1 / 34

แนวทางการจัดทำรายงาน EIA

แนวทางการจัดทำรายงาน EIA. โดย. นางอินทิรา เอื้อมลฉัตร ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบและติดตามตรวจสอบ. สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. บรรยายในหลักสูตร EIA: ข้อมูลเพื่อประชาชน มกราคม - กุมภาพันธ์ 2556.

gilles
Télécharger la présentation

แนวทางการจัดทำรายงาน EIA

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการจัดทำรายงาน EIA โดย นางอินทิรา เอื้อมลฉัตร ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบและติดตามตรวจสอบ สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บรรยายในหลักสูตร EIA: ข้อมูลเพื่อประชาชน มกราคม - กุมภาพันธ์ 2556

  2. การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม การคาดการณ์เกี่ยวกับผลกระทบในทางบวกและทางลบของโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสภาพแวดล้อมในทุกๆด้าน รวมทั้งการพิจารณาและเสนอแนะมาตรการที่จะใช้ในการลดและป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนวางแผนการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการเพื่อป้องกันผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นด้วย

  3. ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม • 1.การกลั่นกรองโคงการ • 2.การกำหนดขอบเขตการศึกษา • 3.การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม • 4.การพิจารณารายงาน • 5.การติดตามตรวจสอบ

  4. การกำหนดขอบเขตการศึกษา (SCOPING) • จำเป็นต้องทำ SCOPING ตั้งแต่ขั้นแรก • public scoping/ technical scoping • สามารถบ่งชี้ • - ขอบเขตพื้นที่หรือหัวข้อที่ต้องศึกษา • - ประเด็นที่สำคัญที่ประชาชนสนใจ • - ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง • ลดการสูญเสียเวลาและงบประมาณในการศึกษาประเด็นที่ไม่จำเป็น

  5. การเตรียมรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม การเตรียมรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA PREPARATION) • การจัดทำรายงานต้องจัดทำโดยนิติบุคคลผู้มีสิทธิทำรายงาน ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจาก สผ. • การจัดทำรายงาน ประกอบด้วย • - การศึกษาข้อมูลโครงการ • - การศึกษาสภาพแวดล้อมปัจจุบัน • - การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม • - การกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม • - การกำหนดมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

  6. การศึกษาข้อมูลโครงการ (Project Description) 1. ที่ตั้งโครงการ - ตำแหน่ง ทำเลที่ตั้ง - แผนผังโครงการ 2. ระยะเวลาโครงการ - ระยะก่อนการก่อสร้าง - ระยะก่อสร้าง - ระยะดำเนินโครงการ

  7. 3. การดำเนินโครงการ - รายละเอียดกระบวนการ - ของเสีย/ มลพิษที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม - ระบบสาธารณูปโภค - การจ้างงาน - การฝึกอบรม 4. วัตถุดิบที่ใช้ 5. การเก็บและขนส่งวัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ

  8. การศึกษาสภาพแวดล้อมปัจจุบันการศึกษาสภาพแวดล้อมปัจจุบัน (Environmental Setting/Existing) • เป็นการศึกษาข้อมูลของพื้นที่ในขอบเขตที่อาจได้รับผลกระทบ หรือ/และอาจต้องทำการชดเชย จากการดำเนินโครงการที่เสนอ หรือจากทางเลือกที่เสนอ • ระดับข้อมูล existing จะต้องเพียงพอสำหรับ reader หรือ reviewer จะทราบแน่ชัดถึงสภาพธรรมชาติและสังคมในบริเวณดังกล่าว • จะต้องมีรายละเอียดข้อมูลพื้นฐาน (Baseline data) ที่จะสามารถคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ • ประเภทของข้อมูลแบ่งเป็น 4 กลุ่ม • ระดับข้อมูลแต่ละ setting จะแตกต่างกันขึ้นกับโครงการและทรัพยากรที่จะได้รับผลกระทบ

  9. 1. ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ บนบก ภูมิสัณฐาน ลักษณะภูมิประเทศ ระดับความสูง ลักษณะที่โดดเด่นทางกายภาพ เช่น เกาะ ดิน ชนิด ประเภท สัดส่วน การชะล้าง การตกตะกอน คุณสมบัติเคมี กายภาพ ชีวภาพ ธรณีวิทยา ลักษณะทางธรณีวิทยา การเกิดแผ่นดินไหว ทรัพยากร แร่ธาตุ ชนิด ปริมาณแร่ธาตุ ในพื้นที่

  10. ในน้ำ น้ำผิวดิน/น้ำใต้ดิน แหล่งน้ำ ปริมาณ คุณภาพ อัตราการไหล น้ำทะเล ลักษณะทางสมุทรศาสตร์ คุณภาพน้ำ การหมุนเวียนของน้ำ การแบ่งชั้นของน้ำ อากาศ/เสียง ภูมิประเทศ หมอก พายุ คุณภาพอากาศ ระดับความเข้มของเสียง

  11. 2. ทรัพยากรทางชีวภาพ สัตว์/พืช นิเวศวิทยา ชนิด ปริมาณ การแพร่กระจาย แหล่งที่อยู่อาศัย การอพยพย้ายถิ่น สิ่งมีชีวิตที่หายาก ชนิด ปริมาณ ความสำคัญ

  12. 3. คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ น้ำดื่ม/น้ำใช้ แหล่งน้ำ ปริมาณ คุณภาพ ความเพียงพอ การขนส่ง เส้นทางคมนาคม การควบคุมน้ำท่วม ระบบการควบคุมน้ำท่วม ประสิทธิภาพ เหมืองแร่/อุตสาหกรรม ลักษณะของกิจกรรม สันทนาการ การใช้ที่ดิน สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน

  13. 4. คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจสังคม ข้อมูลประชากร การตั้งถิ่นฐาน ทัศนคติของประชาชน การสาธารณสุข อัตราการเจ็บป่วย โรคระบาด โรคประจำถิ่น การบริการทางสาธารณสุข อาชีวอนามัย โรคจากการทำงาน อุบัติเหตุจากการทำงาน ความเสี่ยง ประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ โบราณคดี สุนทรียภาพ คุณค่าความงดงามของแหล่งท่องเที่ยว สถานที่อันควรอนุรักษ์

  14. การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 1. จำแนกชนิดของผลกระทบ (Impact Identification) - Checklist - Matrix - Overlay - Network - Ad hoc committee

  15. ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact) 1. ผลกระทบระดับปฐมภูมิ (ขั้นที่ 1) 2. ผลกระทบระดับทุติยภูมิ (ขั้นที่ 2)

  16. ผลกระทบต่อเนื่องในขั้นที่ 2 ผลกระทบเบื้องต้น ความเสียหายต่อพืชเศรษฐกิจ ความเสียหายต่อทรัพย์สินสิ่งก่อสร้าง คุณภาพอากาศเปลี่ยนแปลง มีผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ปริมาณผลผลิตเบื้องต้นของแหล่งน้ำลดลง โครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนสถานที่อยู่ของสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเสียหาย การท่องเที่ยวได้รับผลเสียหาย เศรษฐกิจ - สังคมเปลี่ยนแปลง การใช้น้ำได้รับผลกระทบ การใช้ที่ดินเปลี่ยนแปลง ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย

  17. การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ต่อ) • 2. การวัดขนาดหรือทำนายผลกระทบ (Impact Prediction) - Simulation/ Model/ สมการ - Ranking /Rating/ Index ขึ้นกับผลกระทบและตัวแปร(parameter)

  18. 3. การประเมินหรือตีค่าผลกระทบ (Impact Evaluation) - การเปรียบเทียบกับมาตรฐาน กฎหมาย - การเปรียบเทียบกับแหล่งอ้างอิง - ผู้มีอำนาจตัดสินใจ หรือผู้เชี่ยวชาญ (เช่น สุนทรียภาพ) - ความยอมรับของชุมชน (public acceptance)

  19. การประเมินผลกระทบทางสังคมการประเมินผลกระทบทางสังคม และการมีส่วนร่วมของประชาชน

  20. ประเทศไทย (ต่อ) • พ.ศ.2540 รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน • พ.ศ.2550 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน • มาตรา 57 • มาตรา 67

  21. มาตรา 57 • บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจงและเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว

  22. มาตรา 67 วรรคสอง • การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชนและจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพและผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว

  23. การประเมินผลกระทบทางสังคมการประเมินผลกระทบทางสังคม • ในประเด็นที่สำคัญๆ และในประเด็นที่ประชาชนเป็นห่วงใย จะต้องดำเนินการควบคู่กับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม • เน้นศึกษาประเด็นสำคัญและประเด็นที่เป็นห่วงใย มากกว่าการประเมินทั่วไป • กรณีโครงการมีการอพยพโยกย้าย การเวณคืนที่ดิน และการจ่ายค่าชดเชย • กรณีเกี่ยวข้องกับกลุ่มชนดั้งเดิม ชนเผ่า กลุ่มผู้ด้อยโอกาส เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ • เน้นการประเมินผลกระทบทางสังคมแบบมีส่วนร่วม

  24. การประเมินผลกระทบทางสังคม (ต่อ) • ขั้นต้น ต้องมีการประมวลข้อมูล ประชากร สภาพเศรษฐกิจ สังคม และกายภาพของชุมชน และประเมินสภาพสังคมของชุมชนในภาพรวม • ทำการศึกษาโดยการตั้งข้อสังเกตและคาดการณ์ถึงผลกระทบทางสังคมที่จะเกิด • พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลโครงการ ข้อมูลเศรษฐกิจ สังคม ของชุมชน ทำการหารือประชาชน สร้างแนวคิดร่วมในการกำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบทางสังคม • กรณีมีการอพยพโยกย้าย การเวณคืน การรอนสิทธิ์ การชดเชย ต้องมีการจัดทำแผนปฏิบัติการในการตั้งถิ่นฐาน และต้องมีการหารือทำความเข้าใจกับผู้ได้รับผลกระทบ

  25. โครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรง โครงการที่เข้าข่าย EIA และ โครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงฯ โครงการที่เข้าข่าย EIA • แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (สำหรับโครงการที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม) • ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยแนวทางการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (สำหรับโครงการที่เข้าข่ายโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงากรธรรมชาติและสุขภาพ

  26. แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชน (โครงการที่ต้องทำ EIA) • เจ้าของโครงการต้องจัดการรับฟังความคิดเห็นอย่างน้อย 2 ครั้ง • ครั้งที่ 1 ในระหว่างเริ่มต้นโครงการ โดยรับฟังความคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอโครงการและขอบเขตการศึกษา • วัตถุประสงค์ ให้ประชาชนรับทราบข้อมูลโครงการ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น แนวทางการศึกษาและประเด็นที่จะศึกษาในรายงาน EIA และเพื่อให้ประชาชนได้แสดงข้อคิดเห็นต่อประเด็นที่ห่วงกังวล และให้เจ้าของโครงการนำประเด็นนั้นไปศึกษาและเสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ และมาตรการติดตามตรวจสอบ

  27. แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชน โครงการที่ต้องทำ EIA (ต่อ) • ครั้งที่ 2 ในระหว่างการเตรียมจัดทำร่างรายงานและมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม • วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบและให้ข้อคิดเห็นต่อผลการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ มาตรการติดตามตรวจสอบ กรณีมีการอพยพ การรอนสิทธิ ต้องเสนอแผนอพยพ การรอนสิทธิ การเวณคืน ให้ชัดเจน

  28. กรณีโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงกรณีโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรง • ค 1 การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น • ค 2 การสำรวจความคิดเห็น • ค 3 การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น • ง.การรับฟังความคิดเห็นโดยหน่วยงานอนุญาต หรือหน่วยงานของรัฐ

  29. การกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ การกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ และการติดตามตรวจสอบ 1. หลีกเลี่ยง avoiding the impacts 2. ลด minimizing the impacts 3. ฟื้นฟู ทำให้กลับคืนดี rectifying the impacts by rehabilitating or restoring the affected env. 4. กำจัด Eliminating the impacts over time 5. ชดเชย โดยการหาสิ่งที่ใหม่หรือจัดทำสิ่งทดแทน Compensation for the impacts by replacing or providing substitute resources (e.g. Wetland)

  30. การกำหนดมาตรการติดตามตรวจสอบการกำหนดมาตรการติดตามตรวจสอบ ประกอบด้วย 1. ประเด็นที่ต้องติดตามตรวจสอบ 2. ดัชนี 3. ตำแน่งของจุดติดตามตรวจสอบ1 4. ผู้รับผิดชอบ แบ่งเป็นระยกก่อสร้าง และระยะดำเนินการ

  31. มาตรา 50 เพื่อประโยชน์ในการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 48 และมาตรา 49 ให้กรรมการผู้ชำนาญการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ มีอำนาจตรวจสถานที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของโครงการหรือกิจการที่เสนอขอรับความเห็นชอบในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ตามความเหมาะสม เมื่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการได้ให้ความเห็นชอบในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 49 แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายในการพิจารณาสั่งอนุญาตหรือต่ออายุใบอนุญาตนำมาตรการตามที่เสนอไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปกำหนดเป็นเงื่อนไขในการสั่งอนุญาตหรือต่ออายุใบอนุญาต โดยให้ถือว่าเป็นเงื่อนไขที่กำหนดตามกฎหมายในเรื่องนั้นด้วย

  32. วิธีดำเนินงานติดตามตรวจสอบ ในส่วนของ สผ. 1. พิจารณารายงานผลการติดตามตรวจสอบ 2. การตรวจสอบพื้นที่โครงการ 3. การดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามตรวจสอบ 4. การจ้างบุคคลที่ 3 ติดตามตรวจสอบ

  33. สร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการนำมาตรการที่กำหนดไปใช้ปฏิบัติสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการนำมาตรการที่กำหนดไปใช้ปฏิบัติ - มอบรางวัลแก่ผู้ประกอบการที่ปฏิบัติตามมาตรการใน รายงาน EIA และมีการจัดสภาพแวดล้อมดีเด่นประจำปี (EIA AWARDS) โดย รมว.ทส. - เป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณารายงานหากมีการขอ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการหรือขยายโครงการ

  34. สวัสดีค่ะ อินทิรา เอื้อมลฉัตร โทร 02 265 6500 ต่อ 6831 indhira@onep.go.th

More Related