1 / 35

วิจัยสถาบัน Institutional Research

วิจัยสถาบัน Institutional Research. ผศ.ดร. เสมอ ถาน้อย : NU-RSN. 24-25 มี.ค. 2459 สวนป่าเขากระยาง. ความหมาย...การวิจัย ลักษณะของการวิจัย ลักษณะที่ไม่ใช่การวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย การจัดประเภทของการวิจัย ขั้นตอนในการวิจัย การกำหนดปัญหาในการวิจัย. ตัวแปรและสมมติฐานของการวิจัย

ely
Télécharger la présentation

วิจัยสถาบัน Institutional Research

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิจัยสถาบัน Institutional Research ผศ.ดร. เสมอ ถาน้อย : NU-RSN 24-25 มี.ค. 2459 สวนป่าเขากระยาง

  2. ความหมาย...การวิจัย ลักษณะของการวิจัย ลักษณะที่ไม่ใช่การวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย การจัดประเภทของการวิจัย ขั้นตอนในการวิจัย การกำหนดปัญหาในการวิจัย ตัวแปรและสมมติฐานของการวิจัย การกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ข้อมูลในการวิจัย เครื่องมือและเทคนิค ในการรวบรวมข้อมูล การเขียนรายงานการวิจัย หลักการทำวิจัย ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  3. ความหมาย...การวิจัย การวิจัยคือ การสะสม การรวบรวม การค้นคว้าเพื่อหา ข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา (พจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542) Research : A detailed study of s subject, esp. in order to discover (new) information or reach a (new) understanding (Cambridge International Dictionary of English) ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  4. ความหมาย...การวิจัย การวิจัยคือ การศึกษาค้นคว้าอย่างมีระเบียบ เพื่อแสวงหาคำตอบสำหรับปัญหาหรือคำถามการวิจัยที่กำหนดไว้หรือเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ ซึ่งทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ ด้วยกระบวนการอันเป็นที่ยอมรับในวิทยาการแต่ละสาขาซึ่งในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้ว นิยมใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพราะเชื่อว่าวิธีการนี้จะมีความถูกต้องและเชื่อถือได้มากที่สุด ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  5. หรือการวิจัยคือ กระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่เชื่อถือได้ โดยมีลักษณะ ดังนี้ 1. เป็นกระบวนการที่มีระบบ แบบแผน 2. มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนและชัดเจน 3. ดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างรอบคอบ ไม่ลำเอียงมีหลักเหตุผล 4. บันทึกและรายงานผลออกมาอย่างระวัง ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  6. ลักษณะของการวิจัย • การวิจัยที่ดี ควรมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ • การวิจัยเป็นการค้นคว้าที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญ และความมีระบบ • การวิจัยเป็นงานที่มีเหตุมีผล และมีเป้าหมายที่แน่นอน • การวิจัยจะต้องมีเครื่องมือ หรือเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ • การวิจัยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลใหม่ และได้ความรู้ใหม่ ความรู้ที่ได้อาจเป็นความรู้เดิมได้ในกรณีที่มุ่งวิจัยเพื่อตรวจสอบซ้ำ ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  7. การวิจัยที่ดี ควรมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ 5. การวิจัยมักเป็นการศึกษาค้นคว้าที่มุ่งหาข้อเท็จจริง เพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ หรือพัฒนากฎเกณฑ์ ทฤษฏี หรือตรวจสอบทฤษฏี 6. การวิจัยต้องอาศัยความเพียรพยายาม ความซื่อสัตย์ กล้าหาญ บางครั้งจะต้องเฝ้าติดตามผลบันทึกผลอย่างละเอียดใช้เวลานาน บางครั้งผลการวิจัยขัดแย้งกับบุคคลอื่น อันอาจทำให้ได้รับการโจมตีผู้วิจัยจำต้องใช้ความกล้าหาญนำเสนอผลการวิจัยตรงตามความเป็นจริงที่ค้นพบ 7. การวิจัยจะต้องมีการบันทึก และเขียนรายงานการวิจัยอย่างระมัดระวัง ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  8. ลักษณะที่ไม่ใช่การวิจัยลักษณะที่ไม่ใช่การวิจัย • ลักษณะบางประการที่ไม่ใช่การวิจัย ได้แก่ • การที่นักศึกษาไปศึกษาบางเรื่องจากเอกสาร ตำรา วารสาร แล้วนำเอาข้อมูลความต่างๆ มาดัดแปลงตัดต่อกัน • การค้นพบ (Discovery)โดยทั่วไป เช่น นั่งคิดแล้วได้คำตอบไม่ใช่การวิจัย เพราะการค้นพบไม่มีระบบ และวิธีการที่ถูกต้องอาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ • การรวบรวมข้อมูล นำมาจัดเข้าตารางซึ่งอาจเป็นในการตัดสินใจ แต่ไม่ใช่การวิจัย • การทดลองปฏิบัติการ ตามคู่มือที่แนะนำไว้ ไม่ใช่การวิจัย ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  9. ประโยชน์ของการวิจัย • ช่วยให้ได้รับความรู้ใหม่ ทั้งทางทฤษฏีและปฏิบัติ • ช่วยพิสูจน์ หรือตรวจสอบความถูกต้องของกฎเกณฑ์ หลักการและทฤษฏีต่างๆ • ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ ปรากฏการณ์ และพฤติกรรมต่างๆ • ช่วยแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ • ช่วยการวินิจฉัย ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม • ช่วยปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น • ช่วยปรับปรุงพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ และวิถีดำรงชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  10. วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.สอดคล้องกับชื่อเรื่องและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย2. เขียนเป็นประโยคบอกเล่า ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย3. ควรกำหนดเป็นข้อๆ (มีหลายข้อ)4. มักจะขึ้นต้นด้วยข้อความเพื่อศึกษา.....         เพื่อตรวจสอบ......        เพื่อเปรียบเทียบ......       เพื่อวิเคราะห์.......        เพื่อประเมิน......... ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  11. การจัดประเภทของการวิจัยการจัดประเภทของการวิจัย • แบ่งตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย • การวิจัยเชิงพยากรณ์ (Predictive research) • เป็นการวิจัยเพื่อที่จะนำผลที่ได้นั้นไปใช้ทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต • การวิจัยเชิงวินิจฉัย (Diagnostic research) • เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง กลุ่มชน หรือชุมชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในปัญหา เข้าใจในพฤติกรรม ตลอดจนเข้าใจในสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาอันจะเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือ อนุเคราะห์ และทำการแก้ไขต่อไป • การวิจัยเชิงอรรถาธิบาย (Explanatory research) • เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไร และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  12. แบ่งตามประโยชน์ของการวิจัยแบ่งตามประโยชน์ของการวิจัย • การวิจัยพื้นฐาน (Basic research) • หรือการวิจัยบริสุทธิ์ (Pure research) หรือการวิจัยเชิงทฤษฎี (Theoretical research) เป็นการวิจัยที่เสาะแสวงหาความรู้ใหม่เพื่อสร้างเป็นทฤษฎี หรือเพื่อเพิ่มพูนความรู้ต่าง ๆ ให้กว้างขวางสมบูรณ์ยิ่งขึ้น • การวิจัยประยุกต์(Applied research) • หรือการวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action research) หรือการวิจัยเพื่อหาแนวทางปฏิบัติ (Operational research) เป็นการวิจัยที่มุ่งเสาะแสวงหาความรู้ และประยุกต์ใช้ความรู้หรือวิทยาการต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติหรือเป็นการวิจัยที่นำผลที่ได้ไปแก้ปัญหาโดยตรง ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  13. แบ่งตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล • การวิจัยจากเอกสาร (Documentary research) • เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงาน จดหมายเหตุ ศิลาจารึก แล้วเสนอผลในเชิงวิเคราะห์ • การวิจัยจากการสังเกต (Observation research) • เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกต การวิจัยประเภทนี้นิยมใช้มากทางด้านมานุษยวิทยา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลในสังคมในแง่ของสถานภาพ (Status) และบทบาท (Role) • การวิจัยแบบสำมะโน (Census research) • เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุก ๆ หน่วยของประชากร • การวิจัยแบบสำรวจจากตัวอย่าง (Sample survey research) • เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  14. แบ่งตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล • การศึกษาเฉพาะกรณี (Case study) • การศึกษาเฉพาะกรณีเป็นการศึกษาเรื่องที่สนใจในขอบเขตจำกัดหรือแคบ ๆ และใช้จำนวนตัวอย่างไม่มากนัก แต่จะศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องนั้น ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงที่จะทำให้ทราบว่าบุคคลนั้นหรือกลุ่มบุคคลนั้นมีความบกพร่องในเรื่องใด • การศึกษาแบบต่อเนื่อง (Panel study) • เป็นการศึกษาที่มีการเก็บข้อมูลเป็น ระยะ ๆ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งการศึกษาแบบต่อเนื่องนี้จะช่วยให้เข้าใจและทราบถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี • การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) • เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยเก็บข้อมูลมาจากการทดลองซึ่งเป็นผลมาจากการกระทำ(Treatment)โดยมีการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  15. แบ่งตามลักษณะการวิเคราะห์ข้อมูล • การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) • เป็นการวิจัยที่นำเอาข้อมูลทางด้านคุณภาพมาวิเคราะห์ ค้นหาความรู้ความจริงโดยอาศัยข้อมูลเชิงคุณลักษณะ • การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) • เป็นการวิจัยที่ค้นหาความรู้ความจริงโดยนำเอาข้อมูลเชิงปริมาณมาวิเคราะห์ ในการวิเคราะห์ข้อมูลต้องใช้วิธีการทางสถิติเข้ามาช่วย ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  16. แบ่งตามลักษณะวิชาหรือศาสตร์แบ่งตามลักษณะวิชาหรือศาสตร์ • การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (Scientific research) • เป็นการวิจัยที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น วิทยาศาสตร์อาจจำแนกตามสาขาต่าง ๆ เช่น • - สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ เช่น ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ • - สาขาวิทยาศาสตร์ เช่น ศัลยศาสตร์ รังสีวิทยา ฯลฯ • - สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช เช่น อินทรีย์เคมี เภสัชศาสตร์ • วิจัยทางสังคมศาสตร์ (Social research) • เป็นการวิจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และพฤติกรรมของมนุษย์ ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  17. แบ่งตามระเบียบวิธีวิจัยแบ่งตามระเบียบวิธีวิจัย • การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical research) • เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีต โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะบันทึกอดีตอย่างมีระบบ และมีความเป็นปรนัยจากการรวบรวมประเมินผล ตรวจสอบ และวิเคราะห์เหตุการณ์เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงในอันที่จะนำมาสรุปอย่างมีเหตุผล • การวิจัยเชิงบรรยายหรือพรรณนา (Descriptive research) • เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงในสภาพการณ์หรือภาวการณ์ของสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร • การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) • เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาความรู้ความจริงที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์มาช่วย เพื่อพิสูจน์ผลของตัวแปรที่ศึกษา มีการทดลองและควบคุมตัวแปรต่างๆ ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  18. ขั้นตอนในการวิจัย • เลือกหัวข้อปัญหา(Selecting a topic of research) • เพื่อเป็นการกำหนด ขอบเขตหรือขอบข่ายของงาน • 2. ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย • เพื่อให้ผู้วิจัยมองเห็นวิวัฒนาการของความรู้หรือทฤษฎีนั้น ๆ ว่ามีพัฒนาการมาอย่างไร ใครเป็นคนต้นคิด มีใครตรวจสอบวิจัยมาบ้างแล้ว มีตัวแปรใดบ้างที่เข้ามา • 3. เขียนเค้าโครงการวิจัย • ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นภูมิหลังหรือที่มาของปัญหา ความมุ่งหมายของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ตัวแปรต่างๆที่วิจัย คำนิยามศัพท์เฉพาะ สมมุติฐานในการวิจัย วิธีการดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง รูปแบบการวิจัย วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

  19. 4. สร้างสมมติฐาน (Formulating research hypothesis) การสร้างสมมติฐานเป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาที่จะทำการวิจัยว่า ควรจะเป็นไปในลักษณะใด โดยอาศัยหลักของเหตุผลซึ่งอาจได้มาจากประสบการณ์หรือเอกสารงานวิจัยที่ค้นคว้ามาอนุมาน (Deductive) ว่าปัญหานั้นควรจะตอบได้ 5. พิจารณาแหล่งที่มาของข้อมูล (Source of data) คือผู้วิจัยจะต้องระลึกอยู่เสมอว่ากำลังทำวิจัย เรื่องอะไร ข้อมูลที่จะทำการวิจัยคืออะไร อยู่ที่ไหน กลุ่มตัวอย่างเป็นใคร จะได้มาอย่างไร และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีใด 6. สร้างเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัย (Formulating research instrument) คือการเตรียมอุปกรณ์ในการที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลให้พร้อมก่อนที่จะทำการวิจัย โดยพิจารณาจากรูปแบบของการวิจัยและความต้องการประเภทของข้อมูลเป็นสำคัญ เพื่อที่ผู้วิจัยจะได้กำหนดและเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับงานวิจัยได้มากที่สุด ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  20. 7. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting data) • คือ การนำเอาเครื่องมือไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างจริง ๆ ในการวิจัย ถ้าเป็นการวิจัย • แบบทดลองก็เริ่มลงมือทดลองนั่นเอง • การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล (Scrutinizing data and Analysis of • data) • เป็นการเลือกสรรข้อมูล จัดประเภทข้อมูลหรือจัดหมวดหมู่ของข้อมูล เพื่อให้ • สะดวกต่อการที่จะนำไปวิเคราะห์ และมีความหมายมากที่สุด เพื่อประโยชน์ในการ • เขียนรายงานการวิจัย • 9. ตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุป (Interpretation of data) • ผู้วิจัยพิจารณาตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลที่ได้จากการจัดกระทำ • ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล • การเขียนรายงานการวิจัยและการจัดพิมพ์ (Research report and publishing) • เป็นการรายงานข้อเท็จจริงที่ค้นพบเพื่อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ผู้วิจัย • จะต้องเขียนด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจนและรัดกุม แล้วตรวจดูความถูกต้องอีกครั้ง • หนึ่งก่อนที่จะจัดพิมพ์ต่อไป ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  21. การวิจัยสถาบัน ศ.ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน การวิจัยสถาบันในความหมายที่กว้าง หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับสถาบันของตนเอง โดยอาศัยกระบวนการวิจัยและการสร้างองค์ความรู้ใหม่ จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ดร.อมรวิชย์ นาครทรรพ อภิปรายเรื่อง การวิจัยสถาบันกับการปฏิรูปการเรียนรู้ : การประกันคุณภาพ วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2544 วิจัยสถาบัน ประกอบด้วย 3 เรื่อง วิจัยการเรียนการสอน วิจัยผู้เรียนว่าเรียนแล้วได้อะไร วิจัยความคุ้มค่าของทรัพยากรที่ใช้ (ต้นทุนต่อหัว ค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ ความคุ้มค่าการผลิตบัณฑิต)

  22. ศ.ดร. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ • (อภิปรายเรื่อง การวิจัยสถาบันกับการปฏิรูปการเรียนรู้ : การวิจัยการเรียนการสอน วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2544) • การวิจัยสถาบัน คือ การศึกษาตนเอง เป็นการศึกษาตนเองเพื่อประโยชน์ในการเรียน การสอน และเพื่อการบริหาร ในภาพกว้างการวิจัยสถาบัน มี 2 ส่วน คือ ฐานข้อมูล การเงิน นักศึกษา โปรแกรมการศึกษาการวิจัยเป็นโครงการ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ โครงการประจำ ติดตามบัณฑิต ต่อไปนี้ สมศ. จะเป็นผู้ใช้ผลที่ได้จากการวิจัยการติดตามบัณฑิต เพื่อประเมินสถาบัน การเรียนการสอน • ระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วยเงินอุดหนุนการวิจัยสถาบัน(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 http://sut2.sut.ac.th/PlanDiv/rule1.htm • "การวิจัยสถาบัน"หมายถึง การวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลมาใช้ในการกำหนดนโยบาย วางแผน ปรับปรุงการบริหาร และการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  23. ดร.วิเชียร เกตุสิงห์(อภิปรายเรื่อง การวิจัยสถาบันกับการปฏิรูปการเรียนรู้ : การยึดผู้เรียนรู้เป็นสำคัญ วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2544) ผู้บริหาร ทำวิจัยสถาบันเพื่อพัฒนาการบริหารสถานศึกษา เน้นการรวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยสถาบันด้านกำหนดนโยบาย การวางแผน และการตัดสินใจ เป็นการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) มุ่งใช้ผลสถาบันของตนเองเป็นหลัก “วิจัยสถาบัน” คือ กระบวนการบริหารสถาบัน สถานศึกษา โดยใช้การวิจัย ทำเรื่อง ภารกิจบริหารสถานศึกษา การเรียนการสอน หลักสูตร บริหารงานบุคคล บริหารการเงิน บริหารทั่วไป กิจการนักศึกษา ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง(อภิปรายเรื่อง การวิจัยสถาบันกับการปฏิรูปการเรียนรู้ : วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2544)การวิจัยสถาบัน หรือ Institutional Research แท้จริง คือ การวิจัยว่า หน่วยงานของเรา ตัวเรา สิ่งที่เราคิด และทำอยู่ตอนนี้ในสถาบันเป็นอย่างไร ดีหรือยัง จะทำอะไร เรื่องอะไรดีแล้ว เรื่องอะไรยังไม่ดี ทำการประเมินเพื่อนำมาพัฒนาในส่วนที่ย่อหย่อนหรือพัฒนาในส่วนที่ดีแล้วให้ดีขึ้นไปอีก ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  24. อ.ภัทรพรรณ เล้านิรามัย (http://www.spu.ac.th/~patrapan/Tip1_46.htm) วิจัยในสถาบันอุดมศึกษา นอกจากจะเน้นการวิจัยในเชิงวิชาการซึ่งเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ และการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาสังคมแล้ว การวิจัยสถาบัน เป็นการวิจัยอีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญ และเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาสถาบันเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถาบันโดยตรง เพื่อนำข้อมูลหรือข้อค้นพบต่างๆที่ได้ ไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้บริหารและ ผู้เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายต่างๆ ตลอดจนการวางแผนการดำเนินงาน ประกอบการตัดสินใจ และการแก้ไขปัญหาเฉพาะที่เกิดขึ้นในสถาบันโดยตรง ตัวอย่างของโครงการวิจัยสถาบัน เช่น การติดตามผลบัณฑิตหรือการติดตามคุณภาพบัณฑิตที่จบการศึกษาจากสถาบัน การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการเรียนการสอนและการให้บริการต่างๆของสถาบันทั้งในระหว่างเรียนและภายหลังจบการศึกษา การประเมินความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อการปฏิบัติงานของบัณฑิต เป็นต้น ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  25. ดร. รุ่ง แก้วแดง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ณ อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรี กรุงเทพมหานคร วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2543 เวลา 13.00 - 14.30 น. จัดโดย สมาคมวิจัยสถาบันและพัฒนาอุดมศึกษาไทย http://www.drrung.com/speech/page_speeches1.html การวิจัยสถาบัน หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Institutional Research โดยความหมายที่ใช้สอนกันอยู่ในปัจจุบัน เป็นความหมายเก่าที่ใช้มาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2515-2516 หรือประมาณปี ค.ศ. 1968-69 หมายถึง ( Saupe, 1981 ) 1. การวิจัยภายในของสถาบันอุดมศึกษา 2. เน้นการรวบรวมข้อมูล เพื่อช่วยสถาบันในการ 1) วางแผน 2) กำหนดนโยบาย 3) การตัดสินใจ 3. เป็น Action Research ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  26. วัตถุประสงค์ของการวิจัยสถาบันวัตถุประสงค์ของการวิจัยสถาบัน • โดยทั่วไปสรุปได้ 4 ประการ คือ • วิจัยเพื่อแก้ไขปัญหา เมื่อสถาบันมีปัญหาหรือมีอุปสรรค จำเป็นต้องมีการวิจัย เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ เพื่อติดตามและปรับเปลี่ยนการดำเนินงานของสถาบัน เช่น ปัญหานักศึกษาที่ ลาออกกลางคัน ปัญหานักศึกษาเข้าศึกษาในสถาบันน้อย เป็นต้น • วิจัยเพื่อการตัดสินใจ ในกรณีที่ไม่มีปัญหา แต่ต้องการตัดสินใจในบางเรื่อง เช่น การขยายวิทยาเขต การเปิดหลักสูตรใหม่ เป็นต้น • วิจัยเพื่อวางแผนอนาคต เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาได้อย่างเหมาะสม เช่น การศึกษาแนวโน้มทางเศรษฐกิจ แนวโน้มทางสังคม แนวโน้มของคู่แข่ง แนวโน้มของนักศึกษา และแนวโน้มของสภาพแวดล้อม เป็นต้น • วิจัยเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นเรื่องที่สถาบันอุดมศึกษาต้องให้ความสำคัญและคำนึงถึง เพราะสถาบันอุดมศึกษาจะคงอยู่ได้ด้วยคุณภาพและความเป็นเลิศ ปัจจุบันมีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ซึ่งจะดำเนินการในเรื่องการประเมินคุณภาพของมหาวิทยาลัย อย่างน้อย 5 ปี ต่อ 1 ครั้ง สถาบันจึงต้องมีการประเมินคุณภาพภายในของตนเอง โดยการทำวิจัยสถาบันควบคู่ไปกับเรื่องอื่นๆด้วย

  27. งานวิจัยสถาบันที่ดำเนินการแล้วงานวิจัยสถาบันที่ดำเนินการแล้ว • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547(http://web.ubu.ac.th/%7Eub-plan/research_institute/report.html) • การศึกษาประสิทธิภาพการใช้ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี • การศึกษาและพัฒนาโครงการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี • การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่รับเข้าศึกษาโดยวิธีรับตรง ปีการศึกษา 2544 – 2546 • การศึกษาติดตามผลบัณฑิตระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2545 • การศึกษาวิเคราะห์ภาระงานสอนของอาจารย์ ปีการศึกษา 2546 • การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษา ปีงบประมาณ 2546 • การศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนหลักสูตรปริญญาตรี ในสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์

  28. งานวิจัยสถาบันที่ดำเนินการแล้วงานวิจัยสถาบันที่ดำเนินการแล้ว • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 • การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน : องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาที่รับเข้าศึกษาในระบบการคัดเลือกต่างๆ เพื่อวิเคราะห์หารูปแบบการรับนักศึกษาที่เหมาะสม • ปัจจัยที่มีผลต่อสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี • การศึกษาประสิทธิภาพการใช้อาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กรณีศึกษาในส่วนของการใช้อาคารเพื่อการสอนเชิงบรรยาย • การศึกษาประสิทธิภาพการใช้อาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กรณีศึกษาในส่วนของการใช้อาคารเพื่อการสอนเชิงปฏิบัติการ และการสนับสนุนทางวิชาการ • ค่าตอบแทนและสวัสดิการของบุคลากร เมื่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีปรับสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  29. งานวิจัยสถาบันที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีต้องการงานวิจัยสถาบันที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีต้องการ • การศึกษาการใช้ประโยชน์ของงานวิจัย ม.อุบล จากอดีตถึงปัจจุบัน • การศึกษาการคุ้มค่าของครุภัณฑ์ที่จัดซื้อจากงบประมาณงานวิจัย • การศึกษาวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยงานผลิตบัณฑิต • การศึกษาพฤติกรรมของศิษย์เก่าและประชาชนต่อการใช้บริการวิชาการมหาวิทยาลัย • การศึกษาประสิทธิภาพของใช้อาคารเรียนรวม • การศึกษารูปแบบงบประมาณ Income Contingent Loan : ICLที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU

  30. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1.1 ร้อยละการได้งานภายใน 1 ปี รวมทั้งการประกอบอาชีพอิสระ และร้อยละการเรียนต่อระดับบัณฑิตศึกษา (แหล่งข้อมูล:วิจัยสถาบัน) 1.2 ระดับความพอใจของผู้ประกอบการ/ผู้ใช้บัณฑิต สำรวจภายใน 1 ปี (แหล่งข้อมูล : วิจัยสถาบัน) 1.3 เงินเดือนเฉลี่ยตั้งต้นของบัณฑิต (แหล่งข้อมูล: วิจัยสถาบัน) รศ. ดร. ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์: KU

  31. 1.4 จำนวนบทความจากวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาเอกที่ตีพิมพ์ใน วารสารที่มีผู้ประเมินอิสระต่อจำนวนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกทั้งหมด (แหล่งข้อมูล : วิจัยสถาบัน) 1.5 จำนวนบทความจากวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทที่ตีพิมพ์ เผยแพร่ต่อจำนวนวิทยานิพนธ์ปริญญาโททั้งหมด (แหล่งข้อมูล :วิจัยสถาบัน) รศ. ดร. ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์: KU

  32. 5.1 จำนวนบทความวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่ต่อจำนวนอาจารย์ประจำทุกระดับ (แหล่งข้อมูล:วิจัยสถาบัน,การประกันคุณภาพภายใน) 5.2 จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยจากภายนอกต่ออาจารย์ประจำทุกระดับ (แหล่งข้อมูล:วิจัยสถาบัน,การประกันคุณภาพภายใน) 5.3 จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยในสถาบันต่ออาจารย์ประจำทุกระดับ (แหล่งข้อมูล : วิจัยสถาบัน, การประกันคุณภาพภายใน) รศ. ดร. ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์: KU

  33. การเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์การเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ • บทคัดย่อ • ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย • วัตถุประสงค์ของการวิจัย • ขอบเขตและข้อจำกัดของการวิจัย • วิธีการวิจัย • ผลการวิจัยโดยสรุป • ข้อเสนอแนะ • บรรณานุกรม

  34. THANK YOU

More Related