1 / 43

Academic in service Chronic Heart Failure

Academic in service Chronic Heart Failure. โดย นสภ. นภาลัย อมรเทพดำรง มหาวิทยาลัยนเรศวร. โรคหัวใจล้มเหลว ( heart failure).

Télécharger la présentation

Academic in service Chronic Heart Failure

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Academic in service Chronic Heart Failure โดย นสภ. นภาลัย อมรเทพดำรง มหาวิทยาลัยนเรศวร

  2. โรคหัวใจล้มเหลว (heart failure) • คือ ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่างๆได้เพียงพอตามความต้องการของร่างกาย อันก่อให้เกิดอาการแสดงออกทางคลินิกต่างๆที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการขาด oxygen หรือ สารอาหาร รวมทั้งความบกพร่องในการกำจัดของเหลวและของเสียออกจากร่างกายเนื่องจากมีการลดลงของเลือดที่ไปยังไต

  3. โรคหัวใจล้มเหลว : heart failure (ต่อ) • ตัวอย่างของอาการที่เกิดขึ้น เช่น • อาการหายใจลำบากเวลาออกกำลัง หรือเวลานอนราบ เนื่องจากการคั่งค้างของของเหลวที่ปอด • อาการบวมตามแขนขา เนื่องจากมีของเหลวคั่งค้างอยู่ภายนอกหลอดเลือดโดยอยู่ในเนื้อเยื่อระหว่างเซลล์ มากกว่าปกติ • อาการเปลี้ยล้าและอ่อนเพลีย เนื่องจากเนื้อเยื่อขาด O2และสารอาหาร เป็นต้น

  4. Symptoms of Heart Failure

  5. การแบ่งประเภทโรคหัวใจล้มเหลวการแบ่งประเภทโรคหัวใจล้มเหลว • การแบ่งตามลักษณะการทำงานที่ผิดปกติของห้องหัวใจ • Systolic heart failure: จะมีค่า EF< 40% ส่วนผู้ป่วยที่มีค่า EF ระหว่าง 40-60% นั้นจะจัดว่ามี mild systolic dysfunction. • Diastolic heart failure : ผู้ป่วยจะมี normal ejection fraction (EF > 60%) • Combination of systolic and diastolic heart failure

  6. 2. Functional classification a. NYHA funcional class I ผู้ป่วยไม่มีอาการใดๆ สามารถกระทำกิจกรรมปกติ ได้โดยไม่มีอาการหายใจลำบาก หอบเหนื่อย b. NYHA functional class II ผู้ป่วยมีข้อจำกัดบ้างเพียงเล็กน้อยในการกระทำกิจกรรมปกติ โดยผู้ป่วยมักมีอาการเมื่อกระทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการหายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย เปลี้ยล้า เป็นต้น c. NYHA functional class III ผู้ป่วยมีข้อจำกัดมากพอสมควรในการกระทำกิจกรรมปกติ โดยมีอาการหายใจลำบากหรือหอบเหนื่อยอย่างรวดเร็วเมื่อกระทำกิจกรรมที่ไม่ต้องออกแรงมาก แต่จะไม่มีอาการขณะพัก d. NYHA functional class IV ผู้ป่วยมีข้อจำกัดอย่างมากในการกระทำกิจกรรมปกติ มีอาการเหนื่อยหอบขณะพัก

  7. 3. Staging of Disease Progression (AHA/ACC) • Stage A เป็นผู้ป่วยยังไม่ได้รับการวินิจฉัยด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ไม่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจหรืออาการของภาวะหัวใจล้มเหลว แต่เป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการพัฒนาไปเป็นโรคหัวใจล้มเหลว • Stage B เป็นผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการวินัจฉัยด้วยโรคหัวใจล้มเหลว และไม่มีอาการของภาวะหัวใจล้มเหลว แต่จะพบความผิดปกติของหัวใจ • Stage C เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยโรคหัวใจล้มเหลว คือ มีอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวปรากฎขึ้น และมักมีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจถูกตรวจพบด้วย • Stage D เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยโรคหัวใจล้มเหลว โดยเป็นผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจล้มเหลวในขั้นรุนแรงเช่น มีอาการขณะพักทั้งๆ ที่ได้รับการรักษาด้วยยาอย่างเหมาะสมแล้ว จัดเป็น Refractory HF รวมถึงผู้ป่วยที่จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือหรือวิธีการพิเศษที่ช่วยให้ดำรงชีวิตอยู่ได้

  8. Causes • 1. สาเหตุที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น • a. Ischemic heart disease โดยเฉพาะอย่างยิ่ง myocardial infarction เนื่องจากการสูญเสียเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ สาเหตุนี้มักทำให้เกิด systolic heart failure > diatolic heart failure • b. Cardiomyopathies เป็นโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่หาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ หรือสาเหตุยังไม่ชัดเจน ที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้เช่น Dilated cardiomyopathy, Hypertrophic cardiomyopathy, Restrictive cardiomyopathy • c. Myocarditis จากการติดเชื้อ พิษของยา หรือสารเคมี เป็นต้น

  9. 2. สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับลิ้นหัวใจ • ได้แก่ Valvular stenosis or regurgitation (aortic, pulmonic, mitral, tricuspid valve) เป็นภาวะที่ลิ้นหัวใจทำงานบกพร่องไป • a. ในกรณีของ ‘stenosis’ หรือ ลิ้นหัวใจตีบตัน : เกิดได้ทั้ง diastolic heart failure และ systolic heart failure • b. ในกรณีของ ‘regurgitation’ หรือ ‘insufficiency’ หรือ ลิ้นหัวใจรั่ว : เกิด systolic heart failure

  10. 3. สาเหตุอื่นๆ • ที่ไม่ได้เกิดจากกล้ามเนื้อหรือลิ้นหัวใจ ที่ทำให้หัวใจต้องทำงานมากขึ้น เพื่อส่งเลือดปริมาณเท่าเดิมไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย แบ่งเป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือ pressure overload และ volume overload ตัวอย่างของสาเหตุเช่น • Systemic HT ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งของ HF • Pulmonary HT ทำให้การส่งเลือดไปยังปอดของหัวใจต้องใช้แรงในการบีบตัวสูงขึ้น • Shunt เช่น PDA, ASD, VSD พยาธิสภาพเหล่านี้มีผลเพิ่มปริมาณเลือดที่หัวใจต้องบีบตัวส่งไปยังส่วนต่างๆของร่างกายให้มากขึ้น

  11. 4. สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับจังหวะการเต้นของหัวใจ • อาจเป็นได้ทั้งเต้นเร็วเกินไป เต้นช้าเกินไป หรือความไม่คล้องจองของการเต้นของหัวใจห้องบนและล่าง เช่น • Ventricular fibrillation or tachycardia • Atrial fibrillation or tachycardia • Bradycardia • Complete heart block

  12. Precipitating factors ภาวะโลหิตจาง ภาวะติดเชื้อ ภาวะไข้สูง การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่รุนแรง การออกกำลังที่มากเกินไป การตั้งครรภ์ ภาวะไตวายเฉียบพลัน ภาวะที่มีการอุดตันของเส้นเลือดภายในปอด ทำให้เกิด pulmonary HT ภาวะที่มีการคั่งของน้ำและเกลือจากการใช้ยา เช่น Corticosteroids orNSAIDs ภาวะที่มีการคั่งของน้ำและเกลือจากการไม่ควบคุมอาหาร การใช้ยาที่มีผลลด myocardial contractility จำพวก β-blocker เช่น propranolol, metoprololหรือ nondihydropyridine - CCB เช่น verapamil, diltiazem

  13. ACUTE EXACERBATION OF CHRONIC SYSTOLIC HEART FAILURE 1. non-pharmacological therapy • ค้นหาและกำจัดปัจจัยชักนำ • จำกัดการออกกำลังในช่วงหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน • ให้ O2แก่ผู้ป่วย เพื่อรักษาระดับ O2ภายในกระแสเลือด • จำกัดปริมาณ Naลงเหลือ≤ 2 กรัมต่อวัน

  14. non-pharmacological therapy (ต่อ) • จำกัดปริมาณของเหลวและน้ำที่ผู้ป่วยจะได้รับให้เหมาะสมกับปริมาณของเหลวที่ผู้ป่วยกำจัดออก • หากผู้ป่วยมีภาวะไตวายและไม่สามารถกำจัดน้ำทางไต อาจจำเป็นต้องทำ dialysis • หากผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเร็วเกิน อาจจำเป็นต้อง shock ผู้ป่วยด้วยไฟฟ้าเพื่อรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น • หากผู้ป่วยมีภาวะการหายใจล้มเหลว จำเป็นต้องใช้ช่วยเครื่องหายใจแก่ผู้ป่วย

  15. 2. pharmacological therapy CI 2.2 PCWP 20

  16. แนวทางต่อการเลือกใช้ยาแก่ผู้ป่วยด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันแนวทางต่อการเลือกใช้ยาแก่ผู้ป่วยด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน 1. ผู้ป่วยที่มี CI > 2.2 L/min/m2 และ PCWP 12-20 mmHg จัดว่าอยู่ในภาวะที่มีความเหมาะสมของ cardiac output และ ventricular filling pressure (preload) 2. ผู้ป่วยที่มี CI > 2.2 L/min/m2 และ PCWP > 20 mmHg ผู้ป่วยอยู่ในภาวะ intravascular volume overload การรักษาทำโดยให้ ยาที่ลด preload (diuretics ± vasodilators)

  17. แนวทางต่อการเลือกใช้ยาแก่ผู้ป่วยด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (ต่อ) 3. ผู้ป่วยที่มี CI < 2.2 L/min/m2 และ PCWP > 20 mmHg ผู้ป่วยอยู่ในภาวะ hypoperfusion และ intravascular volume overload การรักษาทำโดยให้ยาที่ลด preload (diuretics ± vasodilators) และ ยาที่เพิ่ม cardiac contractility หรือยา vasodilators ที่มีฤทธิ์ลด afterload (ไม่ใช้ในผู้ป่วย BPต่ำ) 4. ผู้ป่วยที่มี CI < 2.2 L/min/m2 และ PCWP 12-20 mmHg ผู้ป่วยอยู่ในภาวะ hypoperfusion แต่ไม่มี intravascular volume overload การรักษาทำโดยให้ยาที่เพิ่ม cardiac contractility หรือ vasodilators ที่มีฤทธิ์ลด afterload

  18. ยาที่ใช้ในภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลันยาที่ใช้ในภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน • 1. ยาที่มีผลลด preload • a. Diuretics 1. Thiazidesและ thiazide-like diuretics 2. Loop diuretics : นิยมใช้มากกว่า thiazide • b. vasodilators 1. ACEIs : มีฤทธิ์ลดทั้ง preload และ afterload 2. Sodium nitroprusside : มีฤทธิ์ลดทั้ง preload และ afterload 3. IV nitroglycerin และ Nitrates : มีฤทธิ์ลด preload > afterload 4. Hydralazine : มีฤทธิ์ลด afterload > preload

  19. 2. ยาที่มีผลเพิ่ม cardiac contractility (positive inotropic agents) a. Digoxin : ขนาดที่ใช้ 0.8-1.2 ng/mL b. Catecholamines (1) Dopamine : ในภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน มักเลือกใช้ dopamine ในขนาดต่ำๆ เพื่อเพิ่ม renal perfusion หรือ ≤ 10 mcg/kg/min เพื่อเพิ่ม cardiac contractility (2) Dobutamine : ขนาดที่ใช้ 1-10 mcg/kg/min c. Phosphodiesterase inhibitors : ไม่ค่อยใช้ยากลุ่มนี้มากนัก เนื่องจากประสิทธิภาพในการเพิ่ม cardiac contractility ไม่เทียบเท่า dopamine หรือ dobutamine d. Nesiritide

  20. Chronic systolic heart failure • Non-pharmacologic therapy • รักษาต้นเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว ถ้าสามารถรักษาได้ • กำจัดและควบคุมปัจจัยชักนำถ้ามี • จำกัดปริมาณ Na ให้ได้ <3 กรัมต่อวัน • แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และพยายามลดน้ำหนัก • Pharmacologic therapy

  21. a. Vasodilators สามารถลด preload และ/หรือ afterload ทำให้ภาระในการทำงานของหัวใจลดลง และเพิ่ม cardiac output • (1) ACEIs : เป็นยาที่ควรใช้เป็นอันดับแรกคือยากลุ่มยา กลุ่มนี้ออกฤทธิ์ขยายทั้งหลอดเลือดดำและแดง จึงช่วยลด ทั้ง preload และ afterload ผลคือ ลดการกระตุ้น sympathetic nervous system และผลอื่นๆ ของ angiotensin II ซึ่งรวมถึงการเกิด ventricular hypertrophy และช่วยลดการคั่งของน้ำและเกลือ

  22. ACEIs (ต่อ) • ยากลุ่ม ACEIs เป็นยากลุ่มเดียวที่ AHA/ACC แนะนำให้ใช้ใน ผู้ป่วย stage A ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว แต่ยังไม่พบความผิดปกติใดๆ ของหัวใจ นอกจากนี้ในผู้ป่วย stage B, C และ D ก็ควรได้รับยา ACEIs ด้วยถ้าไม่มีข้อห้ามใช้

  23. (2) Angiotensin receptor blockers • เป็นยาที่ให้พิจารณาใช้หากผู้ป่วยทนต่อยา ACEIs ไม่ได้เนื่องจากผลไม่พึงประสงค์ หรือมีข้อห้ามใช้ เช่น อาการไอรุนแรง หรือ angioneurotic edema เป็นต้น อย่างไรก็ตามหลักฐานทางคลินิกด้านประสิทธิภาพของยา ACEIs ในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวมีอยู่มากกว่า ARBs ดังนั้นจึงแนะนำ ACEIs เป็นยาอันดับแรกก่อน ARBs

  24. ARBs (ต่อ) • นอกจากนี้ ในผู้ป่วย chronic HF stage C ที่ได้รับยา ACEIs, diuretics และ beta-blockers แล้ว ยังคงมีอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวอยู่ อาจพิจารณาเพิ่มยากลุ่ม ARBs ให้แก่ผู้ป่วยได้ เพื่อช่วยลดอัตราการเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาล และอาจช่วยลดอัตราการตายของผู้ป่วยได้ด้วย • AHA/ACC ไม่แนะนำให้ใช้ ARBs ร่วมกับ ACEIs และ aldosterone antagonist (ยา 3 ชนิดร่วมกัน) เนื่องจาก อัตราการเกิด hyperkalemia เพิ่มขึ้นอย่างมาก

  25. (3) Hydralazine ร่วมกับ oral nitrate • จากการทดลองทางคลินิก พบว่าการใช้ hydralazine ร่วมกับ oral nitrates สามารถลดอัตราการตายของผู้ป่วยได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับ ACEIs แล้ว ACEIs สามารถลดอัตราการตายได้ดีกว่า hydralazine และ nitrate combination ดังนั้น ไม่ควรใช้ hydralazine + oral nitrate ก่อนใช้ ACEIs และไม่ใช้ hydralazine หรือ oral nitrate เดี่ยวๆ เพื่อลดอัตราการตายในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว เนื่องจากใน clinical trials นั้น ต้องใช้ทั้ง hydralazine และ oral nitrates นอกจากนี้ควรเลือกใช้ ARBs ก่อน hydralazine + oral nitrate

  26. Hydralazine + oral nitrate (ต่อ) • อาจพิจารณาใช้ hydralazine ร่วมกับ nitrate ในผู้ป่วย stage C ที่ได้รับ ACEIs, beta-blocker และ diuretics แต่ยังคงมีอาการกำเริบอยู่บ่อยๆ หรือ ตลอดวลา โดยต้องระวังการเกิดภาวะความดันเลือดต่ำจากยาทั้งสอง และการไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย เนื่องจากจำเป็นต้องกินยาวันละหลายๆ ครั้ง

  27. b. Diuretics • ลด preload และช่วยควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือในร่างกาย ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีแนวโน้มของการสะสมเกลือและน้ำในร่างกาย โดยผู้ป่วยเหล่านี้มักมีประวัติการบวมเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ • ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวไม่ทุกคนที่มีแนวโน้มในการสะสมน้ำและเกลือในร่างกาย ดังนั้น diuretics อาจไม่จำเป็นในทุกคน และการใช้ diuretics โดยไม่จำเป็น ผลที่เกิดขึ้นคือ intravascular volume depletion ทำให้เกิด tissue hypoperfusion, prerenal renal failure, ทำให้เกิดreflex tachycardia และเสี่ยงต่อการเกิด myocardial infarction ได้

  28. b. Diuretics • ไม่ควรใช้เป็นยาเพียงตัวเดียวในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวเนื่องจากไม่ได้ชะลอการดำเนินไปของโรค หรือลดอัตราการตายของผู้ป่วย มักให้ร่วมกับ ACEIs และ beta-blocker ผู้ป่วยที่มีสภาวะไหลเวียนของโลหิต stable แล้ว ยาที่เลือกใช้คือ thiazide หรือ loop diuretics ขึ้นกับการตอบสนองของผู้ป่วย และการทำงานของไต (thiazides มักใช้ไม่ได้ผลถ้า creatinine clearance < 30 ml/min)

  29. c. Beta-blockers • ลดผลของการกระตุ้น sympathetic nervous system และ RAASสามารถลดอัตราการตาย การดำเนินไปของโรค และลดอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวได้ โดยในระยะยาวมีผลเพิ่ม EF ได้ • ควรเริ่มยากลุ่ม beta-blockers ในผู้ป่วยที่ไม่อยู่ในภาวะ acute HFเนื่องจากยามีฤทธิ์ลด myocardial contractility ซึ่งจะมีผลทำให้ decompensation รุนแรงขึ้นได้ ต้องติดตาม BP, HR, signs and symptoms of worsening heart failure และ ผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น bronchospasm ในผู้ป่วย asthma หรือ COPD

  30. c. Beta-blockers

  31. d. Digoxin • เพิ่ม cardiac contractility และช่วยลดการกระตุ้น sympathetic system จากการลดลงของ preload โดยการศึกษาทางคลินิกพบว่า ช่วยลดอัตราการป่วยหรืออัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว stage C โดยแนะนำให้ใช้เฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยยังมีอาการหลังได้รับ ACEIs และ diuretics และ beta-blocker เนื่องจากเป็นยาที่มีผลข้างเคียงสูงและไม่ช่วยชะลอการดำเนินไปของโรค

  32. d. Digoxin(ต่อ) • Pt normal renal function dose = 0.125 mg/day • Pt with decreased renal function, the elderly, or those receiving interacting drugs (e.g., amiodarone) should receive 0.125 mg every other day • ระดับความเข้มข้นของยา digoxin ควรอยู่ในช่วง 0.8-1.2 ng/mL

  33. e. Spironolactoneและ Eplerenone • มีฤทธิ์เป็น aldosterone antagonist จึงลดผลที่เกิดขึ้นจาก การทำงานของaldosterone เช่นการสะสมของเกลือ และการกระตุ้น ventricular wall remodeling • ผลการทดลองทางคลินิกในผู้ป่วย heart failure ที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง (ผู้ป่วย stage C และมี NYHA functional class III-IV) พบว่าลดอัตราการตายของผู้ป่วยได้ในผู้ป่วยที่มีประวัติกล้ามเนื้อหัวใจตาย และ มีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือ EF < 40%

  34. e. Spironolactoneและ Eplerenone • AHA/ACC แนะนำให้ใช้ aldosterone antagonist ขนาดต่ำๆ เพื่อลดอัตราการตายจากภาวะแทรกซ้อน • ไม่แนะนำให้ใช้ aldosterone antagonists ในผู้ป่วยที่มี renal failure (serum creatinine >2.5 mg/dL สำหรับผู้ชาย และ >2.0 mg/dL ในผู้หญิง) หรือ hyperkalemia (serum K > 5.0 mEq/L) เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดการสะสมของ K อย่างรวดเร็ว นำไปสู่ ventricular tachycardia หรือ fibrillation ได้

  35. e. Spironolactone และ Eplerenone

  36. f. Calcium channel blockers • ไม่ใช้ในผู้ป่วย systolic heart failure การทดลองทางคลินิกไม่พบผลประโยชน์จากการใช้ CCB ในผู้ป่วย heart failure โดยทำให้เกิดผลเสียได้เนื่องจากเพิ่ม sympathetic nervous system stimulation ได้ และเพิ่มอัตราการตายจาก ischemic heart disease ได้ • หากจำเป็นต้องใช้ CCB ในผู้ป่วย systolic heart failure ให้เลือกใช้ amlodipineซึ่งมีผลการทดลองทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าไม่เพิ่มอัตราการตายในผู้ป่วย systolic heart failure และสามารถลดอัตราการตายได้ในกลุ่มผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับ ischemic heart disease

  37. f. Calcium channel blockers • สำหรับ diastolic heart failure นั้นยาที่ใช้ควรเป็น non-dihydropyridines เช่น verapamil หรือ diltiazem เนื่องจากทั้ง 2 ตัวลด heart rate ทำให้ ventricular filling time เพิ่มขึ้นจึงเพิ่ม preload ขึ้นได้ และอาจมีผลทำให้การคลายตัวของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้นด้วย (ยาที่ใช้ใน diastolic heart failure มักใช้ beta-blocker หรือ calcium channel antagonist โดยไม่ใช้ยาที่เพิ่ม cardiac contractility)

  38. Heart failure - warfarin • ถ้าอาการของ Chronic Heart Failure แย่ลง จะส่งผลเพิ่มฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือดโดยยา Warfarin ได้เนื่องจาก ลด blood flow ไปยังตับทำให้การเปลี่ยนแปลงยา Warfarin ที่ตับลดน้อยลง (decrease warfarin elimination ) ยาออกฤทธิ์ได้มากขึ้น ดังนั้นค่า INR จะสูงขึ้น

More Related