1 / 46

สรุปสาระสำคัญและผลของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1

สรุปสาระสำคัญและผลของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1. นายกมลพันธ์ เกิดมั่น 4508001 นางสาวกมลรัตน์ ช้างทอง 4508002. ความเป็นมาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทย. รัฐบาลได้มีการจัดตั้ง สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้น ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2502

Télécharger la présentation

สรุปสาระสำคัญและผลของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สรุปสาระสำคัญและผลของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 นายกมลพันธ์ เกิดมั่น 4508001 นางสาวกมลรัตน์ ช้างทอง 4508002

  2. ความเป็นมาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทยความเป็นมาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทย • รัฐบาลได้มีการจัดตั้ง สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้น ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2502 • มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1มกราคม 2504 จนถึงปี 2509 รวมระยะเวลา 6 ปี มีการแบ่งระยะเป็น 2 ระยะ • จัดทำโครงการและการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจในระยะแรก (พ.ศ. 2504 – 2506) ส่วนใหญ่ยังไม่มีความพร้อม • เพื่อใช้ข้อมูลในระยะแรกในการปรับปรุงวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจในระยะที่สอง (พ.ศ. 2507 – 2509)

  3. วัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 เป็นการยกมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้มีระดับสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย การระดม และใช้ทรัพยากรเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเพื่อขยายการผลิตและเพิ่มพูนรายได้ประชาชาติให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

  4. สาระสำคัญในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 • เป้าหมายส่วนรวมที่จะเพิ่ม และมีรายได้ประชาชาติคิดเฉลี่ย ต่อคนเพิ่มขึ้นในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ต่อปี • เพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณของการผลิตพืชผลเกษตรกรรม รวมทั้งการสงวนป่า

  5. สาระสำคัญในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1(ต่อ) • นโยบายหลักของการพัฒนา ได้แก่ การดำเนินงานของรัฐเพื่อส่งเสริมกิจกรรมในทางเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น • โครงการดำเนินงานทางด้านการเกษตร ได้แก่ โครงการชลประทาน โครงการสงวนป่าไม้ โครงการปรับปรุงและส่งเสริมการผลิตพืชผล รวมทั้งโครงการปรับปรุงพันธุ์ยาง สนับสนุนการดำเนินงานในรูปแบบสหกรณ์

  6. นโยบายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (ภาคเกษตร) • เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตและการส่งออก ปรับปรุงคุณภาพของผลิตผลการเกษตรที่สำคัญและขยายประเภทการผลิตการเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มรายได้ประชาชาติส่วนรวมและรายได้ของเกษตรกร • เพื่อปรับปรุงวิธีการผลิตตามแผนใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่และรายได้จากการผลิตการดำเนินงานส่วนของรัฐจะต้องให้ได้ผลตกถึงมือเกษตรกรอย่างแท้จริงและให้เกษตรกรมีส่วนร่วมมือและช่วยตนเองให้มากที่สุด

  7. นโยบายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (ภาคเกษตร) (ต่อ) • การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นคุณค่าในการเกษตร อันได้แก่เนื้อที่ดิน ป่าไม้ น้ำและอื่นๆ เพื่อให้นำมาใช้ให้ได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยแท้จริงและถาวร โดยคำนึงถึงหลักอนุรักษ์ • เพื่อปรับปรุงระบบสังคมของเกษตรกรให้เกษตรกรมีฐานะการครองชีพและสวัสดิการดียิ่งขึ้น มีความสามัคคีขยันขันแข็งและร่วมมือกับรัฐยิ่งขึ้น

  8. นโยบายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (ภาคเกษตร) (ต่อ) • การส่งเสริมอาชีพเกษตรกรให้เป็นอาชีพได้รับความนิยมในด้านเศรษฐกิจและสังคม และส่งเสริมการเกษตรให้เป็นอาชีพที่ให้ผลตอบแทนสูง • เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนจากการลงแรงลงทุนของตนโดยชอบธรรม ป้องกันมิให้เกษตรกรเสียเปรียบในเรื่องการตลาด การเช่าที่ดิน และการกู้เงินเอกชน

  9. ผลของแผนพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 • ภาคการเกษตร • อัตราการขยายตัวภาคเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยร้อยละ 7.2 ต่อปี • อัตราการขยายตัวภาคการเกษตรโดยเฉลี่ยร้อยละ 4.6 ต่อปี จากเป้าหมายร้อยละ 3 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการขยายตัวทางด้านเนื้อที่เพาะปลูกและการพัฒนาในด้านการชลประทานเป็นสำคัญ • มีการกระจายการผลิตไปสู่พืชเศรษฐกิจหลายชนิดเพิ่มขึ้นโดยไม่ได้มีเพียงพืชเศรษฐกิจหลักๆอย่างที่เคยเป็นอยู่

  10. ผลของแผนพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (ต่อ) • ด้านการส่งออกมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8.7 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ประมาณ 2 เท่าตัว โดยมีสินค้าหลัก เช่น ข้าว ยางพารา ดีบุก และไม้สัก แต่มีแนวโน้มสัดส่วนที่ลดลง • ด้านการส่งเสริมการปรับปรุงงานวิจัย ได้จัดตั้งศูนย์การเกษตรขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง รวมทั้งสถาบันวิจัยต่างๆ • ด้านปศุสัตว์ เน้นการบำรุงพันธุ์สัตว์ การป้องกันกำจัดโรคระบาด ส่งเสริมการขยายการเลี้ยงสัตว์

  11. ผลของแผนพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (ต่อ) • ด้านป่าไม้ ส่งเสริมและวิจัย บำรุงพื้นที่ป่า มีปริมาณไม้ที่ผลิตได้เฉลี่ยปีละ 3.4 ล้านลบ.ม. แต่ต้องการใช้ 4.13 ล้านลบ.ม. • ด้านการส่งเสริมสถาบันเกษตรกร สนับสนุนการตั้งสถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ และธนาคารเพื่อการเกษตรในปี 2509 เพื่อเป็นแหล่งสินเชื่อให้แก่เกษตรกร

  12. ผลของแผนพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (ต่อ) • ด้านการชลประทาน

  13. ผลของแผนพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (ต่อ) ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย

  14. ผลของแผนพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (ต่อ) ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  15. ผลของแผนพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (ต่อ) ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  16. สรุปผลของแผนพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 • โดยรวมประสบความสำเร็จเกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้ดังนี้ • อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7.2 ต่อปี • ผลผลิตด้านการเกษตรขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.6 เทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 3 ต่อปี • รายได้เฉลี่ยต่อคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี • มูลค่าสินค้าออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ต่อปี สินค้าเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 ต่อปี

  17. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ.2510-2514 โดย นาย กิจมลเทียน สละเต็ม 4508004 นาย ชวลิต อินแดง 4508009

  18. สาระสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่2 ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ลักษณะของการวางแผนย่อมคล้ายคลึงกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 คือ ได้รับการปรับปรุงให้เป็นแผนที่มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ด้วยการมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการพัฒนาสังคม และได้มีการขยายขอบเขตการพัฒนาออกไปให้กว้างขวางกว่าเดิมโดยได้รวมเอาเรื่องการพัฒนากำลังคน พัฒนาองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเพิ่มเติมเข้าไปด้วย

  19. วัตถุประสงค์ 1. ระดมทรัพยากรของประเทศมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจให้ได้ผลถึงมือประชาชนโดยทั่วกัน 2. ส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งความเป็นธรรมของสังคม เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบสังคม 3. รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และทางการเงิน การคลังของประเทศ 4. สนับสนุนให้มีการรักษาความมั่นคงของชาติ

  20. นโยบาย 1. เพิ่มกำลังการผลิตของประเทศและรายได้ประชาชาติ เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพและรายได้ของประชาชน และส่งเสริมให้ประชาชนได้รับผลจากการพัฒนาโดยเสมอภาคและทั่วถึงยิ่งขึ้น 2. ปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศให้มีรากฐานที่มั่นคง และมีความสมดุลระหว่างสาขาการผลิตต่าง ๆ ยิ่งขึ้น 3. พัฒนากำลังคนด้วยการขยายการมีงานทำให้มากขึ้น และพัฒนาแรงงานในระดับต่าง ๆ ให้มีฝีมือยิ่งขึ้น 4. ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเน้นหนักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ๆ

  21. นโยบาย(ต่อ) 5. สนับสนุนความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาการด้านประยุกต์ 6. พัฒนาระบบสังคมให้ก้าวหน้าและมีความเสมอภาคยิ่งขึ้น 7. รักษาเสถียรภาพทางการเงินการคลังเพื่อป้องกันเงินเฟ้อ ส่งเสริมการออมทรัพย์ และการลงทุนของเอกชนกับหาทางเพิ่มรายได้ของรัฐยึดถือหลักความเป็นธรรมในสังคม 8. ดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้สอดคล้องกับนโยบายรักษาความมั่นคงของชาติ 9. เร่งรัดการพัฒนาโครงการที่มีลำดับความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมภายใต้ข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรของประเทศ

  22. จุดเด่นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 ทางหลวง รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายในการปรับปรุงยกระดับมาตรฐานของ ถนนให้สูงขึ้นพร้อมทั้งการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายใหม่ในภูมิภาค ต่างๆ เพิ่มขึ้นอีก 9,881 กิโลเมตร ชลประทาน พัฒนาการชลประทานให้มีเนื้อที่ชลประทานเพิ่มขึ้นจาก 11.7 ล้าน ไร่เป็น 15 ล้านไร่ ในปี 2514 หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 3.3 ล้านไร่

  23. จุดเด่นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2(ต่อ) สาธารณูปการ รัฐบาลได้เร่งรัดจัดหาและขยายกิจการประปาของรัฐ ให้สามารถผลิต น้ำประปาเพิ่ม ขึ้นได้อีกวันละ 260,000 ลูกบาศก์เมตร ในเขตเทศบาลและ สุขาภิบาล รวมทั้งขยายการบริการน้ำประปาในเขตนครหลวงให้เพิ่มขึ้นอีกวันละ 207,000 ลูกบาศก์เมตร รวมเป็น 382,000 ลูกบาศก์เมตร ในปี 2514 ส่วนในเขตชนบทให้มีการจัดหาน้ำสะอาดแก่หมู่บ้านต่างๆ ในชนบท รวม 20,000 หมู่บ้าน

  24. ผลการพัฒนา ได้มีผลทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งวัดโดย มวลรวมผลิตภัณฑ์ในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 101,374.7 ล้านบาทในปี 2509 อันเป็นปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 มาเป็น 153,417 ล้านบาทในปี 2514 หรือ เพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 7.25 ต่อปีโดยเฉลี่ยตลอดระยะเวลา 5 ปี ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือร้อยละ 8.5

  25. อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย

  26. ภาคการเกษตร ผลผลิตด้านการเกษตรกรรมมีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 3.7 ต่อปีโดย เฉลี่ย ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ร้อยละ 4.3 ต่อปีเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ด้วยเหตุผลหลายประการ คือ 1. การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตยังไม่อยู่ในขั้นที่ดีพอ 2. การขยายตัวของการผลิตส่วนใหญ่เนื่องมาจากการขยายเนื้อที่เพาะปลูก รวมถึงการบุกเบิกที่ดินใหม่มากกว่าการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ 3. การใช้บริการจากโครงการขั้นพื้นฐานของรัฐโดยเฉพาะด้านชลประทาน ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะขาดขบวนการส่งเสริมระบบส่งน้ำ และการใช้น้ำยัง ไม่มีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่

  27. ภาคการเกษตร(ต่อ) 4. การวางแผนและการบริหารงานของหน่วยราชการต่าง ๆ ยังขาด ประสิทธิภาพในการประสานงานในนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ใน ขณะเดียวกันความต้องการการผลิตผลเกษตรภายในและต่างประเทศที่ ลดลง ทำให้ระดับราคาสินค้าเกษตรลดต่ำลงมีผลให้การเกษตรในระยะ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 ขยายตัวอยู่ในอัตราค่อนข้างช้า 5. ประการสุดท้ายการพัฒนาการเกษตรยังขึ้นอยู่กับนโยบายการพัฒนาของ ระบบเศรษฐกิจส่วนรวมอีกด้วย เนื่องจากประเทศไทยมีนโยบายกระจายกำลัง การผลิตไปสู่สาขาเศรษฐกิจอื่นให้มากขึ้น

  28. ตารางอัตรารายได้ประชาชาติต่อคนตารางอัตรารายได้ประชาชาติต่อคน ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย

  29. ตารางเปรียบเทียบอัตรารายได้ประชาชาติตารางเปรียบเทียบอัตรารายได้ประชาชาติ ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย

  30. สรุปสาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 3ภาคการเกษตรและชนบท • วัตถุประสงค์และนโยบาย 1. ยกระดับรายได้ ระดับการครองชีพและฐานะทางเศรษฐกิจสังคมของเกษตรกร 2. ส่งสินค้าขาออกให้มากยิ่งขึ้น 3. ลดการว่างงานและการทำงานไม่เต็มที่ของเกษตรกรลดลง 4. สนับสนุนให้เกษตรกรรวมตัวกันเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง และของประเทศส่วนรวม โดย ชุติภรณ์ ช่อทอง 4508010 นงคราญ ประมูล 4508016

  31. แนวทางพัฒนา 1. ให้การพัฒนาการเกษตรมีความสำคัญเป็นอันดับแรก 2. การพัฒนาชนบทกับพัฒนาการเกษตรจะต้องทำควบคู่กันไป 3. ตั้งเขตส่งเสริมขึ้นและวางแผนในระดับท้องที่ 4. การวางแผนการเกษตรต้องยึดเป้าหมายในการจำหน่ายเป็นหลัก 5. การกระจายประเภทการผลิตและปรับปรุงระบบการผลิต 6. เร่งรัดการเกษตรชลประทาน 7. สนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มเป็นสถาบันการเกษตรและรับผิดชอบในการจัดการสถาบันของตนเอง

  32. แนวทางพัฒนา(ต่อ) 8 ส่งเสริมบทบาทของเอกชนที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมที่ใช้ผลิตผลการเกษตร 9. เพิ่มปัจจัยที่ใช้ในการผลิต เช่น ที่ดิน ปุ๋ย อุปกรณ์ เครื่องทุ่นแรง และสินเชื่อการเกษตรให้แก่เกษตรกร 10.อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อประโยชน์แก่การเกษตรในอนาคต 11.การส่งเสริมการศึกษาและฝึกอบรมในชนบท 12.ปรับปรุงการบริหารของรัฐในด้านการเกษตร

  33. เป้าหมายการพัฒนาเกษตรเป้าหมายการพัฒนาเกษตร • อัตราเพิ่มโดยเฉลี่ยของผลิตผลที่สำคัญ(เปรียบเทียบกับแผน 2) -เกษตรกรรม ข้าว เพิ่มร้อยละ 1.6 ยาง เพิ่มร้อยละ 5.1 มันสำปะหลัง ร้อยละ 6.4 -ปศุสัตว์ สุกร เพิ่มร้อยละ 4.5 -ประมง กุ้ง เพิ่มร้อยละ 13.1 -ป่าไม้ ไม้สักเพิ่มร้อยละ 4.0

  34. โครงการพัฒนาการเกษตร • โครงการเร่งรัดการผลิตและการจำหน่าย ผลผลิต 6 ประเภท คือ ข้าวโพด หม่อนไหม กุ้ง ปศุสัตว์ มะพร้าว ถั่วเหลือง • โครงการพัฒนาการเกษตรสาขาต่างๆ -การวิจัยด้านเพาะปลูก -โครงการวิจัยที่สำคัญ แผนงานเศรษฐกิจการเกษตร ด้านกสิกรรมแผนงานสำรวจค้นคว้าวิจัย,แผนงานพืชเศรษฐกิจ

  35. -โครงการส่งเสริมการเกษตร-โครงการส่งเสริมการเกษตร 1.แผนงานส่งเสริมพืชเศรษฐกิจ 2.แผนงานส่งเสริมการผลิตข้าว 3.แผนงานป้องกันกำจัดศัตรูพืช 4.แผนงานส่งเสริมสถาบันเกษตรกร 5. แผนงานอบรมและเผยแพร่ • การประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • การปศุสัตว์ • กรมป่าไม้ • การพัฒนาที่ดิน

  36. นโยบายและมาตรการต่างๆนโยบายและมาตรการต่างๆ • การสหกรณ์สนับสนุนให้มีการจัดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตรแบบเอนกประสงค์ • สถาบันเกษตรกรเช่น สมาคม กลุ่มเกษตรกร

  37. การเร่งรัดพัฒนาชนบทด้านการเกษตรการเร่งรัดพัฒนาชนบทด้านการเกษตร • โครงการ ร.พ.ช. ที่สำคัญ -แผนงานพัฒนาขั้นพื้นฐาน -แผนงานเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจของเกษตรกร • การช่วยเหลือเกษตรกร การเพิ่มผลผลิตพยุงราคาข้าวสินเชื่อเพื่อการเกษตร • การตลาดการเกษตร

  38. แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สี่(พ.ศ. 2520 - 2524) นางสาวนิตยา สง่างาม 4508020 นายปฏิภาณ ทรงยั่งยืนกุล 4508023 โดย นิตยา สง่างามวงศ์ 4508020 ปฏิภาณ ทรงยั่งยืนกุล 4508023

  39. แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สี่(พ.ศ. 2520 - 2524) วัตถุประสงค์หลัก - เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ - เพื่อลดช่องว่างในฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมในหมู่ประชาชนให้ลดน้อยลง - เพื่อลดอัตราเพิ่มและปรับปรุงคุณภาพของประชากรตลอดทั้งการเพิ่มการจ้างงานใน ประเทศ - เพื่อเร่งบูรณะและปรับปรุงการบริหารทรัพยากรหลักตลอดทั้งสิ่งแวดล้อมของชาติ - เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถในการป้องกันประเทศและแก้ปัญหา ในบางพื้นที่เพื่อความมั่นคง

  40. เป้าหมายส่วนรวมและเงื่อนไขการพัฒนาที่สำคัญๆ ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 เป้าหมายการเกษตร - ให้ขยายตัวโดยเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 5.0 ต่อปีเน้นการปรับปรุงโครงสร้างการผลิตภายในสาขาเกษตรเอง - ประการแรกได้แก่ การเพิ่มผลผลิตและเร่งปลูกพืชหมุนเวียน ได้แก่ ข้าวนาปรัง ข้าวโพด ถั่ว ข้าวฟ่าง อ้อย ปอ ยาสูบ ฝ้าย และยางพารา - ประการที่สองได้แก่ การเร่งกระจายการผลิตด้านการเกษตร โดยเฉพาะเพื่อการปศุสัตว์ ประมงชายฝั่ง ส่วนพืชเศรษฐกิจที่ยังมีช่องทางกระจายได้มาก ได้แก่ มะพร้าว หม่อนไหม พืชน้ำมัน ผักและผลไม้นั้นก็จะได้ทำการเร่งจัดให้เพิ่มผลผลิตขึ้นด้วย

  41. เป้าหมายการเพิ่มของปริมาณสินค้าออกที่สำคัญเป้าหมายการเพิ่มของปริมาณสินค้าออกที่สำคัญ

  42. เป้าหมายการเพิ่มของปริมาณสินค้าเข้าแยกตามประเภทใหญ่ๆเป้าหมายการเพิ่มของปริมาณสินค้าเข้าแยกตามประเภทใหญ่ๆ ในด้านบริการนำเข้านั้นประมาณให้มูลค่าเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 11.1 ต่อปี ในราคาตลาด ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าด้านบริการส่งออก โดยมีมาตรการให้การขนส่งสินค้าหันมาใช้บริการของประเทศเองมากขึ้น

  43. เป้าหมายประชากรและการมีงานทำเป้าหมายประชากรและการมีงานทำ - เป้าหมายประชากร กำหนดให้อัตราการเพิ่มประชากรลดลงให้เหลืออย่างน้อยไม่เกินร้อยละ 2.1 ในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 ซึ่งขณะนั้นกะประมาณว่าประเทศจะมีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 48.2 ล้านคน - เป้าหมายการสร้างงานเพิ่ม กำหนดเป้าหมายไว้อย่างน้อยประมาณ 2.2 ล้านตำแหน่งในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 - เป้าหมายการมีงานทำในเมือง ให้มีอัตราเพิ่มของปริมาณการมีงานทำในเมืองเฉลี่ยร้อยละ 4.6 ต่อปีในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 - เป้าหมายการมีงานทำในชนบท ให้มีอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 2.0 ต่อปี ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4

  44. แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนในชนบทแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนในชนบท • เน้นการพัฒนาในเขตพื้นที่ตามรูปแบบราชการบริหารส่วนท้องถิ่น อันได้แก่ เทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด • วางแนวทางเพื่อปูพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหา-กษัตริย์เป็นประมุขเพื่อให้ประชาชนในชนบทเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยอย่างเป็นขั้นตอน • ส่งเสริมโครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเองให้เป็นกำลังที่มีความสำคัญในการป้องกันและรักษาความปลอดภัยทั้งทางด้านการเมืองและการปกครอง • สนับสนุนให้มีการวางแผนพัฒนาจากราชการบริหารส่วนท้องถิ่นทุกระดับขึ้นมา อันแสดงถึงความต้องการที่แท้จริงของประชาชน • ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติกฎกระทรวงและข้อบังคับต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และแนวทางการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น

  45. แนวทางการพัฒนาหลัก • เร่งขยายการผลิตสาขาเกษตรให้ได้โดยเฉลี่ยถึงร้อยละ 5.0 ต่อปีเป็นอย่างต่ำ • ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมให้สามารถขยายการผลิตเพื่อการส่งออก และเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สามารถสนับสนุนการกระจายรายได้และเพิ่มการมีงานทำในส่วนภูมิภาค • วางแผนเร่งรัดการส่งออกและแผนการผลิตทดแทนการนำเข้าเพื่อปรับปรุงการค้ากับต่างประเทศให้เชื่อมโยงกับแนวทางการผลิตภายในประเทศ • กำหนดแนวทางการพัฒนาภาคและการกระจายการพัฒนาเมืองหลักขึ้นในส่วนภูมิภาคให้มีแผนอย่างชัดเจน • เร่งขยายและกระจายบริการเศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน

  46. แนวทางการพัฒนาหลัก (ต่อ) • สนับสนุนและเร่งรัดแผนงานในการลดอัตราเพิ่มประชากรจากร้อยละ 2.5 ในสิ้นปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 (2519) ให้เหลือร้อยละ 2.1 ในปลายปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 (2524) • วางแนวการขยายและการกระจายบริการสังคมให้ไปถึงมือประชาชนในชนบทอย่างกว้างขวาง • วางแนวทางการพัฒนาเสถียรภาพทางสังคมของชาติให้มั่นคงยิ่งขึ้น • กำหนดแนวทางการบูรณะและบริการจัดสรรทรัพยากรเศรษฐกิจหลักและแนวทางการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของประเทศ • วางแผนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

More Related