1 / 42

เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการบริหารกำลังคนภาครัฐ

เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการบริหารกำลังคนภาครัฐ โครงการศึกษาวิจัยการปรับปรุงระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนของข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ระยะที่ 2) ตุลาคม - พฤศจิกายน 2552. สารบัญ. ภาพรวมการบริหารกำลังคนภาครัฐ แนวคิดเรื่องการบริหารกำลังคน แนวคิดเรื่องการกำหนดอัตรากำลัง.

Télécharger la présentation

เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการบริหารกำลังคนภาครัฐ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการบริหารกำลังคนภาครัฐเอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการบริหารกำลังคนภาครัฐ โครงการศึกษาวิจัยการปรับปรุงระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนของข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ระยะที่ 2) ตุลาคม - พฤศจิกายน 2552

  2. สารบัญ • ภาพรวมการบริหารกำลังคนภาครัฐ • แนวคิดเรื่องการบริหารกำลังคน • แนวคิดเรื่องการกำหนดอัตรากำลัง

  3. เน้นการทำงานโดยยึดผลลัพธ์เป็นหลักเน้นการทำงานโดยยึดผลลัพธ์เป็นหลัก • วัดผลลัพธ์และค่าใช้จ่ายอย่างเป็นธรรม • ให้ความรับผิดชอบต่อผู้ทำงานแทนการควบคุมปัจจัยนำเข้า • มีความโปร่งใสในการตัดสินใจ • มีวิธีทำงานที่รวดเร็วคล่องตัว • เป็นระบบที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ระบบบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่

  4. การบริหารจัดการภาครัฐยุคใหม่การบริหารจัดการภาครัฐยุคใหม่ ระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล • ใช้คนน้อย แต่มีคุณภาพ • มืออาชีพ • มีมาตรฐานทาง คุณธรรม จริยธรรม • โปร่งใส / พร้อมรับผิด • มีการทำข้อตกลงหรือสัญญา (Performance Agreement)

  5. นโยบายสำคัญของรัฐเกี่ยวกับการใช้กำลังคนนโยบายสำคัญของรัฐเกี่ยวกับการใช้กำลังคน การกำหนดเป้าหมายกำลังคนภาครัฐ การปรับโครงสร้างกำลังคนภาครัฐให้มีขนาดกะทัดรัด แต่มีคุณภาพ โดยให้ใช้ประโยชน์จากกำลังคนที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

  6. การวางแผนทรัพยากรบุคคล Human Resource Planning • การดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้องค์การ • มีบุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ • ทั้งในจำนวน และ คุณภาพที่เหมาะสม • ในเวลาที่องค์การต้องการ

  7. ประโยชน์ของแผนทรัพยากรบุคคลประโยชน์ของแผนทรัพยากรบุคคล • สามารถหาคนตามที่ต้องการได้ทันเวลา • มีการใช้ทรัพยากรบุคคลให้เกิดประโยชน์สูงสุด • มีมาตรการในการแก้ไขปัญหา คนขาด / คนเกิน • องค์การมีทิศทางในการพัฒนาพนักงาน • พนักงานมีทิศทางในการพัฒนาตนเอง มีขวัญกำลังใจดี • องค์การสามารถบริหารงานให้บรรลุเป้าหมายโดยอาศัยทรัพยากรบุคคลที่มีความพร้อม

  8. แนวความคิดในการบริหารงานและบริหารทรัพยากรบุคคลสมัยใหม่แนวความคิดในการบริหารงานและบริหารทรัพยากรบุคคลสมัยใหม่ 1) การจ้างงานในรูปแบบใหม่จะไม่ใช่การจ้างงานแบบถาวรอีกต่อไป แต่จะเป็นการจ้างงานในรูปแบบของโครงการหรือภารกิจ และคนก็มีแนวคิดไม่ยึดติดกับองค์กร 2) รูปแบบขององค์กรในอนาคตจะไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจน เน้นการทำงานเป็นทีม 3) การลดช่วงชั้นการบังคับบัญชาลงเพื่อให้องค์กรมีลักษณะแบนราบ เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน 4) ผู้ปฏิบัติงานในอนาคตจะเป็น Knowledge Worker ที่ใช้สมองมากกว่าแรงกายในการทำงาน และสามารถกำหนดวิธีการทำงานของตนเองได้ 5) ผู้บริหารนั้นเรียนรู้จากสถานการณ์จริงมากกว่าเรียนรู้จากในห้องเรียน และมักต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่คาดไม่ถึงเสมอๆ

  9. แนวความคิดในการบริหารงานแนวความคิดในการบริหารงาน และบริหารทรัพยากรบุคคลสมัยใหม่ (ต่อ) 6) ภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาได้ และสามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้ 7) ผู้นำ คือ ผู้ที่มีเสน่ห์บารมี (Charisma) สามารถจูงใจ โน้มน้าวใจ สร้างศรัทธาและแรงบันดาลใจ ให้เกิดแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา สร้างความเปลี่ยนแปลงในองค์กรให้เกิดขึ้นในทางที่สร้างสรรค์ สื่อสารให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตระหนักถึงภารกิจที่มีร่วมกัน และมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายเดียวกัน บนพื้นฐานของการทำงานร่วมกันเป็นทีม 8) ผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาและการพัฒนาตนเองด้วย 9) ยุคศตวรรษที่ 21 เน้นพัฒนาคนให้มีความคิดเชิงวิเคราะห์ คิดเชิงกลยุทธ์คิดเชิงจัดการ และคิดเชิงสัมพันธภาพ

  10. แนวความคิดในการบริหารงานแนวความคิดในการบริหารงาน และบริหารทรัพยากรบุคคลสมัยใหม่ (ต่อ) 10) การให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงบทบาท ภาระ หน้าที่ และแนวทางการทำงานของตนอย่างชัดเจน รวมถึงการได้รับการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงาน 11) การเอื้ออำนาจให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา (Empowerment) โดยการให้อิสระในการทำงาน มีส่วนร่วมในการตัดสินใจจะสร้างความพึงพอใจในการทำงาน และเปิดโอกาสให้แสดงศักยภาพสูงสุดที่มีอยู่ในตัวออกมาได้ 12) แรงจูงใจในการทำงาน ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปของตัวเงิน แต่อาจหมายถึงอิสระในการทำงาน การได้รับการยอมรับ สภาพแวดล้อมที่ดี ความเอื้ออาทรที่ได้รับ

  11. แนวความคิดพื้นฐานในการบริหารจัดการมนุษย์แนวความคิดพื้นฐานในการบริหารจัดการมนุษย์ ทฤษฎีปัจจัย การจูงใจ คนทำงาน ของ Herzberg ทฤษฎี X และ ทฤษฎี Y ของ McGregor ทฤษฏีลำดับชั้น ความต้องการ ของมนุษย์ ของ Maslow ทฤษฏีผสมผสาน ทฤษฎี X ทฤษฎี Y กับทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ ของ Miles ทฤษฎี Z การบริหารคน ของ Ouchi

  12. สารบัญ • ภาพรวมการบริหารกำลังคนภาครัฐ • แนวคิดเรื่องการบริหารกำลังคน • แนวคิดเรื่องการกำหนดอัตรากำลัง

  13. ความหมายของการวางแผนกำลังคนความหมายของการวางแผนกำลังคน • นักวิชาการในต่างประเทศ นักวิชาการไทย และองค์กรต่างๆ ได้ให้ความหมายของการวางแผนกำลังคนไว้ ดังนี้ • The State Auditor’s Office ของรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้ความหมายของการวางแผนกำลังคน คือ “กระบวนการที่เป็นระบบในการระบุความต้องการทุนมนุษย์ เพื่อมาทำงานให้บรรลุเป้าหมายองค์กร และดำเนินการพัฒนากลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้บรรลุความต้องการดังกล่าว” • International Personnel Management Association (IPMA)ให้ความหมายของการวางแผนกำลังคน คือ “การวางกลยุทธ์ด้านกำลังคนให้สอดคล้องกับทิศทางธุรกิจขององค์กร โดยการวิเคราะห์สภาพกำลังคนขององค์กรที่มีอยู่ในปัจจุบัน เปรียบเทียบกับความต้องกรกำลังคนในอนาคตว่ามีส่วนต่างของความต้องการอย่างไร เพื่อที่จะพัฒนาหรือวางแผนดำเนินการให้องค์กรบรรลุภารกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่วางไว้” • ศุภชัย ยาวะประภาษ ให้ความหมายการวางแผนทรัพยากรบุคคลว่า “เป็นกระบวนการในการกำหนดความต้องการบุคลากรล่วงหน้าในแต่ละช่วงเวลาว่า องค์การต้องการบุคลากรประเภทใด จำนวนเท่าไหร่ และรวมถึงวิธีการในการได้มาซึ่งบุคลากรที่กำหนดไว้ล่วงหน้านี้ด้วย การได้มาซึ่ง บุคลากรกำลังคนนี้ รวมตั้งแต่การสรรหาคัดเลือกจากภายนอกองค์การ ภายในองค์การ ตลอดจนการพัฒนาเพิ่มศักยภาพของบุคลากรภายในให้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ต้องการ นอกจากนั้น ยังรวมถึงการรักษาไว้ซึ่งบุคลากร ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากบุคลากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ” • สำนักงาน ก.พ. ได้ให้ความหมายของการวางแผนกำลังคนในเอกสารเรื่องการวางแผนกำลังคนเชิงกลยุทธ์ในส่วนราชการ ว่าหมายถึง “การดำเนินการอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์และพยากรณ์เกี่ยวกับอุปสงค์ และอุปทานด้านกำลังคน เพื่อนำไปสู่การกำหนดกลวิธีที่จะให้ได้กำลังคนในจำนวนและสมรรถนะที่เหมาะสมมาปฏิบัติงานในเวลาที่ต้องการ โดยมีแผนการใช้และพัฒนากำลังคนเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อธำรงรักษากำลังคนที่เหมาะสมไว้กับองค์กรอย่างต่อเนื่อง”

  14. ประโยชน์ของการวางแผนกำลังคนประโยชน์ของการวางแผนกำลังคน • ช่วยให้หน่วยงานสามารถพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ดังกล่าวได้ • ช่วยให้ทราบอุปสงค์อุปทานของทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในปัจจุบันและอนาคต • ช่วยเชื่อมโยงระหว่างการจัดการทรัพยากรบุคคลและการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของหน่วยงาน • ช่วยลดปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารกำลังคน เช่น ปัญหาอัตราการสูญเสีย ปัญหาโครงสร้างอายุกำลังคน ปัญหาคนล้นงาน เป็นต้น • ช่วยให้หน่วยงานสามารถวางแผนอาชีพ (Career Planning) และแผนการสืบทอดตำแหน่ง (Succession Planning) ของกำลังคนได้ • ช่วยให้หน่วยงานสามารถจัดจำนวน ประเภท และระดับทักษะของกำลังคนให้เหมาะสมกับงานในระยะเวลาที่เหมาะสม • ช่วยทำให้เกิดการจ้างงานที่เท่าเทียมกันอย่างมีประสิทธิภาพ (Equal Employment Opportunity :EEO) • ช่วยให้การลงทุนในทรัพยากรบุคคลเกิดประโยชน์สูงสุด

  15. กระบวนการในการจัดทำแผนอัตรากำลังของ อปท. • ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นวิเคราะห์อำนาจหน้าที่ ภารกิจและความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในช่วงระยะเวลา 3 ปี ข้างหน้า • ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำการวิเคราะห์เพื่อประเมินความต้องการกำลังคนว่าในช่วงระยะเวลา 3 ปี ต่อไปข้างหน้า มีความจำเป็นต้องใช้กำลังคนประเภทใด ระดับใด จำนวนเท่าใดจึงจะสามารถปฏิบัติงานตามภารกิจที่อยู่ในอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ • ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำการวิเคราะห์การวางแผนการใช้กำลังคน ให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ และตำแหน่ง เพื่อให้มีการใช้กำลังคนเกิดประโยชน์สูงสุด • ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำการสำรวจ ประเมินความรู้ ความสามารถของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของตน เพื่อวางแผนการพัฒนาหรือฝึกอบรมกำลังคนให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร • ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้างต้น มาจัดทำกรอบอัตรากำลังข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ประจำส่วนราชการต่างๆ ภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยดำเนินการ • ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำแผนอัตรากำลัง 3 ปี ที่ได้จัดทำขึ้น เสนอให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจเพื่อเป็นกรอบการกำหนดตำแหน่งและใช้ตำแหน่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามระยะเวลาที่กำหนด • เมื่อครบกำหนดรอบระยะเวลาการใช้แผนอัตรากำลัง 3 ปี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการจัดทำแผนอัตรากำลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นระยะเวลา 3 ปี ในรอบปีถัดไป

  16. ลำดับที่ 1 การกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ (Set Agency Strategic Direction) ลำดับที่ 4 การติดตาม ประเมินผล และ การปรับปรุงแผนกำลังคน (Monitor, Evaluate & Revise) ลำดับที่ 2 การวิเคราะห์กำลังคนและ การพัฒนากลยุทธ์ (Workforce Analysis & Strategy Development) ลำดับที่ 3 การปรับใช้แผนกำลังคน (Implement Workforce Plan) รูปแบบการวางแผนกำลังคนเชิงกลยุทธ์

  17. ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์อุปสงค์กำลังคน (Demand Analysis) ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์อุปทานกำลังคน (Supply Analysis) ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ส่วนต่างของกำลังคน (Gap Analysis) ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนากลยุทธ์เพื่อแก้ไขปัญหาด้านกำลังคน (Gap Analysis) ขั้นตอนการวิเคราะห์กำลังคนและการพัฒนากลยุทธ์

  18. แผนกลยุทธ์ ของหน่วยงาน กำลังคนที่ต้องการ ในอนาคต แผนงาน / โครงการ ที่จะต้องดำเนินการ ในอนาคต การวิเคราะห์อุปสงค์กำลังคน การวิเคราะห์อุปสงค์กำลังคนอาจกระทำได้โดย (ดูในบทต่อไป) 1) การใช้ดุลยพินิจของผู้บริหาร เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุด ซึ่งการใช้วิธีนี้ควรจะมีหลักฐาน ข้อมูล และวิธีการทางสถิติประกอบ 2) การใช้การคำนวณเชิงคณิตศาสตร์ เป็นการวิเคราะห์กำลังคนที่ต้องการในอนาคตโดยใช้เกณฑ์ทางสถิติ ทางการคำนวณ หรือทางการเปรียบเทียบที่สร้างขึ้นเป็นฐานในการคำนวณ เช่น อัตราส่วนประสิทธิภาพ อัตราส่วนเจ้าหน้าที่กับอุปกรณ์ อัตราส่วนผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา อัตราส่วนระหว่างกำลังคนในงานที่เกี่ยวข้อง และการใช้เทคนิคการวัดค่างาน

  19. ข้อมูล กำลังคน วิเคราะห์ -โครงสร้างอายุ -โครงสร้างอายุ ราชการ -โครงสร้างเพศ -โครงสร้างวุฒิ การศึกษา -การสูญเสีย อุปทาน ข้อมูลความ เคลื่อนไหว การวิเคราะห์อุปทานกำลังคน

  20. กำลังคนส่วนขาดที่ต้องสรรหาเพิ่มกำลังคนส่วนขาดที่ต้องสรรหาเพิ่ม กำลังคนส่วนเกินที่ต้องวางแผน พัฒนาและบริหารจัดการเพิ่มเติม แผนภาพการวิเคราะห์ส่วนต่างกำลังคนของหน่วยงาน ใน 3 ปีข้างหน้า สภาพกำลังคนของหน่วยงานปัจจุบัน สภาพกำลังคน ของหน่วยงาน ที่คาดว่าจะมีในอนาคต ผลการพยากรณ์ กำลังคนที่ต้องการในอนาคต ๏ จำนวน ๏ ระดับ ๏ ประเภท ๏ สมรรถนะ ๏ จำนวน ๏ ระดับ ๏ ประเภท ๏ สมรรถนะ ๏ จำนวน ๏ ระดับ ๏ ประเภท ๏ สมรรถนะ

  21. สารบัญ • ภาพรวมการบริหารกำลังคนภาครัฐ • แนวคิดเรื่องการบริหารกำลังคน • แนวคิดเรื่องการกำหนดอัตรากำลัง

  22. การใช้ดุลยพินิจ ( Judgment Methods ) • ใช้กับองค์การที่เพิ่งเริ่มวางแผนกำลังคน ที่ยังไม่มีข้อมูล/สถิติเกี่ยวกับคนที่สมบูรณ์พอ • เทคนิคที่ใช้ • Top-down Forecasting & Bottom-up/Unit Forecasting เป็นวิธีการวิเคราะห์ความต้องการกำลังคนที่ใช้ในองค์การขนาดเล็กโดยอาจเสนอจากหัวหน้าหน่วยงานระดับล่าง ผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับ เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงพิจารณาอนุมัติ ( Bottom-up Forecasting ) หรือโดยการกำหนดอัตรากำลังโดยผู้บริหารระดับสูง (Top-Down Forecasting) • Delphi Technique เป็นวิธีการวิเคราะห์อัตรากำลังขององค์การ โดยการรวบรวมความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญหลายคนแล้วนำมาหาข้อสรุปที่ใกล้เคียงกัน

  23. การใช้การคำนวณเชิงคณิตศาสตร์การใช้การคำนวณเชิงคณิตศาสตร์ • ใช้กับองค์กรที่ต้องการวางแผนกำลังคนอย่างเป็นระบบ และแปรผันตามสภาพการทำงานจริง • เทคนิคที่ใช้ • คำนวณตามอัตราส่วน (Ratio Technique) • คำนวณแบบวิทยาศาสตร์ เช่นการหา Work Load จากกระบวนการทำงาน (Work Flow Technique หรือ Full Time Equivalent) • คำนวณด้วยการสร้าง Model

  24. การใช้การคำนวณเชิงคณิตศาสตร์: การคำนวณตามสัดส่วน (RATIO TECHNIQUE) การคำนวณลักษณะนี้ต้องการอัตราส่วนของจำนวน Input หรือ Output ที่ใช้ ในงานต่างๆ 1. อัตราส่วนประสิทธิภาพ (Productivity Ratio/ Input- Output Ratio ) 2. อัตราส่วน พนักงาน ต่อ อุปกรณ์ 3. อัตราส่วน ผู้บังคับบัญชา ต่อ ผู้ใต้บังคับบัญชา 4. อัตราส่วน กำลังคนในงานที่เกี่ยวข้องกัน

  25. การใช้การคำนวณเชิงคณิตศาสตร์: การคำนวณแบบวิทยาศาสตร์ • แนวคิดในการวิเคราะห์อัตรากำลังโดยคำนวณหา Work Load อัตรากำลังที่ต้องการ = เวลาที่ต้องใช้ในการทำงานใน 1 ปี (WL) เวลาที่พนักงาน 1 คนมาทำงานใน 1 ปี * WL = Work Load ตัวอย่าง งานลงทะเบียนรับเอกสาร ชิ้นละ 2 นาทีเฉลี่ยวันละ 6,000 ชิ้นปีละ 240 วัน ปริมาณงาน ( แปลงเป็นนาที ) = 2 x 50 x 6,000 = 2,880,000 นาที เวลาที่พนักงาน 1 คนทำได้ใน 1 ปีคือ 115,200 นาที คำนวณอัตรากำลัง =2,880,000/115,200 = 25 คน

  26. กระบวนการศึกษากระบวนการทำงานWORKFLOW ANALYSIS TECHNIQUE การใช้การคำนวณเชิงคณิตศาสตร์: การคำนวณแบบวิทยาศาสตร์ (ต่อ) • ศึกษาการไหลของงาน (WORK FLOW) • คำนวณเวลาในการทำงานแต่ละ WORK FLOW • คำนวณอัตรากำลังจากเวลาที่ใช้ในการทำงาน

  27. แผนภูมิ การทำงาน แบบบันทึกขั้นตอนการทำงาน สำหรับงานจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน____ ฝ่ายบุคคล_______________ เครื่องหมายที่ใช้ในการเขียนแผนภูมิการทำงาน : ผู้จัดการฝ่าย ปฏิบัติการเพิ่มมูลค่า ตรวจสอบ ชี้แจง/สื่อความด้วยวาจา ผู้จัดการแผนก ตัดสินใจ/อนุมัติ ทำรายงาน/หนังสือโต้ตอบ เคลื่อนย้าย/นำส่ง พนักงาน รับเรื่องลงทะเบียน- เรียงเอกสาร เข้าแฟ้มจัดเก็บ ลักษณะการทำงานในแต่ละชิ้น 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 นาทีขั้นที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 10 9 11 26

  28. ตัวอย่าง การคำนวณอัตรากำลังของหน่วยงาน

  29. มาตรการดำเนินการหลังการวิเคราะห์อัตรากำลังมาตรการดำเนินการหลังการวิเคราะห์อัตรากำลัง • อัตรากำลังขาด • ทำ OT/ out sourcing / sub contract • สรรหาภายใน : โอนย้าย, พัฒนา • ทบทวน / ปรับวิธีการทำงาน ( REPROCESS ) • Office automation • สรรหาจากภายนอก • อัตรากำลังเกิน • เพิ่มงาน ( ENLARGE & ENRICH JOB ) • โอนย้ายไปหน่วยอื่น , พัฒนา • ลดพนักงาน

  30. เหตุผลในการ Outsource • เพื่อให้มีการใช้ต้นทุนด้านคน อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด • เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบริหารที่ไม่จำเป็น • เพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ดีกว่าเดิม • เปลี่ยนค่าใช้จ่ายคงที่ ที่ไม่จำเป็นบางตัว เป็นค่าใช้จ่ายตามความจำเป็น • เพิ่มประสิทธิภาพ / ความคล่องตัว ในการทำงาน • ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการทำงานที่ไม่ถนัด หรือ ไม่มีความพร้อม • เน้นการทำงานที่มีความถนัด • ขาดบุคลากรที่มีความชำนาญ หรือ เชี่ยวชาญด้านนั้น

  31. งานใดบ้างที่องค์กรส่วนใหญ่ใช้ระบบ Outsourcing • งานบริการทั่วไปเช่น การขนส่งสินค้า พนักงานรักษาความปลอดภัย ทำความสะอาดงานบำรุงรักษาอาคารสถานที่ เป็นต้น • งานวิชาชีพเช่น งานคอมพิวเตอร์ งานโฆษณา งานกฎหมาย งานวิศวกรรม หรืองานตรวจสอบ เป็นต้น • งานในกระบวนการผลิตและบริการของบริษัท เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิต งานดูแลและกระจายวัตถุดิบและสินค้า ศูนย์บริการข้อมูลทางโทรศัพท์ การจัดการขายปลีก งานระบบข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น

  32. กระบวนการในการ Outsourcing 1. กำหนดงานหลัก (Identify Core Business/Mission) 2. วิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย (Compare Advantage & Disadvantage) 3. หาและเลือกผู้รับเหมาให้บริการ (Select Supplier) 4. จัดการในช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transition Process) 5. ติดตามและประเมินผลงาน (Monitor & Evaluate Performance)

  33. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Factors for Successful Outsourcing) • เข้าใจเป้าหมายและกลยุทธ์ขององค์กร • คัดเลือกงานที่ไม่ใช่งานหลักขององค์กร • เลือกผู้รับช่วงงานที่มีความเชี่ยวชาญ • ระบุเงื่อนไขในสัญญารับช่วงงานชัดเจน • มีระบบการตรวจสอบคุณภาพงานที่รัดกุมและต่อเนื่อง

  34. เพื่อวางแผนอัตรากำลังให้สอดคล้องกับภาระงานจำเป็นต้องสร้างกระบวนการรวบรวมข้อมูลที่สะท้อนภาระงานจริงของหน่วยงาน ... History Forecast Today พิจารณาข้อมูลการปฏิบัติงานจริง ของพนักงานในหน่วยงาน พิจารณาอัตรากำลังปัจจุบัน พิจารณาภารกิจ/บทบาท/วิสัยทัศน์ที่องค์กร มุ่งหวังและส่งผลถึงต่อภาระงานของหน่วยงาน Based on an assessment of historical results/operation Based on long-term expectations of output from dept. • รับข้อมูลการดำเนินงานจริงของหน่วยงานในอดีต • แนวทางการปฏิบัติงานที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว • ข้อมูลเชิงปริมาณที่วัดอัตรากำลังที่ต้องการ (FTE) • เปิดโอกาสให้หน่วยงานแสดงความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะแล้วนำข้อมูลเหล่านี้มาประกอบการวิเคราะห์ • เก็บประเด็น (Issues)ที่เกี่ยวข้องกับอัตรากำลังจากผู้ปฏิบัติงาน และผู้เกี่ยวข้อง (360 องศา) • เปิดรับประเด็นที่เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ภารกิจเร่งด่วน ภารกิจหลักซึ่งส่งผลต่อความต้องการอัตรากำลัง • วิเคราะห์แนวโน้มของภาระงานจากผลผลิตที่ต้องการจากหน่วยงาน (Driver) ไม่ควรพิจารณาเพียงแค่เฉพาะข้อมูลในอดีต(Can't measure workload by just looking at history) ไม่ควรพิจารณาเพียงแค่เฉพาะภาระงานผ่านภาพในอนาคต(Can't measure workload by just looking at forecast)

  35. กรอบแนวความคิดการวิเคราะห์อัตรากำลังกรอบแนวความคิดการวิเคราะห์อัตรากำลัง FTE DRIVER B E N C H M A R K I N G ISSUE 360 DEGREE องค์ประกอบที่นำมาใช้ Strategic objective Supply Pressure มุมมองไปสู่อนาคต มุมมองอดีต มุมมองปัจจุบัน Backward-looking Spot-looking Forward-looking “Any study of manpower allocation must take many factors into consideration” Effective Manpower Planning Framework American Academy of Political and Social Science การพิจารณาอัตรากำลังด้วยการใช้เพียงวิธีการเดียว อาจเกิดความคลาดเคลื่อนขึ้นได้ จึงควรพิจารณาผ่านวิธีการที่หลากหลายและยึดโยงกันเพื่อให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

  36. กรอบแนวความคิดซึ่งใช้เป็นกระจกสะท้อนความเหมาะสมของอัตรากำลังกรอบแนวความคิดซึ่งใช้เป็นกระจกสะท้อนความเหมาะสมของอัตรากำลัง Strategic objective Supply Pressure FTE DRIVER B E N C H M A R K I N G ISSUE 360 DEGREE 1 2 3 4 5 6 สิ่งนำเข้า(Input) / ทิศทางที่กำหนด(Direction) สิ่งส่งออก(Output) / ผลสัมฤทธิ์งาน (Results) กระบวนการ(Process) • 6 ปัจจัยหลักที่นำมาเป็นกระจก 6 ด้านสะท้อนความเหมาะสมของอัตรากำลัง • Strategic objective: เพื่อให้การดำเนินการขององค์กรบรรลุผลตามพันธกิจที่ตั้งไว้ จำเป็นต้องจัดสรรอัตรากำลังตามหน่วยงานต่างๆ ให้เหมาะสมกับเป้าหมายการดำเนินการ • Supply pressure: นำประเด็นค่าใช้จ่ายบุคลากรเข้ามาร่วมในการพิจารณา เพื่อการจัดการทรัพยากรคนที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด • FTE: นำข้อมูลเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานตามกระบวนการจริง (Work process) ในอดีต • Driver: นำผลลัพธ์ที่พึงประสงค์* ของหน่วยงาน (ที่ยึดโยงกับตัวชี้วัด (KPIs) และพันธกิจขององค์กร) มายึดโยงกับจำนวนพนักงานที่ต้องใช้ สำหรับการสร้างผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ให้ได้ตามเป้าหมาย • 360°: รับเอามุมมองของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาประกอบการพิจารณา • Benchmarking: เปรียบเทียบสัดส่วนอัตรากำลังกับหน่วยงานที่มีลักษณะงานใกล้เคียงกัน 1 2 3 4 5 6

  37. ข้อมูลที่นำมาประกอบการวิเคราะห์อัตรากำลัง ได้ใช้ทั้งข้อเท็จจริงและทัศนะจากหน่วยงานปฏิบัติจริง แบบฟอร์มสอบถามมุมมองด้านอัตรากำลัง 360° Perspective Questionnaire แบบฟอร์มเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์อัตรากำลัง Data Collection Sheet FORM1 FORM2 Drivers เป็นข้อคิดเห็นรวบยอดจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งช่วยให้เห็นประเด็นที่น่าสนใจนอกเหนือจากข้อมูลการปฏิบัติงานทั่วไป และยังช่วยสะท้อนความคิดเห็นในภาพรวมของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานได้อย่างชัดเจนด้วย เป็นข้อเท็จจริงการปฏิบัติงานซึ่งได้รับจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพกว้างและภาพย่อยที่เกี่ยวข้องกับภาระงานอันจะนำไปใช้วิเคราะห์อัตรากำลังได้ใกล้เคียงกับค่าที่เหมาะสมมากที่สุด

  38. แบบฟอร์มสอบถามมุมมองด้านอัตรากำลังแบบฟอร์มสอบถามมุมมองด้านอัตรากำลัง ประเด็นที่สอบถามเกี่ยวกับอัตรากำลัง • ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพโดยการปรับปรุงกระบวนงาน/หน้าที่รับผิดชอบในหน่วยงาน • ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกฎ/ข้อบังคับ/ระเบียบ/วิธีปฏิบัติในหน่วยงานที่เป็นอุปสรรคหรือลดทอนประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ซึ่งสมควรพิจารณาแก้ไขเพื่อช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้สูงยิ่งขึ้น • ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงาน/หน้าที่รับผิดชอบใน อปท. ที่ซ้ำซ้อนกัน และน่าจะมีการแก้ไขเพื่อให้ประสิทธิภาพโดยรวมสูงขึ้น • ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงาน/หน้าที่รับผิดชอบในองค์กรที่สมควรจัดจ้างหน่วยงาน/บุคคลภายนอกดำเนินการแทน(Outsourcing)/หรือจ้างเป็นพนักงานราชการแทนที่จะกำหนดเป็นข้าราชการ • ทัศนะเกี่ยวกับทิศทางการปรับอัตรากำลังในแต่ละหน่วยงานพร้อมเหตุผลหรือข้อเท็จจริง ตัวอย่าง พิจารณาหน่วยงานของตัวเอง พิจารณาหน่วยงานอื่น

  39. แบบบรรยายหน้าที่ รับผิดชอบของหน่วยงาน (Functional Description) แบบบรรยายหน้าที่รับผิดชอบของ ตำแหน่งงาน (Job Description) ตัวชี้วัดของหน่วยงาน (KPIs) ผลการปฏิบัติงาน/ดำเนินงานในอดีต และเป้าหมายในอนาคต ประสบการณ์และ ความเข้าใจในงาน แบบฟอร์มเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์อัตรากำลัง แหล่งข้อมูล ให้ข้อมูลในภาพระดับหน่วยงานว่าต้องรับผิดชอบต่อผลลัพธ์/ผลงานใดบ้าง ให้ข้อมูลในรายละเอียดแต่ละตำแหน่งงานว่ามีส่วนรับผิดชอบต่อผลลัพธ์/ผลงานของหน่วยงานในส่วนใด ให้ข้อมูลว่าผลงาน/หน้าที่รับผิดชอบนั้น ถูกวัดผลหรือถูกชี้ระดับความสำเร็จด้วยอะไร ให้ข้อมูลเชิงสถิติและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของผลการดำเนินงานซึ่งช่วยให้การวิเคราะห์อัตรากำลังสอดคล้องกับความสำเร็จของผลงานยิ่งขึ้น ให้ข้อมูลจริงในการปฏิบัติงานซึ่งช่วยให้ ที่ปรึกษาเข้าใจการดำเนินงานดีขึ้น พร้อมทั้งช่วยบ่งชี้ภาระงานอันนำไปสู่การวิเคราะห์อัตรากำลังด้วย ความสำคัญ แบบฟอร์ม เป็นข้อมูลหลักที่ได้โดยตรงจากตัวแทนของหน่วยงานกว่าร้อยละ 90 ถึงแม้ว่าบางส่วนอาจมีความคลาดเคลื่อนจากมาตรฐาน, ความแตกต่างจากความเข้าใจของปัจเจกบุคคล, บริบทเฉพาะหน่วยงาน, ศักยภาพของเจ้าหน้าที่แต่ด้วยปริมาณและการกระจายตัวของข้อมูล จะช่วยลดทอนความขาดเคลื่อนดังกล่าวลงได้ P5 P95 R

  40. รายการปัจจัยขับเคลื่อนอัตรากำลังแนวทางในการกำหนดปัจจัยขับเคลื่อนอัตรากำลังอย่างเหมาะสมรายการปัจจัยขับเคลื่อนอัตรากำลังแนวทางในการกำหนดปัจจัยขับเคลื่อนอัตรากำลังอย่างเหมาะสม ปัจจัยที่เป็นไปได้ทั้งหมด การพิจารณา ปัจจัยขับเคลื่อนอัตรากำลังที่เหมาะสม สะท้อนภาระงาน/ความซับซ้อน/เวลาที่ใช้ ครอบคลุมหน้าที่รับผิดชอบ (เกิน 80%) 1 2 พิจารณาทีละปัจจัยฯ 3 ขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบ/มีการเก็บบันทึก (Traceable) ขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบ /มีการเก็บบันทึก (Traceable) สามารถหาข้อมูลได้ (Availability) หากปัจจัยทับซ้อนหรือใกล้เคียงกันให้เลือกเพียงปัจจัยเดียว เช่น จำนวนรายผู้ยื่นแบบฯ จำนวนเงินภาษีรวมที่ยื่นแบบฯ เลือกเฉพาะจำนวนรายผูยื่นแบบฯ เนื่องจากสะท้อนภาระงานได้ชัดเจนกว่า การพิจารณาเฉพาะปริมาณงานในบางครั้งอาจคาดเคลื่อนจากรายที่ใหญ่มากได้ ไม่เลือก หากเป็นข้อมูลที่ยากต่อการจัดเก็บ หรือไม่มีระบบที่รองรับการตรวจดู (Monitoring) ในปัจจุบัน หรือยากต่อการหา/ได้มาซึ่งข้อมูล (Untraceable) ปัจจัยทั้งหมดควรสะท้อนภาระงานได้ประมาณ 80% ขึ้นไป แต่ไม่มีความจำเป็นต้องสะท้อนขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบทั้งหมด (Pareto 80:20) 1 2 3 โดยสรุปการกำหนดปัจจัยขับเคลื่อนอัตรากำลังนั้นควรพิจารณาถึงความครบถ้วน สามารถหาข้อมูลได้ สะท้อนภาระงาน มีผลต่อความต้องการอัตรากำลัง และเชื่อมโยงกับพันธกิจของ อปท. *หมายเหตุ ปัจจัยทั้งหมดคิดเป็นค่ารายปี โดยใช้ข้อมูลแห่งปี 2008 เป็นค่าสำหรับคำนวณอัตรากำลัง

  41. + Constant + + + MF1 F1 MF2 F2 MF3 F3 > 80% MP-model รายละเอียดเครื่องมือ/กระบวนการที่ใช้ในการพิจารณาอัตรากำลังปัจจัยขับเคลื่อนอัตรากำลังสำหรับสร้างต้นแบบอัตรากำลัง (Manpower-driven model) แนวคิดและ คำอธิบาย ส่วนจัดการ/บริหาร ค่าคงที่ เป็นค่าที่อาจแตกต่างกันในแต่ละหน่วยงาน MF เป็นตัวคูณค่าปัจจัยเป็นจำนวนที่นำมาคูณกับค่าปัจจัยเพื่อหาอัตรากำลัง F เป็นค่าแปรผันตามปัจจัยขับเคลื่อน สามารถมีปัจจัยได้มากกว่า หรือน้อยกว่า 3 ปัจจัยได้ ปัจจัยเชิงโครงสร้าง ส่วนปฏิบัติการ ปัจจัย/ประเด็นเฉพาะ ส่วนปฏิบัติการคำนวณจากต้นแบบอัตรากำลัง (MP-model) ปัจจัยขับเคลื่อนอัตรากำลัง รูปสมการ คณิตศาสตร์ (Mathematics model) MF: Multiplicative factor ตัวคูณค่าปัจจัย F: Factor value ค่าปัจจัย i: 1, 2, 3 … n: จำนวนปัจจัยทั้งหมดที่ประกอบในการคำนวณ n  Constant + (MFn * Fn) MP-model  i=1 ประเด็น หารือ ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์และให้ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ “ข้อเสนอรายการปัจจัย (F) สำหรับการวิเคราะห์อัตรากำลัง” หมายเหตุ: จำนวนปัจจัยมาก-น้อยมิได้มีผลต่ออัตรากำลัง

  42. องค์ประกอบที่นำมาใช้ส่งผลต่อการวิเคราะห์อัตรากำลังอย่างไรองค์ประกอบที่นำมาใช้ส่งผลต่อการวิเคราะห์อัตรากำลังอย่างไร คำอธิบายแต่ละองค์ประกอบ • Strategic objective: เพื่อให้การดำเนินการของ อปท. บรรลุผลตามพันธกิจที่ตั้งไว้ จำเป็นต้องจัดสรรอัตรากำลังตามหน่วยงานต่างๆ ให้เหมาะสมกับเป้าหมายการดำเนินการ • Supply pressure: นำประเด็นค่าใช้จ่ายพนักงานเข้ามาร่วมในการพิจารณาเพื่อการจัดการทรัพยากรพนักงานที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด • FTE: นำข้อมูลเวลาที่ใช้ในการดำเนินการจริงในอดีต มาประกอบการพิจารณา • Driver: นำผลลัพธ์ที่พึงประสงค์* ของหน่วยงาน (ที่ยึดโยงกับตัวชี้วัด (KPIs) และพันธกิจของ อปท. ) มายึดโยงกับจำนวนพนักงานและค่าใช้จ่ายพนักงานที่ต้องใช้ สำหรับการสร้างผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ให้ได้ตามเป้าหมาย • 360°:รับเอามุมมองของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาประกอบการพิจารณา • Benchmarking: เปรียบเทียบสัดส่วนอัตรากำลังกับหน่วยงานที่มีลักษณะงานใกล้เคียงกัน มาประกอบการพิจารณา Success Story ตัวอย่างรัฐวิสาหกิจไทยที่ใช้แนวทางการวางแผนอัตรากำลังในลักษณะใกล้เคียงกันนี้ไปใช้และประสบความสำเร็จ Problem:อัตรากำลังมีอัตรากำลังลูกจ้างเกินความจำเป็น ขาดการเตรียมทดแทนพนักงานที่เกษียณจำนวนมาก และขาดแคลนพนักงานในสายงานหลักขององค์กร Approach:วิเคราะห์ผลงาน/ผลสัมฤทธิ์ จัดสรรหน้างานในแต่ละหน่วยงานให้สะท้อนการปฏิบัติงานจริง วางอัตรากำลังให้ตามความต้องการของหน้าที่รับผิดชอบหลักของหน่วยงาน Recommendations:เสนอให้ปรับอัตรากำลังส่วนลูกจ้างใหม่ ดึงงานธุรการอำนวยการมาบูรณาการกัน เสนอให้มีสายงานที่ตรงกับหน้าที่รับผิดชอบจริงยิ่งขึ้น Results:ด้วยกระบวนการดำเนินงานที่รับฟังความคิดเห็นจากพนักงานในทุกๆ หน่วยงานผลการศึกษาจึงเป็นที่ยอมรับ สามารถลดจำนวนลูกจ้างได้กว่า 25% ประหยัดต้นทุนพนักงานไม่น้อยกว่าพร้อมทั้งเพิ่มพนักงานในส่วนหน้างานหลักขององค์กรด้วย * ที่ขีดเส้น คือผลของข้อมูลที่จะจัดสัมมนาเพื่ออธิบายการเก็บ

More Related