1 / 28

ผศ.ดร.ศศิธร สุวรรณเทพ กรรมการเครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย (ผู้แทนเครือข่ายภาคกลางตอนล่าง)

คู่มือ/ แนวปฏิบัติในการพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. ผศ.ดร.ศศิธร สุวรรณเทพ กรรมการเครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย (ผู้แทนเครือข่ายภาคกลางตอนล่าง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วันที่ 1 – 2 เมษายน 2553

Télécharger la présentation

ผศ.ดร.ศศิธร สุวรรณเทพ กรรมการเครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย (ผู้แทนเครือข่ายภาคกลางตอนล่าง)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คู่มือ/ แนวปฏิบัติในการพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ผศ.ดร.ศศิธร สุวรรณเทพ กรรมการเครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย (ผู้แทนเครือข่ายภาคกลางตอนล่าง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วันที่ 1 – 2 เมษายน 2553 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

  2. ประเด็นนำเสนอ • ความสำคัญของวิชาศึกษาทั่วไป • วัตถุประสงค์ของวิชาศึกษาทั่วไป • แนวคิดหลักในการกำหนดวัตถุประสงค์ของวิชาศึกษาทั่วไป • แนวคิดในการพัฒนาหมวดวิชา/รายวิชาศึกษาทั่วไปที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ • การบริหารจัดการหมวดวิชา/รายวิชาศึกษาทั่วไป • ผลการเรียนรู้หมวดวิชา/รายวิชาศึกษาทั่วไป • แนวคิดการจัดทำรายละเอียดหมวดวิชา/รายวิชาศึกษาทั่วไป • การจัดทำแผนที่การกระจายความรับผิดชอบของหมวดวิชา/รายวิชาศึกษาทั่วไป • การนำเสนอเพื่อรับทราบการให้ความเห็นชอบหมวดวิชา/รายวิชาศึกษาทั่วไป • การประเมินผลหมวดวิชา/รายวิชาศึกษาทั่วไป

  3. ความสำคัญของวิชาศึกษาทั่วไปความสำคัญของวิชาศึกษาทั่วไป สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้ความหมายของ “หมวดวิชาศึกษาทั่วไป”ว่า “วิชาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล มีความเข้าใจในธรรมชาติ ตนเอง ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถคิดอย่างมีเหตุผล สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารความหมายได้ดี เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีคุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมทั้งของไทยและของประชาคมนานาชาติ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี “สถาบันอุดมศึกษาอาจจัดวิชาศึกษาทั่วไปในลักษณะจำแนกเป็นรายวิชา หรือลักษณะบูรณาการใด ๆ ก็ได้ โดยผสมผสานเนื้อหาวิชาที่ครอบคลุมสาระของกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภาษา และกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของวิชาศึกษาทั่วไป โดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต” (ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2548, 25 พฤษภาคม 2548)

  4. ความสำคัญของวิชาศึกษาทั่วไป (ต่อ) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 (อ้างแล้ว, 25 พฤษภาคม 2548) ระบุถึงการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ว่า “วิชาศึกษาทั่วไป มีเจตนารมณ์เพื่อเสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยให้ศึกษารายวิชาต่าง ๆ จนเกิดความซาบซึ้งและสามารถติดตามความก้าวหน้าในสาขาวิชานั้นได้ด้วยตนเอง การจัดการเรียนการสอนควรจัดให้มีเนื้อหาวิชาที่เบ็ดเสร็จในรายวิชาเดียว ไม่ควรมีรายวิชาต่อเนื่องหรือรายวิชาขั้นสูงอีก และไม่ควรนำรายวิชาเบื้องต้นหรือรายวิชาพื้นฐานของวิชาเฉพาะมาจัดเป็นวิชาศึกษาทั่วไป”

  5. วัตถุประสงค์ของวิชาศึกษาทั่วไปวัตถุประสงค์ของวิชาศึกษาทั่วไป ที่มา :ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2550)

  6. แนวคิดหลักในการกำหนดวัตถุประสงค์ของวิชาศึกษาทั่วไปแนวคิดหลักในการกำหนดวัตถุประสงค์ของวิชาศึกษาทั่วไป • แนวคิดที่ 1 เน้นให้ผู้เรียนพัฒนาแนวคิดและสติปัญญา โดยพัฒนาที่ตัวเองเป็นหลัก • แนวคิดที่ 2 เน้นให้ผู้เรียนมีการพัฒนาความคิดความอ่าน และใช้ความคิดความอ่านเพื่อสังคม • แนวคิดที่ 3 เน้นในแง่ของตัวบุคคล ไม่เน้นการพัฒนาความคิดมากนัก • แนวคิดที่ 4 เน้นการประยุกต์การทำกิจกรรมเพื่อชุมชนและสังคม

  7. ตัวอย่างการกำหนดวัตถุประสงค์ของรายวิชาศึกษาทั่วไปตัวอย่างการกำหนดวัตถุประสงค์ของรายวิชาศึกษาทั่วไป • มีความรู้ที่กว้างขึ้น • มีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับสังคมโลก/ นานาชาติ • นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน • มีความรู้และตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม • มีคุณธรรมและจริยธรรม • มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ • มีความสามารถในการปรับตัวและตัดสินใจแก้ปัญหา • มีความใฝ่รู้และแสวงหาความรู้อยู่เสมอ • มีทักษะและความสามารถในการสื่อสาร ที่มา :ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (อ้างแล้ว)

  8. แนวคิดการพัฒนาหมวดวิชา/ รายวิชาศึกษาทั่วไป ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้

  9. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (TQF) ปณิธาน/ ปรัชญา วิสัยทัศน์ของสถาบันอุดมศึกษา คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของแต่ละสถาบันอุดมศึกษา หลักสูตรสาขาวิชาต่าง ๆ (Program Spec. มคอ.2) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ( ≥ 30 หน่วยกิต) หมวดวิชาเฉพาะ (≥84 หน่วยกิต) หมวดวิชาเลือกเสรี ( 6 หน่วยกิต) GE Learning Outcomes ตามกรอบ TQF 1. คุณธรรมและจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Free Elective Professional Learning Outcomes 1. ---- 2. ---- 3. ---- etc. ทุกรอบปรับหลักสูตร 5 ปี GE Learning Outcome Mapping ข้อกำหนดระดับรายวิชา (Course Spec. มคอ.3) ทุกภาคการศึกษา มคอ.5 Learning Outcome Evaluation

  10. การบริหารจัดการหมวดวิชา/ รายวิชาศึกษาทั่วไป : การบริหารจัดการเนื้อหาสาระในรายวิชา ลักษณะของรายวิชาศึกษาทั่วไป ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1.เป็นรายวิชาที่สะท้อนปรัชญาและวัตถุประสงค์ของวิชาศึกษาทั่วไป จำนวนรวมไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต 2.เป็นรายวิชาที่จัดให้มีเนื้อหาวิชาที่เบ็ดเสร็จในรายวิชาเดียว ไม่มีรายวิชาต่อเนื่องหรือรายวิชาขั้นสูงอีก 3.ไม่เป็นรายวิชาเบื้องต้นหรือรายวิชาพื้นฐานของรายวิชาเฉพาะในหลักสูตรนั้น ๆ 4.ไม่เน้นเนื้อหา แต่ควรมุ่งพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน 5.อาจจัดเป็นรายวิชาเดี่ยว รายวิชาผสม และรายวิชาบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้

  11. การบริหารจัดการหมวดวิชา/ รายวิชาศึกษาทั่วไป :การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน • การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนประกอบด้วย การบริหารจัดการระดับหมวดวิชาหรือระดับรายวิชา ที่มุ่งเน้นผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ทั้งนี้กระบวนการดังกล่าวให้ขึ้นกับดุลยพินิจของแต่ละสถาบัน • หากต้องการให้มีการประกันคุณภาพรายวิชาเพื่อนำไปสู่ผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ควรมีการบริหารจัดการตามลำดับขั้นตั้งแต่ การจัดทำเนื้อหาสาระรายวิชา การจัดเตรียมผู้รับผิดชอบรายวิชา การจัดเตรียม/ พัฒนาผู้สอน กระบวนการสอน ตลอดจนการประเมินผล ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ใน มคอ.3 ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การวิจัยชั้นเรียนในที่สุด

  12. ผลการเรียนรู้หมวดวิชา/ รายวิชาศึกษาทั่วไป สถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดผลการเรียนรู้ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไปให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 โดยครอบคลุมอย่างน้อย 5 ด้าน คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

  13. ผลการเรียนรู้หมวดวิชา/ รายวิชาศึกษาทั่วไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม : มีคุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมทั้งของไทยและของประชาคมนานาชาติ 1.1 มีหลักธรรมในการดำเนินชีวิต 1.2 เคารพและชื่นชมงานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและสากล 1.3 ........................................ 1.4 ........................................ 1.5 ........................................ 2. ด้านความรู้ : มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล มีความเข้าใจในธรรมชาติ ตนเอง ผู้อื่นและสังคม 2.1 อธิบายความเชื่อมโยงของศาสตร์หลักในการดำเนินชีวิต 2.2 ........................................ 2.3 ……………………………. 3. ด้านทักษะทางปัญญา :เป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถคิดอย่างมีเหตุผล 3.1 สามารถค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ ประเมินข้อมูลจากหลักฐานได้และนำข้อสรุปมาใช้ 3.2 สามารถศึกษาวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อนและเสนอแนวทางแก้ไขที่สร้างสรรค์ 3.3 ........................................ 3.4 ……………………………. ตัวอย่าง

  14. ผลการเรียนรู้หมวดวิชา/ รายวิชาศึกษาทั่วไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (ต่อ) 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ : สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี 4.1 สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกกลุ่ม 4.2 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 4.3 ........................................ 4.4 ........................................ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ : สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารความหมายได้ดี 5.1 สามารถสรุปประเด็น และสื่อสาร ทั้งการพูด และการเขียน และเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอได้เหมาะสมทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ 5.2 มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมข้อมูล แปลความหมายและสื่อสาร 5.3 ........................................ 5.4 ........................................ 5.5 ........................................ 5.6 ........................................ 5.7 ........................................ 6. ……………………………………………………………….. (อาจเพิ่มเติมได้ตามต้องการ) ตัวอย่าง

  15. แนวคิดในการจัดทำรายละเอียดหมวด/ รายวิชาศึกษาทั่วไปตามผลการเรียนรู้

  16. Educational environment • Curriculum • Teachers • Learning resources • Teaching aids, scientific instrument, etc. • Supporting facilities Support What to learn? (contents) Input Outcome Do they learn? (assessment) How to learn? (method & strategies) Process ที่มา :ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ภิรมย์ กมลรัตนกุล ในการประชุมหารือ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ วันที่ 18 เมษายน 2552 ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ อ้างใน จิรณี ตันติรัตนวงศ์ (2552)

  17. การจัดทำแผนที่การกระจายความรับผิดชอบของหมวดวิชา/ รายวิชาศึกษาทั่วไป แนวทางที่ 1 กรณีมีรายวิชาเดิม สถาบันอุดมศึกษาสามารถนำรายวิชาเดิมมาพิจารณาผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ของวิชาศึกษาทั่วไป ที่กำหนดขึ้น จากนั้นจึงนำมาบรรจุในแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้วิชาศึกษาทั่วไป (GE mapping) แนวทางที่ 2 กรณีสร้างรายวิชาใหม่ สถาบันอุดมศึกษาสามารถพิจารณานำแนวคิดและปรัชญาของวิชาศึกษาทั่วไปมาสร้างรายวิชาใหม่ ให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ของวิชาศึกษาทั่วไปที่กำหนดขึ้น จากนั้นจึงนำมาบรรจุในแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้วิชาศึกษาทั่วไป (GE mapping)

  18. ตัวอย่างแผนที่การกระจายความรับผิดชอบของหมวดวิชา/ รายวิชาศึกษาทั่วไป หมายเหตุ : การกระจายความรับผิดชอบในแต่ละรายวิชาไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบทุกข้อย่อยผลการเรียนรู้ แต่เมื่อเรียนครบหมวดวิชาศึกษาทั่วไปแล้วจะต้องได้ครบทุกผลการเรียนรู้ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

  19. การนำเสนอเพื่อรับทราบการให้ความเห็นชอบหมวดวิชา/ รายวิชาศึกษาทั่วไป แบบที่ 1 ให้ความเห็นชอบเป็นรายวิชา กรณีนี้ผู้รับผิดชอบหลักสูตร/ สาขาวิชาจะต้องเลือกรายวิชาศึกษาทั่วไปที่ต้องการ พร้อมผลการเรียนรู้ไปบรรจุในหลักสูตรนั้น ๆ แบบที่ 2 ให้ความเห็นชอบเป็นหมวดวิชา กรณีนี้ผู้ดูแลหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและอาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 เข้าร่วมวางแผนจัดทำหลักสูตรตามแนวทาง มคอ.2 และสรุปภาพรวมของหลักสูตรที่แสดงให้เห็นว่าสามารถตอบสนองมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ได้ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้ความเห็นชอบต่อไป หลังจากได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้รับผิดชอบหลักสูตร/ สาขาวิชาสามารถนำเอกสารดังกล่าวไปแนบรวมกับหมวดวิชาชีพในหลักสูตรนั้นได้ทันที

  20. การประเมินผลหมวด/ รายวิชาศึกษาทั่วไป • อาจารย์ประจำรายวิชาอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป • มีรายละเอียดโครงสร้างหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและผลการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 • มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอน ในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบ ทุกรายวิชา • จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตอบแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วันหลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา • จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ส่งให้หลักสูตรเพื่อประกอบการจัดทำแบบ มคอ.7

  21. การประเมินผลหมวด/ รายวิชาศึกษาทั่วไป (ต่อ) • มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน มคอ.3 และมคอ.4 (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป • มีการพัฒนา/ ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานในปีที่ผ่านมา • อาจารย์ผู้สอนใหม่ (ถ้ามี) ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศหรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน • อาจารย์ผู้สอนวิชาศึกษาทั่วไปทุกคนควรได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/ หรือวิชาชีพอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง • ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5.0

  22. การเขียน มคอ.3

  23. แนวทางการเขียน มคอ. 3 รายวิชาศึกษาทั่วไป จาก template มคอ.3 ของ สกอ. หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป • หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ • หมวดที่ 3 ลักษณะการดำเนินการ • หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา • หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล • หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน • หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา (ดูตัวอย่างจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น)

  24. ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญในการเขียน มคอ. 3 • หมวดที่ 4 มคอ. 3 : การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง 5 ด้าน • ต้องสอดคล้องกับ GE Mapping ของวิชานั้นๆ • หมวดที่ 5 : แผนการสอนและการประเมินผล ส่วนที่ 1 • จัดทำแผนการสอนให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนการสอนที่ระบุในหมวดที่ 2 (บรรยาย-ปฏิบัติ/ภาคสนาม/การฝึกงาน) และเป็นตามโครงสร้างหน่วยกิต (เช่น 3-0-6 หรือ 2-2-4) ส่วนที่ 2 แผนการประเมินผลการเรียนรู้ • วิธีการประเมินต้องสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้จาก GE Mapping

  25. ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญในการเขียน มคอ. 3 (ต่อ) • หมวดที่ 7 : การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา • การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา อาจใช้ระบบ online หรือส่วนกลางมหาวิทยาลัยดำเนินการ • การประเมินการสอน ดำเนินการโดยคณะกรรมการฯของภาควิชา โดยการสังเกตการสอน สุ่มสัมภาษณ์นักศึกษา • การปรับปรุงการสอน อาจใช้แนวทางการวิจัยในชั้นเรียนเป็นเครื่องมือ • การทวบสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ ดำเนินการโดยคณะกรรมการภาควิชาฯ โดยการสุ่มประเมินข้อสอบ การให้คะแนน หรืออาจจะสุ่มดูคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ว่าเป็นตามมาตรฐานผลการเรียนรู้หรือไม่ • การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลจากการดำเนินการข้างต้นมาใช้ปรับปรุงเพื่อพัฒนารายวิชาต่อไป (ดูตัวอย่างจากเอกสาร มคอ. 3)

  26. แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้วิชาศึกษาทั่วไป ของ มจธ.

  27. ตัวอย่างแบบฟอร์มแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้วิชาศึกษาทั่วไป ของ มทร.กรุงเทพ

  28. ขอบคุณค่ะ

More Related