1 / 24

คำแนะนำ เกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากวัตถุระเบิด สำหรับประชาชน

การป้องกันการก่อวินาศกรรม และการรักษาความสงบเรียบร้อย โครงการฝึกอบรม อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่าย พล เรือน พ.ศ.๒๕๕๗ องค์การบริหารส่วนตำบลคุ้งกระถิน จังหวัดราชบุรี โดย พ.ต.ท.ทองคำ ชุน เกษา อาจารย์(สัญญาบัตร ๓) กลุ่มงานคณาจารย์ คณะสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ.

eze
Télécharger la présentation

คำแนะนำ เกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากวัตถุระเบิด สำหรับประชาชน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การป้องกันการก่อวินาศกรรมและการรักษาความสงบเรียบร้อยโครงการฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๗องค์การบริหารส่วนตำบลคุ้งกระถิน จังหวัดราชบุรีโดย พ.ต.ท.ทองคำ ชุนเกษาอาจารย์(สัญญาบัตร ๓) กลุ่มงานคณาจารย์ คณะสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

  2. คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากวัตถุระเบิดสำหรับประชาชนคำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากวัตถุระเบิดสำหรับประชาชน

  3. วัตถุต้องสงสัยคืออะไรวัตถุต้องสงสัยคืออะไร

  4. วัตถุต้องสงสัยคืออะไร ? วัตถุต้องสงสัยคือ กล่องพัสดุภัณฑ์ไปรษณีย์หีบห่อกระเป๋าเดินทาง สิ่งที่มีลักษณะต้องสงสัยอื่นๆที่มีวัตถุระเบิดหรือสิ่งที่เป็นอันตรายบรรจุอยู่ภายใน

  5. ข้อสังเกตเกี่ยวกับพัสดุไปรษณีย์ระเบิดหรือกล่องพัสดุไปรษณีย์ต้องสงสัย ***************วิธีการทำงานของอุปกรณ์ชนิดนี้ส่วนมากจะเกิดระเบิดเมื่อบุคคลที่ตกเป็นเป้าหมายเปิดกล่อง หีบห่อ หรือกระเป๋าเอกสารที่บรรจุระเบิดแบบแสวงเครื่องไว้ภายใน

  6. ข้อสังเกตเกี่ยวกับพัสดุไปรษณีย์ระเบิด๑.มีน้ำหนักมากเกินไป๒.ซองจดหมายมีลักษณะแข็ง๓.ซองจดหมายหรือห่อพัสดุมีลักษณะโป่งบวม หรือ พองผิดปกติ ๔.มีการห่อแน่นหนาเกินควร๕.มีสายไฟเส้นเล็กๆยื่นออกมา.

  7. ข้อสังเกตเกี่ยวกับพัสดุไปรษณีย์ระเบิด๖.มีคราบน้ำมัน หรือสีซีดจากที่กระดาษห่อ๗.ไม่มีชื่อผู้ส่ง๘.มีการเขียนข้อความหรือติดภาพที่เรียกร้องความสนใจเช่น ภาพเปลือย๙.เป็นจดหมายหรือห่อพัสดุที่ไม่คาดว่าจะได้รับ เช่น ส่งมาจากคนรู้จักที่เสียชีวิตไปนานแล้ว ๑๐.ติดแสตมป์มากเกินขนาด

  8. ข้อสังเกตเกี่ยวกับพัสดุไปรษณีย์ระเบิด๑๑.มีการทำเครื่องหมายพิเศษต่างๆบนซองจดหมายหรือกล่องพัสดุภัณฑ์เช่น เพาะส่วนตัว หรือ เฉพาะบุคคล๑๒.ลายมือเขียนหรือพิมพ์จ่าหน้าซองไม่เป็นระเบียบ๑๓.มีชื่อผู้รับพัสดุแต่ระบุยศและตำแหน่งไม่ถูก ๑๔.สะกดผิดในคำง่ายๆ๑๕.ผู้ที่มีการขัดแย้งอย่างรุนแรงกับผู้อื่นควรสงสัยและระมัดระวังเป็นพิเศษ

  9. ในกรณีเกิดเหตุ “ขู่วางระเบิด”ประชาชนควรทำอย่างไร

  10. สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อได้รับข่าวถูกวางระเบิดสิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อได้รับข่าวถูกวางระเบิด การขู่วางระเบิดส่วนใหญ่จะใช้โทรศัพท์เป็นสื่อในการติดต่อ ทั้งนี้เพราะต้องการให้เกิดความตื่นเต้น ตกใจในทันทีทันใด ในส่วนของการวิเคราะห์ข่าวในครั้งแรกให้ตั้งสมมติฐานขั้นต้นว่า “เป็นเรื่องจริง” สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อได้รับข่าวถูกวางระเบิด คือ ๑.ระงับอารมณ์อย่าตื่นเต้น ๒.ตั้งใจฟังและอย่าขัดจังหวะการพูด ๓.จดจำคำพูดให้หมด

  11. สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อได้รับข่าวถูกวางระเบิดสิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อได้รับข่าวถูกวางระเบิด • ๔.ควรพูดอย่างสุภาพขณะที่ได้รับแจ้ง๕.ถ่วงเวลาพูดให้นานๆและพยายามอัดเทปไว้๖.สังเกตเสียงที่แทรกเข้าในระหว่างพูดว่ามีเสียงอะไร เช่น เสียงเครื่องจักร เสียงเครื่องยนต์ เสียงเพลง หรือเสียงอื่นๆ ๗.สังเกตสำเนียงของผู้พูดหรือลักษณะเสียงว่าเป็นอย่างไร หญิงหรือชาย เสียงนุ่มหรือเสียงกระด้าง

  12. สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อได้รับข่าวถูกวางระเบิดสิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อได้รับข่าวถูกวางระเบิด • ๘.พยายามถามหาข่าวพูดขอความเห็นใจให้กลับใจ๙.รีบรายงานการรับข่าวขู่วางระเบิดแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจให้เร็วที่สุด ๑๐.อย่าให้ข่าวแก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง • ๑๑.พยายามถามรายละเอียดให้มากที่สุดเกี่ยวกับระเบิดและสถานที่คนร้ายอ้างว่านำไปซุกซ่อนโดยพยายามเน้นว่า ไม่อยากให้มีคนบาดเจ็บหรือตาย

  13. การขู่วางระเบิดทางโทรศัพท์การขู่วางระเบิดทางโทรศัพท์ ๑๒.ในขณะที่รับโทรศัพท์ถูกขู่วางระเบิดควรมีการนัดแนะกับผู้ร่วมงานที่อยู่ใกล้เคียงหรือทำงานในที่เดียวกัน ตัวอย่างเช่น การหยิบปากกาสีแดงชูขึ้นแสดงว่ามีคนร้ายกำลังขู่วางระเบิดทางโทรศัพท์เพื่อให้เพื่อนร่วมงานทราบและตรวจสอบสิ่งของต้องสงสัยในบริเวณรอบหรือใต้โต๊ะทำงาน

  14. การขู่วางระเบิดทางโทรศัพท์การขู่วางระเบิดทางโทรศัพท์ ๑๓.ในการอพยพคนออกจากที่ทำงานควรเป็นขั้นตอนสุดท้ายเนื่องจากสถานที่ทำงาน หรือโต๊ะทำงานของพนักงานแต่ละคนจะทราบดีอยู่แล้วว่า สถานที่ของตนมีกระเป๋าหรือหีบห่อ หรือกล่องต้องสงสัยแปลกปลอมอยู่หรือไม่ เมื่อพบของแปลกปลอมต้องสงสัยจึงอพยพ ๑๔.อย่าผลีผลามเข้าไปแตะต้อง รบกวน หรือเคลื่อนย้ายด้วยตนเอง ระยะปลอดภัยตามหลักการก็คือการอยู่ให้ห่างจากวัตถุระเบิดนั้นอย่างน้อย ๓๐๐ เมตรขึ้นไป โดยถือหลักการที่ว่า ยิ่งอยู่ห่างยิ่งปลอดภัย

  15. การจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการป้องกันวัตถุระเบิดหรือวัตถุต้องสงสัยการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการป้องกันวัตถุระเบิดหรือวัตถุต้องสงสัย ๑.ยางนอกรถยนต์ที่ใช้แล้วที่มีน้ำหนักพอสมควร ๕-๖ เส้น สำหรับใช้ครอบป้องกันวัตถุระเบิดหรือกล่องต้องสงสัย ๑.ยางนอกรถยนต์ที่ใช้แล้วที่มีน้ำหนักพอสมควร ๕-๖ เส้น สำหรับใช้ครอบป้องกันวัตถุระเบิดหรือกล่องต้องสงสัย

  16. การจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการป้องกันวัตถุระเบิดหรือวัตถุต้องสงสัยการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการป้องกันวัตถุระเบิดหรือวัตถุต้องสงสัย • ๒.กระสอบทรายกว้าง ๑ ฟุต ยาว ๑.๕ ฟุต จำนวน๑๐-๒๐ ลูก สำหรับวางล้อมรอบวัตถุต้องสงสัยหรือเพื่อป้องกันสะเก็ดระเบิด ๓.เชือกสำหรับขึงป้องกันห้ามไม่ให้ผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปรบกวนกรณีพบวัตถุระเบิด เลือกชนิดที่มีสีเห็นได้ชัดหรือใช้ผ้าสีส้ม สีแดงผูกไว้หลายๆจุดบนเชือก

  17. การจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการป้องกันวัตถุระเบิดหรือวัตถุต้องสงสัยการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการป้องกันวัตถุระเบิดหรือวัตถุต้องสงสัย ๔.ป้ายเตือนอันตรายที่มีขนาดเห็นได้ชัดเขียนข้อความอันตรายห้ามเข้าติดไว้กับเชือกทั้ง ๔ ด้านหรือเขียนไว้ให้เห็นเด่นชัดตามช่องทางหรือเส้นทางใกล้เคียงที่เกิดเหตุ.

  18. การจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการป้องกันวัตถุระเบิดหรือวัตถุต้องสงสัย ๕.น้ำยาดับเพลิงหรืออุปกรณ์ดับเพลิงควรมีไว้ ให้พอเพียงและฝึกฝนให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ

  19. การจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการป้องกันวัตถุระเบิดหรือวัตถุต้องสงสัย๖.ซักซ้อมใกล้เคียงและเตรียมการติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยทางโทรศัพท์ เช่น หน่วยพยาบาล หน่วยไฟฟ้า สถานีตำรวจใกล้เคียง

  20. บทบาทของประชาชนต่อการป้องกันเหตุระเบิดบทบาทของประชาชนต่อการป้องกันเหตุระเบิด • การเก็บกู้วัตถุต้องสงสัยหรือวัตถุระเบิดเป็นภารกิจของนักทำลายล้างวัตถุระเบิดหรือE.O.D.(Explosive Ordnance Disposal ซึ่งผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดีปัจจุบันมีประจำการอยู่ในหลายหน่วยงานได้แก่ทหารบก,ทหารเรือ,ทหารอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติตำรวจ

  21. บทบาทของประชาชนต่อการป้องกันเหตุระเบิดบทบาทของประชาชนต่อการป้องกันเหตุระเบิด

  22. บทบาทของประชาชนต่อการป้องกันเหตุระเบิดบทบาทของประชาชนต่อการป้องกันเหตุระเบิด • ภารกิจในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศเป็นของสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งได้ทุ่มเทสรรพกำลังในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขอย่างเต็มความสามารถ แต่ด้วยความเจริญทางเศรษฐกิจและความหนาแน่นของประชากรอาจทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถตรวจตราดูแลอย่างทั่วถึงจึงมีความจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนในการเพิ่มความสังเกต สอดส่อง รวมถึงแจ้งข้อมูลข่าวสารแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ หากพบเห็นวัตถุต้องสงสัยหรือวัตถุที่ไม่สามารถพิสูจน์ทราบได้ ให้แจ้งที่หมายเลข 191

  23. ในกรณีพบวัตถุระเบิดแล้วประชาชนควรทำอย่างไร ผู้ประสบเหตุต้องปฏิบัติดังนี้ 1.ตรวจสอบดูว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ถ้ามีต้องให้ความช่วยเหลือปฐมพยาบาลแล้วนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้เคียงที่สุดโดยด่วน 2.แจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ 3.อพยพผู้คนออกไปจากพื้นที่ที่ปลอดภัย 4.ห้ามเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆโดยพลการเพื่อป้องกันการระเบิดซ้ำสองและเพื่อไม่ให้วัตถุพยานหลักฐานต่างๆที่คนร้ายได้กระทำขึ้นสูญหายไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในความปลอดภัยและเป็นประโยชน์ในการติดตามคนร้ายมาลงโทษตามกฎหมาย

  24. ในกรณีพบวัตถุระเบิดแล้วประชาชนควรทำอย่างไร ผู้ประสบเหตุควรปฏิบัติดังนี้ 5.ควรป้องกันรักษาสถานที่เกิดเหตุด้วยการล้อมเชือกกั้นบริเวณที่เกิดเหตุ 6.จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าสังเกตการณ์ในระยะห่างพอสมควรพอที่จะสังเกตการณ์ได้ตลอดเวลาเพื่อป้องกันมิให้ผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปรบกวน หรือทำลายร่องรอยพยานหลักฐานในสถานที่เกิดเหตุจนกว่าเจ่าหน้าที่ตำรวจจะไปถึงและดำเนินการต่อไป

More Related