1 / 30

หลักสูตรอบรม การวัดประสิทธิภาพและผลิตภาพของการผลิตสินค้าเกษตรด้วยแบบจำลอง DEA

หลักสูตรอบรม การวัดประสิทธิภาพและผลิตภาพของการผลิตสินค้าเกษตรด้วยแบบจำลอง DEA. ผศ. ดร. ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Lecture 1: ขอบเขตเนื้อหา. การศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การผลิตโดยใช้ตัวแทนเซต เทคโนโลยีการผลิต เซตปัจจัยการผลิต เซตผลผลิต

Télécharger la présentation

หลักสูตรอบรม การวัดประสิทธิภาพและผลิตภาพของการผลิตสินค้าเกษตรด้วยแบบจำลอง DEA

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักสูตรอบรมการวัดประสิทธิภาพและผลิตภาพของการผลิตสินค้าเกษตรด้วยแบบจำลอง DEA ผศ. ดร. ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  2. Lecture 1: ขอบเขตเนื้อหา • การศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การผลิตโดยใช้ตัวแทนเซต • เทคโนโลยีการผลิต เซตปัจจัยการผลิต เซตผลผลิต • ฟังก์ชันระยะทางปัจจัยการผลิตและผลผลิต • การวัดประสิทธิภาพเชิงเทคนิค • การแยกค่าประสิทธิภาพเชิงเทคนิค

  3. การศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การผลิตโดยการใช้ตัวแทนเซตการศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การผลิตโดยการใช้ตัวแทนเซต • ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การผลิต ฟังก์ชันการผลิต (production function)ถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายกระบวนการผลิตที่ประกอบด้วยผลผลิตเพียงหนึ่งชนิด เทคโนโลยีการผลิต (production technology)ถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายกระบวนการผลิตที่ประกอบด้วยผลผลิตมากกว่าหนึ่งชนิด

  4. การศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การผลิตโดยการใช้ตัวแทนเซตการศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การผลิตโดยการใช้ตัวแทนเซต • การอธิบายโครงสร้างของเทคโนโลยีการผลิตนิยมอธิบายในรูปของตัวแทนเซต เนื่องจากสามารถใช้ศึกษากระบวนการผลิตที่ประกอบไปด้วยปัจจัยการผลิตและผลผลิตมากกว่าหนึ่งชนิด รวมทั้งสามารถใช้อธิบายความสัมพันธ์ของการวัดประสิทธิภาพในการผลิตของหน่วยผลิตได้เป็นอย่างดี

  5. การศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การผลิตโดยการใช้ตัวแทนเซตการศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การผลิตโดยการใช้ตัวแทนเซต • พิจารณากระบวนการผลิตที่ประกอบไปด้วยผลผลิตจำนวน M ชนิด และปัจจัยการผลิต N ชนิด • ผลผลิตจำนวน M ชนิดถูกแทนด้วยเวคเตอร์ ราคาของผลผลิตถูกแทนด้วยเวคเตอร์ ปัจจัยการผลิต K ชนิดถูกแทนด้วยเวคเตอร์ ราคาของปัจจัยการผลิตถูกแทนด้วยเวคเตอร์

  6. S คำนิยามของเซตที่สัมพันธ์ต่อเทคโนโลยีการผลิต • เทคโนโลยีการผลิต (production technology) คือ เซตของเวคเตอร์คู่ลำดับของปัจจัยการผลิตและผลผลิต (input-output vectors) ใดๆที่เป็นไปได้ในการกระบวนการผลิต S = {(x,y): x can produce y}

  7. คำนิยามของเซตที่สัมพันธ์ต่อเทคโนโลยีการผลิตคำนิยามของเซตที่สัมพันธ์ต่อเทคโนโลยีการผลิต • เซตปัจจัยการผลิต (input sets) คือ เซตของเวคเตอร์ปัจจัยการผลิตใดๆที่เป็นไปได้ที่ใช้ในการผลิตสินค้าซึ่งแสดงด้วยเวคเตอร์ของผลผลิต L(y) = {x: x can producey} = {x:(x,y)S}

  8. คำนิยามของเซตที่สัมพันธ์ต่อเทคโนโลยีการผลิตคำนิยามของเซตที่สัมพันธ์ต่อเทคโนโลยีการผลิต • พิจารณากระบวนการผลิตที่ใช้ปัจจัยการผลิต 2 ชนิดเพื่อผลิตสินค้า 1 ชนิด เซตปัจจัยการผลิต: L(y) = {x=(x1, x2) : x can producey} = {x=(x1, x2) :(x,y)S} • L(yA) คือ บริเวณใดๆที่อยู่เหนือเส้นโค้ง เส้นโค้งที่แสดงเขตแดนตอนล่างสุดของ L(yA) ถูกนิยามไว้คือ เส้นผลผลิตเท่ากัน (isoquant) ซึ่งแสดงถึงสัดส่วนหรือส่วนผสมต่างๆกันของปัจจัยการผลิต 2 ชนิดซึ่งให้ผลผลิตจำนวนที่เท่ากันแก่หน่วยผลิต

  9. คำนิยามของเซตที่สัมพันธ์ต่อเทคโนโลยีการผลิตคำนิยามของเซตที่สัมพันธ์ต่อเทคโนโลยีการผลิต • เซตผลผลิต (output sets) คือ เซตของเวคเตอร์ผลผลิตใดๆที่เป็นไปได้ที่สามารถผลิตได้จากการใช้ปัจจัยการผลิตทั้งหมดซึ่งแสดงด้วยเวคเตอร์ของปัจจัยการผลิต P(x) = {y: x can produce y} = {y :(x, y)S}

  10. คำนิยามของเซตที่สัมพันธ์ต่อเทคโนโลยีการผลิตคำนิยามของเซตที่สัมพันธ์ต่อเทคโนโลยีการผลิต • พิจารณากระบวนการผลิตที่ใช้ปัจจัยการผลิต 1 ชนิดเพื่อผลิตสินค้า 2 ชนิด เซตผลผลิต คือ P(x) = {y =(y1, y2) : x can produce y} = {y =(y1, y2) :(x, y)S} • P(xB) คือ บริเวณใดๆที่อยู่ต่ำกว่าเส้นโค้ง เส้นโค้งที่แสดงเขตแดนตอนบนสุดของ P(xB) ถูกนิยามไว้คือ เส้นความเป็นไปได้ในการผลิต (production possibilities curve, PPC) ซึ่งแสดงถึงสัดส่วนต่างๆกันของผลผลิตจำนวน 2 ชนิดที่ผลิตได้จากการใช้ปริมาณปัจจัยการผลิตที่เท่ากันในการผลิต

  11. ฟังก์ชันระยะทาง (distance function) • Shephard (1953, 1970) ได้เสนอฟังก์ชันระยะทาง (distance function)เพื่ออธิบายกระบวนการผลิตที่ประกอบไปด้วยการใช้ปัจจัยการผลิตและผลผลิตมากกว่า 1 ชนิด (multiple inputs and outputs) • ฟังก์ชันระยะทางมี 2 รูปแบบ 1. ฟังก์ชันระยะทางของปัจจัยการผลิต (input distance function, DI) ซึ่งใช้อธิบายลักษณะของเซตปัจจัยการผลิต L(y) 2. ฟังก์ชันระยะทางของผลผลิต (output distance function, Do) ซึ่งใช้อธิบายลักษณะของเซตผลผลิต P(x)

  12. B A 0 ฟังก์ชันระยะทางของปัจจัยการผลิต (DI) • กำหนดได้โดยอาศัยหลักการของการลดปริมาณการใช้ของปัจจัยการผลิตที่เป็นไปได้ในกระบวนการผลิตโดยวัดระยะทางจากปริมาณปัจจัยการผลิตที่ใช้โดยหน่วยผลิตถึงเขตแดนของเส้นผลผลิตเท่ากัน (isoquant) ซึ่งระยะทางที่วัดได้นี้จะใช้แสดงปริมาณที่เวคเตอร์ปัจจัยการผลิตของหน่วยผลิตสามารถถูกหดลงในแนวรัศมี (radially contracted) อย่างมากที่สุดและยังคงสามารถรักษาการผลิตให้อยู่ในปริมาณเท่าเดิม • ฟังก์ชันระยะทางของปัจจัยการผลิต DI(y, x) ถูกนิยามไว้ดังนี้ DI(y, x) = max {λ: (x/λ)  L(y)} ที่ซึ่ง λ= 0B/0A ≥ 1 รูปภาพแสดงปริมาณปัจจัยการผลิต x ที่เป็นไปได้ที่ใช้ในการผลิต y แต่ผลผลิต y สามารถผลิตได้โดยการใช้ปริมาณของปัจจัยการผลิตที่ลดลง (x/λ*) ดังนั้น DI(y, x) =λ* ≥ 1 ถ้า DI(y, x) =1 แสดงถึง หน่วยผลิตทำการผลิตอยู่บนเส้นผลผลิตเท่ากัน

  13. คุณสมบัติสำคัญของฟังก์ชันระยะทางของปัจจัยการผลิตคุณสมบัติสำคัญของฟังก์ชันระยะทางของปัจจัยการผลิต • (i)เป็นฟังก์ชันที่ไม่ลดลงในปัจจัยการผลิต (non-decreasing in x) DI(y, λx) ≥ DI(y, x) สำหรับ λ ≥ 1 • (ii)เป็นฟังก์ชันที่ไม่เพิ่มขึ้นในผลผลิต (non-increasing in y) DI(λy, x) ≤ DI(y, x) สำหรับ λ ≥ 1 • (iii)เป็นฟังก์ชันเอกพันธ์ลำดับที่ 1 ในปัจจัยการผลิต (homogeneous degree one in x) DI(y, λx) = λDI(y, x) สำหรับ λ > 0

  14. A B 0 ฟังก์ชันระยะทางของผลผลิต (Do) • กำหนดขึ้นโดยอาศัยหลักการของการเพิ่มปริมาณของผลผลิตที่เป็นไปได้ในกระบวนการผลิตโดยการวัดระยะทางจากปริมาณผลผลิตที่ผลิตได้โดยหน่วยผลิตถึงเขตแดนของเส้นความเป็นไปได้ในการผลิต(production possibility curve, PPC) ซึ่งระยะทางที่วัดได้นี้จะแสดงถึงปริมาณที่เวคเตอร์ของผลผลิตสามารถถูกขยายได้อย่างน้อยที่สุดโดยที่ยังคงสามารถผลิตได้จากการใช้ปัจจัยการผลิตในปริมาณเท่าเดิม • ฟังก์ชันระยะทางของผลผลิต Do(x,y)สามารถนิยามไว้ดังนี้ DO(x, y) = min {μ: (y/μ)  P(x)} ที่ซึ่ง μ= 0B/0A ≤ 1 รูปภาพแสดงถึงผลผลิตในกระบวนการผลิตที่สามารถผลิตได้โดยการใช้ปัจจัยการผลิต x แต่ภายใต้ปัจจัยการผลิต x ที่กำหนดให้หน่วยผลิตสามารถผลิตได้เพิ่มขึ้นเท่ากับ (y/μ*) ดังนั้น D0(x, y) =μ * ≤ 1 ถ้า Do(x, y) =1 แสดงถึง การผลิตอยู่บนเส้นความเป็นไปได้ในการผลิต

  15. คุณสมบัติสำคัญของฟังก์ชันระยะทางของผลผลิตคุณสมบัติสำคัญของฟังก์ชันระยะทางของผลผลิต • (i)เป็นฟังก์ชันที่ไม่ลดลงในผลผลิต (non-decreasing in y) Do (x, λy) ≤ Do (x, y) สำหรับ 0 ≤ λ ≤ 1 • (ii)เป็นฟังก์ชันที่ไม่เพิ่มขึ้นในปัจจัยการผลิต (non-increasing in x) Do (λx, y) ≤ Do (x, y) สำหรับ λ ≥ 1 • (iii)เป็นฟังก์ชันเอกพันธ์ลำดับที่ 1 ในผลผลิต (homogeneous degree one in y) Do (x, λy) = λDo (x, y) สำหรับ λ > 0

  16. ค่าประสิทธิภาพเชิงเทคนิคค่าประสิทธิภาพเชิงเทคนิค • Debreu (1951) และ Farrell (1957) ได้ให้คำนิยามของการวัดประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical efficiency, TE) ไว้ 2 ความหมาย คือ 1. ค่าประสิทธิภาพเชิงเทคนิคของปัจจัยการผลิต (input-orientated technical efficiency, TEI) หมายถึงความสามารถในการใช้ปัจจัยการผลิตในปริมาณน้อยที่สุดเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าให้ได้ในปริมาณที่กำหนด TEIสามารถวัดได้จากฟังก์ชันระยะทางปัจจัยการผลิต 2. ค่าประสิทธิภาพเชิงเทคนิคของผลผลิต (output‑orientated technical efficiency, TEo) หมายถึง ความสามารถในการผลิตสินค้าให้ได้ในปริมาณมากที่สุดจากปัจจัยการผลิตที่ถูกนำมาใช้ TEoสามารถวัดได้จากฟังก์ชันระยะทางผลผลิต

  17. x2 A X2A L(y) B C Efficient isoquant 0 x1 x1A ประสิทธิภาพเชิงเทคนิคโดยการใช้ฟังก์ชันระยะทาง a) วิธีวัดจากปัจจัยการผลิต (input-orientated measures) TEI หมายถึง ความสามารถของหน่วยผลิตที่จะผลิตสินค้าในปริมาณที่กำหนดโดยการใช้ปัจจัยการผลิตที่น้อยที่สุด • ค่าของฟังก์ชันระยะทางของปัจจัยการผลิตสำหรับหน่วยผลิต A: Di(yA,xA) = 0A/0B • TEI = 0B/0A = 1 / DI(yA,xA) โดยที่ TEIมีค่าอยู่ระหว่าง 0 และ 1 • TEI = 1 หมายถึง หน่วยผลิตทำการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพเชิงเทคนิค นั่นคือ ผลิตอยู่บนเส้นผลผลิตเท่ากัน เช่น หน่วยผลิต B และ C • (1-TEI) คือ สัดส่วนของปัจจัยการผลิตทุกชนิดที่สามารถลดลงได้โดยยังคงผลิตได้ในระดับเท่าเดิม

  18. x2 A x2A L(y) B D C Efficient isoquant Isocost line 0 x1A x1 การแยกค่าประสิทธิภาพ a) วิธีวัดจากปัจจัยการผลิต (input-orientated measures) ประสิทธิภาพเชิงแบ่งสรรหรือราคา จากปัจจัยการผลิต (Allocative efficiency, AEI) หมายถึง ความสามารถของหน่วยผลิตในการใช้ปัจจัยการผลิตในสัดส่วนที่เหมาะสม (optimal) • AEI = ต้นทุนต่ำที่สุดที่เป็นไปได้ต่อต้นทุนที่แท้จริงที่เกิดบนเส้นผลผลิตเท่ากัน • ดังนั้น AEI = OD/OB โดยที่ AEIมีค่าอยู่ระหว่าง 0 และ 1 • โดยที่ AEI = 1 หมายถึง หน่วยผลิตทำการผลิตโดยใช้ต้นทุนต่ำที่สุดที่เป็นไปได้ในการผลิต

  19. x2 A x2A L(y) B D C Efficient isoquant Isocost line 0 x1A x1 การแยกค่าประสิทธิภาพ a) วิธีวัดจากปัจจัยการผลิต (input-orientated measures) ประสิทธิภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ หรือต้นทุน (Economic efficiency, EEor cost efficiency, CE) = ผลรวมของ TEIและ AEI • EE = CE = TEI x AEI • EE = CE = (OB/OA)x(OD/OB) = OD/OA • CE หมายถึง ประสิทธิภาพต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในการผลิต

  20. y2 B y2A A C PPC PPC = P(x) 0 y1A y1 การแยกค่าประสิทธิภาพ b) วิธีวัดจากผลผลิต (output-orientated measures) TEo =ความสามารถของหน่วยผลิตที่จะผลิตสินค้าในปริมาณมากที่สุดจากปัจจัยการผลิตที่ใช้ • ค่าของฟังก์ชันระยะทางผลผลิตสำหรับหน่วยผลิต A: Do(xA,yA) = 0A/0B • TEo = OA/OB = Do(xA,yA) โดยที่ TEoมีค่าอยู่ระหว่าง 0 และ 1 • TEo = 1 หมายถึง หน่วยผลิตทำการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพเชิงเทคนิค นั่นคือ ผลิตอยู่บนเส้นผลผลิตเท่ากัน เช่น หน่วยผลิต B และ C • (1-TEo) คือ สัดส่วนของผลผลิตทุกชนิดที่สามารถผลิตได้เพิ่มขึ้นโดยใช้ปัจจัยการผลิตในระดับเท่าเดิม

  21. y2 D B y2A A C PPC = P(x) PPC Isoprofit line 0 y1A y1 การแยกค่าประสิทธิภาพ b) วิธีวัดจากผลผลิต (output-orientated measures) ประสิทธิภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ หรือกำไร (Economic efficiency, EE or profit efficiency, PE) = ผลรวมของ TEoและ AEo • TEo = OA/OB = Do(xA,yA) • AEo = OB/OD = ความสามารถของหน่วยผลิตในการผลิตสินค้าให้ได้ในสัดส่วนที่เหมาะสม หรือเพื่อให้ได้กำไรสูงที่สุด • EE = PE= TEo x AEo = OA/OD = ประสิทธิภาพกำไรทั้งหมดที่เกิดขึ้นในการผลิต

  22. y f(x) f(x) D y D B A P A B P VRS technology CRS technology 0 C x C x ความสัมพันธ์ระหว่างการวัดประสิทธิภาพเชิงเทคนิค จากปัจจัยการผลิตและผลผลิต ระยะที่ผลได้ต่อขนาดแปรผัน (variable returns to scale, VRS)แบ่งได้เป็น ระยะของผลได้ต่อขนาดเพิ่มขึ้น (increasing returns to scale, IRS)และระยะของผลได้ต่อขนาดลดลง (decreasing returns to scale, DRS) VRS technology: TEI≠ TEo : AB/AP < CP/CD CRS technology: TEI = TEo : AB/AP = CP/CD

  23. ประสิทธิภาพของขนาด (scale efficiency) • ถึงแม้ว่าหน่วยผลิตทำการผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเชิงเทคนิคและเชิงแบ่งสรร แต่หน่วยผลิตอาจกำลังเผชิญกับการผลิตที่ขนาดของโรงงานที่ใช้เป็นไปอย่างไม่เหมาะสม • ถ้าหน่วยผลิตทำการผลิต ณ ระดับที่ระยะของผลได้ต่อขนาดเพิ่มขึ้น (increasing returns to scale)ระดับการผลิตดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงหน่วยผลิตใช้โรงงานขนาดเล็กเกินไปในการผลิต • ในทางตรงข้าม ถ้าหน่วยผลิตทำการผลิต ณ ระดับที่ระยะของผลได้ต่อขนาดลดลง (decreasing returns to scale)ระดับการผลิตดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงหน่วยผลิตใช้โรงงานขนาดใหญ่เกินไปในการผลิต • หน่วยผลิตที่ไม่สามารถทำการผลิต ณ ขนาดที่เหมาะที่สุดจะส่งผลทำให้ค่าประสิทธิภาพเชิงเทคนิคที่ถูกวัดมีความผิดพลาด สาเหตุของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนี้มีผลมาจากความไม่มีประสิทธิภาพของขนาด (scale inefficiency)

  24. y CRS frontier VRS frontier C B A x 0 ประสิทธิภาพของขนาด (scale efficiency) • หน่วยผลิต A และ C มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิค แต่ใช้ขนาดไม่เหมาะสม • หน่วยผลิต B มีกำลังการผลิตที่ขนาดของโรงงานที่ให้ผลิตภาพมากที่สุด (most productive scale size, MPSS) • MPSS = max {y/x | (x,y)  S} • หน่วยผลิต A และ C สามารถเพิ่มผลิตภาพได้โดยการปรับเปลี่ยนการผลิตหรือขนาดของโรงงานมาอยู่ที่จุด B • ณ จุด B แสดงถึงการผลิตที่มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิคและประสิทธิภาพของขนาด

  25. y CRS frontier VRS frontier B E A C D x 0 ประสิทธิภาพของขนาด (scale efficiency) • TEI (VRS) = DA/DC • TEI (CRS) = DE/DC • SE = DE/DA = TEI(CRS) / TEI(VRS) = (DE/DC) / (DA/DC) • (1 – SE) แสดงถึงความสามารถของหน่วยผลิตในการเพิ่มผลิตภาพของตนเพื่อให้การผลิตอยู่ในระดับที่ขนาดของโรงงานมีผลิตภาพสูงสุด • ในทางปฏิบัติ ประสิทธิภาพของขนาดคำนวณหาได้จากอัตราส่วนของ TE ภายใต้ CRS ต่อ TE ภายใต้ VRS

  26. ตัวอย่าง The professorial contest • พิจารณากระบวนการผลิตที่ประกอบด้วยปัจจัยการผลิต 2 ชนิด และผลผลิต 1 ชนิด • ผลผลิต = จำนวนบทความที่ตีพิมพ์ได้ในแต่ละปี • ปัจจัยการผลิตชนิดที่ 1 = จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการเขียนบทความในแต่ละสัปดาห์ • ปัจจัยการผลิตชนิดที่ 1 = จำนวนผู้ช่วยวิจัย • ข้อสมมติฐาน: • เทคโนโลยีการผลิตอยู่ในช่วงที่ระยะของผลได้ต่อขนาดคงที่ • กระบวนการผลิตมีคุณสมบัติ Free disposability

  27. ตัวอย่าง The professorial contest Y = จำนวนบทความที่สามารถตีพิมพ์ได้ในแต่ละปี X1 = จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการเขียนบทความในแต่ละสัปดาห์ X2 = จำนวนผู้ช่วยวิจัย

  28. x2/y 1 2 3 4 5 x1/y การสร้างเส้นพรมแดน (Frontier) 5 4 3 2 Frontier 1 0 1 2 3 4 5

  29. x2/y x1/y

  30. ผลลัพธ์

More Related