1 / 1

หลักการและเหตุผล

ความสอดคล้องของผลทดสอบความไวต่อยาวัณโรคจากห้องปฏิบัติการระดับประเทศ 2 แห่ง (รายงานเบื้องต้น) อดุล เขียวเล็ก* แวฟาอูวยียะ ยามิน* เพชรวรรณ พึ่งรัศมี* ทวีพร บุญกิจเจริญ* อวยพร เพ็ชรบริสุทธิ์* มณฑา ยานะวิมุติ* *ศูนย์วัณโรคที่ 12 จังหวัดยะลา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา.

Télécharger la présentation

หลักการและเหตุผล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความสอดคล้องของผลทดสอบความไวต่อยาวัณโรคจากห้องปฏิบัติการระดับประเทศ 2 แห่ง(รายงานเบื้องต้น)อดุล เขียวเล็ก* แวฟาอูวยียะ ยามิน* เพชรวรรณ พึ่งรัศมี* ทวีพร บุญกิจเจริญ* อวยพร เพ็ชรบริสุทธิ์* มณฑา ยานะวิมุติ**ศูนย์วัณโรคที่ 12 จังหวัดยะลา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา หลักการและเหตุผล แนวทางแห่งชาติสำหรับการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (1) แนะนำให้พิจารณาปรับเปลี่ยนระบบยารักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (Multidrug Resistance, MDR) ตามผลการทดสอบความไวต่อยา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) (2) กำหนดเงื่อนไขในการสนับสนุนยารักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานและงบประมาณสำหรับบริหารจัดการให้กับโรงพยาบาลว่า ต้องมีผลทดสอบความไวต่อยายืนยันว่าดื้อต่อยา INH และ Rifampicin ประเทศไทยมีห้องปฏิบัติการที่สามารถทำการทดสอบความไวต่อยาวัณโรค น้อยกว่า 10 แห่ง โดยมี 2 แห่งซึ่งให้บริการกับหน่วยงานทั่วประเทศโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย คือ สำนักวัณโรค (Lab1) และภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล (Lab2) ห้องปฏิบ้ติการ 2 แห่ง ใช้วิธีต่างกันในการทดสอบ โดย Lab1 ใช้วิธี Indirect susceptibility test, proportional method ตอบผลช้า (อย่างน้อย 3 เดือน ในขณะที่ Lab2 ใช้วิธี Direct susceptibility test ตอบผลเร็ว (ภายใน 1 เดือน) วัตถุประสงค์ • เปรียบเทียบผลการทดสอบความไวต่อยาวัณโรคจากห้องปฏิบัติการระดับประเทศ 2 แห่ง วิธีการ • ห้องปฏิบัติการของศูนย์วัณโรคที่ 12 ยะลา ส่งตัวอย่างเสมหะจากผู้ป่วยวัณโรคคนเดียวกันในวันเดียวกัน เพื่อทดสอบความไวต่อยาวัณโรค ณ ห้องปฏิบัติการระดับประเทศ 2 แห่ง • เปรียบเทียบผลการทดสอบความไวต่อยาวัณโรคของผู้ป่วยที่มีผลจากห้องปฏิบัติการทั้ง 2 แห่ง • ใส่ข้อมูล 2 ครั้ง โดยเจ้าหน้าที่ 2 คน และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย EpiData 3.02 โอนข้อมูลโดย StatTranfer 8 วิเคราะห์ข้อมูลโดย STATA 9 • ทดสอบความสอดคล้องของผลการทดสอบความไวต่อยา ด้วย kappa statistic ผลการศึกษา • ระหว่างปี 2544-2550 มีผู้ป่วยที่มีผลการทดสอบความไวต่อยาจากห้องปฏิบัติการระดับประเทศทั้ง 2 แห่ง จำนวน 81 ราย • ความสอดคล้องของผลการทดสอบความไว-ดื้อต่อยา INH ระหว่างห้องปฏิบัติการ 2 แห่ง เท่ากับ 76.54% (kappa = 0.5349, p = 0.0000) ดังตารางที่ 1 • ความสอดคล้องของผลการทดสอบความไว-ดื้อต่อยา Rifampicin ระหว่างห้องปฏิบัติการ 2 แห่ง เท่ากับ 79.01% (kappa = 0.5565, p = 0.0000) ดังตารางที่ 2 • ความสอดคล้องของผลการทดสอบความไวต่อยา ว่า MDR หรือไม่ระหว่างห้องปฏิบัติการ 2 แห่ง เท่ากับ 77.78% (kappa = 0.5193, p = 0.0000) ดังตารางที่ 3 ตารางที่ 1 ความสอดคล้องของผลการทดสอบความไวต่อยา INH ผลการทดสอบของ Lab 1 ผลการทดสอบของ Lab 2 ไว ดื้อยา รวม ไว 27 4 31 ดื้อยา 15 35 50 รวม 42 39 81 ตารางที่ 2 ความสอดคล้องของผลการทดสอบความไวต่อยา Rifampicin ผลการทดสอบของ Lab 1 ผลการทดสอบของ Lab 2 ไว ดื้อยา รวม ไว 42 5 47 ดื้อยา 12 22 34 รวม 54 27 81 ตารางที่ 3 ความสอดคล้องของผลการทดสอบความไวต่อยาว่า MDR หรือไม่ ผลการทดสอบของ Lab 1 ผลการทดสอบของ Lab 2 ไม่ใช่ MDRMDR รวม ไม่ใช่ MDR43 6 49 MDR12 20 32 รวม 55 26 81 สรุปและวิจารณ์ผล • ผลการทดสอบความไวต่อยาวัณโรคของห้องปฏิบัติการ 2 แห่ง มีความสอดคล้องกันในระดับปานกลาง • ความแตกต่างของผลการทดสอบความไวต่อยาระหว่างห้องปฏิบัติการเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะเมื่อตัวอย่างเสมหะเป็นคนละตัวอย่าง แต่ในทางคลินิกผลการทดสอบที่ตรงกันข้ามกัน อาจทำให้ความสับสนในการตัดสินใจรักษาหรือการบริหารจัดการระบบบริการ ข้อเสนอแนะ • ห้องปฏิบัติการวัณโรคระดับประเทศควรร่วมกันพัฒนาเกณฑ์การทดสอบความไวต่อยาวัณโรคสำหรับวิธีการทดสอบที่แตกต่างกันให้มีความสอดคล้องกันในระดับสูงสุด • เอกสารอ้างอิง • แนวทางแห่งชาติสำหรับการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข • คู่มือแนวทางบริหารจัดการโรควัณโรคอย่างครบวงจรในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2550-2551 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข

More Related