1 / 38

อ . ลภัสรดา ปราบปราม

เอกเทศสัญญา 2 Specific Contract 2. อ . ลภัสรดา ปราบปราม. เอกเทศสัญญาคืออะไร???. สัญญาที่กฎหมายกำหนดชื่อ และลักษณะไว้โดยเฉพาะใน ป.พ.พ. บรรพ 3 เช่น ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ และจ้างทำของ,

Télécharger la présentation

อ . ลภัสรดา ปราบปราม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เอกเทศสัญญา 2 Specific Contract 2 อ.ลภัสรดา ปราบปราม

  2. เอกเทศสัญญาคืออะไร??? • สัญญาที่กฎหมายกำหนดชื่อ และลักษณะไว้โดยเฉพาะใน ป.พ.พ. บรรพ 3 เช่น • ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ และจ้างทำของ, • ตัวแทน นายหน้า ยืม ฝากทรัพย์ ประนีประนอมยอมความ เก็บของในคลังสินค้า บัญชีเดินสะพัด และการพนันขันต่อ

  3. ๑๖๐๒๓๐๗ กฎหมายเอกเทศสัญญา ๒ ๓(๓-๐) • ศึกษาสัญญาตัวแทน ตั้งแต่ลักษณะและประเภทของตัวแทน หน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อกันระหว่างตัวการและตัวแทน และต่อบุคคลภายนอก ความระงับแห่งสัญญาตัวแทนและตัวแทนค้าต่างสัญญานายหน้า สัญญายืมใช้คงรูป ยืมใช้สิ้นเปลือง ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความ และการพนันขันต่อ

  4. 1. นิติกรรม ม. 149 • 2. เจตนาของคู่สัญญา (คำเสนอ สนอง,ซ่อนเร้น,ลวง,อำพราง ) • 3. วัตถุประสงค์ของนิติกรรม ม. 150 • 4. ความสามารถในการทำการทำนิติกรรม ม. 153,175,21 • การที่พระภิกษุให้กู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ย การกู้ยืมเงินดังกล่าว เป็นโมฆะหรือไม่

  5. สัญญายืม (Loan) • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 640 - 656 • พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 • พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 • พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534

  6. ยืม (Loan) ยืม: สัญญาซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้ยืม ได้ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ยืม เพื่อให้ได้ใช้ทรัพย์สินนั้น และผู้ยืมต้องคืนทรัพย์สินที่ยืมแก่ผู้ให้ยืม • คำนิยาม

  7. ยืม(Loan) 1. สัญญายืมเป็นเอกเทศสัญญาชนิดหนึ่ง (ม. 641, ม. 650) (ยืมใช้สิ้นเปลือง ยืมใช้คงรูป ฝากทรัพย์ จำนำ ) • ลักษณะ

  8. ยืม(Loan) 2. สัญญาที่สมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์ที่ให้ยืม (ม. 641, ม. 650) (ยืมใช้สิ้นเปลือง ยืมใช้คงรูป ฝากทรัพย์ จำนำ ) • ลักษณะ

  9. ยืม(Loan) • 3. สัญญาไม่ต่างตอบแทน ไม่ก่อให้เกิดหนี้แก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ก่อให้เกิดหนี้แก่ผู้ยืมเพียงฝ่ายเดียว (คืนทรัพย์ที่ยืม)

  10. การที่ผู้ให้ยืมส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมให้แก่ผู้ยืม ไม่เป็นการชำระหนี้ แต่เป็นส่วนประกอบที่เป็นสาระสำคัญของสัญญายืม

  11. ยืม (Loan) • ชนิด • 1. สัญญายืมใช้คงรูป (ม. 640 - ม. 649) • 2. สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง (ม. 650 – ม. 656) ประเภทและชนิดของทรัพย์ ลักษณะการใช้ทรัพย์ที่ยืม กรรมสิทธิ์ในทรัพย์

  12. สัญญายืมใช้คงรูป (loan for use) ยืมใช้คงรูป : สัญญาที่ผู้ให้ยืม ให้ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินสิ่งหนึ่ง สิ่งใดได้เปล่า โดยผู้ยืมตกลงจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อใช้เสร็จ ความหมาย (มาตรา 640)

  13. ลักษณะสำคัญของยืมใช้คงรูปลักษณะสำคัญของยืมใช้คงรูป • และไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ให้ยืมที่จะเรียกค่าตอบแทนจากผู้ยืม • ผู้ยืมไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องให้ค่าตอบแทนในการใช้ทรัพย์สินนั้น • 1.เป็นสัญญาที่ไม่มีค่าตอบแทน

  14. ลักษณะสำคัญของยืมใช้คงรูปลักษณะสำคัญของยืมใช้คงรูป • มีการส่งมอบกันจริง แต่เป็นการทำเพื่อให้ผู้ยืมได้ครอบครองและใช้ทรัพย์สินนั้นท่านั้น กรรมสิทธิ์ไม่ได้โอน • 2. เป็นสัญญาที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ ในวัตถุแห่งสัญญา

  15. ผู้ให้ยืมในสัญญายืมใช้คงรูปอาจไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้ยืมก็ได้ผู้ให้ยืมในสัญญายืมใช้คงรูปอาจไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้ยืมก็ได้ • เช่น การเช่า

  16. ในกรณีทรัพย์สินที่ให้ยืมนั้นสูญหายหรือบุบสลายโดยมิใช่ความผิดของผู้ยืมแล้ว ผู้ยืมก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย • ความวินาศแห่งทรัพย์สินตกเป็นพับแก่เจ้าของ res perit domino

  17. ลักษณะสำคัญของยืมใช้คงรูปลักษณะสำคัญของยืมใช้คงรูป ทรัพย์สิน: ม. 138 ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เช่น สังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือเครื่องหมายการค้า • 3. วัตถุ

  18. วัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปวัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูป • ความเห็นแรก: ไม่ได้ เพราะ ไม่สามารถส่งมอบและส่งคืนให้แก่กันได้เนื่องด้วยว่าไม่มีรูปร่างไม่สามารถจับต้องมองเห็นได้ (หลวงประเสริฐมนูกิจ,หลวงวิเทศจรรยารักษ์,ประภาษ วณิกเกียรติ) • ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า หรือสิทธิการเช่า?

  19. วัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปวัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูป • ความเห็นที่สอง: สามารถทำได้ เพราะสามารถส่งมอบโดยปริยายได้ เช่นการขอยืมลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นมาจัดพิมพ์เป็นหนังสือโดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทน (กมล สนธิเกษตริน)

  20. หน้าที่ของผู้ยืม • ม. 642 : ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาก็ดี ค่าส่งมอบ และ ค่าส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย • 1. การเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ (มาตรา 642)

  21. ค่าฤชาธรรมเนียม เช่น ค่าอากรแสตมป์ • ค่าส่งมอบ เช่น ค่าไปรษณียากร • ค่าส่งคืน

  22. เช่น • นายเอกอยู่ที่ปัตตานี ขอยืมมอเตอร์ไซค์ของนายโทซึ่งอยู่ที่เชียงราย ดังนี้จะต้องมีการจัดส่งมอเตอร์ไซค์จากเชียงรายมายังปัตตานี ค่าใช้จ่ายในการจัดส่งดังกล่าวนายเอกต้องเป็นผู้เสีย

  23. หน้าที่ของผู้ยืม • ม. 647 : ค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติแก่การบำรุงรักษาทรัพย์ซึ่งยืม นั้น ผู้ยืมจะต้องเสีย • 2. ค่าใช้จ่ายรักษาทรัพย์ (มาตรา 647)

  24. ค่าน้ำมันหล่อลื่น • น้ำกลั่นหม้อแบตเตอรี่ • ปะยาง

  25. เช่น • นายเอกขอยืมมอเตอร์ไซค์ของนายโทมาใช้ ดังนั้นนายเอกต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาตัวรถ การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เป็นต้น

  26. หน้าที่ของผู้ยืม • ม. 643 : ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์นั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ทรัพย์สินนั้นก็จะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง • 3. การใช้ทรัพย์สินที่ยืม (มาตรา 643)

  27. หน้าที่ของผู้ยืม : การใช้ทรัพย์สินที่ยืม • 3.1 ต้องใช้ทรัพย์สินนั้นอย่างปกติดังที่คนทั่วๆ ไปใช้ • 3.2 ต้องใช้ทรัพย์สินตามที่ปรากฏในสัญญา • 3.3 ต้องเป็นผู้ใช้ทรัพย์สินนั้นเอง • 3.4 ต้องคืนทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ยืมเมื่อใช้เสร็จ

  28. หน้าที่ของผู้ยืม • ม.644 : ผู้ยืมจำต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง • วิญญูชน ได้แก่ บุคคลที่มีความระมัดระวังอย่างธรรมดาทั่วไป • 4. หน้าที่ในการสงวนทรัพย์สินที่ยืม (มาตรา 644)

  29. เช่น • นายเอกขอยืมมอเตอร์ไซค์ของนายโทมาใช้ ดังนั้นนายเอกต้องมีหน้าที่คอยดูแลบำรุงรักษาตัวรถ การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง รวมถึงการดูแลรักษาความสะอาดของรถนอกจากนี้ในการจอดรถจะต้องไว้ในที่ร่มไม่ปล่อยทิ้งไว้ตากแดด ตากฝน เป็นต้น

  30. สิทธิของผู้ให้ยืม • มาตรา 645 : .ในกรณีทั้งหลายดังกล่าวไว้ในมาตรา 643 นั้นก็ดี หรือถ้าผู้ยืมประพฤติฝ่าฝืนต่อความในมาตรา 644 ก็ดี ผู้ให้ยืมจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ • 1. สิทธิการบอกเลิกสัญญา (มาตรา 645)

  31. เช่น • ไม่ใช้ทรัพย์ตามสภาพแห่งทรัพย์นั้น • ไม่ใช้ทรัพย์ตามสัญญา • การเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย • การเอาทรัพย์ที่ยืมไว้นานเกินสมควร

  32. สิทธิของผู้ให้ยืม • หลัก : ผู้ให้ยืมไม่สามารถเรียกเอาทรัพย์ที่ยืมคืนก่อนกำหนดระยะเวลาแห่งสัญญาที่ได้มีการตกลงไว้ • 2. สิทธิในการเรียกทรัพย์ที่ยืมคืน

  33. เช่น • คำพิพากษาฎีกา 643/2480 ยืมของไปแล้วไม่ส่งคืน เมื่อของนั้นไปตกอยู่ที่บุคคลอื่น ผู้ให้ยืมย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากบุคคลนั้นได้

  34. สิทธิของผู้ให้ยืม • อันเนื่องมาจากการที่ทรัพย์ที่ยืมสูญหายหรือบุบสลายเพราะความผิดของผู้ยืม (มาตรา 215, 213 และ 222 ) • 3. สิทธิเรียกร้องให้ชดใช้ราคาทรัพย์ หรือชดใช้ค่าเสียหาย

  35. ผู้ให้ยืม • 1. การเสียค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาทรัพย์ที่ยืมในกรณีพิเศษ • 2. การรับผิดเพราะความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์ที่ยืม

  36. ความระงับแห่งสัญญายืมใช้คงรูปความระงับแห่งสัญญายืมใช้คงรูป • การมรณะของผู้ยืม (มาตรา 648) • เมื่อมีการบอกเลิกสัญญา (มาตรา 645) • เมื่อผู้ยืมได้คืนทรัพย์ที่ยืมให้แก่ผู้ให้ยืม • เมื่อมีการเรียกให้คืนทรัพย์ที่ยืม (มาตรา 646) • เมื่อทรัพย์ที่ยืมเกิดการสูญหายหรือสิ้นสภาพไป

  37. อายุความ • มาตรา 649: ในข้อความรับผิดเพื่อเรียกค่าทดแทนอันเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูปนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา • ใช้เฉพาะการฟ้องร้องอันเกี่ยวกับการเรียกค่าทดแทนเพราะเหตุแห่งการที่ไม่ได้มีการปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบตามสัญญายืมใช้คงรูป ตาม ม. 642, 643, 644 และ 647 เท่านั้น

  38. อายุความ • กรณีการฟ้องเพื่อให้ชดใช้ราคาทรัพย์หรือการฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ยืมคืน กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้เป็นพิเศษ ดังนั้นจึงต้องใช้หลักเกณฑ์ทั่วไป คือ สิบปี ตาม มาตรา 193/30

More Related