1 / 46

naetc.eto.kps.ku.ac.th

รายงานผลการศึกษา การประเมินผลการดำเนินงานของ โครงการพัฒนาศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554. www.naetc.eto.kps.ku.ac.th. หลักการและเหตุผล.

gamba
Télécharger la présentation

naetc.eto.kps.ku.ac.th

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงานผลการศึกษา การประเมินผลการดำเนินงานของ โครงการพัฒนาศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  2. หลักการและเหตุผล กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฏีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (โครงการพัฒนาศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550-2553 และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานของโครงการ ฯ ในแต่ละปีว่าบรรลุวัตถุประสงค์ เกิดผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ฯ หรือไม่ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น จึงได้มีการกำหนดให้มีกิจกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ ฯ ไว้เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการ ฯ ในทุกปี www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  3. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความรู้ ความเข้าใจ การนำไปปฏิบัติใช้ตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความพึงพอใจ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 2. เพื่อศึกษาผลการนำความรู้ตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติใช้ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกร (ปี 2550-2553) และเกษตรกรอาสา (ปี 2551-2553) ที่เข้าร่วมโครงการ ฯ www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  4. 3. เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของการดำเนินงานโครงการ ฯ ที่มีผลต่อเกษตรกรและชุมชนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และด้านอื่น ๆ ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินงานโครงการ ฯ 4. เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงานโครงการ ฯ สู่แนวทางการพัฒนาเพื่อขยายผลการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเป็นรูปธรรมในการดำเนินงานโครงการ ฯ ให้มีความยั่งยืนต่อไป www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  5. www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  6. ครอบคลุมพื้นที่ 44 จังหวัด www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  7. กรอบแนวความคิด ปราชญ์ชาวบ้าน/ผู้นำชุมชน www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  8. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล 1. แบบสอบถาม (Questionnaire) เกษตรกรปี 50-54 ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ความสามารถในการนำ ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์และปฏิบัติจริง และความพึงพอใจ 2. แบบทดสอบ (Test) โดยการใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ (Achievement Test) แบบถูกผิด (True-False Item) เกษตรกรปี 54 ประกอบด้วย แนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง และความรู้ความเข้าใจตามวิชาที่รับการฝึกอบรม www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  9. 3. การประชุมกลุ่ม (Focus Group Discussion) ศูนย์ ฯ ในประเด็น ผลกระทบของการดำเนินงานโครงการ ฯ ที่มีผลต่อเกษตรกร ชุมชน 4. แบบสัมภาษณ์ (Interview) แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi Structured selection Interview) ศูนย์ ฯ ในประเด็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการ ฯ ที่มีผลต่อเกษตรกร และชุมชน 5. แบบสังเกต (Observation) แบบมีเค้าโครงล่วงหน้า (Structure Observation) ศูนย์ ฯ ในประเด็นผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างเป็น รูปธรรมของการดำเนินงานโครงการ ฯ ที่มีผลต่อเกษตรกร ชุมชน www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  10. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  11. เกณฑ์คะแนนความรู้ความเข้าใจของผู้ผ่านการอบรมปี 2554 www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  12. เกณฑ์การประเมินทัศนะคติของผู้ผ่านการฝึกอบรมเกณฑ์การประเมินทัศนะคติของผู้ผ่านการฝึกอบรม ศึกษาและรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจ ของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการวัดแบบเลือกตอบได้ 5 ระดับ www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  13. ผลการศึกษา ผลการประเมินและศึกษาของเกษตรกรและเกษตรกรอาสาที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550-2554 จำนวน 1,230 ราย www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  14. ผลการประเมินและศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกรและเกษตรกรอาสาที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550-2554 จำนวน 1,230 ราย ตอนที่ 1 - เกษตรกร ปี 54 จำนวน 421 ราย- เกษตรกร ปี 50-53 จำนวน 427 ราย- เกษตรกรอาสา ปี 51-53 จำนวน 382 ราย www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  15. เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 59.19)มีอายุระหว่าง 41-50 ปี (ร้อยละ 29.92)และจบการศึกษาระดับประถมศึกษา(ร้อยละ 54.69)มีพื้นที่ทำการเกษตรต่ำกว่า 10 ไร่ (ร้อยละ 50.4) ทำนาเป็นอาชีพหลัก(ร้อยละ 59.64)และทำสวนเป็นอาชีพรอง(ร้อยละ 28.55) เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าร่วมโครงการและรับการฝึกอบรมเพราะต้องการความรู้เพิ่มเพื่อนำไปปฏิบัติ ช่วยเหลือสังคม และศรัทธาในตัวปราชญ์ชาวบ้าน (ร้อยละ 30.09)รองลงมาต้องการความรู้เพิ่มและนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน (ร้อยละ 17.91) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  16. ผลการประเมินและศึกษาระดับความรู้ ความเข้าใจ การนำไปปฏิบัติใช้ตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และความพึงพอใจของเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ตอนที่ 2 เกษตรกร ปี 54 จำนวน 421 ราย www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  17. เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมด้านเศรษฐกิจพอเพียงกับหน่วยงานอื่นก่อนเข้ารับการอบรมที่ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน (ร้อยละ 78.86) และเกษตรกรมีความคาดหวังก่อนเข้ารับการฝึกอบรมว่าจะได้รับความรู้เพิ่มเติมเพื่อนำไปปฏิบัติในครัวเรือนและสามารถลดรายจ่ายสร้างรายได้เสริมได้ (ร้อยละ 44.67) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  18. เกษตรส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจด้านแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับดี (ร้อยละ 47.27)และเกษตรกรนำความรู้เรื่องแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์และปฏิบัติใช้เพิ่มเติม (ร้อยละ 67.39) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจในวิชาการทำบัญชีครัวเรือนในระดับดีสูงที่สุด (ร้อยละ 87.82) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  19. เกษตรกรผู้ผ่านการฝึกอบรม ปี 54 มีความคิดเห็นว่าสามารถนำความรู้ตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติได้ในระดับง่าย (เฉลี่ย 3.74 คะแนน) นอกจากนั้นเกษตรกรมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการจัดฝึกอบรมของศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านในระดับมากที่สุด (เฉลี่ย 4.23 คะแนน) โดยเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อความรู้และประสบการณ์ของปราชญ์ชาวบ้านและคณะวิทยากรในระดับสูงที่สุด (เฉลี่ย 4.41 คะแนน) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  20. เกษตรกรส่วนใหญ่ได้ถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมให้กับเพื่อนบ้านและครอบครัว(ร้อยละ 40.85) และได้แนะนำให้ครอบครัว เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นเข้ารับการฝึกอบรมกับศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน (ร้อยละ 99.76)เพราะต้องการให้ได้รับความรู้ ประสบการณ์และทักษะเพื่อนำไปประยุกต์ปฏิบัติใช้ (ร้อยละ 35.28) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  21. ผลการประเมินและศึกษาการนำความรู้ตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติใช้ของเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550-2553 และเกษตรกรอาสาที่ผ่านการฝึกอบรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551-2553 จำนวน 809 ราย ตอนที่ 3 - เกษตรกร ปี 50-53 จำนวน 427 ราย- เกษตรกรอาสา ปี 51-53 จำนวน 382 ราย www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  22. เกษตรกรส่วนใหญ่ได้นำความรู้เรื่องแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รับไปปฏิบัติเป็นบางกิจกรรมและได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพิ่มเติม (ร้อยละ 32.18)นอกจากนั้นยังนำผลผลิตที่ได้ไปใช้เองและบางส่วนแบ่งให้เพื่อนบ้านหรือชุมชน (ร้อยละ 52.98) จากการปฏิบัติกิจกรรมส่งผลให้เกษตรกรมีรายจ่ายทางด้านการเกษตรลดลงเฉลี่ย 10,713 บาทต่อปี รายจ่ายในชีวิตประจำวันลดลงเฉลี่ย 9,592 บาทต่อปี www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  23. นอกจากนั้นเกษตรกรมีรายได้จากการทำการเกษตรเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 26,045 บาทต่อปี มีรายได้ด้านอื่น ๆ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 28,796 บาทต่อปี และมีเงินออมสะสมเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16,485 บาทต่อปี จากการปฏิบัติกิจกรรมตามแนวคิดและหลัก ฯ ส่งผลให้เกษตรกรมีเงินออมสะสมเฉลี่ย 16,485 บาทต่อปี หรือมีอัตราเงินออมต่อรายได้เท่ากับ 0.22 ของรายได้ที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกร www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  24. สิ่งที่ภาคภูมิใจหลังเมื่อได้รับการคัดเลือกเป็นเกษตรกรอาสา พบว่า เกษตรกรอาสา ปี 51-53 จำนวน 382 ราย ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ามีความภาคภูมิใจที่สามารถถ่ายทอดความรู้สู่ครอบครัว เพื่อนบ้าน ชุมชน และสังคมได้ (ร้อยละ 34.15)และเกษตรกรอาสา สามารถเป็นต้นแบบ และเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาให้แก่คนในชุมชนหรือผู้ที่สนใจ โดยใช้แปลงสาธิตหรือแปลงเรียนรู้ที่มีอยู่ และได้สร้างเครือข่ายการดำเนินงานของกลุ่มในชุมชนร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ (ร้อยละ 51.34) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  25. จากการศึกษาการปฏิบัติกิจกรรมของเกษตรกรอาสา พบว่า เกษตรกรอาสามีความคิดเห็นว่าการปฏิบัติกิจกรรมตามแนวคิดและหลัก ฯ ส่งผลให้ : - ดินมีคุณภาพดีขึ้น โดยมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลไปจนถึงสีดำ ร่วน ซุย ฟู เนื้อดินอุ้มน้ำ และถ่ายเทอากาศได้ดี มีธาตุอาหารเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากการปลูกพืชโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมี - แหล่งน้ำมีคุณภาพดีขึ้น โดยน้ำมีความสะอาดและมีสัตว์น้ำอาศัยมาก ไม่มีกลิ่นเหม็นของสารเคมี - ป่าไม้ โดยเกษตรกรรู้จักการปลูกต้นไม้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้องการให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศพื้นที่อยู่อาศัย www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  26. ตอนที่ 4 การศึกษาผลกระทบจากการดำเนินงานโครงการพัฒนาศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านที่มีผลต่อเกษตรกร และชุมชนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในชุมชน จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 1,003 ราย ซึ่งประกอบด้วยเกษตรกร จำนวน 10-12 ราย/ ศูนย์ เกษตรกรอาสา จำนวน 10-12 ราย/ ศูนย์ ตัวแทนปราชญ์ชาวบ้านและผู้นำชุมชน 2-3 ราย/ ศูนย์ รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูล จำนวน 20-25 ราย/ ศูนย์ จากศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน 40 แห่ง ด้วยกระบวนการประชุมกลุ่ม (Focus Group Discussion) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  27. ศูนย์เครือข่าย ฯ ที่ทำการศึกษามีพื้นที่เฉลี่ย 25.75 ไร่ต่อศูนย์ มีรูปแบบ (Model) ในการดำเนินกิจกรรมที่คล้ายคลึงกันในระหว่างภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง คือ การผลิตและแปรรูปข้าวอินทรีย์ ผัก ผลไม้ สมุนไพร ปศุสัตว์ ประมง และป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ในขณะที่ภาคใต้นั้นมีรูปแบบกิจกรรมบางกิจกรรมที่แตกต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ คือ การผลิตและแปรรูปยางพารา ผัก ผลไม้ สมุนไพร ปศุสัตว์ ประมง และป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  28. จากรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้นจะเห็นได้ว่าการผลิตและแปรรูปผัก ผลไม้ สมุนไพร ปศุสัตว์ และประมง จะมีการนำไปประยุกต์และปฏิบัติใช้ในทุกภูมิภาคของประเทศและจะมีรายละเอียดในการปฏิบัติกิจกรรมที่แตกต่างกันไปตามสภาพภูมินิเวศและภูมิสังคมในแต่ละภูมิภาค อย่างไรก็ตามจากการปฏิบัติกิจกรรมตามแนวคิดและหลัก ฯ ของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มนั้นได้ส่งผลกระทบต่อด้านต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาค ดังนี้ www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  29. สรุปผลกระทบในภาพรวมจากการดำเนินงานโครงการพัฒนาศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านที่มีผลต่อเกษตรกร และชุมชนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในชุมชน www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  30. 1. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากการปฏิบัติตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผู้เข้าร่วมการประชุมกลุ่มได้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนจากศูนย์เครือข่าย ฯ และส่วนใหญ่ได้นำความรู้ในการทำบัญชีครัวเรือนไปประยุกต์ใช้ (ร้อยละ 79.99) และนำผลจากการทำบัญชีครัวเรือนไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนชีวิตร่วมกับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้ที่ได้รับจากศูนย์เครือข่าย ฯ จากการปฏิบัติกิจกรรมส่งผลให้ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่มีรายจ่ายในครัวเรือนลดลงมากกว่าร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับรายจ่ายเดิมก่อนนำแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ (ร้อยละ 62.69) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  31. ซึ่งความรู้ที่ได้รับจากศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านที่ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มนำไปประยุกต์และปฏิบัติมากที่สุดตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ 1)การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ 2)การผลิตและแปรรูปผัก ผลไม้ปลอดสาร 3)การใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรด้านอาหาร ยา น้ำยาเอนกประสงค์ และสารป้องกันกำจัดแมลง 4)การปลูกข้าวอินทรีย์ หรือข้าวปลอดสาร 5) การปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  32. จากการปรับเปลี่ยนแนวคิดสู่การพึ่งพาตนเองโดยใช้ความพอประมาณ และความมีเหตุผลเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย และการบริโภคในครัวเรือนนั้นได้ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มรู้จักการออมสะสมเพื่อไว้ใช้ในยามจำเป็นโดยการออมสะสมในลักษณะของเงินฝาก โดย - ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่มีการออมสะสมในรูปลักษณะของเงินฝากอยู่ในระหว่าง 20,000-40,000 บาทต่อปี(ร้อยละ 34.29) รองลงมาน้อยกว่า 20,000 บาทต่อปี (ร้อยละ 27.86) - ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่มีการออมสะสมในลักษณะของการเลี้ยงปศุสัตว์ ได้แก่ โค กระบือ สุกร และสัตว์ปีก(ร้อยละ 34.00) เพื่อบริโภคและจำหน่ายในยามจำเป็น และนอกจากนั้นมีผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มบางส่วนมีการออมสะสมในลักษณะของการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ในเขตพื้นที่สวน ไร่ นาของตนเอง (ร้อยละ 31.00) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  33. สรุป จากการศึกษาด้านต้นทุน และรายได้ของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มจะเห็นได้ว่าผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มมีรายจ่ายในครัวเรือนที่ลดลง มีการออมสะสมในลักษณะทรัพย์สินและสินทรัพย์ และผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มในแต่ละภูมิภาคได้นำวัตถุดิบและผลพลอยได้ทางการเกษตรใช้ประโยชน์ในการลดต้นทุนการผลิต โดยในทุกภูมิภาคมีการใช้มูลสัตว์และเศษพืชผัก ผลไม้ เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพมากที่สุด รองลงมามีการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรโดยการบริโภคเพื่อเป็นอาหารและยารักษาโรค การผลิตเป็นสารชีวภัณฑ์เพื่อใช้ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช และการใช้เพิ่มประสิทธิภาพน้ำยาเอนกประสงค์ www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  34. 2. ผลกระทบด้านสังคมจากการปฏิบัติตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากการศึกษาผลกระทบด้านสังคมที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดความรู้ การดำเนินกิจกรรมกลุ่มและเครือข่าย พบว่า ศูนย์เครือข่าย ฯ ที่ทำการศึกษา จำนวน 40 แห่งนั้น ได้มีการติดต่อประสานงานเพื่อเผยแพร่ความรู้และข้อมูลข่าวสารกับหน่วยงานหรือกลุ่มต่าง ๆ ผ่านช่องทางการเป็นวิทยากรของปราชญ์ชาวบ้านมากที่สุด (เฉลี่ย 51 ครั้งต่อปี)และรองลงมาเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านรายการวิทยุ (เฉลี่ย 29 ครั้งต่อปี) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  35. ซึ่งการถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านการทำงานร่วมกันและขยายผลความรู้สู่กลุ่มและเครือข่ายเกษตรกรผ่านช่องทางต่าง ๆ ของศูนย์เครือข่าย ฯ นั้นเพื่อเป็นการช่วยผลักดันและสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายของศูนย์เครือข่าย ฯ ที่ดำเนินกิจกรรมให้เกิดความเข็มแข็งและสามารถเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามความเข้มแข็งของกลุ่มเครือข่ายจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องอาศัยความมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มในชุมชนเป็นหลัก และจากการศึกษา พบว่า ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่ (ร้อยละ 68.80) ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มครบทุกขั้นตอน โดยมีการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมรับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  36. จากการดำเนินงานของกลุ่มต่าง ๆ เพื่อการเป็นต้นแบบในการดำเนินกิจกรรมและการขยายผลสู่ชุมชน พบว่า กลุ่มของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่สามารถขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมสู่ชุมชนโดยมีคนเข้ามาศึกษาดูงานมากกว่า 20 รายต่อเดือน (ร้อยละ 56.54)กลุ่มของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มบางส่วนสามารถขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมสู่ชุมชนโดยมีคนเข้ามาศึกษาดูงาน 11-20 รายต่อเดือน (ร้อยละ 23.70) และกลุ่มของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนสามารถขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมสู่ชุมชนโดยมีคนเข้ามาศึกษาดูงาน 1-10 รายต่อเดือนน้อย (ร้อยละ 19.76) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  37. 3. ผลกระทบด้านเศรษฐสังคมจากการปฏิบัติตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากการศึกษาเครือข่ายการเรียนรู้และการพัฒนาของศูนย์เครือข่าย ที่สนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อปฏิบัติกิจกรรมตามแนวคิดและหลักปรัชญา ฯ ของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มในลักษณะของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มธุรกิจชุมชน พบว่า ศูนย์เครือข่าย ฯ ทั้งหมดมีเครือข่ายการเรียนรู้และพัฒนาในระดับชุมชน และจังหวัดมากที่สุด รองลงมาเป็นเครือข่ายระดับภูมิภาค (31 ใน 40 ศูนย์) และส่วนน้อยเป็นเครือข่ายระดับนานาชาติ (3 ใน 40 ศูนย์) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  38. ซึ่งจากความเชื่อมโยงของเครือข่ายการเรียนรู้และการพัฒนาดังกล่าวส่งผลให้ศูนย์เครือข่าย ฯ มีกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรในชุมชนที่สอดคล้องกับแนวคิดและหลักปรัชญา ฯ เฉลี่ย 4 กลุ่มต่อศูนย์เครือข่าย ฯ นอกจากนั้นยังพบเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มธุรกิจชุมชนเฉลี่ย 2 กลุ่มต่อศูนย์เครือข่าย ฯ และมีสมาชิกเฉลี่ยกลุ่มละ 131 ราย และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มธุรกิจชุมชนสามารถสร้างมูลค่าธุรกิจได้เฉลี่ย 515,720.50 บาทต่อกลุ่มต่อปี ด้วยการดำเนินกิจกรรมผลิต แปรรูป จำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร การรับฝากเงินของสมาชิกและการดำเนินธุรกิจบริการ www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  39. 4. ผลกระทบด้านทัศนะคติของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มต่อการนำแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ามีความเชื่อมั่นในระดับมากต่อการนำแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้แล้วสามารถส่งผลให้สามารถพึ่งพาตนเองในการดำเนินชีวิตได้เป็นหลัก www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  40. ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าจากการปฏิบัติตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งในวิถีชีวิตของตนเอง/ ครอบครัว และชุมชนเข้มแข็งในระดับมาก เนื่องจากทำให้รู้จักการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก และมีการร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมที่ส่งผลให้เกิดสายใยความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวและชุมชน อีกทั้งยังได้เป็นการพบปะ พูดคุยถึงปัญหาต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยังสามารถเป็นต้นแบบที่ดีในการดำเนินชีวิตให้แก่คนรุ่นลูกหลานได้ปฏิบัติตาม www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  41. ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าได้ประสบความสำเร็จในระดับมากต่อการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ให้แก่บุตรหลาน (ร้อยละ 82.50) เนื่องจากบุตรหลานได้เห็นความสำคัญในอาชีพการเกษตรมากขึ้น จากการร่วมปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ และต้องการสานต่ออาชีพของครอบครัวให้คงอยู่ต่อไป www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  42. 5. ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่ม จากการปฏิบัติตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5.1 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่าไม้ - ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่ได้ปฏิบัติและเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ดิน โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพปรับปรุงบำรุงดิน การปลูกพืชตระกูลถั่ว และพืชคลุมดิน การไม่เผาตอซัง และการหมักตอซังในนาข้าว (ร้อยละ 72.04) - ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่ได้ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีอันตรายในการป้องกันกำจัดแมลงและวัชพืชที่จะสะสมและไหลลงสู่แม่น้ำลำคลองเป็นพิษต่อสัตว์น้ำ และสุขภาพของคนในชุมชน (ร้อยละ 68.95) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  43. - ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำของชุมชน โดยการช่วยกันขุดลอกคูคลอง สร้างฝาย การร่วมมือเฝ้าระวังการปล่อยของเสียจากโรงงาน และสิ่งปฏิกูลจากชุมชนลงสู่แม่น้ำลำคลอง รวมทั้งร่วมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำในชุมชน (ร้อยละ 67.71) - ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่มีการปลูกป่าเศรษฐกิจ (ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง) ใน สวน ไร่ นา และได้เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าชุมชน เป็นอาสาสมัครป้องกันไฟป่า ร่วมกันขุดแนวกันไฟ และจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์เฝ้าระวังเพื่อป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งในขณะเดียวกันผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มยังได้อาศัยภูมิปัญญาด้านประเพณีและความเชื่อในการช่วยเหลือการอนุรักษ์ป่า ได้แก่ การบวชป่า ดอนปู่ตารักษาป่า และการเลี้ยงผีขุนน้ำ (ร้อยละ 97.07) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  44. 5.2 การผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัย - ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่มีการดำเนินการผลิตผัก ผลไม้ปลอดสาร และเนื้อสัตว์ปลอดภัย โดยใช้สมุนไพรและการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยระบบชีววิธี และการเลี้ยงสัตว์พื้นเมืองที่มีความทนทานต่อโรคและต้องการการดูแลรักษาน้อย(ร้อยละ 92.50) - ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่ได้นำสมุนไพรที่หาได้ในท้องถิ่นแปรรูปเป็นอาหาร ยา เครื่องสำอาง และน้ำยาเอนกประสงค์เพื่อใช้ในครัวเรือน (ร้อยละ 90.00) www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  45. - ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มมีการปลูกข้าวอินทรีย์ โดยการลด ละ เลิก การใช้สารเคมีอันตรายด้วยการใช้วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยชีววิธี และผลผลิตที่ได้แปรรูปเป็นข้าวกล้องเพื่อรับประทานในครัวเรือนและชุมชน (ร้อยละ 75.00) ผลกระทบจากกิจกรรมการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่าไม้ และการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัยสามารถส่งผลดีต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต ของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่ม รวมทั้งสามารถส่งผลดีต่อระบบนิเวศในชุมชนของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มด้วย www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

  46. จบการนำเสนอ www.naetc.eto.kps.ku.ac.th

More Related