในลักษณะการเคลื่อนไหว ทรอพิซึม เป็นการตอบสนองที่มีทิศทางสัมพันธ์กับสิ่งเร้าภายนอก เพื่อการสร้างรูปแบบการเจริญเติบโตที่เหมาะสมมี 2 แบบ คือ การเบนเร้าหาสิ่งเร้าและการเบนออกจากสิ่งเร้า • โดยถ้าทิศทางการตอบสนองสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้าภายนอก เรียกว่าการเบนหรือทรอพิซึม เช่น การโค้งเข้าหาแสง เช่นการหุบของยอดพืช ส่วนการตอบสนองที่มีทิศทางไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้าภายนอก เรียกว่า แนสติกมูฟเมนต์เช่น การหุบ-บานของดอกบัวสีขาว

  27. ทรอพิซึม การเบนเนื่องจากแสง • เป็นทิศทางการตอบสนองที่มีสัมพันธ์กับทิศทางของแสง การเบนเนื่องจาก แรงโน้มถ่วงของโลก • เป็นการตอบสนองที่มีทิศทางสัมพันธ์กับทิศทางของแรงโน้มถ่วงของโลก

  28. ทรอพิซึม • การตอบสนองของสารเคมี (chemotropism) เช่นการงอกของหลอดเรณูไปยังออวุลของพืชดอกซึ่งมีสารกลุ่มโปรตีนที่ออวุลสร้างขึ้นเพื่อกำหนดทิศทาง การงอกของหลอดเรณูไปยังออวุล • การตอบสนองต่อน้ำ (Hydrotropism) เช่น รากพืชเจริญเข้าหาน้ำ • การตอบสนองต่อการสัมผัส (Thigmotropism) เช่นการเกี่ยวพันของมือเกาะตำลึง

  29. แนสติกมูฟเมนต์ การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อมโดยมีทิศทางไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้าภายนอก การบานของดอกไม้เพราะการเจริญเติบโต เช่น ดอกกุหลาบบาน ดาวเรืองบาน การบานของดอกไม้เพราะแสง เช่น ดอกบัวบานตอนเช้า การบานของดอกไม้เพราะอุณหภูมิ เช่น ดอกทิวลิปบานในฤดูใบไม้ผลิ ดอกมะลิ การบาน (Epinasty) เกิดจากกลุ่มเซลล์ด้านในกลีบดอกขยายมากกว่าด้านนอก การหุบ (Hyponasty) เกิดจากกลุ่มเซลล์ด้านนอกกลีบดอกขยายมากกว่าด้านใน การเคลื่อนไหวแบบส่าย (nutation movement) เป็นการหมุนแกว่งของยอดพืชขณะที่มี การเจริญเติบโต โดยเกิดจากที่พืชมีการแบ่งเซลล์ในลำต้นไม่เท่ากัน การหุบของกาบหอยแครงเมื่อมีการสัมผัส (thigmonasty)

  30. แนสติกมูฟเมนต์ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงแรงดันเต่งของกลุ่มเซลล์ที่โคนก้านใบที่มีความไวต่อสิ่งเร้าสูง เรียกว่า pulvinusโดยถ้าน้ำเข้าเซลล์จะเต่งและใบกาง ถ้าน้ำออกเซลล์ก็จะเหี่ยวและใบหุบ • การเปิดบิดปากใบ • การนอนหลับของพืชตระกูลถั่ว Turgid pressure • การหุบของไมยราพ • การหุบของกาบหอยแครง

  31. การตอบสนองต่อภาวะเครียดการตอบสนองต่อภาวะเครียด พืชโดยทั่วไป มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายในและสิ่งเร้าภายนอกเพื่อทำให้พืชอยู่ในภาวะสมดุลมีการเจริญเติบโต แต่เมื่อใดสิ่งเร้าภายนอกที่ได้รับมีมากหรือน้อยเกินไปจะส่งผลให้พืชไม่สามารถเติบโตเต็มที่ตามศักยภาพทางพันธุกรรมแสดงว่าพืชอยู่ใน ภาวะเครียด (Stress) พืชมีการตอบสนองต่อภาวะเครียดที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอกซึ่งมีทั้งสิ่งเร้าทางกายภาพและสิ่งเร้าทางชีวภาพต่างๆ ภาวะเครียด น้ำ การป้องกันการถูกสัตว์กัดกินหรือการเกิดโรค เช่น กายภาพ ชีวภาพ อุณหภูมิ ความเค็ม

  32. ภาวะเครียดจากสิ่งเร้าทางกายภาพภาวะเครียดจากสิ่งเร้าทางกายภาพ น้ำ เมื่อพืชอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำท่วมขังทำให้ช่องว่างในดินเต็มไปด้วยน้ำ ไม่มีช่องว่างสำหรับแก๊สออกซิเจนเพื่อใช้ในการหายใจระดับเซลล์ รากพืชจะหายใจแบบไม่ใช้แก๊สออกซิเจนและได้เอทานอล เมื่อพืชทนอยู่ในภาวะนี้เป็นเวลานาน จะมีอาการใบเหลือง และยังกระตุ้นการสร้างเอทิลีนในปริมาณที่สูงกว่าปกติทำให้ใบ ดอก และผล เกิดการหลุดร่วง และตายในที่สุด พบว่าพืชบางชนิดมีการปรับตัว เช่น การสร้างโพรงอากาศในรากซึ่งเกิดจากการสลายกลุ่มเซลล์พาเรงคิมาบางส่วนในคอร์เทกซ์เกิดเป็นช่องว่างขนาดใหญ่ชึ่งช่วยในการถ่ายเทอากาศ เมื่อพืชขาดน้ำจะทำให้แรงดันเต่งลดลง พืชจะมีการปรับตัวเพื่อลดการสูญเสียน้ำ เช่น ข้าวจะเกิดการม้วนใบ เพื่อลดพื้นที่ผิวด้านที่มีปากใบที่สัมผัสกับอากาศหรือสร้างขนเพิ่มขึ้น และมีคิวทเคิลหนาขึ้น เพื่อช่วยลดการคายน้ำ Air space

  33. อุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิของสภาพแวดล้อมสูงขึ้นทำให้ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศลดลงพืชจะมีอัตราการคายน้ำเพิ่มมากขึ้นซึ่งช่วยรักษาอุณหภูมิของใบไม่ให้สูงเกินไปเพื่อรักษาสภาพการทำงานของเซลล์ให้เป็นปกติแต่หากได้รับอุณหภูมิที่สูงเกินไปพืชสามารถป้องกันการเสียสภาพของโปรตีนในเซลล์โดยการทำงานของ ฮีทช็อคโปรตีน (heat-shock protein) ซึ่งจะถูกกระตุ้นเมื่อพืชได้รับความร้อน เมื่ออุณหภูมิของสภาพแวดล้อมต่ำมาก จะทำให้เยื่อหุ้มเซลล์สูญเสียสมบัติการเป็นของไหลพืชจะมีการปรับโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ให้มีสัดส่วนของกรดไขมันอิ่มตัวมากขึ้น และเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงจนน้ำภายในเซลล์กลายเป็นผลึก พืชจะสร้าง แอนทิฟรีซโปรตีน (antifreeze protein) เพื่อช่วยป้องกันและลดการเกิดผลึกภายในเซลล์ ความเค็ม เมื่อพืชอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีความเค็มสูง ทำให้พืชขาดน้ำ เนื่องจากสารละลายในดินมีปริมาณเกลือมากจึงทำให้มีสารละลายมีความเข้มข้นกว่าภายในราก น้ำจึงเคลื่อนที่ออกจากรากสู่ดิน พืชจึงมีการตอบสนองต่อภาวะเครียดจากความเค็มคล้ายกับการตอบสนองต่อภาวะขาดน้ำ นอกจากนี้หากพืชสะสมไอออนของเกลือปริมาณมากจะทำให้ป็นพิษต่อเซลล์ พืชบางชนิดมีกลไกลดการนำโซเดียมจากดิน หรือมีการกระตุ้นให้โปรตีนบางชนิดขับเกือออกหรือเก็บในแวคิวโอล หากพืชต้องอยู่ในภาวะเครียดจากความเค็มเป็นระยะเวลานาน พืชจะตาย ยกเว้นพืชดินเค็ม (halophyte) สามารถเจริญเติบโตเป็นปกติได้ในดินเค็มจัดได้

  34. ภาวะเครียดจากสิ่งเร้าทางชีวภาพภาวะเครียดจากสิ่งเร้าทางชีวภาพ • พืชมีวิธีป้องกันจากการถูกสัตว์กัดกินหรือจุลินทรีย์ก่อโรคเข้าทำลาย ดังนี้ • การป้องกันเชิงกล เช่น การมีขนบนใบและลำต้น การมีหนาม ทำให้ยากต่อการเข้าทำลายจากสัตว์ ผนังเซลล์มีซิลิกาทให้เนื้อเยื่อพืชมีความแข็งแรงทนต่อการกัดกินของแมลงภายในเซลล์มีผลึกแคลเซียมออกซาเลตในแวคิวโอล ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อหลอดอาหารของสัตว์กินพืช • การป้องกันเชิงเคมีโดยพืชสร้างสารเคมีบางชนิด เช่น คาเฟอีนในต้นชา ช่วยป้องกันการเข้าทำลายของสัตว์กินพืช และยับยั้งการเจริญขิงจุลินทรีย์ นอกจากนี้ในพืชบางชนิดที่มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์หรือยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ของสัตว์กินพืชชนิดนั้น

  35. Thank you

  36. Fully Editable Shapes

More Related