1 / 24

ประเภทบำเหน็จของลูกจ้าง 1. บำเหน็จปกติ 2. บำเหน็จรายเดือน 3. บำเหน็จพิเศษ

ส่วนที่ 1 สิทธิในบำเหน็จของลูกจ้าง ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2552).

Télécharger la présentation

ประเภทบำเหน็จของลูกจ้าง 1. บำเหน็จปกติ 2. บำเหน็จรายเดือน 3. บำเหน็จพิเศษ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ส่วนที่ 1 สิทธิในบำเหน็จของลูกจ้าง ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2552)

  2. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับบำเหน็จ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. ลูกจ้างประจำ - บำเหน็จปกติ - บำเหน็จรายเดือน - บำเหน็จพิเศษ - บำเหน็จพิเศษรายเดือน 2. ลูกจ้างชั่วคราว - บำเหน็จพิเศษ

  3. ลูกจ้างประจำ ที่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ 1. ลูกจ้างประจำ ที่จ้างเป็นรายเดือน รายวัน และรายชั่วโมง 2. จ้างไว้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะประจำไม่มีกำหนดเวลาตามอัตราและจำนวนที่กำหนด 3. จ่ายค่าจ้างจากเงินงบประมาณ ไม่รวม ลูกจ้างประจำที่มีสัญญาจ้าง และลูกจ้าง ที่จ้างปฏิบัติงานในต่างประเทศ

  4. ลูกจ้างชั่วคราว ที่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ 1. ลูกจ้างชั่วคราว ที่จ้างเป็นรายเดือน รายวัน และรายชั่วโมง 2. จ้างไว้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะชั่วคราว และหรือโดยมีกำหนดเวลาจ้าง 3. จ่ายค่าจ้างจากเงินงบประมาณ

  5. ประเภทบำเหน็จของลูกจ้าง 1. บำเหน็จปกติ 2. บำเหน็จรายเดือน 3. บำเหน็จพิเศษ 4. บำเหน็จพิเศษรายเดือน 5

  6. 1. บำเหน็จปกติ เงินตอบแทนของลูกจ้างประจำที่ออกจากงาน เนื่องจากทำงานมานาน โดยจ่ายครั้งเดียว เหตุที่ก่อให้เกิดสิทธิบำเหน็จปกติ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

  7. 1. ลาออกโดยไม่มีความผิด /กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและถูกโทษปลดออก ต้องมีอายุงาน 5 ปีขึ้นไป 2. อายุครบ 60 ปี / เจ็บป่วย /ขาดคุณสมบัติ (สัญชาติ/ทุพพลภาพ/ตำแหน่งทางการเมือง) /ตำแหน่งถูกยุบ/เลิก ต้องมีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป

  8. 3. ลูกจ้างประจำตายระหว่างรับราชการ มีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป และความตายนั้นมิได้เกิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ให้ตกแก่ทายาทเป็นมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยไม่ถือเป็นสินสมรส

  9. สูตรคำนวณบำเหน็จปกติ บำเหน็จปกติ* = อัตราค่าจ้างเดือนสุดท้าย xจำนวนเดือนที่ทำงาน** 12 * เศษของบาท(เศษสตางค์) ให้ปัดทิ้ง **เศษของเดือนถ้าถึง 15 วัน ให้ปัดเป็น 1 เดือน 9

  10. การนับเวลาราชการ • 1. เวลาระหว่างรับราชการปกติ • 2. เวลาทวีคูณ = เวลาที่ กม.ให้นับเพิ่มอีก 1 เท่า • - ตามที่ ก.กลาโหมกำหนด • - ในเขตประกาศกฎอัยการศึก • 3. การตัดเวลาราชการ • - เวลาที่ไม่ได้รับเงินเดือน - เวลาระหว่างรับเบี้ยหวัด • - วันลาในระหว่างประกาศกฎอัยการศึก

  11. 2. บำเหน็จรายเดือน ลูกจ้างประจำผู้มีสิทธิรับบำเหน็จปกติ ซึ่งมี เวลาทำงาน 25 ปีขึ้นไป จะแสดงความประสงค์ขอรับเป็นบำเหน็จรายเดือนแทนก็ได้ โดยสิทธิในบำเหน็จรายเดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ออก จากงานจนกระทั่งตาย 11

  12. สูตรคำนวณบำเหน็จรายเดือนสูตรคำนวณบำเหน็จรายเดือน บำเหน็จรายเดือน* = อัตราค่าจ้างเดือนสุดท้าย xจำนวนเดือนที่ทำงาน** 12 50 *เศษของบาท(เศษสตางค์) ให้ปัดทิ้ง **เศษของเดือนถ้าถึง 15 วัน ให้ปัดเป็น 1 เดือน หรือ บำเหน็จรายเดือน = บำเหน็จปกติ/50 12

  13. 3. บำเหน็จพิเศษ เงินที่จ่ายให้แก่ ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว ที่ได้รับอันตราย/ป่วยเจ็บ/ถูกประทุษร้าย เพราะเหตุปฏิบัติงานในหน้าที่ ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงว่าไม่สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อีก โดยจ่ายเป็นก้อนครั้งเดียว 13

  14. สำหรับลูกจ้างประจำ นอกจากจะได้รับบำเหน็จปกติแล้ว ให้ได้รับบำเหน็จพิเศษนี้ด้วย เว้นแต่ อันตรายที่ได้รับหรือการป่วยเจ็บนั้น เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือ จากความผิดของตนเอง 14

  15. เหตุที่ก่อให้เกิดสิทธิบำเหน็จพิเศษของลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราวแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีทุพพลภาพ จ่ายให้เจ้าตัว 2. กรณีเสียชีวิต จ่ายให้ทายาท

  16. กรณีทุพพลภาพ 1. ในเวลาปกติ - ลูกจ้างประจำ = 6-24 เท่าของอัตราเงินเดือน - ลูกจ้างชั่วคราว = 3 ใน 4 ส่วนของอัตราที่ลูกจ้างประจำได้รับ 2. หน้าที่พิเศษ - ลูกจ้างประจำ = 36-42 เท่าของอัตราเงินเดือน - ลูกจ้างชั่วคราว = 3 ใน 4 ส่วนของอัตราที่ลูกจ้างประจำได้รับ

  17. กรณีเสียชีวิต 1. ในเวลาปกติ - ลูกจ้างประจำ = 30 เท่าของอัตราเงินเดือน - ลูกจ้างชั่วคราว = 3 ใน 4 ส่วนของอัตราที่ลูกจ้างประจำได้รับ 2. หน้าที่พิเศษ - ลูกจ้างประจำ = 48 เท่าของอัตราเงินเดือน - ลูกจ้างชั่วคราว = 3 ใน 4 ส่วนของอัตราที่ลูกจ้างประจำได้รับ

  18. 4. บำเหน็จพิเศษรายเดือนลูกจ้างประจำผู้มีสิทธิรับบำเหน็จพิเศษจะแสดงความประสงค์ขอรับเป็นบำเหน็จพิเศษรายเดือนก็ได้ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้1. ปฏิบัติหน้าที่ในเวลาปกติ = (6 - 24 เท่าของค่าจ้างเดือนสุดท้าย) / 50 2. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ ก.กลาโหมกำหนด = (36-42 เท่าของค่าจ้างเดือนสุดท้าย) / 50 18

  19. ส่วนที่ 2 การยื่นเรื่องขอรับบำเหน็จ และการเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง

  20. 1. กรอกแบบที่กำหนด - แบบขอรับบำเหน็จ (แบบ 5313) กรณีขอรับบำเหน็จรายเดือน - แบบขอลดหย่อนภาษี (แบบ สรจ.1) กรณีบัญชีเงินฝากธนาคารมีชื่อเป็นบัญชีร่วม - แบบแสดงเจตนาขอให้โอนเงิน (แบบ สรจ.2) 20

  21. 2. ถ่ายสำเนาเอกสารและรับรองสำเนาถูกต้อง ทุกฉบับด้วยตัวเอง - บัตรประจำตัวประชาชน หรือทะเบียนบ้าน - หน้าแรกของสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (บัญชีกระแสรายวัน หรือ ออมทรัพย์ เท่านั้น) - อื่นๆ เช่น หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล3. ยื่นเอกสารตามข้อ 1. และ 2. ให้ส่วนราชการต้นสังกัด (ส่วนราชการผู้ขอ) 21

  22. 4. เมื่อส่วนราชการต้นสังกัดรับเรื่อง จะพิมพ์สลิป ลงทะเบียนรับให้ผู้มีสิทธิ เพื่อใช้ติดตามเรื่องกับ ส่วนราชการต้นสังกัด หรือสำนักงานคลังเขต 1 ต่อไป 5. ส่วนราชการ ส่งให้สำนักงานคลังเขต 1 ดำเนินการตรวจอนุมัติต่อไป 22

  23. เมื่อสำนักงานคลังเขต 1 ได้รับเรื่องขอรับบำเหน็จบำนาญ จากส่วนราชการครบทั้ง 2 ส่วน คือ 1. แบบขอรับบำเหน็จบำนาญ และเอกสารประกอบ 2. ข้อมูลในระบบ e-pension จึงจะดำเนินการตรวจอนุมัติ 23

  24. 3. เมื่อเรื่องได้รับการอนุมัติสำนักงานคลังเขต 1 จะส่งหนังสือการสั่งจ่ายแจ้งให้ผู้รับบำเหน็จบำนาญทราบ 4. ผู้รับบำเหน็จไปแสดงตนต่อส่วนราชการผู้เบิก 5. ส่วนราชการผู้เบิกทำบันทึกขอเบิกเงินในระบบ 6. กรมบัญชีกลางโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้รับบำเหน็จบำนาญ 24

More Related