1 / 12

บทที่ 12

บทที่ 12. ไฟล์. File. ไฟล์ (File) คือ ที่เก็บข้อมูลต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ และในภาษา C นั้น ไฟล์ก็จะมีความหมายรวมไปถึงอุปกรณ์ต่างที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย เช่น คีย์บอร์ด จอภาพ เป็นต้น

erelah
Télécharger la présentation

บทที่ 12

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 12 ไฟล์

  2. File • ไฟล์ (File) คือ ที่เก็บข้อมูลต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ และในภาษา C นั้น ไฟล์ก็จะมีความหมายรวมไปถึงอุปกรณ์ต่างที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย เช่น คีย์บอร์ด จอภาพ เป็นต้น • Text files เป็นไฟล์ของตัวอักษร เพราะมีโครงสร้างในการเก็บข้อมูลจะเป็นตัวอักษร ไฟล์นั้นจึงไม่สามารถที่จะเก็บข้อมูลที่ค่าตัวเลขจำนวนเต็ม จุดทศนินม หรือในลักษณะที่เป็นโครงสร้าง ซึ่งการเก็บ ข้อมูลจะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองตามรหัส ASCII สื่อชุดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์วังอักษรใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

  3. File(ต่อ) • Binary Files เป็นไฟล์ที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของค่าตรงๆ ซึ่งข้อมูลที่ไฟล์ประเภทนี้จัดเก็บ จะสามารถเป็นได้ทั้งตัวเลขจำนวนเต็ม ตัวเลขทศนิยม ตัวอักษร อาร์เรย์ และข้อมูลแบบโครงสร้าง โดยการจัดเก็บนั้นจะเก็บลงไปตรงๆ เลย เช่น 16706 ก็จะเก็บเป็นค่าที่เหมือนอ่านกลับมาเป็นค่าเดิม แต่ Text Files จะเก็บเป็นตัวอักษร 1 6 7 0 6 สื่อชุดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์วังอักษรใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

  4. File Table ------ ------ fpMyFile buffered File Table • ก่อนที่ใช้ไฟล์ได้ ผู้ใช้จะต้องรู้จักกับ File Table ซึ่ง File Table คือ ส่วนของหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับไฟล์ เช่น ชื่อไฟล์ เป็นตัวชี้ตำแหน่งของไฟล์ เป็นต้น โดยจะมีตัวแปรที่เป็นไฟล์พอยเตอร์ชี้อยู่ ซึ่งไฟล์พอยเตอร์ตัวนี้จะมีข้อมูลเป็นโครงสร้างชนิด FILE ซึ่งลักษณะของ File Table สื่อชุดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์วังอักษรใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

  5. Text File • การเปิดไฟล์ ฟังก์ชันในการเปิดไฟล์ คือ ฟังก์ชัน fopen ฟังก์ชันนี้ต้องการพารามิเตอร์ 2 ตัว ตัวแรกคือชื่อไฟล์ที่ต้องการจะเปิด ซึ่งอาจจะรวมที่อยู่ของไฟล์ (Path) ในกรณีที่ไฟล์ที่ต้องการใช้ไม่ได้อยู่ที่เดียวกับไฟล์โปรแกรม fopen (“[ชื่อไฟล์พอยเตอร์]”, “[โหมด]”); สื่อชุดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์วังอักษรใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

  6. Text File • การปิดไฟล์ เมื่อเปิดใช้ไฟล์แล้วใช้เสร็จ ก็ควรจะทำการปิดไฟล์ที่ใช้ด้วย ซึ่งฟังก์ชันที่ใช้ปิดไฟล์ คือฟังก์ชัน fclose ซึ่งมีรูปแบบดังนี้ fclose ([ชื่อไฟล์พอยเตอร์]); • การอ่านและเขียนไฟล์ • fscanf เป็นฟังก์ชันในการอ่านข้อมูลจากไฟล์ ซึ่งการทำงานก็เหมือนกับฟังก์ชัน scanf แต่จะต่างกันตรงที่ฟังก์ชัน fscanf จะต้องใช้ไฟล์พอยเตอร์เพื่อชี้ตำแหน่งที่จะอ่านจากไฟล์มีรูปแบบดังนี้ fscanf ([ชื่อไฟล์พอยเตอร์],“[รูปแบบข้อความ]”,[ที่อยู่ของตัวแปร]); • fprintf เป็นฟังก์ชันในการเขียนข้อมูลลงไปในไฟล์ ซึ่งการทำงานก็เหมือนกับฟังก์ชัน printf แต่จะใช้ไฟล์พอยเตอร์เป็นตัวชี้ตำแหน่งของไฟล์ที่จะเขียนข้อมูลลงไป ซึ่งมีรูปแบบดังนี้ fprintf([ชื่อไฟล์พอยเตอร์], “[รูปแบบข้อความ]”,[ตัวแปร]); สื่อชุดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์วังอักษรใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

  7. ฟังก์ชันการอ่านและเขียนข้อมูลที่เป็นตัวอักษรฟังก์ชันการอ่านและเขียนข้อมูลที่เป็นตัวอักษร • getc และ fgetc ทั้งสองฟังก์ชันนี้จะมีการทำงาน คือ จะอ่านตัวอักษรตัวต่อไปจากไฟล์ขึ้นมาเลย และถ้าอ่านไปจนจบไฟล์ ทั้งสองก็จะส่งค่ากลับเป็น EOF • putc และ fputtc ทั้งสองฟังก์ชันนี้จะมีการทำงาน คือ จะเขียนข้อมูลลงไปในไฟล์ทีละ 1 ตัวอักษร ถ้าการเขียนข้อมูลสมบูรณ์จะส่งค่ากลับมาเป็นตัวอักษรที่ส่งไป แต่ถ้าไม่สมบูรณ์จะส่งค่ากลับเป็น EOF สื่อชุดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์วังอักษรใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

  8. Binary File • การเปิดไฟล์และปิดไฟล์ จะเหมือนกับ Text File เลย แต่สิ่งที่ต่างกันจะมีอยู่ตรงที่โหมดในการเปิดไฟล์ ซึ่งโหมดในการเปิด Binary File สื่อชุดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์วังอักษรใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

  9. การอ่านและเขียนไฟล์ • fread เป็นฟังก์ชันในการอ่านข้อมูลจากไฟล์ ซึ่งมีรูปแบบดังนี้ fread([ชื่อตัวแปร],[ขนาดของตัวแปร],[จำนวน],[ชื่อไฟล์พอยเตอร์]); • Fwrite เป็นฟังก์ชันในการเขียนข้อมูลลงไฟล์ ซึ่งมีรูปแบบดังนี้ fwrite([ชื่อตัวแปร],[ขนาดของตัวแปร],[จำนวน],[ชื่อไฟล์พอยเตอร์]); สื่อชุดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์วังอักษรใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

  10. ฟังก์ชันบอกสถานะของไฟล์ฟังก์ชันบอกสถานะของไฟล์ • feof เป็นฟังก์ชันที่จะบอกว่าขณะนี้ ไฟล์พอยเตอร์ไปอยู่ที่ตำแหน่งสิ้นสุดไฟล์หรือยัง ซึ่งจะส่งค่ากลับมาเป็น 0 เมื่อสิ้นสุดไฟล์แล้ว และจะส่งค่ากลับมาเป็น ไม่เท่ากับ 0 เมื่อยังไม่สิ้นสุดไฟล์ • ferror ฟังก์ชันนี้จะคอยตรวจสอบข้อผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นขณะที่อ่านหรือเขียนข้อมูล ซึ่งถ้าเกิดข้อผิดพลาดจะส่งค่ากลับมาเป็น ไม่เท่ากับ 0 แต่ถ้าไม่มีข้อผิดพลาดจะส่งค่ากลับมาเป็น 0 สื่อชุดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์วังอักษรใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

  11. ฟังก์ชันตำแหน่งของไฟล์พอยเตอร์ฟังก์ชันตำแหน่งของไฟล์พอยเตอร์ • rewind จะเป็นฟังก์ชันในการย้ายตำแหน่งของไฟล์พอยเตอร์ ให้ไปอยู่ที่หัวไฟล์ • ftell เป็นฟังก์ชันที่จะส่งค่ากลับ เป็นตำแหน่งที่อยู่ของไฟล์พอยเตอร์ในขณะนั้น ซึ่งค่าที่ส่งกลับมาเป็นข้อมูลชนิด long int สื่อชุดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์วังอักษรใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

  12. ฟังก์ชันของระบบ • remove เป็นฟังก์ชันที่ใช้ลบไฟล์ที่ต้องการทิ้งไป ถ้าการลบสมบูรณ์จะส่งค่ากลับมาเป็น 0 และถ้าไม่สมบูรณ์จะส่งค่ากลับเป็น ไม่เท่ากับ 0 • rename เป็นฟังก์ชันที่จะใช้เปลี่ยนชื่อไฟล์ที่ต้องการ ถ้าการเปลี่ยนสมบูรณ์จะส่งค่ากลับมาเป็น 0 และถ้าไม่สมบูรณ์จะส่งค่ากลับเป็น ไม่เท่ากับ 0 สื่อชุดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์วังอักษรใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

More Related