1 / 45

ใช้อีเมล ติดต่องา นอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพ

ใช้อีเมล ติดต่องา นอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพ. อาจารย์ชนกพร พัวพัฒนกุล Chanokporn.Pua@mahidol.ac.th. เขียนอีเมล ติดต่องา นอย่างไร ให้ เริ่ด และไม่ แรง. อาจารย์ชนกพร พัวพัฒนกุล Chanokporn.Pua@mahidol.ac.th www.facebook.com/may.armu. ข้อดีของการสื่อสารด้วยอีเมล. ง่าย เร็ว สะดวก ประหยัด

egil
Télécharger la présentation

ใช้อีเมล ติดต่องา นอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ใช้อีเมลติดต่องานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพใช้อีเมลติดต่องานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ อาจารย์ชนกพร พัวพัฒนกุล Chanokporn.Pua@mahidol.ac.th

  2. เขียนอีเมลติดต่องานอย่างไรให้ เริ่ด และไม่ แรง อาจารย์ชนกพร พัวพัฒนกุล Chanokporn.Pua@mahidol.ac.th www.facebook.com/may.armu

  3. ข้อดีของการสื่อสารด้วยอีเมลข้อดีของการสื่อสารด้วยอีเมล • ง่าย • เร็ว • สะดวก • ประหยัด • (ไม่)เป็นทางการ • มีหลักฐานอ้างอิง ฯลฯ

  4. ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยเวลารับ-ส่งอีเมลข้อผิดพลาดที่พบบ่อยเวลารับ-ส่งอีเมล ขึ้นต้น เนื้อหา** คำลงท้าย ชื่อ/หน่วยงานผู้ส่ง

  5. 10 ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยเวลารับ-ส่งอีเมล • อีเมลแอดเดรสและชื่อไม่น่าเชื่อถือ / ส่งผิดคน • ส่งถึงคนเป็นล้าน / cc ไปทั่ว / cc คนที่ไม่เกี่ยวข้อง / จะฟ้องคนอื่นไปเพื่อ (?) • ไม่ใส่ชื่อเรื่อง / ชื่อเรื่องไม่ชัดเจน / สับสนระหว่างอีเมลกับ SMS • ไม่ขึ้นต้น ไม่ทักทาย • เนื้อหาไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน ไม่เหมาะสม – คนอ่านไม่เข้าใจ / เข้าใจผิด • ภาษาไม่ถูกต้อง น้ำเสียงไม่เหมาะสม – เสียภาพลักษณ์ คนอ่านไม่พอใจ • รูปแบบไม่เป็นทางการหรือเป็นทางการเกินไป / หน้าตาเหมือนเมลขยะ • ไม่ลงท้าย / ไม่ระบุชื่อผู้ส่ง • แนบเอกสารผิด / ตั้งชื่อเอกสารแนบไม่ชัดเจน / แนบแต่ไฟล์อย่างเดียว • อ่านแล้วไม่ตอบ / reply all ตลอดทั้งที่ไม่จำเป็น / คิดว่าอีเมลเป็น “ความลับ”

  6. 1. ปัญหา e-mail address gap.mahidol.edu

  7. ตัวอย่าง e-mail address แบบต่างๆ • patthanin_w@hotmail.com • lol_aom_lol@hotmail.com • eyayahoho@hotmail.com • ohandcock@hotmail.com • kick_kik@hotmail.com • puch_naka@hotmail.com • patpee@windowslive.com • oranuch-1978@hotmail.com

  8. ตัวอย่างชื่ออีเมลที่ดีและไม่ดีตัวอย่างชื่ออีเมลที่ดีและไม่ดี

  9. 2. To | Cc: | Bcc: ใช้อย่างไร? To: ถึงคนที่ต้องการให้ทราบ/ทำ/ตอบ CC: ถึงคนที่อยากให้ทราบ (เฉยๆ) Bcc: ถึงคนที่อยากให้ทราบด้วย (แบบลับๆ)

  10. ตัวอย่างการใช้ To และ Cc ที่ถูกต้อง

  11. 3. หัวข้อนั้นสำคัญไฉน? • (ไม่มีชื่อเรื่อง) หรือ (No Subject) • ยาวเกินไป-สั้นเกินไป • ใช้หัวข้ออีเมลแบบเดิมซ้ำๆ • อ่านแล้วเข้าใจผิด / ไม่รู้เรื่องรู้เรื่อง รู้(คร่าวๆ)ว่าอีเมลเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร รู้(อย่างย่อๆ)ว่าผู้ส่งจะให้ทำอะไร สามารถอ้างอิงหรือสืบค้นได้ง่าย • บอกทุกอย่างในหัวข้ออีเมลหมดแล้ว (ไม่ใช่ SMS นะ) • ใช้ภาษาผิดๆ หรือเป็นกันเองเกินไป • ถูกกรองไปลงกล่อง “เมลขยะ” เช่นฟรี!!! “แบ่งชำระ 0%”

  12. ตัวอย่างหัวข้ออีเมลที่ดีและไม่ดีตัวอย่างหัวข้ออีเมลที่ดีและไม่ดี

  13. ตัวอย่างหัวข้ออีเมลที่ดีและไม่ดีตัวอย่างหัวข้ออีเมลที่ดีและไม่ดี

  14. หัวเรื่องที่มีประสิทธิภาพหัวเรื่องที่มีประสิทธิภาพ • กรณีรู้วัตถุประสงค์ชัดเจน ควรขึ้นต้นด้วยคำกริยา เช่น ส่ง ขอให้ แจ้ง ขออนุมัติ ขอเชิญ ชี้แจง ขอหารือ ตอบข้อหารือ ฯลฯ • กรณีเป็นเรื่องกว้างๆ หรือมีหลายประเด็น อาจขึ้นต้นด้วยคำนาม เช่น การจัดทำแผนกลยุทธ์คณะศิลปศาสตร์ • เป็นวลีหรือประโยคสั้นๆ ไม่ควรเป็นคำคำเดียว เช่น KM • ชัดเจน ตรงประเด็น ตรงกับเนื้อหาในอีเมล โดยเฉพาะสรุป • ไม่ซ้ำกับเรื่องอื่นๆ เช่น ตั้งชื่อว่า “ขอเชิญประชุม” • สุภาพ เหมาะสม คิดถึงจิตใจ-รักษาน้ำใจผู้รับ*

  15. 4. ไม่ขึ้นต้น ไม่ทักทาย • แบบเป็นทางการ เรียน ตำแหน่ง กราบเรียน + ตำแหน่งวิชาการ/คุณ +ชื่อ+ตำแหน่งบริหาร ชื่อกลุ่ม/สังกัด* • แบบไม่เป็นทางการ (เรียน + (คำนำหน้า/คำเรียก)สวัสดีค่ะ/ครับ) ชื่อจริง/ชื่อเล่น

  16. 5. เนื้อหา...ถูกต้อง ครบถ้วน เหมาะสม • จะให้ใคร(บ้าง) • ทำอะไร • ทำที่ไหน เมื่อไร • ทำอย่างไร (อธิบายย่อๆ) • ทำไมต้องทำ • (เขาเป็นใคร เราเป็นใคร) เรามีหน้าที่บอก(ให้เขาทำ)หรือไม่ • มีวิธีการอื่นที่จะบอกเขาได้ดีกว่าอีเมลหรือไม่

  17. ตัวอย่างการสร้างเนื้อหาอีเมลตัวอย่างการสร้างเนื้อหาอีเมล

  18. ชวนคิด! มาลองเขียนอีเมลกัน สถานการณ์: วันนี้มีอบรมเขียนอีเมลตอน 13.30 น. เราอยากจะไปเข้าร่วมอบรม แต่ยังไม่ได้ขออนุญาตหัวหน้าเขียนอีเมลไปขออนุญาตจะดีมั้ยนะ?

  19. 6.1 ภาษาถูกต้อง สะกดถูก ไวยากรณ์ถูก ระดับภาษาถูก

  20. สะกดผิดแบบไหน...ไม่รอด • สะกดชื่อ-นามสกุลผิด • เขียนตำแหน่งวิชาการ/ตำแหน่งบริหารผิด • เขียนชื่อหน่วยงาน/องค์กรผิดเช่น คระศิลปะศาสตร์ หมาวิทยาลัย • คำอื่นๆ ที่มักเขียนผิด เช่น อีเมลอินเทอร์เน็ตอนุญาตสังเกต เป็น เห็น จริง รังเกียจ นะคะ ขอบคุณค่ะ • ระวัง! Ctrl+Cและ Ctrl+V ทำพิษ

  21. ไวยากรณ์ผิด...อะไรยังไง?ไวยากรณ์ผิด...อะไรยังไง? • โรคชอบเขียนให้ยาก “...ฝ่ายเลขานุการจัดการประชุม ขอส่งเชิญประชุม คณะกรรมกรประจำคณะศิลปศาสตร์ ครั้งที่ 10/2556 ในวันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2556 เวลา 9.00 น. ณ ห้อง VIP โดยในส่วนของการส่งไฟล์เอกสารประกอบการประชุมนั้นได้ถูกแนบมาด้วยแล้วใน E-mail ก่อนหน้านี้ หากเอกสารได้ไปถึงท่านเรียบร้อยแล้วกรุณาแจ้งกับฝ่ายเลขาธิการด้วย...”

  22. ไวยากรณ์ผิด...อะไรยังไง?ไวยากรณ์ผิด...อะไรยังไง? • โรคคำเชื่อมอักเสบ เนื่องด้วยคณะศิลปศาสตร์โดยหน่วยจัดการความรู้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานแผนพัฒนาคุณภาพได้จัดการอบรมเขียนอีเมลซึ่งเป็นการจัดการความรู้ภายในคณะรูปแบบหนึ่งเพื่อให้บุคลากรในคณะซึ่งมุ่งที่จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งนอกจากจะทำให้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่เป็นที่ยอมรับได้แบ่งปันความรู้ให้แก่บุคลากรในคณะซึ่งมีปัญหาในการใช้อีเมลในการติดต่องานแล้ว ยังทำให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ขึ้นในคณะอันจะทำให้คณะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ด้วย

  23. ระดับภาษา...สำคัญกว่าที่คิดระดับภาษา...สำคัญกว่าที่คิด • ราชาศัพท์ • ระดับพิธีการ - ทางการ – กึ่งทางการ – กันเอง – สนทนา • คำสรรพนาม ข้าพเจ้า ผม ดิฉัน หนู พี่ ชื่อเล่น • คำลงท้าย ครับ คะ/ค่ะ จ๊ะ/จ้า นะ นะยะ มั้ย แหละ • คำศัพท์เฉพาะ เช่น เนื่องด้วย/ตามที่ อนุเคราะห์ อนึ่ง หนังสือราชการเรียน กราบเรียน นำเรียน • คำศัพท์ทั่วไป เช่น 10 โมง, ห้อง VIP, น้ำท่วม-อุทกภัย • คำศัพท์สแลง เช่น จุงเบย ชิมิ เมพ ฮาฟว์ บ่องตง อุ๊ตะ อัลไล ฝุดๆ โอ ฟิน เป๊ะเฟ่อ หรา... อะ ปะ ช่ะ

  24. แทนตัวเองด้วยชื่อจริงแทนตัวเองด้วยชื่อจริง เวลา fwdไม่ควรปล่อยให้มีข้อความเดิมติดมา ตัวอย่างข้อบกพร่องในการใช้ภาษา

  25. 6.2 น้ำเสียงเหมาะสม • ไปกินข้าว • ไปกินข้าวเดี๋ยวนี้ • ไปกินข้าวซะ • ไปกินข้าวสิ • เมื่อไหร่จะไปกินข้าว • ทำไมไม่ไปกินข้าว • ไปกินข้าวเถอะ • ไปกินข้าวได้แล้ว • กินข้าวมั้ย • กินข้าวมั้ยยะ • จะกินข้าวมั้ยเนี่ย • นี่จะกินข้าวหรือเปล่า • เธอต้องกินข้าว • เธอควรจะกินข้าว • ได้โปรดกินข้าวเถอะนะ • ต้องให้จุดธูปมั้ย

  26. น้ำเสียงในอีเมล • คุณ ก ตอนนี้ผมกำลังประชุมอยู่ ไม่ได้เอาไฟล์นำเสนอแผนกลยุทธ์ติดมาด้วย คุณส่งมาให้ผมเดี๋ยวนี้เลยนะ • ก ตอนนี้พี่มาประชุมอยู่ที่ OP แต่ลืมเอาไฟล์แผนกลยุทธ์มาด้วย พอดีจะต้องนำเสนอในอีก 10 นาทีนี้ ก ช่วยส่งเมลมาให้พี่ทีได้มั้ยคะ • เรียน อาจารย์ ก ที่เคารพ...ตามที่อาจารย์ได้มอบหมายให้หนูมาประชุมกับกองแผนฯ ในวันนี้ พอดีทางกองแผนฯ เพิ่งแจ้งว่าจะต้องให้นำเสนอเรื่องแผนกลยุทธ์ด้วยแต่หนูไม่ได้ขอ save ไฟล์มาจากอาจารย์ หนูลองโทรหาพี่ อ แล้วแต่ติดต่อไม่ได้ และจะต้องนำเสนอในอีกประมาณ 10 นาทีนี้แล้ว จึงอยากจะขอความกรุณาอาจารย์ช่วยส่งไฟล์แผนกลยุทธ์มาให้หนูทางอีเมล xx@mahidol.ac.thตอนนี้ได้เลยมั้ยคะ ขอบพระคุณอาจารย์มากๆ ค่ะ

  27. ประเภทของน้ำเสียงที่พบบ่อยประเภทของน้ำเสียงที่พบบ่อย • แจ้งเพื่อทราบ(เฉยๆ) • อธิบาย แนะนำ สั่งสอน • ขอร้อง อ้อนวอน ง้อ อ่อนข้อ • ยกย่อง ขอบคุณ • เห็นใจ ห่วงใย • ขอให้ทำ สั่ง ทวง • เตือน ตักเตือน ตำหนิ ขู่ ข่ม • เชิญ เชิญชวน ชักชวน โน้มน้าว • ล้อเลียน เสียดสี ประชดประชัน

  28. ตัวอย่างที่ 1 เรื่อง ขอเชิญประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 9/2556 เรียน  คณะกรรมการประจำคณะฯ และผู้เข้าร่วมประชุมฝ่ายเลขานุการจัดการประชุม ขอส่งหนังสือเชิญประชุม และเอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 10/2556 ในวันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2556 เวลา 9.00 น. ณ ห้องบรรยาย SC2-LA-230 ชั้น 2 คณะศิลปศาสตร์  ตามไฟล์เอกสารที่แนบมาพร้อมนี้

  29. ตัวอย่างที่ 2 เรื่อง แจ้งงดติดต่อราชการหน่วยกิจการนักศึกษาและกิจกรรมพิเศษ ในวันอังคารที่ 29 ตุลาคม 2556‏ เรียน  คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ คณะศิลปศาสตร์ทุกท่าน เนื่องจากเจ้าหน้าที่งานกิจการนักศึกษาต้องเข้าร่วมอบรม ในวันอังคารที่ 29 ตุลาคม 2556 จึงทำให้ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่อยู่ประจำการ  ดังนั้นหน่วยกิจการนักศึกษาและกิจกรรมพิเศษจึงขอแจ้งงดการติดต่อราชการในวันดังกล่าว

  30. ตัวอย่างที่ 3.1

  31. ตัวอย่างที่ 3.2

  32. ตัวอย่างที่ 4 อ.เมย์ครับ นี่อี๊ดนะครับ อาจารย์ครับเมื่อไหร่อาจารย์จะส่งแบบฟอร์มเรื่อง CSR มาให้ผมซะที กองแผนฯ โทรมาทวงผมอีกแล้ว ถ้าจะอาจารย์จะส่งช้าขนาดนี้ผมว่าส่งไม่ส่งก็คงไม่ต่างกันหรอกครับ เหอะๆ ยังไงขอภายในวันนี้ก่อนสี่โมงนะครับ ส่งแล้วโทรบอกผมด้วยเพราะผมไม่ได้อยู่หน้าคอมตลอด อย่าเลทนะครับเพราะผมต้องเอารถไปซ่อมแถวจุฬาฯ เดี๋ยวรถติดครับ อี๊ดสุดหล่อ

  33. ตัวอย่างที่ 5 กราบเรียน ท่านผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและสื่อสารองค์กรคณะศิลปศาสตร์ที่เคารพรักเป็นอย่างสูงยิ่ง อี๊ดเองนะครับ ผมทราบดีครับว่าช่วงนี้อาจารย์งานยุ่งมาก แต่ผมมีความจำเป็นที่จะต้องขอความกรุณารบกวนเวลาของอาจารย์สักเล็กน้อย ไม่ทราบว่าอาจารย์จะพอสละเวลาอันมีค่าของอาจารย์ช่วยกรอกแบบฟอร์มเรื่อง CSR ของกองแผนฯ ที่ผมได้เคยนำเรียนอาจารย์ไปเมื่อครั้งก่อนได้บ้างหรือไม่ครับ พอดีว่าทางกองแผนฯ ได้โทรมาสอบถาม ซึ่งผมก็ได้เรียนไปแล้วว่าอาจารย์มีภาระ แต่...

  34. ตัวอย่างที่ 6 เรื่อง แจ้งเตือนบุคลากรทุกท่านเข้าร่วมฟังการบรรยาย เรียน  คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ คณะศิลปศาสตร์ทุกท่าน เนื่องด้วย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดโครงการบรรยายพิเศษเรื่อง ...ในวันพุธที่ 24 กรกฎาคม 2556 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องบรรยาย SC1-LA-133 ชั้น 1 อาคารที่ทำการชั่วคราว คณะศิลปศาสตร์ ...จึงเรียนมาเพื่อโปรดเข้าร่วมฟังการบรรยายในวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน

  35. ขอให้ทำหรือสั่ง? • จึงเรียนมาเพื่อทราบและดำเนินการต่อไปด้วย • จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและดำเนินการต่อไปด้วย • จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและดำเนินการต่อไปด้วย จะขอบคุณยิ่ง • จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง • จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและพิจารณาดำเนินการต่อไปตามแต่จะเห็นสมควรจักเป็นพระคุณยิ่ง

  36. ทวงอย่างไรให้ “เนียน” ธนาคารขออำนวยความสะดวกให้ท่านโดยส่งข้อมูลบัตรเครดิต SCB ลงท้ายด้วย xxx ยอด xx,xxx.xxขั้นต่ำ 1x,xxx.xx ครบกำหนด 30/09 ชำระได้ที่สาขาเพียงแจ้งหมายเลขบัตร ขออภัยหากท่านชำระแล้ว

  37. การเลือกใช้น้ำเสียง • เราเป็นใคร • เขาเป็นใคร • เราต้องการอะไรจากอีเมลฉบับนี้ • เราต้องการให้เขารู้อะไร คิดอะไร ทำอะไร • มีวิธีอื่นที่ดีกว่าหรือไม่

  38. ชวนคิด! มาลองเขียนอีเมลกัน สถานการณ์: อาจารย์ทุกคนจะต้องส่งเกรดภายในวันที่ 18 ตุลาคม แต่ตอนนี้เลยกำหนดแล้ว จะเขียนอีเมลไปทวงเกรดจากอาจารย์ โดยกำหนดเส้นตายด้วยว่าต้องส่งไม่เกินวันนี้(21 ต.ค.) เพราะคณะจะประชุมเกรดวันพรุ่งนี้ (22 ต.ค.)

  39. มารยาทที่สำคัญอื่นๆ • รูปแบบไม่เป็นทางการหรือเป็นทางการเกินไป / หน้าตาเหมือนเมลขยะ • ไม่ลงท้าย / ไม่ระบุชื่อผู้ส่ง • การแนบเอกสาร อย่าลืมแนบ / แนบให้ถูก / อย่าแนบแต่เอกสาร ระบุด้วยว่ามีเอกสารแนบ ตั้งชื่อเอกสารแนบให้สื่อความหมาย(ดีๆ) • จะ reply หรือ reply all ดี?

  40. เคล็ดลับ! เทคนิค 5 นาที เมื่อเขียนอีเมลเสร็จแล้ว กด save draft ไว้ก่อนแล้วไปทำอย่างอื่น จากนั้นอีก 5 นาทีกลับมาอ่านทบทวน เนื้อหา และ ภาษา ในอีเมลอีกครั้ง แล้วดูว่าถ้าเราเป็นคนอ่าน จะอ่าน รู้เรื่องไหม อ่านแล้ว รู้สึกอย่างไร เมื่อแน่ใจแล้วจึงกดส่ง

  41. อีเมลที่เหมาะสำหรับ mobile devices

  42. ตัวอย่างเพิ่มเติม

More Related